บทความนี้เหมาะสำหรับผู้ที่รับชมภาพยนตร์มาแล้ว โดยจะเปิดเผยเนื้อหาสำคัญ และพูดคุยเกี่ยวกับหนังในแง่ประเด็นทางภาษาศาสตร์กับปรัชญา
หนังเริ่มต้นเล่าว่า มีวัตถุลึกลับอย่างหนึ่งมาจากนอกอวกาศและมาหยุดลอยอยู่เหนือพื้นโลก ทุกคนต่างสงสัยว่าเป็นการมาเยือนจากมนุษย์ต่างดาวหรือไม่ และจุดประสงค์ของการมาเยือนครั้งนี้คืออะไร แต่ว่ามนุษย์เราไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับวัตถุลึกลับนี้ได้ อาจารย์สาวภาควิชาภาษาศาสตร์คนหนึ่งจึงได้รับการติดต่อจากหน่วยกองกำลังของประเทศ ให้ทำความเข้าใจภาษาของสิ่งมีชีวิตจากต่างดาว
ส่วนตัวเราค่อนข้างชอบเรื่องนี้ ด้วยเหตุผลสามประการ อย่างแรกคือ น่าจะเป็นครั้งแรกก็ได้ที่นักภาษาศาสตร์ได้มีบทบาทสำคัญในหนังไซไฟแบบนี้ อย่างที่สอง รู้สึกว่าคนเขียนเข้าใจหยิบทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ที่ยังไม่ได้สรุปชัดเจน มาผสมผสานกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเวลา ซึ่งมนุษย์เองก็ไม่ได้มีความเข้าใจทั้งหมด แล้วกลับลงตัว ถือเป็นการเติมเต็มส่วนดำมืดของทฤษฎีที่มนุษย์เรายังไม่เข้าใจด้วยจินตนาการที่น่าทึ่งแต่ก็ไม่หลุดกรอบความเป็นไปได้ และสุดท้าย หนังทำให้เรามาครุ่นคิดเกี่ยวกับปรัชญาชีวิต และทำให้เราได้เห็นมุมมองเกี่ยวกับโลกทัศน์ในอีกแง่หนึ่งที่ไม่เคยคิดถึงมาก่อน
ขอเกริ่นด้วยทฤษฏีภาษาศาสตร์ก่อน...
ทฤษฎีของ Sapir-Wholf (ซาเพียร์-วอล์ฟ) นั้นมีอยู่ว่า ภาษาไม่ใช่เพียงเครื่องมือที่เราใช้ถ่ายทอดความคิดของเราเท่านั้น แต่ภาษาเองยังมีอิทธิพลต่อความคิดของเราด้วย หรืออาจเป็น “ตัวกำหนดวิธีคิด” ของเราด้วยซ้ำ ทั้งภาษาและความคิดมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยที่ตัวเราผู้ใช้ภาษาอาจแยกไม่ออก เวลาเราพูดหรือเขียนเราก็แค่สื่อสารออกไป ไม่มีใครมาหยุดคิดว่าความคิดหรือภาษามาก่อนกัน หรือเวลาเรารับสารจากผู้อื่น กระบวนการในสมองของเรามันประมวลผลรวดเร็วจนเราไม่มานั่งคิดถึงไวยากรณ์อะไรมากมาย
ยกตัวอย่าง เช่น สมมุติว่ามีคนบอกเราว่า เมื่อเช้าฉันเห็นเจ้านายแบกของเข้ามา ภาพในหัวเราก็ต้องเป็นเจ้านายที่ถือของชิ้นใหญ่เข้ามา เพราะคำว่า “แบก” มันมีนัยยะว่าของจะต้องหนักหรือใหญ่ ต้องใช้กำลังในการขนย้าย กลับกันถ้าคนพูดใช้คำกริยาอื่น เช่น ถือ ในจินตนาการเราก็คงไม่ใช่ของชิ้นใหญ่มากมาย ตัวอย่างที่ยกมานี้อาจยังธรรมดาเกินไป เพียงแต่จะให้เข้าใจว่าในบางภาษา อาจไม่ได้มีคำกลาง ๆ ที่ให้เราตีความได้หลายทาง แต่ต้องเลือกใช้คำใดคำหนึ่งไปเลย เช่น ถือ ยก แบก สะพาย หาบ หิ้ว ฯลฯ และนั่นหมายความว่าความคิดเราต้องฟันธงไปเลยว่าใช้คำไหนเมื่อเราพูด
