โดนแอร์สายการบิน EVA AIR ทำน้ำร้อนลวกใส่หัวไหล่เป็นแผลเป็นเรียกร้องอะไรได้บ้างค่ะ

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ

มีเรื่องอยากปรึกษาคนที่เคยมีประสบการณ์อุบัติเหตุบนเครื่องบินอ่ะค่ะ

พอดีเมื่อสองอาทิตย์ก่อนนั่งเครื่องจากอังกฤษกลับ กทม EVA AIR flight BR68 แล้วระหว่างอยู่บนเครื่องแอร์กำลังเสริฟชากาแฟแขกแล้วเดินสะดุดทำน้ำร้อนหกใส่หัวไหล่ดิฉันเต็มๆ ตอนที่โดนน้ำร้อนหกใส่รู้สึกปวดแสบปวดร้อนมากและเจ็บมากนอนไม่ได้ทั้งคืนเพราะเจ็บแผล แอร์เค้าเลยเอาน้ำแข็งมาให้นั่งประคบและตอนอยู่บนเครื่องได้ให้ค่าซักผ้ามา 700 บาท ระหว่างทางเข้าไปดูแผลในห้องน้ำเรื่อยๆจากตอนแรกผิวหนังเริ่มย่นๆ จนใกล้ๆลงเครื่องเริ่มมีน้ำหนองปูดขึ้นมา พอลงเครื่องพนักงานภาคพื้นพาไปหาหมอสนามบินสุวรรณภูมิทำแผลและจ่ายค่ายาให้ หมอบอกว่าเป็นแผลผิวหนังโดนน้ำร้อนลวก second degree burn
ทางดิฉันเมื่อลงเครื่องก็ได้บอกกับทางพนักงานภาคพื้นไปว่าต้องการให้แสดงความรับผิดชอบกับอุบัติเหตุครั้งนี้เพราะหมอผิวหนังบอกว่ามีสิทธิ์เป็นแผลเป็นสูง หลังจากเหตุการณ์ผ่านมาสองอาทิตย์ พนักงานสายการบินโทรมาบอกว่ารับผิดชอบค่าตั๋วให้ได้แต่ขาเดียวคือขากลับเพราะขาไปดิฉันใช้ไปเเล้วโดยที่เค้ายินยอมาจะจ่ายคืนให้ 9000 บาท (ค่าตั๋วที่ดิฉันจ่ายไปทั้งหมด 26000 บาท) ดิฉันรู้สึกแย่มากที่ สายการบินนี้ตีค่าผู้โดยสารต่ำมาก เพราะเพือนดิฉันนั่งสายการบิน Lufthansa กลับมาจากเยอรมันเวลาไล่เลี่ยกันแค่เจอแมลงมุมตัวเล็กในกล่องอาหารโดยยังไม่ทันได้ทานเข้าไปทางสายการบินก็พร้อมชดเชยให้ 2000 บาทแล้ว แต่ EVA AIR ยกตัวเองว่าเป็น full service airline เหมือนกันกลับตีค่าผู้โดยสารที่โดนน้ำร้อนหกใส่จากความประมาทของ พนักงานตัวเองกลับชดเชยให้เท่านี้
เลยอยากปรึกษาเพื่อนๆที่เคยมีประสบการณ์แบบนี้ว่าเราสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้างค่ะกับแผลเป็นที่เราได้และความไม่สะดวกสะบายทั้งหมดบนเครื่องบินที่เกิดขึ้น ใครมีประสบการณ์ช่วยแชร์หน่อยค่า

ขอบพระคุณค่ะ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ตอบเอาฮา: แผลน่ากลัวมว๊ากกกกกกกกก กรี๊ดดดดดดดด

ตอบจริงจัง: ในฐานะทำงานกฎหมาย ผมแนะนำว่าขอใบรับรองแพทย์ 2 ภาษา แล้วแนบเอกสารส่งร้องเรียนสายการบินครับ เรื่องนี้อุบัติเหตุ สายการบินต้องรับผิดชอบในฐานะนายจ้างจากการกระทำละเมิดของลูกจ้าง ซึ่งเป็นการกระทำในลักษณะการกระทำที่จ้าง แอร์ไม่ควรต้องออกเอง ตกลงกันเอง. ให้สายการบินรับผิดชอบแล้วเขาจะไปไล่เบี้ยกันเอาเองครับ แบบนี้อย่างน้อยต้องได้ค่ารักษาจนหาย 100% ส่วนค่าเสียหายทางจิตใจ แล้วแต่จะตกลงกันครับ
ความคิดเห็นที่ 10
https://www.caoc.org/?pg=facts

