หากเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ท่านมีสิทธิปฎิเสธได้
ประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ
:: เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ หรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่ ข้อที่ 1-11
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่ เพื่อให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ว่าด้วยยาเสพติดให้โทษสามารถใช้อำนาจในการตรวจหรือทดสอบดังกล่าว ในกรณีจำเป็นและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเสพยาเสพติดให้โทษ ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 13 (7) และ มาตรา 58/1 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่ง มาตรา 29 ประกอบกับ มาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 39 มาตรา 48 มาตรา 50 มาตรา 237 และ มาตรา 238 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
"การตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษ" หมายความว่า การตรวจหรือทดสอบหาชนิด หรือปริมาณยาเสพติดให้โทษในร่างกายของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
"ผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ" หมายความว่า พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้มีอำนาจตรวจ หรือทดสอบ หรือสั่งให้รับการตรวจ หรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษ
"ผู้รับการตรวจหรือทดสอบ" หมายความว่า ผู้รับการตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษในร่างกาย โดยผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือโดยคำสั่งของผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ
ข้อ 2 ในการตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษ ให้ผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบแสดงความบริสุทธิ์ก่อนที่จะทำการตรวจหรือทดสอบ โดยให้แสดงเอกสารเพื่อแสดงตนว่าเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจหรือทดสอบ และแจ้งเหตุอันควรเชื่ออันนำมาซึ่งการตรวจหรือทดสอบดังกล่าว พร้อมทั้งแจ้งให้ทราบถึงขั้นตอนการตรวจหรือทดสอบ
ข้อ 3 การตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษ ให้ตรวจหรือทดสอบจากปัสสาวะของผู้รับการตรวจหรือทดสอบ โดยให้ปฏิบัติตามวิธีการตรวจหรือทดสอบของชุดน้ำยาตรวจสอบหรือเครื่องมือแต่ละชนิด
ข้อ 4 การเตรียมการในการตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) จัดให้มีบริเวณสำหรับผู้เข้ารับการตรวจหรือทดสอบ เพื่อดำเนินการตรวจหรือทดสอบหรือเก็บปัสสาวะภายในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นแห่งกรณี เพื่อให้การตรวจหรือทดสอบหรือเก็บปัสสาวะเสร็จสิ้นไปโดยเรียบร้อยภายในสถานที่มิดชิดจากบุคคลภายนอก
(2) จัดให้มีเจ้าหน้าที่ของรัฐทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการตรวจ หรือทดสอบเพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและทันเหตุการณ์ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ
(3) จัดให้มีอุปกรณ์ในการเก็บปัสสาวะ โดยให้ใช้ขวดแก้วหรือขวดพลาสติกปากกว้างพร้อมฝาปิดที่สะอาดและแห้ง มีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 60 มิลลิลิตร มีอุปกรณ์สำหรับผนึกฝาปิดภาชนะเพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนตัวอย่าง และให้มีฉลากและกระดาษกาวเพื่อใช้สำหรับปิดผนึกขวดตัวอย่างปัสสาวะด้วย
ข้อ 5 วิธีเก็บปัสสาวะให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) จัดให้มีผู้ควบคุมการถ่ายปัสสาวะของผู้รับการตรวจหรือทดสอบทุกครั้ง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำใดๆ ที่ทำให้ปัสสาวะนั้นเกิดการเจือจางหรือสับเปลี่ยนตัวอย่าง
(2) ให้ทำบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างปัสสาวะและผลการตรวจ หรือทดสอบตามแบบ ต.1 ต.2 และ ต.3 ที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
(3) บันทึกหมายเลขประจำขวด ชื่อ ชื่อสกุล และอายุของผู้รับการตรวจหรือทดสอบ วัน เวลา และหน่วยงานที่เก็บตัวอย่าง พร้อมทั้งลายมือชื่อของเจ้าของปัสสาวะ และลายมือชื่อของผู้ควบคุมการเก็บตัวอย่างปัสสาวะนั้นบนฉลากปิดขวดเก็บปัสสาวะ
