คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
เดิมชาวจีนจะมีชื่อสองชุดครับ อันแรกเรียกว่าหมิง (名) คือชื่อที่บิดามารดาตั้งให้ (สำหรับคนในครอบครัวญาติเรียก) เช่น หลิวเป้ย (劉備) หรือเล่าปี่ แซ่หลิว ชื่อตัวเป้ย เฉาเชา (曹操) หรือโจโฉ แซ่เฉา ชื่อตัวเฉา และเมื่อเข้าเรียนแล้วครูจะเป็นคนคิดชื่อที่สองที่เรียกว่าจื้อ (字) หรือที่มักเรียกกันว่าชื่อกลาง อันเป็นชื่อทางการ สำหรับคนนอกสกุลเรียก (คนนอกสกุลไม่เรียกชื่อตัวเด็ดขาดถือว่าขาดมารยาท แม้แต่จักรพรรดิก็ไม่เรียกชื่อตัวของใคร ยังต้องเรียกบุคคลนั้นด้วยชื่อกลาง) อย่าหลิวเป้ยก็มีชื่อกลางว่าสวนเต๋อ (玄德) ดังนั้นเวลาคนนอกสกุลจะเรียกเล่าปี่ต้องเรียกว่าหลิวสวนเต๋อ (劉玄德) เชาเฉามีชื่อกลางว่าเมิ่งเต๋อ (孟德) ดังนั้นเวลาใคร ๆ เรียกก็ต้องเรียกว่าเฉาเมิ่งเต๋อ (曹孟德)(ในสามก๊กฉบับยาขอบจะมีเรียกว่าโจเม้งเต๊กด้วย)
ต่อมาธรรมเนียมการตั้งชื่อกลางนับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังเรียกเสื่อมความนิยมลง ดังนั้นชื่อคนจีนจึงเริ่มมีสองพยางค์มากขึ้น ๆ และอีกอย่างเพื่อเลี่ยงการซ้ำซ้อนไปด้วยในตัว
ต่อมาธรรมเนียมการตั้งชื่อกลางนับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังเรียกเสื่อมความนิยมลง ดังนั้นชื่อคนจีนจึงเริ่มมีสองพยางค์มากขึ้น ๆ และอีกอย่างเพื่อเลี่ยงการซ้ำซ้อนไปด้วยในตัว
แสดงความคิดเห็น
ขอถามผู้มีความรู้ด้านประวัติศาสตร์จีนหน่อยครับ ทำไม ชื่อสมัย ราชวงศ์ ฮั่น ถึง หนำซ้อง ส่วนมากจึงมีพยางค์เดียว
แต่หลังจากมองโกลปกครองแล้ว ทำไมถึงมีชื่อสองพยางค์กันครับ เช่น เตียบ่อกี้ จิวจี้เยียก หรือ จูหยวนจาง อย่างนี้เป็นต้น แล้วปัจจุบันนี้ส่วนมาก คนจีนที่พอมีชื่อเสียง ก็ชื่อสองพยางค์ทั้งนั้น อย่างเช่น สี จิ้นผิง เหลียง เฉาเหว่ย เป็นต้น