ลองยกอีกตัวอย่างหนึ่ง ภาษาตุรกี จะมีไวยากรณ์ Past Tense สองแบบ สมมุติเราจะพูดประโยคว่า “เมื่อคืนฝนตก” เราต้องแยกแยะก่อนว่าคนพูดนั้นรู้เรื่องเหตุการณ์ดังกล่าวมากแค่ไหน โดยไวยากรณ์แบบแรกคือ คนพูดได้ประสบเหตุการณ์นั้นด้วยตัวเอง กับแบบที่สองคือ คนพูดได้ฟังหรืออ่านมาอีกที ดังนั้น ถ้าเมื่อคืนคุณได้ออกไปข้างนอกกลางดึกแล้วเจอฝน คุณก็จะพูดด้วยไวยากรณ์แบบแรก และถ้าคุณตื่นเช้ามาแล้วพบว่าพื้นเปียก ต้นไม้ใบหญ้าชุ่มฉ่ำ คุณก็จะพูดด้วยไวยากรณ์แบบที่สอง (ที่จริงมีไวยากรณ์แบบนี้ก็ดีเหมือนกันนะ เวลาเราฟังข่าวจากใครเราจะได้ไม่ต้องมาแยกแยะเองว่าคนพูดเจอมากับตัวหรือฟังเขามาพูด) นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าก่อนเราจะพูดอะไร เราต้องคิดก่อนว่าเราประสบกับตัวเองหรือฟังมา (ในขณะที่ภาษาไทยเราก็ไม่ต้องมานึกก่อนว่าเรารับรู้เหตุการณ์มายังไง) และสิ่งที่กำหนดให้เราต้องคิดแบบนั้นก่อน ก็คือไวยากรณ์ของภาษานั่นเอง อาจจะฟังดูซับซ้อนวกวนนิดนึง แต่นี่ล่ะคือความสัมพันธ์ของภาษากับความคิดที่แยกจากกันยาก
ยังมีอีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจกว่านี้
มีอาจารย์ชาวเวียดนามคนหนึ่งได้ไปพูดในรายการ TED Talk เกี่ยวกับเรื่องไวยากรณ์และอัตลักษณ์ เขาได้เล่าว่าภาษาเวียดนามไม่มีสิ่งหนึ่งที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Subjunctive”
ถ้าให้อธิบายสั้น ๆ Subjunctive ก็คือพวกคำประเภท "Should have" "would have" ("อาจจะ" "น่าจะ") เหล่านี้ที่พูดถึงความเป็นไปได้อื่น ๆ หรือก็คือการสมมุติเหตุการณ์ในอนาคต (ถ้าพรุ่งนี้อากาศดี เราจะ…) หรือสมมุติกระทั่งเหตุการณ์ในอดีต (ถ้าวันนั้นเราไม่ทำแบบนั้น…)
ผู้พูดเล่าให้ฟังว่า เขาพูดกับพ่อตัวเองซึ่งไม่ได้เป็น non-native English speaker ว่า “If it hadn’t rained, we would have gone to the beach.” (ถ้าฝนไม่ได้ตกนะ เราคงได้ไปทะเลกันแล้ว) แล้วพ่อ ของเขาตอบกลับมาว่า “งี่เง่า” เพราะว่าพ่อของเขามองว่าการพูดในสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นเรื่องไร้สาระ จะพูดทำไม นั่นก็เพราะว่าภาษาเวียดนามซึ่งเป็นภาษาบ้านเกิดของพ่อเขาไม่มีเครื่องมือที่จะให้คิดแบบนี้ เหตุการณ์มีแค่เกิดขึ้นกับไม่ได้เกิดขึ้น มีแต่ข้อเท็จจริงเท่านั้น ไม่มีความเป็นไปได้อื่น ๆ หรือความจริงอื่น ๆ แล้วเขาก็เล่าว่าเพิ่งรู้ในตอนเด็ก ๆ ว่าตนเองสามารถครุ่นคิดในสิ่งที่พ่อของตนเองไม่เคยคิด ก็เพราะไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษที่เรียกว่า subjunctive
ที่จริงเขาเล่าเรื่องยาวกว่านี้ สนุกและน่าสนใจกว่านี้ แนะนำว่าลองฟังต่อได้ที่
Grammar, Identity, and the Dark Side of the Subjunctive: Phuc Tran at TEDxDirigo
https://youtu.be/zeSVMG4GkeQ
กลับมาต่อที่เรื่องของหนังเรื่อง Arrival ก่อนที่บทความนี้จะกลายเป็นบทความทางวิชาการมากเกินไป หนังได้หยิบยกทฤษฎีนี้มาขยายต่อพร้อมแต่งเติมจินตนาการเพิ่ม ด้วยการลองสมมุติว่า ถ้าการที่เราได้เรียนรู้ภาษาหนึ่งจนทำให้เรามีวิธีคิดแบบหนึ่งขึ้นมาแล้ว จะเป็นไปได้ไหมว่า ถ้ามนุษย์ต่างดาวมีภาษาบางอย่างที่ต่างจากมนุษย์ เมื่อเราเข้าใจภาษาของมนุษย์ต่างดาวแล้ว เราอาจจะมีวิธีคิดแบบเดียวกับพวกเอเลี่ยนก็ได้
และความแตกต่างที่หนังเลือกก็คือ
“การรับรู้เวลา”
