ทำไมประเทศไทยต้องมีบรรษัทน้ำมันแห่งชาติโดยเร็ว
ก่อนเปิดประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ “แหล่งบงกชและเอราวัณ”
ถาม บรรษัทน้ำมันแห่งชาติคืออะไร?
ตอบ บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ คือหน่วยงานของรัฐ ไม่ใช่บริษัทเอกขขชน ทำหน้าที่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมของประเทศและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งหมดแทนรัฐ เป็นตัวกลางในการเข้าทำสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับบริษัทเอกชนหากต้องมีการใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตหรือสัญญาจ้างบริการ
ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยจัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยหรือ ปตท.ทำหน้าที่นี้ แต่เมื่อ ปตท.แปรรูปเป็นบริษัทมหาชน ตามกฎหมายจึงไม่อาจมีอำนาจมหาชนแบบนี้แทนรัฐได้ แต่รัฐบาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันก็ปล่อยปละละเลยยอมให้บริษัทพลังงานเอกชนที่มาจากการแปรรูปในสมัยทักษิณทำหน้าที่บรรษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศไทยเรื่อยมา การแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมจึงต้องเขียนกฎหมายให้ต้องมีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติขึ้นมาทำหน้าที่แทน
บรรษัทน้ำมันแห่งชาติมีในเกือบทุกประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่างมาเลเซียก็คือ ปิโตรนาส ตึกคู่แฝดของปิโตรนาสเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวมาเลเซียภาคภูมิใจ เป็นแลนด์มาร์คของเมืองหลวง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ นางงามมาเลเซียปีนี้ก็แต่งกายโดยใช้รูปทรงตึกปิโตรนาสไปแสดง
ถาม หน้าที่สำคัญของบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ คืออะไร?
ตอบ
1. รับโอนทรัพย์สินทั้งทรัพยากรปิโตรเลียมและอุปกรณ์การผลิตปิโตรเลียมจากทุกแหล่งที่หมดสัญญาสัมปทาน
2. รับโอนระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เพื่อหยุดการผูกขาด และทำให้เกิดการแข่งขัน
3. ขายปิโตรเลียมตามสิทธิที่รัฐได้จากระบบแบ่งปันผลผลิตและจ้างผลิต
ถาม ใช้ ปตท. เป็นบรรษัทน้ำมันแห่งชาติได้หรือไม่ ?
ตอบ ไม่ได้ เพราะบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ถือครองทรัพยากรปิโตรเลียมและทรัพย์สินอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องแทนคนไทยทั้งประเทศ ดังนั้น ปตท. ที่ถูกแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนจำกัดตั้งแต่สมัยนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร จึงไม่อาจมีอำนาจมหาชนแทนรัฐได้ และไม่มีความชอบธรรมที่จะทำหน้าที่เป็นบรรษัทน้ำมันแห่งชาติต่อไป เพราะมีเอกชนและต่างชาติถือหุ้นเกือบครึ่ง
ถาม ใช้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน แทนบรรษัทน้ำมันแห่งชาติได้ไหม ?
ตอบ ไม่ได้เพราะเป็นหน่วยงานราชการ การบริหารงานไม่คล่องตัว ติดระเบียบราชการ การแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมฉบับปล้นกลางแดดที่ภาคประชาชนคัดค้าน เลือกให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติทำหน้าที่นี้ จึงต้องใช้วิธีฝากเอกชนขายปิโตรเลียมแทน วิธีนี้ไม่ต่างจากระบบสัมปทาน ซึ่งมีข้อกล่าวหาว่าอาจเกิดปัญหาการรั่วไหลในประโยชน์ได้หลายช่องทาง เพราะความหย่อนประสิทธิภาพในการตรวจสอบที่อาจเกิดขึ้นได้
ถาม ออกกฎหมายปิโตรเลียมรอจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเมื่อพร้อมได้ไหม ?
ตอบ รอไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเทื่อไหร่ 10 ปี หรือ 100 ปีก็อาจจะไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้ ด้วยวิธีการเขียนกฎหมายที่ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดแบบนี้ แต่ที่สำคัญที่สุดเพราะ แหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยคือ แหล่งบงกชและเอราวัณ ซึ่งผลิตก๊าซธรรมชาติได้ถึงครึ่งหนึ่งของประเทศไทย จะหมดอายุสัมปทานแล้วในปี 2565 และ 2566 แต่ยังมีทรัพยากรปิโตรเลียมเหลืออยู่อีกมาก จึงมีความจำเป็นต้องตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติที่เป็นองค์กรของรัฐเพื่อรับโอนทรัพย์สิน ก่อนการเปิดประมูลการผลิตรอบต่อไป หากจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติไม่ทัน จะทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียอธิปไตยเหนือแหล่งปิโตรเลียมไปอีกเกือบค่อนศตวรรษ
ที่มา
https://www.facebook.com/236945323048705/photos/a.340522252691011.76552.236945323048705/1264033327006561/?type=3&theater
ทำไมประเทศไทยต้องมีบรรษัทน้ำมันแห่งชาติโดยเร็ว โดย รสนา โตสิตระกูล
ก่อนเปิดประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ “แหล่งบงกชและเอราวัณ”
ถาม บรรษัทน้ำมันแห่งชาติคืออะไร?
