ตัวเราเองเป็นหมอสูติ ที่ทำงานรพ.รัฐเป็นหลัก และทำเอกชนพาร์ทไทม์นะคะ
ปัญหาที่พบคือ
คนท้อง ที่มีปัญหาแทรกซ้อนโดยเฉพาะกรณีคลอดก่อนกำหนด เวลาเข้ารักษาในรพ.เอกชน จะเจอปัญหา
1.ศักยภาพไม่ถึง
เช่น กรณีคลอดก่อนกำหนด รพ.เอกชนส่วนมาก มักจะดูแลเด็กได้ที่อายุครรภ์ราวๆ 34 สัปดาห์ขึ้นไป
แต่ถ้าระดับ 28-34 ส่วนมากจะดูแลไม่ได้ นอกจากรพ.ที่ศักยภาพสูงจริงๆ
และถ้าต่ำกว่า 28 สัปดาห์ คือเอกชนเลี้ยงไม่รอดหรอกค่ะ ต้องเข้า รพ.รัฐบาลใหญ่ๆ
เหตุผลเพราะว่า การลงทุนเพื่อสร้าง NICU สำหรับเด็กอ่อน รวมจึงจ้างหมอพยาบาลระดับพระกาฬ มันสูงมากนะคะ
และในที่สุดมันก็จะเป็นต้นทุนค่ารักษาต่อไปค่ะ ดูแล้วคนทั่วไปคงไม่มีกำลังจ่าย เขาจึงไม่พัฒนาในส่วนนี้ค่ะ
(ต่างจากรัฐบาลซึ่งการสร้างห้อง คน ของ พวกนี้ ไม่ได้คิดเป็นราคาอะไรคือมาเป็นงบประมาณ)
อีกประเด็นคือ การดูแลแม่ที่มีภาวะแทรกซ้อน
การสังเกตอาการต่างๆที่เป็นปัญหาวิกฤต
พยาบาลและทีมของเอกชนก็มักจะไม่ได้รับการฝึกฝนเท่ารพ.รัฐเช่นกัน
กรณีคลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ อะไรแบบนี้ การนอนในรพ.เอกชนค่อนข้างเสี่ยงค่ะ
2.ต่อเนื่องจากข้อ 1.คือราคาสูง
สมมติว่ารพ.เอกชนดังกล่าว สามารถดูแลเด็กคลอดก่อนกำหนดได้ประมาณนึง
ค่าใช้จ่ายก็มักสูงลิ่วเกินกว่าคนธรรมดาทั่วไปจะฝันถึงนะคะ
ต่อให้เด็กคลอดก่อนกำหนด แบบธรรมดาๆ ไม่ได้ใช้ยากระตุ้นอะไรพิเศษ อาจจะวิ่งเป็นหลักหมื่นต่อวัน
ถ้าพูดถึงกรณีคนต่างจังหวัด (แบบจังหวัดที่เราอยู่เนี่ย)ซึ่งบางคนก็เป็นคนทำงานทั่วไป ทำไร่ทำนาก็มี คือไม่ได้เล่นเน็ท ไม่รู้ข้อมูลอะไรมาก
บางคนประเมินว่าหลักพันก็หรูแล้ว พอเห็นตัวเลขจริงนี่แทบช็อค
(เอาว่าขนาดเราเองเป็นหมอนะคะ เคยมีเหตุจำเป็นพาแม่ไปตรวจ OPD เอกชนที่ต่างจังหวัด เห็นบิลก็ช็อคเหมือนกันค่ะ)
3.ถ้ามีเหตุต้องส่งเข้ารพ.รัฐในที่สุด ก็ยากเหลือแสน
โดยเฉพาะเด็กคลอดก่อนกำหนดนะคะ หาที่รับยากมากค่ะ
แต่ถ้าคุณไปเริ่มต้นกับรพ.รัฐแต่แรก เขาก็ต้องรับอยู่แล้วแหละ
ที่ต้องมาเขียน เพราะคนไข้รพ.เอกชนมักไม่เข้าใจในความหวังดีของเรา เวลาที่เราอยู่เอกชนแล้วเจอเคสนะคะ
คนไข้มักไม่เข้าใจและไม่พอใจว่าทำไมเราต้องส่งเขาเข้ารัฐบาล
ซึ่งการที่เราเป็นหมอ รพ.รัฐอยู่แล้ว เราก็ยึดความปลอดภัยคนไข้เป็นหลัก และเราก็คุยเพื่อส่งเคสกับรพ.รัฐได้ง่ายด้วย
แต่เราก็ไม่สามารถอธิบายอะไรกับคนไข้ได้มาก ก็ ณ ขณะนั้นเราอยู่ในสถานะหมอ รพ.เอกชน
จะให้พูดไปว่า ที่นี่มันไม่พร้อมอย่างงั้นไม่ดีอย่างงี้ เลี้ยงลูกคุณไม่ไหวหรอก ได้เหรอ???