แต่ไหนแต่ไร มนุษย์เรารับรู้เวลาแบบเส้นตรง คือมี
อดีต -> ปัจจุบัน -> อนาคต ตัวเราอยู่ในปัจจุบัน และสามารถนึกย้อนกลับไปในอดีต เพราะอดีตคือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว แต่เราจะไม่สามารถมองเห็นอนาคตได้ เพราะเรามองเห็นสิ่งที่ยังเกิดขึ้นไม่ได้ แต่พวกมนุษย์ต่างดาวเหล่านี้ รับรู้เวลาแบบไม่ใช่เส้นตรง เป็น non-linear perception of time (linear หรือ line คือเส้นตรง) คือรับรู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคตพร้อม ๆ กันเลย แค่คิดก็อเมซซิ่งแล้ว
หนังให้สัญลักษณ์ทางภาษา (logogram) หรือวิธีการเขียนตัวอักษร ของเหล่าเอเลี่ยนเป็นรูปวงกลม (nonlinear orthography) ซึ่งก็มีนัยยะสื่อว่า เวลาสำหรับพวกเขาไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดสิ้นสุด และก็ต่างจากภาษาทั่วไปของมนุษย์ ซึ่งเราอาจจะเขียนจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย เป็นเส้นยาวต่อกันไป เหมือนกับที่มนุษย์เรารับรู้เวลาที่เป็นเส้นตรง
หนังถ่ายทอดให้เราพอนึกภาพตามได้ว่า สิ่งที่นางเอกเห็นเมื่อได้เรียนรู้ภาษาของเอเลี่ยนแล้ว ก็คือภาพอนาคตผุดขึ้นมาในปัจจุบัน ในบางฉากเธอสามารถสื่อสารกับคนในอนาคตได้พร้อม ๆ กับสื่อสารกับคนในปัจจุบัน (ฉากที่พูดกับนายพลประเทศจีน) แม้ว่าในหนังอาจจะทำภาพในอนาคตชัดเสียจนเราอาจจะเข้าใจผิดว่าเธอข้ามเวลาไปได้ แต่แท้จริงไม่ใช่ นางเอกอยู่ในปัจจุบันตลอดเวลา และมองเห็นอนาคตที่คล้ายคลึงกับนิมิต เราว่าเธอน่าจะเห็นภาพอนาคตแบบเดียวกับที่พวกเรานึกภาพในอดีตมากกว่า
ฟังดูยังน่าข้องใจไม่น้อย ว่าสิ่งที่นางเอกเห็นแท้จริงเป็นเช่นไร ปกติเราเห็นอดีตเพราะเรามีความทรงจำ แต่เราจะเห็นอนาคตที่เรายังไม่มีความทรงจำได้อย่างไร ในหนังนางเอกได้พูดตอนต้นเรื่องเลยว่า “Memory is a strange thing, bound by the order of time.” อาจจะเป็นการสื่อว่า ความทรงจำนั้นมีไว้เฉพาะคนที่รับรู้เวลาแบบตามลำดับก่อนหลังเช่นพวกเรา แต่สำหรับเธอแล้วไม่ใช่อีกต่อไป
บางทีภาษาที่พวกเราใช้อยู่นี่อาจจะเป็นตัวขัดขวางวิธีการคิดของเรา (แบบเดียวกับภาษาเวียดนามที่ทำให้ไม่สามารถคิดแบบ subjunctive ได้) แท้จริงแล้ว เราก็ไม่อาจจะฟันธงได้ว่าหนังมันสมจริงหรือไม่ เพราะเราไม่ได้ “perceive time” ในแบบเดียวกับที่นางเอกรับรู้ ตรงนี้เป็นสิ่งที่คนดูอาจต้องจินตนาการต่อไปเอง ว่าถ้าเราสามารถรับรู้เวลาหรือเรื่องราวชีวิตเราทั้งหมดพร้อมกันทันทีแบบที่นางเอกรับรู้ มันจะเป็นยังไง? ซึ่งเราว่าไอเดียนี้น่าสนใจเพราะเราไม่เคยลองคิดมาก่อนเลย
และแล้วหนังก็ปิดท้ายลงอย่างที่เราคาดไม่ถึง กล่าวคือ เล่าให้คนดูได้ทราบผ่าน ๆ ว่าเอเลี่ยนมาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางภาษาให้แก่มวลมนุษยชาติ และอยากให้มนุษย์ร่วมมือกัน เพื่อที่วันหนึ่งมนุษย์เราจะได้เจริญก้าวหน้าเฉกเช่นพวกเขา แล้ววันหนึ่งพวกเขาอาจจะต้องพึ่งพาความก้าวหน้าของเราด้วย ประเด็นมนุษย์ต่างดาวในเรื่องนี้จบลงแบบทิ้งคำถามไว้มากมาย แต่หนังอาจจงใจให้มันคลุมเครืออยู่แล้ว เพราะสุดท้ายหนังกลับไปสรุปประเด็นที่เขาเลือกเปิดมาแต่แรก แต่เราดันมองข้ามไปไม่สนใจเอง นั่นก็คือ การรับรู้เวลาในแบบนี้จะมีผลอย่างไรต่อการใช้ชีวิต
