การพัฒนาฟุตบอลในทวีปเอเชีย โดย วิทยา เลาหกุล

รายงานพิเศษ จาก วิทยา เลาหกุล ประธานฝ่ายพัฒนาเทคนิคสมาคมฯเกี่ยวกับ เรื่องการพัฒนาฟุตบอลในทวีปเอเชีย


การสัมมนาประธานฝ่ายเทคนิค ณ เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2017 ที่ผ่านมานั้น เอเอฟซีได้เชิญสมาชิกเข้าร่วมการสัมมนาทั้งหมด 51 ประเทศ

ทำไมต้องมีการสัมมนา..? (Why conference ?)

- เป้าหมายคือการยกระดับและการพัฒนาอนาคตของฟุตบอลในทวีปเอเชีย ซึ่งสมาชิกทั้งหมดจะเรียนรู้แนวทางในการพัฒนาฟุตบอลและมาตรฐานของฟุตบอลในทวีปต่างๆ มีการอภิปรายในหัวข้อที่เป็นคำถามที่น่าสนใจ เช่น

Q1. ฟุตบอลเอเชียในมุมมองของคุณเป็นอย่างไรและอะไรที่ต้องพัฒนา?
(From a technical perspective how would you describe Asian football, what can be improved ?)

ฝ่ายเทคนิคของหลายประเทศให้ข้อคิดเห็นที่ตรงกัน เป็นต้นว่า...

quality not enough  แค่คุณภาพไม่พอ
more speed  ต้องมีความเร็วมากกว่านี้
creativity  ความคิดในการสร้างสรรค์เกม

- แนวโน้มการพัฒนาฟุตบอลในเอเชียเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการวิเคราะห์จากหน่วยงานฝ่ายเทคนิคของเอเอฟซี สามารถแยกแยะออกเป็นหัวข้อหลักเช่น.

1. มีความเข้มข้นสูง (greater intensity)
2. ความเร็วสูงขึ้น (increased speed)
3. เทคนิคการเล่นที่รวดเร็ว (faster technique)
4. พื้นที่ในการเล่นน้อยลง (less space)
5. มีการกดดันในแดนหน้า (Advanced pressing)
6. การโต้กลับเป็นทีม (collective countering)
7. เสียแล้วกดดันทันทีในแดนคู่ต่อสู้ (countering counters)
8. แท็คติคการเล่นที่หลากหลาย (tactical flexibility)
9. ตำแหน่งในการเล่น (positional play)
10. การสร้างสรรค์ในการขึ้นเกม (constructive build- up)
11. ความสัมพันธ์ในการเล่นดีขึ้น (improved combos)
12. ผู้รักษาประตูคือตัวกวาด (sweeper keepers)
13. ไลน์กองหลังดันขึ้นสูง (higher lines)
14. การเล่นแบบคลุมพื้นที่ (zone mentality)
15. ความหลากหลายในเกมรุก (attacking diversity)
16. การปะทะน้อยลง (less tackles)

หมายเหตุ : 16 หัวข้อที่พัฒนาดีขึ้นทั้งหมดข้างต้นเป็นการประเมินในทีมระดับต้นๆของเอเซียในทัวร์นาเมนต์ใหญ่ๆ เช่นเอเอฟซี แชมเปี้ยนลีก , ฟุตบอลโอลิมปิก, ฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย เป็นต้น เพราะฉะนั้นทีมในย่านอาเซียนที่ไม่มีโอกาสเข้าไปเล่นในรายการใหญ่ๆถ้าต้องการที่จะยกระดับมาตรฐานของตนเองก็ต้องเอาข้อมูลทั้งหมดเปรียบเทียบกับมาตรฐานของฟุตบอลในประเทศของตัวเองว่ามีการพัฒนามากน้อยแค่ไหน เช่น ข้อที่ 15 ความหลากหลายในเกมรุกต้องยอมรับว่าฟุตบอลในบ้านเรายังขาดความหลากหลาย หรือข้อที่ 16 การปะทะ การฟาล์วในเกมฟุตบอลในบ้านเรายังสูงมาก

สี่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องพัฒนาคือ ตัวผู้ฝึกสอน (coaches)

- East Asia strong and powerful , West Asia Technic and Tactic. ทีมเอเชียตะวันออกระดับต้นๆอย่าง อย่างจีน เกาหลีเหนือ ใต้และ ญี่ปุ่นจะมีความแข็งแรงกว่าทีมเอเซียตะวันตกอย่างกาตาร์, ซาอุดิอาระเบีย, ยูเออี, บาห์เรนและอิรัก
- Creative coach can help creative player. โค้ชที่สร้างสรรค์ช่วยผู้เล่นให้เกิดการสร้างสรรค์ได้
- The structure. โครงสร้างที่หมายถึงทุกๆอย่างโดยเฉพาะโครงสร้างในการฝึก
- 1v1 ในเกมรุกและเกมรับ
- Mind set การปรับเปลื่ยนความคิด
- Physical ปรับปรุงความฟิต
- Different style of play การเล่นที่หลากหลาย
- Direct teaching การสอนเฉพาะ และการสอนพิเศษ
- Greedy goal score ผู้เล่นกระหายในชัยชนะกระหายที่จะทำประตู