ตอบ บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ คือหน่วยงานของรัฐ ไม่ใช่บริษัทเอกขขชน ทำหน้าที่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในแหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมของประเทศและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งหมดแทนรัฐ เป็นตัวกลางในการเข้าทำสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับบริษัทเอกชนหากต้องมีการใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตหรือสัญญาจ้างบริการ
ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยจัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยหรือ ปตท.ทำหน้าที่นี้ แต่เมื่อ ปตท.แปรรูปเป็นบริษัทมหาชน ตามกฎหมายจึงไม่อาจมีอำนาจมหาชนแบบนี้แทนรัฐได้ แต่รัฐบาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันก็ปล่อยปละละเลยยอมให้บริษัทพลังงานเอกชนที่มาจากการแปรรูปในสมัยทักษิณทำหน้าที่บรรษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศไทยเรื่อยมา การแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมจึงต้องเขียนกฎหมายให้ต้องมีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติขึ้นมาทำหน้าที่แทน
บรรษัทน้ำมันแห่งชาติมีในเกือบทุกประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่างมาเลเซียก็คือ ปิโตรนาส ตึกคู่แฝดของปิโตรนาสเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวมาเลเซียภาคภูมิใจ เป็นแลนด์มาร์คของเมืองหลวง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ นางงามมาเลเซียปีนี้ก็แต่งกายโดยใช้รูปทรงตึกปิโตรนาสไปแสดง
ถาม หน้าที่สำคัญของบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ คืออะไร?
ตอบ
1. รับโอนทรัพย์สินทั้งทรัพยากรปิโตรเลียมและอุปกรณ์การผลิตปิโตรเลียมจากทุกแหล่งที่หมดสัญญาสัมปทาน
2. รับโอนระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เพื่อหยุดการผูกขาด และทำให้เกิดการแข่งขัน
3. ขายปิโตรเลียมตามสิทธิที่รัฐได้จากระบบแบ่งปันผลผลิตและจ้างผลิต
ถาม ใช้ ปตท. เป็นบรรษัทน้ำมันแห่งชาติได้หรือไม่ ?
ตอบ ไม่ได้ เพราะบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ถือครองทรัพยากรปิโตรเลียมและทรัพย์สินอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องแทนคนไทยทั้งประเทศ ดังนั้น ปตท. ที่ถูกแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนจำกัดตั้งแต่สมัยนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร จึงไม่อาจมีอำนาจมหาชนแทนรัฐได้ และไม่มีความชอบธรรมที่จะทำหน้าที่เป็นบรรษัทน้ำมันแห่งชาติต่อไป เพราะมีเอกชนและต่างชาติถือหุ้นเกือบครึ่ง
ถาม ใช้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน แทนบรรษัทน้ำมันแห่งชาติได้ไหม ?
ตอบ ไม่ได้เพราะเป็นหน่วยงานราชการ การบริหารงานไม่คล่องตัว ติดระเบียบราชการ การแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมฉบับปล้นกลางแดดที่ภาคประชาชนคัดค้าน เลือกให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติทำหน้าที่นี้ จึงต้องใช้วิธีฝากเอกชนขายปิโตรเลียมแทน วิธีนี้ไม่ต่างจากระบบสัมปทาน ซึ่งมีข้อกล่าวหาว่าอาจเกิดปัญหาการรั่วไหลในประโยชน์ได้หลายช่องทาง เพราะความหย่อนประสิทธิภาพในการตรวจสอบที่อาจเกิดขึ้นได้
ถาม ออกกฎหมายปิโตรเลียมรอจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติเมื่อพร้อมได้ไหม ?
ตอบ รอไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเทื่อไหร่ 10 ปี หรือ 100 ปีก็อาจจะไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้ ด้วยวิธีการเขียนกฎหมายที่ไม่มีเงื่อนไขผูกมัดแบบนี้ แต่ที่สำคัญที่สุดเพราะ แหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยคือ แหล่งบงกชและเอราวัณ ซึ่งผลิตก๊าซธรรมชาติได้ถึงครึ่งหนึ่งของประเทศไทย จะหมดอายุสัมปทานแล้วในปี 2565 และ 2566 แต่ยังมีทรัพยากรปิโตรเลียมเหลืออยู่อีกมาก จึงมีความจำเป็นต้องตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติที่เป็นองค์กรของรัฐเพื่อรับโอนทรัพย์สิน ก่อนการเปิดประมูลการผลิตรอบต่อไป หากจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติไม่ทัน จะทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียอธิปไตยเหนือแหล่งปิโตรเลียมไปอีกเกือบค่อนศตวรรษ
ที่มา https://www.facebook.com/236945323048705/photos/a.340522252691011.76552.236945323048705/1264033327006561/?type=3&theater