การที่เรามองเห็นอนาคตและอดีต ตั้งแต่ชีวิตเราเริ่มต้นไปจวบจนวาระสุดท้าย มันจะเป็นอย่างไร แล้วทางเลือกที่หนังทิ้งให้นางเอกต้องเจ็บปวดก็คือ การเสียชีวิตของลูกสาวที่รัก หากรู้ล่วงหน้าว่าลูกสาวจะต้องตาย เราจะหยุดเหตุการณ์นั้นไหม เราจะยอมให้ลูกสาวเกิดมาหรือเปล่า ในตอนท้ายเรื่อง นางเอกถามพระเอกว่า ถ้าได้เห็นชีวิตตั้งแต่ต้นจนจบจะเปลี่ยนอะไรไหม ฟังดูเหมือนเป็นคำถามที่ว่าเธอมีทางเลือกได้ เสมือนมีเจตจำนงเสรี แต่สุดท้ายเธอก็ตอบตัวเองว่า แม้ว่าจะหนทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เธอก็จะยอมรับมัน ซึ่งสื่อถึงชะตากรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แทน
เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าทำไมนางเอกถึงเลือกที่จะไม่เปลี่ยนแปลงอะไร (น่าสังเกตว่า การเลือกที่จะไม่เปลี่ยนก็ถือเป็นการเลือกแบบหนึ่ง) เป็นไปได้ไหมว่าพอเราเห็นทุกอย่างตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงจุดจบแล้ว (นึกภาพเป็นรูปวงกลม) เราจะรู้สึกว่ามันสมบูรณ์ในตัว เสียจนเราไม่อยากจะไปทำลายจุดใดจุดหนึ่งของวงกลมนั้นเลย
* * * * *
เนื่องจากภาษาเป็นตัวชูโรงของเรื่องนี้ จึงมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เป็นความสนุกทางภาษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่น่าสนใจ
- ชอบเวลาที่นางเอกอธิบายว่า การจะสื่อสารหรือทำความเข้าใจภาษาได้ เราจำเป็นต้องค่อย ๆ สอนเอเลี่ยนทีละคำอย่างไร แต่น่าเสียดายที่มีจุดนี้ในหนังน้อยไปหน่อย
- การเข้าใจผิดคำว่า Weapon กับ Tool คืออันเดียวกัน ที่มีนัยยะว่าภาษาเองก็เป็นทั้ง อาวุธ และเครื่องมือ
- ชื่อ Hannah ที่เป็น palindrome ซึ่งสามารถอ่านตัวสะกดจากหน้าไปหลังหรือหลังไปหน้าก็เหมือนกัน แสดงให้เห็นว่าเวลาเป็นวงกลมไม่รู้จบ
- Abbott and Costello คือชื่อนักแสดงตลกชื่อดัง ประมาณคู่หูคู่ฮามั้งนะ มุขดัง ๆ “Who’s On First?” ก็เป็นเรื่องการเล่นคำของภาษา ที่ตั้งคำถามว่า Who (ชื่อคน) อยู่ที่ตำแหน่งเฟิร์สของเบสบอล
เขียนโดย: ฟุ้งซ่านจัง
ที่มา: https://revieweryclub.wordpress.com/2017/03/23/arrival-2016-language-philosophy/
Fan Page: https://www.facebook.com/RevieweryClub
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.imdb.com/title/tt2543164/
https://en.wikipedia.org/wiki/Abbott_and_Costello
http://www.linguisticsociety.org/resource/language-and-thought
http://www.sheknows.com/entertainment/articles/1129713/arrival-movie-review
หากสนใจในแง่มุมอื่นๆ เกี่ยวกับภาษาอีก ขอแนะนำ podcast รายการ Omnivore ตอนที่ 4
https://soundcloud.com/tomorn-9118702/omnivore-04-languages