Q2. จะลดช่องว่างระหว่างทีมระดับต้นๆของเอเซียกับทีมระดับโลกได้อย่างไร ?
(How can the leading Asian man’s teams close the gap with the world’s best ?)

Dr.ben Weinberg นักวิจัยเกี่ยวกับกีฬาของเยอรมันกล่าวเอาไว้ว่า “Asia is not an immediate competitor for big footballing countries” หมายความว่า ทีมในเอเชียยังไม่ใช่คู่แข่งในตอนนี้กับประเทศที่ยี่งใหญ่ในเกมฟุตบอล

เขาพูดถูกใหม ? ถ้าใช่อะไรคือสี่งที่เราต้องปรับปรุง

- Environment สภาพแวดล้อมที่รวมไปถึงบรรยากาศ สนาม ที่สะอาด ปลอดภัยและสวยงาม
- Coach education การพัฒนาขีดความสามารถของโค้ชทุกๆระดับ
- Competition structure out side each age group for international game โครงสร้างในการแข่งขันโดยเฉพาะเกมนานาชาติในแต่ละระดับอายุ และเกมที่มีคุณภาพในระดับสูง เป็นสี่งที่เราต้องนำไปพิจารณา
- Technology การใช้เทคโนโลยี่ในการเก็บข้อมูลของตัวผู้เล่น และการประเมินความก้าวหน้า เป็นต้น

ปัญหาฟุตบอลในเอเชียคือ
- ขาดความเป็นมืออาชีพ (lack of professionalism)
- โครงสร้างในการแข่งขันและระบบจัดการแข่งขันแย่ (poor league structures)
- ขาดการพัฒนาโค้ช กรรมการและผู้บริหาร (insufficient education of coaches, referees, administrators)
- ขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังในส่วนของรากหญ้า และการพัฒนาเยาวชน (not enough investment in grassroots and youth development)

Uli  STIELIKE อดีตนักเตะดังชาวเยอรมัน และโค้ชทีมชาติเกาหลีใต้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาฟุตบอลในทวีปเอเชีย, ความสำเร็จของทีมในทวีปเอเชียและการลดช่องว่างระหว่างทีมต่างๆในยุโรปเอาไว้ว่า

“ There is a lot of rivalry. We are observing each other, while in football development, the gap gets bigger and bigger with countries such as Germany and Spain ”

มันมีคู่แข่งมากมาย  เรา (หมายถึงทีมในเอเชีย) ต่างคอยดูการพัฒนาของกันและกัน แต่ในขณะเดียวกันในการพัฒนาฟุตบอลนั้น ช่องว่างกลับยี่งห่างออกไปและห่างออกไป ถ้าเทียบกับประเทศอย่างเยอรมันและประเทศสเปน

Joachim  LOW พูดถึงความสำเร็จของทีมชาติเยอรมันเอาไว้ว่า

“We started this project 10 years ago, and what has happened is the result of many year’s work”
เราเรี่มโครงสร้างเมื่อ 10 ปีก่อนและผลงานที่เกิดขึ้นเพราะเราทำงานติดต่อกันมาหลายปี

Cristiano  RONALDO นักเตะชื่อดังและเป็นที่ชื่นชมของคนทั่วโลก พูดถึงความยี่งใหญ่ของตัวเองว่า

“I have my flaws too, but I am a professional who doesn’t like to miss or to lose”
“ผมก็มีข้อบกพร่องเหมือนกัน, แต่ผมคือนักฟุตบอลอาชีพ ที่ไม่ชอบความผิดพลาดและความพ่ายแพ้”

Q3. ถ้าการแข่งขันช่วยให้เกิดการพัฒนา, เราคิดว่าจะต้องมีรูปแบบการแข่งขันแบบใหม่หรือไม่ หรือควรปรับปรุงจากรูปแบบเดิม ?
(If competitions drive development, do we need new competitions or do we need to upgrade current one ?)