(4) ให้ขวดเก็บปัสสาวะแก่ผู้รับการตรวจหรือทดสอบ เพื่อนำไปถ่ายปัสสาวะใส่ขวดดังกล่าว จำนวนประมาณ 30 มิลลิลิตร
ข้อ 6 การตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษในเบื้องต้น ให้ผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบกระทำต่อหน้าผู้รับการตรวจหรือทดสอบ และให้ถือปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือหรือชุดน้ำยาตรวจสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ข้อ 7 ในกรณีที่ตรวจหรือทดสอบในเบื้องต้นตาม ข้อ 6 พบว่าบุคคลนั้นอาจเป็นผู้เสพยาเสพติดให้โทษ ให้ผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบจดบันทึกข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ภูมิลำเนา หรือสถานที่อยู่ที่สามารถจะเรียกตัวหรือออกหมายเรียกมาเพื่อดำเนินคดีได้ เมื่อมีการตรวจสอบยืนยันผลแล้วพบว่าเป็นผู้มียาเสพติดให้โทษในร่างกาย
ข้อ 8 ในการตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษในเบื้องต้นนั้น เมื่ออ่านผลแล้วให้แจ้งผลการตรวจหรือทดสอบแก่ผู้รับการตรวจหรือทดสอบ โดยห้ามเปิดเผยผลการตรวจหรือทดสอบแก่ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง และให้เก็บรักษาผลการตรวจหรือทดสอบไว้เป็นเอกสารลับ
ในกรณีที่ปรากฏผลบวกตามคู่มือวิธีการตรวจ หรือทดสอบของเครื่องมือหรือชุดน้ำยาตรวจสอบใน ข้อ 6 ให้ผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยที่ทำการตรวจ หรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษปิดขวดเก็บปัสสาวะที่เหลือของผู้รับการตรวจ หรือทดสอบนั้นให้สนิทพร้อมทั้งผนึกปากขวดด้วยแถบกาว โดยมีลายมือชื่อของผู้ทำการตรวจหรือทดสอบและผู้รับการตรวจ หรือทดสอบกำกับไว้แล้วให้รีบจัดส่งขวดเก็บตัวอย่างปัสสาวะดังกล่าวไปยังหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งตาม ข้อ 9 โดยเร็วในสภาพที่แช่เย็น เพื่อตรวจยืนยันผล
ข้อ 9 ให้หน่วยงานดังต่อไปนี้ มีอำนาจตรวจยืนยันผลว่าผู้รับการตรวจหรือทดสอบมียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่
(1) สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(2) กองพิสูจน์หลักฐานหรือกองกำกับการวิทยาการเขต สำนักงานวิทยาการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(3) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม
(4) สำนักยาและวัตถุเสพติด หรือศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
(5) สถาบันยาเสพติดธัญญารักษ์ หรือศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
(6) โรงพยาบาลของรัฐ
(7) หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสถาบันอื่นที่คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษกำหนด
เมื่อหน่วยงานตามวรรคหนึ่งได้ดำเนินการตรวจยืนยันแล้ว ให้ถือว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นเป็นผู้มียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกาย
ข้อ 10 ในกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์ต่อการตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษในร่างกายให้ผู้มีอำนาจตรวจ หรือทดสอบสั่งให้ผู้ที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเสพยาเสพติดให้โทษไปรับการตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษ ภายใต้การกำกับดูแลของผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบดังกล่าว ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาและสถานที่ที่กำหนดในคำสั่ง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความเป็นธรรมตามควรแก่กรณี
ให้นำความใน ข้อ 2 และ ข้อ 9 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 11[1] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
:: ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2546
:: (ลงชื่อ) ภักดี โพธิศิริ รองปลัดกระทรวง ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ประธานกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ
พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รัก พี่น้องทราบกันรึเปล่าว่า การตรวจฉี่หาสารเสพติด ที่ถูกต้องทำอย่างไร.... อ่านซะ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ
:: เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ หรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่ ข้อที่ 1-11
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่ เพื่อให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ว่าด้วยยาเสพติดให้โทษสามารถใช้อำนาจในการตรวจหรือทดสอบดังกล่าว ในกรณีจำเป็นและมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดเสพยาเสพติดให้โทษ ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 13 (7) และ มาตรา 58/1 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่ง มาตรา 29 ประกอบกับ มาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 39 มาตรา 48 มาตรา 50 มาตรา 237 และ มาตรา 238 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้
"การตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษ" หมายความว่า การตรวจหรือทดสอบหาชนิด หรือปริมาณยาเสพติดให้โทษในร่างกายของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลอันเกิดจากการเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
"ผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ" หมายความว่า พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้มีอำนาจตรวจ หรือทดสอบ หรือสั่งให้รับการตรวจ หรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษ
"ผู้รับการตรวจหรือทดสอบ" หมายความว่า ผู้รับการตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษในร่างกาย โดยผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือโดยคำสั่งของผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ
ข้อ 2 ในการตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษ ให้ผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบแสดงความบริสุทธิ์ก่อนที่จะทำการตรวจหรือทดสอบ โดยให้แสดงเอกสารเพื่อแสดงตนว่าเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจหรือทดสอบ และแจ้งเหตุอันควรเชื่ออันนำมาซึ่งการตรวจหรือทดสอบดังกล่าว พร้อมทั้งแจ้งให้ทราบถึงขั้นตอนการตรวจหรือทดสอบ
ข้อ 3 การตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษ ให้ตรวจหรือทดสอบจากปัสสาวะของผู้รับการตรวจหรือทดสอบ โดยให้ปฏิบัติตามวิธีการตรวจหรือทดสอบของชุดน้ำยาตรวจสอบหรือเครื่องมือแต่ละชนิด
ข้อ 4 การเตรียมการในการตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) จัดให้มีบริเวณสำหรับผู้เข้ารับการตรวจหรือทดสอบ เพื่อดำเนินการตรวจหรือทดสอบหรือเก็บปัสสาวะภายในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นแห่งกรณี เพื่อให้การตรวจหรือทดสอบหรือเก็บปัสสาวะเสร็จสิ้นไปโดยเรียบร้อยภายในสถานที่มิดชิดจากบุคคลภายนอก
(2) จัดให้มีเจ้าหน้าที่ของรัฐทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการตรวจ หรือทดสอบเพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและทันเหตุการณ์ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ
(3) จัดให้มีอุปกรณ์ในการเก็บปัสสาวะ โดยให้ใช้ขวดแก้วหรือขวดพลาสติกปากกว้างพร้อมฝาปิดที่สะอาดและแห้ง มีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 60 มิลลิลิตร มีอุปกรณ์สำหรับผนึกฝาปิดภาชนะเพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนตัวอย่าง และให้มีฉลากและกระดาษกาวเพื่อใช้สำหรับปิดผนึกขวดตัวอย่างปัสสาวะด้วย
ข้อ 5 วิธีเก็บปัสสาวะให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) จัดให้มีผู้ควบคุมการถ่ายปัสสาวะของผู้รับการตรวจหรือทดสอบทุกครั้ง ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำใดๆ ที่ทำให้ปัสสาวะนั้นเกิดการเจือจางหรือสับเปลี่ยนตัวอย่าง
(2) ให้ทำบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างปัสสาวะและผลการตรวจ หรือทดสอบตามแบบ ต.1 ต.2 และ ต.3 ที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้