[Review] Arrival เมื่อภาษาเป็นตัวเอกของหนังไซไฟ
บทความนี้เหมาะสำหรับผู้ที่รับชมภาพยนตร์มาแล้ว โดยจะเปิดเผยเนื้อหาสำคัญ และพูดคุยเกี่ยวกับหนังในแง่ประเด็นทางภาษาศาสตร์กับปรัชญา
หนังเริ่มต้นเล่าว่า มีวัตถุลึกลับอย่างหนึ่งมาจากนอกอวกาศและมาหยุดลอยอยู่เหนือพื้นโลก ทุกคนต่างสงสัยว่าเป็นการมาเยือนจากมนุษย์ต่างดาวหรือไม่ และจุดประสงค์ของการมาเยือนครั้งนี้คืออะไร แต่ว่ามนุษย์เราไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับวัตถุลึกลับนี้ได้ อาจารย์สาวภาควิชาภาษาศาสตร์คนหนึ่งจึงได้รับการติดต่อจากหน่วยกองกำลังของประเทศ ให้ทำความเข้าใจภาษาของสิ่งมีชีวิตจากต่างดาว
ส่วนตัวเราค่อนข้างชอบเรื่องนี้ ด้วยเหตุผลสามประการ อย่างแรกคือ น่าจะเป็นครั้งแรกก็ได้ที่นักภาษาศาสตร์ได้มีบทบาทสำคัญในหนังไซไฟแบบนี้ อย่างที่สอง รู้สึกว่าคนเขียนเข้าใจหยิบทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ที่ยังไม่ได้สรุปชัดเจน มาผสมผสานกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเวลา ซึ่งมนุษย์เองก็ไม่ได้มีความเข้าใจทั้งหมด แล้วกลับลงตัว ถือเป็นการเติมเต็มส่วนดำมืดของทฤษฎีที่มนุษย์เรายังไม่เข้าใจด้วยจินตนาการที่น่าทึ่งแต่ก็ไม่หลุดกรอบความเป็นไปได้ และสุดท้าย หนังทำให้เรามาครุ่นคิดเกี่ยวกับปรัชญาชีวิต และทำให้เราได้เห็นมุมมองเกี่ยวกับโลกทัศน์ในอีกแง่หนึ่งที่ไม่เคยคิดถึงมาก่อน
ขอเกริ่นด้วยทฤษฏีภาษาศาสตร์ก่อน...
ทฤษฎีของ Sapir-Wholf (ซาเพียร์-วอล์ฟ) นั้นมีอยู่ว่า ภาษาไม่ใช่เพียงเครื่องมือที่เราใช้ถ่ายทอดความคิดของเราเท่านั้น แต่ภาษาเองยังมีอิทธิพลต่อความคิดของเราด้วย หรืออาจเป็น “ตัวกำหนดวิธีคิด” ของเราด้วยซ้ำ ทั้งภาษาและความคิดมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยที่ตัวเราผู้ใช้ภาษาอาจแยกไม่ออก เวลาเราพูดหรือเขียนเราก็แค่สื่อสารออกไป ไม่มีใครมาหยุดคิดว่าความคิดหรือภาษามาก่อนกัน หรือเวลาเรารับสารจากผู้อื่น กระบวนการในสมองของเรามันประมวลผลรวดเร็วจนเราไม่มานั่งคิดถึงไวยากรณ์อะไรมากมาย
ยกตัวอย่าง เช่น สมมุติว่ามีคนบอกเราว่า เมื่อเช้าฉันเห็นเจ้านายแบกของเข้ามา ภาพในหัวเราก็ต้องเป็นเจ้านายที่ถือของชิ้นใหญ่เข้ามา เพราะคำว่า “แบก” มันมีนัยยะว่าของจะต้องหนักหรือใหญ่ ต้องใช้กำลังในการขนย้าย กลับกันถ้าคนพูดใช้คำกริยาอื่น เช่น ถือ ในจินตนาการเราก็คงไม่ใช่ของชิ้นใหญ่มากมาย ตัวอย่างที่ยกมานี้อาจยังธรรมดาเกินไป เพียงแต่จะให้เข้าใจว่าในบางภาษา อาจไม่ได้มีคำกลาง ๆ ที่ให้เราตีความได้หลายทาง แต่ต้องเลือกใช้คำใดคำหนึ่งไปเลย เช่น ถือ ยก แบก สะพาย หาบ หิ้ว ฯลฯ และนั่นหมายความว่าความคิดเราต้องฟันธงไปเลยว่าใช้คำไหนเมื่อเราพูด