ครูที่ USA เล่าให้ฟัง  คดี ปี 1992 ครับ ป้าแก่ๆ  อายุ 79
ซื้อกาแฟ ที่ Mcdonald   , กาแฟที่ Mc เขาเคยโฆษณา ว่าร้อนที่สุด ,   ป้าแก ซื้อ drive thru แล้วแกวางที่ ตัก ( เขาเล่ามาผมไม่ได้อ่าน ลองไล่อ่านดูผมแค่หา link มาให้ )   ป้าแกทำหก ราดตัวเองที่ตัก  ฟ้อง Mc ได้ เกือบ 3 ล้าน   ขนาดทำหกเองด้วยนะ เหมือนจะ Burn ระดับ 3  ผมว่าประมาณ คุณนี่แหละ

Mc ไม่สามารถ ลดอุณหภูมิ กาแฟลง รู้สึก จะโฆษณา ประมาณว่า กาแฟ 100 องศา

Mc เลยต้องพิมพ์คำเตือนที่แก้ว เพื่อป้องกันการถูกฟ้อง
ผมว่าเคสคุณ น่าจะได้เป็นแสน หรือ ล้าน ถ้าเป็นแผลเป็นครับ  ลองหาทนายเก่งๆ  EVAเขาทำ  ทำให้คุณเสียโฉมตลอดชีวิต  ร้อยไหม้ขนาดนั้น ผมว่า เงินแสนยังน้อยไป


แก้ไข  3 ล้านนี่คือ 3 ล้านเหรียญ ในปี 1992
ความคิดเห็นที่ 47
อ่านกระทู้นี้แล้วนึกถึงอีกกระทู้ไม่กี่วันมานี้ คุณหมอไปพักโรงแรม โดนแขกรัสเซียจะพังประตูห้อง แต่สรุป รปภ. ห้ามเหตุได้ทัน อยากได้สารพัดจากโรงแรม และอ้างว่าถ้าเกิดที่โรงพยาบาล ป่านนี้ได้รักษาฟรีทั้งครอบครัว

เคสนี้ คุณ จขกท. โดนไปขนาดนี้ .. ออกมาถามอย่างมีมารยาทว่า จะเรียกร้องอะไรได้บ้าง

9,000 บาท ไม่สมเหตุสมผลแน่นอนครับ ที่น่าจะเหมาะสม
1. ค่ารักษาพยาบาลและค่าศัลยกรรมจนหาย
2. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปพบแพทย์ทุกครั้งจนกว่าจะหาย
3. ค่าชดเชยการสูญเสียรายได้ตามจริง หรือตามสมควร จนกว่าจะหาย (เช่น ต้องลางานไปพบแพทย์)
4. ค่าทำขวัญตามสมควร ผมไม่รู้ว่าควรเรียกเท่าไร สำหรับผมคิดว่า 50,000-200,000 บาท สายการบินน่าจะจ่ายได้ หรือไม่ก็ตั๋วเครื่องบินฟรีกี่ใบตามที่ต้องการ

หากไม่ได้ แนะนำฟ้องศาลคดีผู้บริโภค

แถมท้าย: ผมกดโหวตให้แล้ว และหากตกลงกันได้ จะลบทิ้งก็ไม่เป็นไรนะครับ ขอให้ตกลงกันได้ตามที่ต้องการ -- แค่กดโหวตและแชร์ความเห็น ... "ไม่ถือเป็นบุญคุณ !!!" ... ผมเขียนดักไว้ให้สำหรับพวกที่คิดว่า เป็นบุญคุณหนักหนา (เหมือนกับที่เพิ่งมีการตั้งกระทู้กันเรื่องนี้เมื่อไม่นานมานี้) และห้าม จขกท. ลบโน่นนี่นั่น -- สรุปคือ จะลบหรือไม่ลบ ดูสถานการณ์เอาเอง ให้เกิดประโยชน์กับตัวเองให้มากที่สุด ไม่ต้องสนใจคนอื่น .. คนกดโหวตให้ "แบบไม่หวังผล" มีเยอะครับ !!
ความคิดเห็นที่ 7
ได้เก้าพัน สาดน้ำร้อนคืนดีกว่าไหม แล้วเจ๊ากัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่