(3) บันทึกหมายเลขประจำขวด ชื่อ ชื่อสกุล และอายุของผู้รับการตรวจหรือทดสอบ วัน เวลา และหน่วยงานที่เก็บตัวอย่าง พร้อมทั้งลายมือชื่อของเจ้าของปัสสาวะ และลายมือชื่อของผู้ควบคุมการเก็บตัวอย่างปัสสาวะนั้นบนฉลากปิดขวดเก็บปัสสาวะ
(4) ให้ขวดเก็บปัสสาวะแก่ผู้รับการตรวจหรือทดสอบ เพื่อนำไปถ่ายปัสสาวะใส่ขวดดังกล่าว จำนวนประมาณ 30 มิลลิลิตร
ข้อ 6 การตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษในเบื้องต้น ให้ผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบกระทำต่อหน้าผู้รับการตรวจหรือทดสอบ และให้ถือปฏิบัติโดยใช้เครื่องมือหรือชุดน้ำยาตรวจสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ข้อ 7 ในกรณีที่ตรวจหรือทดสอบในเบื้องต้นตาม ข้อ 6 พบว่าบุคคลนั้นอาจเป็นผู้เสพยาเสพติดให้โทษ ให้ผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบจดบันทึกข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ภูมิลำเนา หรือสถานที่อยู่ที่สามารถจะเรียกตัวหรือออกหมายเรียกมาเพื่อดำเนินคดีได้ เมื่อมีการตรวจสอบยืนยันผลแล้วพบว่าเป็นผู้มียาเสพติดให้โทษในร่างกาย
ข้อ 8 ในการตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษในเบื้องต้นนั้น เมื่ออ่านผลแล้วให้แจ้งผลการตรวจหรือทดสอบแก่ผู้รับการตรวจหรือทดสอบ โดยห้ามเปิดเผยผลการตรวจหรือทดสอบแก่ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง และให้เก็บรักษาผลการตรวจหรือทดสอบไว้เป็นเอกสารลับ
ในกรณีที่ปรากฏผลบวกตามคู่มือวิธีการตรวจ หรือทดสอบของเครื่องมือหรือชุดน้ำยาตรวจสอบใน ข้อ 6 ให้ผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยที่ทำการตรวจ หรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษปิดขวดเก็บปัสสาวะที่เหลือของผู้รับการตรวจ หรือทดสอบนั้นให้สนิทพร้อมทั้งผนึกปากขวดด้วยแถบกาว โดยมีลายมือชื่อของผู้ทำการตรวจหรือทดสอบและผู้รับการตรวจ หรือทดสอบกำกับไว้แล้วให้รีบจัดส่งขวดเก็บตัวอย่างปัสสาวะดังกล่าวไปยังหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งตาม ข้อ 9 โดยเร็วในสภาพที่แช่เย็น เพื่อตรวจยืนยันผล
ข้อ 9 ให้หน่วยงานดังต่อไปนี้ มีอำนาจตรวจยืนยันผลว่าผู้รับการตรวจหรือทดสอบมียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่
(1) สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(2) กองพิสูจน์หลักฐานหรือกองกำกับการวิทยาการเขต สำนักงานวิทยาการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(3) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม
(4) สำนักยาและวัตถุเสพติด หรือศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
(5) สถาบันยาเสพติดธัญญารักษ์ หรือศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
(6) โรงพยาบาลของรัฐ
(7) หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสถาบันอื่นที่คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษกำหนด
เมื่อหน่วยงานตามวรรคหนึ่งได้ดำเนินการตรวจยืนยันแล้ว ให้ถือว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นเป็นผู้มียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกาย
ข้อ 10 ในกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์ต่อการตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษในร่างกายให้ผู้มีอำนาจตรวจ หรือทดสอบสั่งให้ผู้ที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าเสพยาเสพติดให้โทษไปรับการตรวจหรือทดสอบหายาเสพติดให้โทษ ภายใต้การกำกับดูแลของผู้มีอำนาจตรวจหรือทดสอบดังกล่าว ทั้งนี้ ภายในระยะเวลาและสถานที่ที่กำหนดในคำสั่ง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความเป็นธรรมตามควรแก่กรณี
ให้นำความใน ข้อ 2 และ ข้อ 9 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 11[1] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
:: ประกาศ ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2546
:: (ลงชื่อ) ภักดี โพธิศิริ รองปลัดกระทรวง ปฏิบัติราชการแทน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ประธานกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