ลองยกอีกตัวอย่างหนึ่ง ภาษาตุรกี จะมีไวยากรณ์ Past Tense สองแบบ สมมุติเราจะพูดประโยคว่า “เมื่อคืนฝนตก” เราต้องแยกแยะก่อนว่าคนพูดนั้นรู้เรื่องเหตุการณ์ดังกล่าวมากแค่ไหน โดยไวยากรณ์แบบแรกคือ คนพูดได้ประสบเหตุการณ์นั้นด้วยตัวเอง กับแบบที่สองคือ คนพูดได้ฟังหรืออ่านมาอีกที ดังนั้น ถ้าเมื่อคืนคุณได้ออกไปข้างนอกกลางดึกแล้วเจอฝน คุณก็จะพูดด้วยไวยากรณ์แบบแรก และถ้าคุณตื่นเช้ามาแล้วพบว่าพื้นเปียก ต้นไม้ใบหญ้าชุ่มฉ่ำ คุณก็จะพูดด้วยไวยากรณ์แบบที่สอง (ที่จริงมีไวยากรณ์แบบนี้ก็ดีเหมือนกันนะ เวลาเราฟังข่าวจากใครเราจะได้ไม่ต้องมาแยกแยะเองว่าคนพูดเจอมากับตัวหรือฟังเขามาพูด) นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าก่อนเราจะพูดอะไร เราต้องคิดก่อนว่าเราประสบกับตัวเองหรือฟังมา (ในขณะที่ภาษาไทยเราก็ไม่ต้องมานึกก่อนว่าเรารับรู้เหตุการณ์มายังไง) และสิ่งที่กำหนดให้เราต้องคิดแบบนั้นก่อน ก็คือไวยากรณ์ของภาษานั่นเอง อาจจะฟังดูซับซ้อนวกวนนิดนึง แต่นี่ล่ะคือความสัมพันธ์ของภาษากับความคิดที่แยกจากกันยาก
ยังมีอีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจกว่านี้
มีอาจารย์ชาวเวียดนามคนหนึ่งได้ไปพูดในรายการ TED Talk เกี่ยวกับเรื่องไวยากรณ์และอัตลักษณ์ เขาได้เล่าว่าภาษาเวียดนามไม่มีสิ่งหนึ่งที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Subjunctive”
ถ้าให้อธิบายสั้น ๆ Subjunctive ก็คือพวกคำประเภท "Should have" "would have" ("อาจจะ" "น่าจะ") เหล่านี้ที่พูดถึงความเป็นไปได้อื่น ๆ หรือก็คือการสมมุติเหตุการณ์ในอนาคต (ถ้าพรุ่งนี้อากาศดี เราจะ…) หรือสมมุติกระทั่งเหตุการณ์ในอดีต (ถ้าวันนั้นเราไม่ทำแบบนั้น…)
ผู้พูดเล่าให้ฟังว่า เขาพูดกับพ่อตัวเองซึ่งไม่ได้เป็น non-native English speaker ว่า “If it hadn’t rained, we would have gone to the beach.” (ถ้าฝนไม่ได้ตกนะ เราคงได้ไปทะเลกันแล้ว) แล้วพ่อ ของเขาตอบกลับมาว่า “งี่เง่า” เพราะว่าพ่อของเขามองว่าการพูดในสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นเรื่องไร้สาระ จะพูดทำไม นั่นก็เพราะว่าภาษาเวียดนามซึ่งเป็นภาษาบ้านเกิดของพ่อเขาไม่มีเครื่องมือที่จะให้คิดแบบนี้ เหตุการณ์มีแค่เกิดขึ้นกับไม่ได้เกิดขึ้น มีแต่ข้อเท็จจริงเท่านั้น ไม่มีความเป็นไปได้อื่น ๆ หรือความจริงอื่น ๆ แล้วเขาก็เล่าว่าเพิ่งรู้ในตอนเด็ก ๆ ว่าตนเองสามารถครุ่นคิดในสิ่งที่พ่อของตนเองไม่เคยคิด ก็เพราะไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษที่เรียกว่า subjunctive
ที่จริงเขาเล่าเรื่องยาวกว่านี้ สนุกและน่าสนใจกว่านี้ แนะนำว่าลองฟังต่อได้ที่
Grammar, Identity, and the Dark Side of the Subjunctive: Phuc Tran at TEDxDirigo
https://youtu.be/zeSVMG4GkeQ
กลับมาต่อที่เรื่องของหนังเรื่อง Arrival ก่อนที่บทความนี้จะกลายเป็นบทความทางวิชาการมากเกินไป หนังได้หยิบยกทฤษฎีนี้มาขยายต่อพร้อมแต่งเติมจินตนาการเพิ่ม ด้วยการลองสมมุติว่า ถ้าการที่เราได้เรียนรู้ภาษาหนึ่งจนทำให้เรามีวิธีคิดแบบหนึ่งขึ้นมาแล้ว จะเป็นไปได้ไหมว่า ถ้ามนุษย์ต่างดาวมีภาษาบางอย่างที่ต่างจากมนุษย์ เมื่อเราเข้าใจภาษาของมนุษย์ต่างดาวแล้ว เราอาจจะมีวิธีคิดแบบเดียวกับพวกเอเลี่ยนก็ได้
และความแตกต่างที่หนังเลือกก็คือ “การรับรู้เวลา”
