นอนหลับในรถ ติดเครื่องยนต์ เปิดแอร์ ตายได้อย่างไร ? ...คิดต่างครับ

จากกระทู้  https://ppantip.com/topic/36265065

คุณ Partita  ได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า
CO   carbonmonoxide  เป็นสาเหตทำให้ คนที่นอนในรถเสียชีวิต
โดยเข้าใจว่า  มันจะรั่วเข้าไปสะสมในรถจนถึงขีดอันตราย
ซึ่งระดับที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
คุณ Partita  ให้ข้อมูลไว้ที่ระดับ  2000  ppm

การที่ CO  จะเพิ่มขึ้นในห้องโดยสารรถได้
จะต้องมี CO  ภายนอกรถที่เข้มข้นมากกว่า  ค่อยแพร่เข้าไปตามรูรั่ว
ความเร็วในการแพร่ ขึ้นอยู่กับขนาดรูรั่ว  และความเข้มข้นของกาซที่อยู่ถายนอก
เป็นฟังชั่นตามระยะเวลาแบบ exponential

ลองหาดูว่า ความเข้มข้นของ CO จากไอเสียของเครื่องยนต์ พบว่า

ปริมาณ CO  ในไอเสีย มีได้ถึง 2%  ( เท่ากับ 20,000  ppm)
ถ้าไอเสีย ระดับนี้ หุ้มล้อมรถอยู่ และมีเวลานานมากพอ
ก็จะรั่วเข้าไปทำให้อากาศในรถ มี CO ถึง  2000 ppm ได้
(ซึ่ง คนในรถ ก็จะรู้สึกเหม็นควันไอเสียมาก)

แต่ในความเป็นจริง  ไอเสีย จะไม่ห้อมล้อมรถไว้ทั้งหมด
เนื่องจากอากาศภายนอกย่อมพัดไปตามลม  ทำให้กระจายออกไป
นอกจากนี้  รถยนต์จะมี Catalytic converter  ซึ่งจะลดกาซพิษลงได้ถึง 98%
นั่นคือ  CO จากท่อไอเสีย  จะปล่อยออกมาเพียง 20000-98% = 400 ppm  เท่านั้น
เมื่อเจือจางกับอากาศ ภายนอกรถ  ก็จะยิ่งต่ำลง
จึงเป็นไปได้ยาก ที่ภายในรถ จะมี CO  เพิ่มขึ้น จนถึงระดับ 400 ppm

และเป็นไปไม่ได้  ที่จะสูงถึง 2000 ppm  ที่เป็นระดับทำให้เสียชีวิต

ถ้าเช่นนั้น  คนเสียชีวิตได้อย่างไร
ตามผลการชันสูตรศพ  จะบอกว่าขาดอากาศ
ก็คือขาดออกซิเจน นั่นเอง

ภายในรถยนต์  จะมีพื้นที่ประมาณ  1.5 x 1.8 x 1  =  2.7 ลบม.
หากเริ่มต้น มีออกซิเจน เท่ากับอากาศภายนอก (20%)
ก็จะมีออกซิเจนอยู่ 2700 x 0.2 = 540  ลิตร


ข้อมูลบอกว่า  เราใช้ออกซิเจน นาทีละ 250 ml ต่อ นนตัว 1 กก
ถ้าคนหนัก 60 กก  ก็จะใช้ออกซิเจน 15 ลิตร ต่อนาที
ออกซิเจน 540 ลิตร  จะใช้หายใจได้ 540/15   = 36  นาที เท่านั้น

ในความเป็นจริง  ออกซิเจนอาจรั่วเข้ามาตามรูรั่วของรถเพิ่มเติมได้
แต่ก็ช้ามาก เมื่อรถจอดนิ่ง  ไม่ทันสำหรับ 15 ลิตรต่อนาทีแน่ๆ
และ เราก็ไม่สามารถ หายใจจน ออกซิเจนหมดเกลี้ยงได้
เมื่อ ออกซิเจนเบาบางลง  เราก็แย่แล้ว

หมายเหต  
ข้อมูล "เราใช้ออกซิเจน นาทีละ 250 ml ต่อ นนตัว 1 กก"   อาจจะคลาดเคลื่อน
ผมพบ ข้อมูลอีกชิ้น (แสดงตัวเลขต่ำกว่ามาก)
จึงได้แสดงการคำนวณใหม่ ไว้ใน คห 24  ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่