ถ้ามองในภาพรวมในระดับอาเซียนที่ไม่ใช่เอเซีย ASEAN FOOTBALL NOT ASIAN FOOTBALL

เรามีปัญหามากมายที่ต้องแก้ไขเป็นต้นว่า

- Optimistic mind มองในแง่ดีคือสนับสนุนอย่าเอาแต่ค้านหรือทำเพื่ออิงผลประโยชน์ เหตุผลจริงๆไม่พูดกัน ไม่ตรงจุดประสงศ์
- Need improve local competition การพัฒนาลีกภายในประเทศ
- Players developed  from the club not national team,  national team can not camp 2 – 3 month for tournament

เราต้องเข้าใจว่าผู้เล่นพัฒนาจากสโมสรไม่ใช่จากทีมชาติเพราะทีมชาติไม่สามารถที่จะรวมตัวฝึกซ้อมกันได้นานๆ2-3 เดือน

- The best play against with the best  คนเก่งต้องเล่นกับคนเก่ง เพราะฉะนั้นในระดับเยาวชนเราต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในเรื่องของ Elite League ลีกที่รวมเอานักเตะเก่งๆหรือทีมแนวหน้าของประเทศมาแข่งขันกัน

ตามปกติ เอเอฟซีมีรูปแบบการแข่ง U – 14 ที่จัดเป็นมหกรรม หรือเทศกาล ปีๆหนึ่งก็น้อยครั้ง และ มี U – 16, U – 19 และU – 23 รอบคัดเลือกต่างๆ เช่นทีมในย่านอาเซียนจะเสียเปรียบทีมต่างๆในเอเชียเพราะไม่เคยผ่านรอบคัดเลือก ทำให้เกมการแข่งขันในระดับชาติ และคุณภาพการแข่งขันในระดับสูงมีน้อยเกินไป

แต่ก็มีทัวร์นาเมนต์ของเอเอฟเอฟ ที่ช่วยให้ทีมในย่านอาเซียนได้มีเกมนานาชาติแข่งขันกัน ซึ่งแน่นอนว่ามาตรฐานการเล่นไม่ได้สูงพอที่จะพัฒนาไปต่อกรสู้กับทีมใหญ่ๆในเอเซีย

ในอนาคต เอเอฟซีอาจจะมีรายการแข่งขันใหม่ๆเกิดขึ้นให้เกิดการพัฒนาเพื่อยกมาตรฐานของทีมในเอเซียและอาเซียน เพราะการแข่งขันทำให้เกิดการพัฒนา

Q4. อะไรที่ต้องพัฒนาร่วมมือกันในการช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนความรู้ ?
(What more can be done to improve collaboration and the sharing of knowledge?)

Sir Alex FERGUSON แนะนำเอาไว้ว่า

ถ้าคุณเป็นโค้ชที่อายุน้อยพยายามซึมซับทุกๆอย่างจากผู้ที่มีประสบการณ์ เพราะเขาผ่านอุปสรรคต่างๆมาหมดแล้ว
“If you are a young coach, absorb everything you hear from your older colleagues, those who have survived, because they have a story to tell”


ขณะที่ Vicente  DEL BOSQUE กล่าวไว้ว่า

ถ้าคุณรู้แต่เรื่องฟุตบอล คุณก็จะแพ้ “If you only know about football you are lost”

ถ้าทิศทางที่คุณเดินมันถูกต้อง สี่งที่จะต้องทำคือก้าวเดินต่อไป
“If you are facing in the right direction, all you need to do is keep walking”

20 – 30 ปีที่ผ่านมาฟุตบอลเปลื่ยนไป โดยเฉพาะความเร็ว แทคติก ความสามารถเฉพาะตัวที่สูงขึ้นและเกมการเล่นที่เป็นทีมมากขึ้นและปัจจุปันฟุตบอลมีความเป็นอาชีพสูงขึ้น การเรียนรู้และการพัฒนาตัวเองจึงเป็นเรี่องสำคัญ ที่ต้องพิจราณาในองศ์ประกอบหลายๆอย่างที่สำคัญ เช่น การพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับฟุตบอล (Developing awareness)

- Changing program โปรแกมการแลกเปลื่ยน
- More technology การนำเทคโนโลยี่เข้ามาใช้ให้มากขึ้น
- Sharing idea การแลกเปลื่ยนความคิดเห็น
- More group work การทำงานเป็นทีม การสัมมนา รวมทั้งหลักสูตรการฟื้นฟู (refreshing course)

สี่งต่างๆเหล่านี้จะสามารถช่วยยกระดับความรู้ความสามารถของบรรดาผู้ฝึกสอน

“It looks easy , but everything that looks easy in football is very difficult to achieve”
มันดูเหมือนง่าย แต่ทุกอย่างที่เห็นว่าง่ายในฟุตบอลคือสี่งที่ยากมากที่จะประสบความสำเร็จ

Rinus MICHELS


ที่มาบทความ : http://fathailand.org/news/459
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่