แต่ไหนแต่ไร มนุษย์เรารับรู้เวลาแบบเส้นตรง คือมี อดีต -> ปัจจุบัน -> อนาคต ตัวเราอยู่ในปัจจุบัน และสามารถนึกย้อนกลับไปในอดีต เพราะอดีตคือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว แต่เราจะไม่สามารถมองเห็นอนาคตได้ เพราะเรามองเห็นสิ่งที่ยังเกิดขึ้นไม่ได้ แต่พวกมนุษย์ต่างดาวเหล่านี้ รับรู้เวลาแบบไม่ใช่เส้นตรง เป็น non-linear perception of time (linear หรือ line คือเส้นตรง) คือรับรู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคตพร้อม ๆ กันเลย แค่คิดก็อเมซซิ่งแล้ว
หนังให้สัญลักษณ์ทางภาษา (logogram) หรือวิธีการเขียนตัวอักษร ของเหล่าเอเลี่ยนเป็นรูปวงกลม (nonlinear orthography) ซึ่งก็มีนัยยะสื่อว่า เวลาสำหรับพวกเขาไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดสิ้นสุด และก็ต่างจากภาษาทั่วไปของมนุษย์ ซึ่งเราอาจจะเขียนจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย เป็นเส้นยาวต่อกันไป เหมือนกับที่มนุษย์เรารับรู้เวลาที่เป็นเส้นตรง
หนังถ่ายทอดให้เราพอนึกภาพตามได้ว่า สิ่งที่นางเอกเห็นเมื่อได้เรียนรู้ภาษาของเอเลี่ยนแล้ว ก็คือภาพอนาคตผุดขึ้นมาในปัจจุบัน ในบางฉากเธอสามารถสื่อสารกับคนในอนาคตได้พร้อม ๆ กับสื่อสารกับคนในปัจจุบัน (ฉากที่พูดกับนายพลประเทศจีน) แม้ว่าในหนังอาจจะทำภาพในอนาคตชัดเสียจนเราอาจจะเข้าใจผิดว่าเธอข้ามเวลาไปได้ แต่แท้จริงไม่ใช่ นางเอกอยู่ในปัจจุบันตลอดเวลา และมองเห็นอนาคตที่คล้ายคลึงกับนิมิต เราว่าเธอน่าจะเห็นภาพอนาคตแบบเดียวกับที่พวกเรานึกภาพในอดีตมากกว่า
ฟังดูยังน่าข้องใจไม่น้อย ว่าสิ่งที่นางเอกเห็นแท้จริงเป็นเช่นไร ปกติเราเห็นอดีตเพราะเรามีความทรงจำ แต่เราจะเห็นอนาคตที่เรายังไม่มีความทรงจำได้อย่างไร ในหนังนางเอกได้พูดตอนต้นเรื่องเลยว่า “Memory is a strange thing, bound by the order of time.” อาจจะเป็นการสื่อว่า ความทรงจำนั้นมีไว้เฉพาะคนที่รับรู้เวลาแบบตามลำดับก่อนหลังเช่นพวกเรา แต่สำหรับเธอแล้วไม่ใช่อีกต่อไป
บางทีภาษาที่พวกเราใช้อยู่นี่อาจจะเป็นตัวขัดขวางวิธีการคิดของเรา (แบบเดียวกับภาษาเวียดนามที่ทำให้ไม่สามารถคิดแบบ subjunctive ได้) แท้จริงแล้ว เราก็ไม่อาจจะฟันธงได้ว่าหนังมันสมจริงหรือไม่ เพราะเราไม่ได้ “perceive time” ในแบบเดียวกับที่นางเอกรับรู้ ตรงนี้เป็นสิ่งที่คนดูอาจต้องจินตนาการต่อไปเอง ว่าถ้าเราสามารถรับรู้เวลาหรือเรื่องราวชีวิตเราทั้งหมดพร้อมกันทันทีแบบที่นางเอกรับรู้ มันจะเป็นยังไง? ซึ่งเราว่าไอเดียนี้น่าสนใจเพราะเราไม่เคยลองคิดมาก่อนเลย
และแล้วหนังก็ปิดท้ายลงอย่างที่เราคาดไม่ถึง กล่าวคือ เล่าให้คนดูได้ทราบผ่าน ๆ ว่าเอเลี่ยนมาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทางภาษาให้แก่มวลมนุษยชาติ และอยากให้มนุษย์ร่วมมือกัน เพื่อที่วันหนึ่งมนุษย์เราจะได้เจริญก้าวหน้าเฉกเช่นพวกเขา แล้ววันหนึ่งพวกเขาอาจจะต้องพึ่งพาความก้าวหน้าของเราด้วย ประเด็นมนุษย์ต่างดาวในเรื่องนี้จบลงแบบทิ้งคำถามไว้มากมาย แต่หนังอาจจงใจให้มันคลุมเครืออยู่แล้ว เพราะสุดท้ายหนังกลับไปสรุปประเด็นที่เขาเลือกเปิดมาแต่แรก แต่เราดันมองข้ามไปไม่สนใจเอง นั่นก็คือ การรับรู้เวลาในแบบนี้จะมีผลอย่างไรต่อการใช้ชีวิต
