สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
เล่าให้ฟังคร่าวๆละกันครับ
อย่างน้อยเราเห็นได้ว่าหน่วยของเวลาสัมพันธ์กับเลขฐาน 60 ซึ่งชาวบาบิโลนและสุเมเรียนพัฒนาขึ้นมาเมื่อกว่าห้าพันปีที่แล้วโน่น
60 เป็นเลขที่ค่อนข้างพิเศษ ตรงที่มันเอา 2,3,4,5,6,10,12,15,20,30,60 หารมันได้ลงตัว ซึ่งถือว่าเยอะมากสำหรับเลขสองหลัก
มันทำให้เลขนี้ถูกใช้มากเพราะเอามาทำสัดส่วนได้ง่าย สำหรับยุคโบราณมันง่ายกวา่เลขฐานสิบซะอีก
ชาวบาบิโลนแบ่งท้องฟ้าออกเป็น 6 โซน กลางวัน 3 ช่วงเวลา กลางคืน 3 ช่วงเวลา แถมวัดวันได้ด้วยว่า 1 ปีมีประมาณ 360 วัน (จากการดูดาวที่เคลื่อนไปในแต่ละวัน แน่นอนว่าตอนนั้นการวัดยังไม่แม่นยำเท่าปัจจุบัน)
ท้องฟ้าเลยถูกแบ่งได้เป็น 360 ส่วนย่อย (เช่นเดียวกันกับวงกลม จริงๆมันคือที่มาว่าทำไมวงกลมมี 360 องศา) และแต่ละโซนมี 60 ส่วน
เมื่อแนวคิดฐาน 60 ส่งต่อมาที่อิยิปต์โบราณ ซึ่งสร้างนาฬิกาแดดที่แม่นยำได้ ชาวอิยิปต์แบ่งจำนวนช่องในนาฬิกาแดดออกเป็น 12 ส่วน ทำให้วันนึงมีเวลา 24 ส่วน ซึ่งเป็นที่มาของ 24 ชั่วโมง (เลข 12 เป็นอีกเลขที่แบ่งได้ง่าย)
ชาวกรีกเป็นคนที่เอาสองแนวคิดนี้เข้าด้วยกัน วันนึงมี 24 ชั่วโมง แต่ละชั่วโมงถูกแบ่งได้เป็น 60 ส่วน เรียกว่านาที และแบ่งต่ออีกเป็นวินาที
จากนั้นระบบที่มีอายุหลายพันปีนี้ก็ถูกส่งต่อไปใช้ในยุโรปและทั่วโลก
ดังนั้นนิยามของ 1 วินาทีในช่วงแรกก็คือ 1/(24x60x60) ส่วนของความยาวของวันนี่แหละครับ
สรุปคือมนุษย์เรานิยามเวลาจากปรากฏการณ์ท้องฟ้าที่พวกเขาเห็น
แต่พอดีว่าการแบ่งวิตามการหมุนของโลกไม่แม่นยำเพราะการหมุนของโลกไม่ได้คงที่ และมีปัญหากับจุดคงที่บนฟ้าด้วย (วัดได้หลายแบบ)
ทำให้ยุคใหม่เราเอาการสั่นของอะตอมมานิยาม 1 วินาทีแทน โดยพยายามนิยามให้ใกล้เคียงค่าเดิมที่สุดน่ะครับ
ปล. นิยาม 1 วิในปัจจุบันคือการสั่นของอะตอมซีเซียม-134 ที่ 9,192,631,770 ครั้ง (ไม่รู้ผมบ้าจำเลขนี้ไปทำไม ฮา)
อย่างน้อยเราเห็นได้ว่าหน่วยของเวลาสัมพันธ์กับเลขฐาน 60 ซึ่งชาวบาบิโลนและสุเมเรียนพัฒนาขึ้นมาเมื่อกว่าห้าพันปีที่แล้วโน่น