ถ้าคนไข้เจอหมอฟูลไทม์ บางท่านก็จะพยายามเก็บคนไข้ไว้จนถึงที่สุด ซึ่งบางครั้งเป็นการรักษาบนความเสี่ยง
(แต่คนไข้ไม่รู้ตัวนะคะ กลับมีความพอใจมากกกก)เพราะมันเป็นการยากที่เขาจะยอมรับว่า รพ.ตัวเอง ศักยภาพไม่เพียงพอที่จะดูเคส
ก็จะพยายามถูลู่ถูกังอยู่กันไป ซึ่งบางเคสก็ตลอดรอดฝั่งไปได้ด้วยดี (เด็กคลอดกำหนดบางคนก็อาการดีเหลือเชื่อ)
แต่บางเคส ก็แย่เกินกว่าคาดฝันค่ะ แล้วนึกดูว่า คุณเข้าไป ผ่ากับเขาเรียบร้อย เสร็จปุ๊บออกมาหมอเด็กบอกเด็กหอบต้องหาที่ส่งตัวลูก
ระหว่างยังหาไม่ได้ ค่ารักษาวิ่งทุกวันเป็นหมื่นเป็นแสนจะทำยังไงแถมการรักษาก็ยังไม่เต็มร้อยอีก
อันนี้ก็ฝากให้คิดนะคะ กรณีคลอดก่อนกำหนด และกรณีอื่นๆซึ่งสุดท้ายหมออาจจำเป็นต้องให้คลอดก่อนกำหนดเช่นกัน เช่น ครรภ์เป็นพิษ รกเกาะต่ำเลือดออกมาก
ถ้ารู้ตัวว่าความเสี่ยงสูงเข้ารัฐบาลได้ก็เข้าเถอะค่ะ หรือถ้าหมอรพ.เอกชนบอกว่า ควรไปรพ.รัฐก็ไปเถอะค่ะอย่างอแงเลย
หากกระทบต่อความรู้สึกใครต้องขออภัยนะคะ และเชิญหมอสูติหมอเด็กแสดงความเห็นเพิ่มเติมได้ค่ะ
เตือนใจคุณแม่ท้อง เรื่องการเข้า รพ.เอกชน
ปัญหาที่พบคือ
คนท้อง ที่มีปัญหาแทรกซ้อนโดยเฉพาะกรณีคลอดก่อนกำหนด เวลาเข้ารักษาในรพ.เอกชน จะเจอปัญหา
1.ศักยภาพไม่ถึง
เช่น กรณีคลอดก่อนกำหนด รพ.เอกชนส่วนมาก มักจะดูแลเด็กได้ที่อายุครรภ์ราวๆ 34 สัปดาห์ขึ้นไป
แต่ถ้าระดับ 28-34 ส่วนมากจะดูแลไม่ได้ นอกจากรพ.ที่ศักยภาพสูงจริงๆ
และถ้าต่ำกว่า 28 สัปดาห์ คือเอกชนเลี้ยงไม่รอดหรอกค่ะ ต้องเข้า รพ.รัฐบาลใหญ่ๆ
เหตุผลเพราะว่า การลงทุนเพื่อสร้าง NICU สำหรับเด็กอ่อน รวมจึงจ้างหมอพยาบาลระดับพระกาฬ มันสูงมากนะคะ
และในที่สุดมันก็จะเป็นต้นทุนค่ารักษาต่อไปค่ะ ดูแล้วคนทั่วไปคงไม่มีกำลังจ่าย เขาจึงไม่พัฒนาในส่วนนี้ค่ะ
(ต่างจากรัฐบาลซึ่งการสร้างห้อง คน ของ พวกนี้ ไม่ได้คิดเป็นราคาอะไรคือมาเป็นงบประมาณ)
อีกประเด็นคือ การดูแลแม่ที่มีภาวะแทรกซ้อน
การสังเกตอาการต่างๆที่เป็นปัญหาวิกฤต
พยาบาลและทีมของเอกชนก็มักจะไม่ได้รับการฝึกฝนเท่ารพ.รัฐเช่นกัน
กรณีคลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ อะไรแบบนี้ การนอนในรพ.เอกชนค่อนข้างเสี่ยงค่ะ
2.ต่อเนื่องจากข้อ 1.คือราคาสูง
สมมติว่ารพ.เอกชนดังกล่าว สามารถดูแลเด็กคลอดก่อนกำหนดได้ประมาณนึง