การที่เรามองเห็นอนาคตและอดีต ตั้งแต่ชีวิตเราเริ่มต้นไปจวบจนวาระสุดท้าย มันจะเป็นอย่างไร แล้วทางเลือกที่หนังทิ้งให้นางเอกต้องเจ็บปวดก็คือ การเสียชีวิตของลูกสาวที่รัก หากรู้ล่วงหน้าว่าลูกสาวจะต้องตาย เราจะหยุดเหตุการณ์นั้นไหม เราจะยอมให้ลูกสาวเกิดมาหรือเปล่า ในตอนท้ายเรื่อง นางเอกถามพระเอกว่า ถ้าได้เห็นชีวิตตั้งแต่ต้นจนจบจะเปลี่ยนอะไรไหม ฟังดูเหมือนเป็นคำถามที่ว่าเธอมีทางเลือกได้ เสมือนมีเจตจำนงเสรี แต่สุดท้ายเธอก็ตอบตัวเองว่า แม้ว่าจะหนทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เธอก็จะยอมรับมัน ซึ่งสื่อถึงชะตากรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แทน
เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าทำไมนางเอกถึงเลือกที่จะไม่เปลี่ยนแปลงอะไร (น่าสังเกตว่า การเลือกที่จะไม่เปลี่ยนก็ถือเป็นการเลือกแบบหนึ่ง) เป็นไปได้ไหมว่าพอเราเห็นทุกอย่างตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงจุดจบแล้ว (นึกภาพเป็นรูปวงกลม) เราจะรู้สึกว่ามันสมบูรณ์ในตัว เสียจนเราไม่อยากจะไปทำลายจุดใดจุดหนึ่งของวงกลมนั้นเลย
* * * * *
เนื่องจากภาษาเป็นตัวชูโรงของเรื่องนี้ จึงมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เป็นความสนุกทางภาษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่น่าสนใจ
- ชอบเวลาที่นางเอกอธิบายว่า การจะสื่อสารหรือทำความเข้าใจภาษาได้ เราจำเป็นต้องค่อย ๆ สอนเอเลี่ยนทีละคำอย่างไร แต่น่าเสียดายที่มีจุดนี้ในหนังน้อยไปหน่อย
- การเข้าใจผิดคำว่า Weapon กับ Tool คืออันเดียวกัน ที่มีนัยยะว่าภาษาเองก็เป็นทั้ง อาวุธ และเครื่องมือ
- ชื่อ Hannah ที่เป็น palindrome ซึ่งสามารถอ่านตัวสะกดจากหน้าไปหลังหรือหลังไปหน้าก็เหมือนกัน แสดงให้เห็นว่าเวลาเป็นวงกลมไม่รู้จบ
- Abbott and Costello คือชื่อนักแสดงตลกชื่อดัง ประมาณคู่หูคู่ฮามั้งนะ มุขดัง ๆ “Who’s On First?” ก็เป็นเรื่องการเล่นคำของภาษา ที่ตั้งคำถามว่า Who (ชื่อคน) อยู่ที่ตำแหน่งเฟิร์สของเบสบอล
เขียนโดย: ฟุ้งซ่านจัง
ที่มา: https://revieweryclub.wordpress.com/2017/03/23/arrival-2016-language-philosophy/
Fan Page: https://www.facebook.com/RevieweryClub
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.imdb.com/title/tt2543164/
https://en.wikipedia.org/wiki/Abbott_and_Costello
http://www.linguisticsociety.org/resource/language-and-thought
http://www.sheknows.com/entertainment/articles/1129713/arrival-movie-review
หากสนใจในแง่มุมอื่นๆ เกี่ยวกับภาษาอีก ขอแนะนำ podcast รายการ Omnivore ตอนที่ 4
https://soundcloud.com/tomorn-9118702/omnivore-04-languages