60 เป็นเลขที่ค่อนข้างพิเศษ ตรงที่มันเอา 2,3,4,5,6,10,12,15,20,30,60 หารมันได้ลงตัว ซึ่งถือว่าเยอะมากสำหรับเลขสองหลัก
มันทำให้เลขนี้ถูกใช้มากเพราะเอามาทำสัดส่วนได้ง่าย สำหรับยุคโบราณมันง่ายกวา่เลขฐานสิบซะอีก
ชาวบาบิโลนแบ่งท้องฟ้าออกเป็น 6 โซน กลางวัน 3 ช่วงเวลา กลางคืน 3 ช่วงเวลา แถมวัดวันได้ด้วยว่า 1 ปีมีประมาณ 360 วัน (จากการดูดาวที่เคลื่อนไปในแต่ละวัน แน่นอนว่าตอนนั้นการวัดยังไม่แม่นยำเท่าปัจจุบัน)
ท้องฟ้าเลยถูกแบ่งได้เป็น 360 ส่วนย่อย (เช่นเดียวกันกับวงกลม จริงๆมันคือที่มาว่าทำไมวงกลมมี 360 องศา) และแต่ละโซนมี 60 ส่วน
เมื่อแนวคิดฐาน 60 ส่งต่อมาที่อิยิปต์โบราณ ซึ่งสร้างนาฬิกาแดดที่แม่นยำได้ ชาวอิยิปต์แบ่งจำนวนช่องในนาฬิกาแดดออกเป็น 12 ส่วน ทำให้วันนึงมีเวลา 24 ส่วน ซึ่งเป็นที่มาของ 24 ชั่วโมง (เลข 12 เป็นอีกเลขที่แบ่งได้ง่าย)
ชาวกรีกเป็นคนที่เอาสองแนวคิดนี้เข้าด้วยกัน วันนึงมี 24 ชั่วโมง แต่ละชั่วโมงถูกแบ่งได้เป็น 60 ส่วน เรียกว่านาที และแบ่งต่ออีกเป็นวินาที
จากนั้นระบบที่มีอายุหลายพันปีนี้ก็ถูกส่งต่อไปใช้ในยุโรปและทั่วโลก
ดังนั้นนิยามของ 1 วินาทีในช่วงแรกก็คือ 1/(24x60x60) ส่วนของความยาวของวันนี่แหละครับ
สรุปคือมนุษย์เรานิยามเวลาจากปรากฏการณ์ท้องฟ้าที่พวกเขาเห็น
แต่พอดีว่าการแบ่งวิตามการหมุนของโลกไม่แม่นยำเพราะการหมุนของโลกไม่ได้คงที่ และมีปัญหากับจุดคงที่บนฟ้าด้วย (วัดได้หลายแบบ)
ทำให้ยุคใหม่เราเอาการสั่นของอะตอมมานิยาม 1 วินาทีแทน โดยพยายามนิยามให้ใกล้เคียงค่าเดิมที่สุดน่ะครับ
ปล. นิยาม 1 วิในปัจจุบันคือการสั่นของอะตอมซีเซียม-134 ที่ 9,192,631,770 ครั้ง (ไม่รู้ผมบ้าจำเลขนี้ไปทำไม ฮา)
แสดงความคิดเห็น
หน่วยวัดเวลา
ทำไมต้องเป็นตัวเลข60จึงจะครบนาที และชั่วโมง
แล้วคนเรารู้ได้อย่างไรคะ ว่านานเท่านี้คือเวลา1วินาที
แล้วมีวิธีการตั้งนาฬิกาให้เท่ากันได้อย่างไร ทั้งนาฬิกาAnalogและDigital
แล้วก็เรื่องระบบชั่วยามในหนังจีน /แล้วก็เวลาที่ใช้กันในสมัยโบราณ
อยากทราบว่าต่างกับแบบปัจจุบันไหมคะ ถ้าต่างแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
ทำไมมาตรวัดเวลาในปัจจุบันถึงเป็นที่นิยมใช้กันสากล
ขอสอบถามผู้รู้ค่ะ ขอบคุณค่ะ 😃