ค่าใช้จ่ายก็มักสูงลิ่วเกินกว่าคนธรรมดาทั่วไปจะฝันถึงนะคะ
ต่อให้เด็กคลอดก่อนกำหนด แบบธรรมดาๆ ไม่ได้ใช้ยากระตุ้นอะไรพิเศษ อาจจะวิ่งเป็นหลักหมื่นต่อวัน
ถ้าพูดถึงกรณีคนต่างจังหวัด (แบบจังหวัดที่เราอยู่เนี่ย)ซึ่งบางคนก็เป็นคนทำงานทั่วไป ทำไร่ทำนาก็มี คือไม่ได้เล่นเน็ท ไม่รู้ข้อมูลอะไรมาก
บางคนประเมินว่าหลักพันก็หรูแล้ว พอเห็นตัวเลขจริงนี่แทบช็อค
(เอาว่าขนาดเราเองเป็นหมอนะคะ เคยมีเหตุจำเป็นพาแม่ไปตรวจ OPD เอกชนที่ต่างจังหวัด เห็นบิลก็ช็อคเหมือนกันค่ะ)
3.ถ้ามีเหตุต้องส่งเข้ารพ.รัฐในที่สุด ก็ยากเหลือแสน
โดยเฉพาะเด็กคลอดก่อนกำหนดนะคะ หาที่รับยากมากค่ะ
แต่ถ้าคุณไปเริ่มต้นกับรพ.รัฐแต่แรก เขาก็ต้องรับอยู่แล้วแหละ
ที่ต้องมาเขียน เพราะคนไข้รพ.เอกชนมักไม่เข้าใจในความหวังดีของเรา เวลาที่เราอยู่เอกชนแล้วเจอเคสนะคะ
คนไข้มักไม่เข้าใจและไม่พอใจว่าทำไมเราต้องส่งเขาเข้ารัฐบาล
ซึ่งการที่เราเป็นหมอ รพ.รัฐอยู่แล้ว เราก็ยึดความปลอดภัยคนไข้เป็นหลัก และเราก็คุยเพื่อส่งเคสกับรพ.รัฐได้ง่ายด้วย
แต่เราก็ไม่สามารถอธิบายอะไรกับคนไข้ได้มาก ก็ ณ ขณะนั้นเราอยู่ในสถานะหมอ รพ.เอกชน
จะให้พูดไปว่า ที่นี่มันไม่พร้อมอย่างงั้นไม่ดีอย่างงี้ เลี้ยงลูกคุณไม่ไหวหรอก ได้เหรอ???
ถ้าคนไข้เจอหมอฟูลไทม์ บางท่านก็จะพยายามเก็บคนไข้ไว้จนถึงที่สุด ซึ่งบางครั้งเป็นการรักษาบนความเสี่ยง
(แต่คนไข้ไม่รู้ตัวนะคะ กลับมีความพอใจมากกกก)เพราะมันเป็นการยากที่เขาจะยอมรับว่า รพ.ตัวเอง ศักยภาพไม่เพียงพอที่จะดูเคส
ก็จะพยายามถูลู่ถูกังอยู่กันไป ซึ่งบางเคสก็ตลอดรอดฝั่งไปได้ด้วยดี (เด็กคลอดกำหนดบางคนก็อาการดีเหลือเชื่อ)
แต่บางเคส ก็แย่เกินกว่าคาดฝันค่ะ แล้วนึกดูว่า คุณเข้าไป ผ่ากับเขาเรียบร้อย เสร็จปุ๊บออกมาหมอเด็กบอกเด็กหอบต้องหาที่ส่งตัวลูก
ระหว่างยังหาไม่ได้ ค่ารักษาวิ่งทุกวันเป็นหมื่นเป็นแสนจะทำยังไงแถมการรักษาก็ยังไม่เต็มร้อยอีก
อันนี้ก็ฝากให้คิดนะคะ กรณีคลอดก่อนกำหนด และกรณีอื่นๆซึ่งสุดท้ายหมออาจจำเป็นต้องให้คลอดก่อนกำหนดเช่นกัน เช่น ครรภ์เป็นพิษ รกเกาะต่ำเลือดออกมาก
ถ้ารู้ตัวว่าความเสี่ยงสูงเข้ารัฐบาลได้ก็เข้าเถอะค่ะ หรือถ้าหมอรพ.เอกชนบอกว่า ควรไปรพ.รัฐก็ไปเถอะค่ะอย่างอแงเลย
หากกระทบต่อความรู้สึกใครต้องขออภัยนะคะ และเชิญหมอสูติหมอเด็กแสดงความเห็นเพิ่มเติมได้ค่ะ