ย้อนไปกว่า 20 ปี พื้นที่ ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน แห่งนี้ ประชาชนประสบปัญหาความยากจน ขาดโอกาสและปัจจัยในการดำรงชีวิต อันเนื่องมาจากเป็นพื้นที่ทุรกันดาร ก่อนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรและทรงทอดพระเนตรบ่อเกลือสินเธาว์ ณ บ้านบ่อหลวง และทรงทราบถึงปัญหาในพื้นที่ จึงมีพระราชดำริให้ดำเนินการช่วยเหลือการพัฒนาโครงการต่างๆในพื้นที่นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
“ศูนย์ภูฟ้า” จึงถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี 2542 เพื่อการสร้างต้นแบบการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนและบูรณาการทั้งการประกอบอาชีพด้านการเกษตรและการแปรรูป ตั้งอยู่ที่บ้านผาสุก ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ซึ่งนอกจากศูนย์ภูฟ้าจะเปิดดำเนินการภายใต้แนวพระราชดำริที่ก่อให้เกิดโครงการต่างๆ อันส่งผลดีถึงสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่แล้ว ยังมีการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมกับศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ราบและพื้นที่สูง โดยเป็นศูนย์รวบรวมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องด้านการตลาด รวมถึงยังส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศึกษาธรรมชาติ และวัฒนธรรมท้องถิ่นและจัดการศึกษาวิจัยถ่ายทอดความรู้การพัฒนาและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ ยั่งยืนด้วย
โดยหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของ
“ศูนย์ภูฟ้า” ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว และมีราษฏรที่เป็นเกษตรให้ความสนใจเข้าร่วมก็คือการปลูก
"ชาอู่หลง" ซึ่งเป็นหนึ่งใน โครงการของ ซีพี เพื่อความยั่งยืน ที่นำเอาเทคโนโลยีความรู้ต่างๆตลอดจนเรื่องของสายพันธุ์ใบชา เข้ามาถ่ายทอดให้ความรู้พร้อมส่งเสริมการปลูกเพื่อเป็นอาชีพให้กับเกษตรกร
กว่าจะมาเป็น “ชาภูฟ้า”
“ชาภูฟ้า” เป็นโครงการสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงต้องการจะช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อให้มีอาชีพและมีรายได้โดยเฉพาะเกี่ยวกับการปลูกชาที่ดอยภูฟ้า จากการที่เครือซีพีซึ่งมี “ธุรกิจชา” อยู่ ณ ประเทศจีนที่ทำอยู่แล้วก่อนหน้า โดยหลังจากที่ได้มีโอกาสรับเสด็จพร้อมทั้งชงชาถวายในงาน BOI ที่เมืองทองธานี ประมาณปี 2543
ทางเครือซีพี ได้ไปนำกล้าพันธุ์ชา“ชิงซินอูหลง” จากเมืองหมิงซาน มณฑลเสฉวน ประมาณ 25,000 กล้า เพื่อมาทดลองปลูกและทำการขยายพันธุ์ดูก่อนบนพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ภายในบริเวณของศูนย์ภูฟ้า และเมื่อเห็นว่าพันธุ์ชาที่ปลูกสามารถปรับตัวตลอดจนมีการเจริญเติบโตดี ประมาณปี 2545 จึงเริ่มขยายสู่เกษตรกรโดยการส่งเสริมปลูกพร้อมแจกจ่ายกล้าพันธุ์ให้
โดยช่วงแรกให้คนละประมาณ 1,000 กล้าหรือเท่ากับพื้นที่ 1 ไร่เพื่อไปทดลองปลูกดูก่อน ในขณะที่ทางโครงการพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของ ซีพีจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเพื่อคอยให้คำแนะนำตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีความรู้ต่างๆให้ ซึ่งเมื่อเกษตรกรสามารถทำได้และมีผลผลิตคือ “ยอดชา” ออกมา ตรงส่วนนี้ทางโครงการจะเป็นผู้รับซื้อเพื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใบชาในนามของ
“ชาภูฟ้า” ต่อไป
สำหรับชาที่ทางโครงการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกและซื้อผลผลิตคืนในนามของศูนย์ภูฟ้านั้น เมื่อนำมาเข้าสู่กระบวนการแปรรูปในโรงงาน จะได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ชาอูหลงในรูปของ “ซองสุญญากาศ” ที่เป็นชาเกรดเอ และ “ซองเยื่อ” แบบพร้อมชง (เหมือนชาลิปตัน) ซึ่งเป็นชาเกรดบีและเกรดรองจากนั้น โดยทั้งหมดจะใช้แบรนด์หรือชื่อทางการค้าว่า
“ชาภูฟ้า” สำหรับที่มีวางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน จากรูปแบบของการทำตลาดที่เบื้องต้นจะมุ่งเน้นภายในประเทศเป็นหลักก่อน
เท่าที่ผ่านมาทั้งไม่ว่าจะเป็นการวางจำหน่ายใน
“ร้านภูฟ้า” ที่กรุงเทพฯ หรือที่
“ศูนย์ภูฟ้า” รวมถึงร้านจำหน่ายของที่ระลึกในเขต จ.น่าน เองก็ดี การตอบรับของตลาดนับว่าค่อยๆเติบโตขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าความเชื่อมั่นในเรื่องของการเป็นผลิตภัณฑ์จากศูนย์ภูฟ้าด้วยที่ทำให้ผู้คนทั่วไปต่างก็ให้การยอมรับ
หากใครสนใจเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของร้านภูฟ้า สามารถเยี่ยมชมได้ทั้ง 20 สาขา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.phufa.org/branch-all/
[CR] ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ย้อนไปกว่า 20 ปี พื้นที่ ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน แห่งนี้ ประชาชนประสบปัญหาความยากจน ขาดโอกาสและปัจจัยในการดำรงชีวิต อันเนื่องมาจากเป็นพื้นที่ทุรกันดาร ก่อนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรและทรงทอดพระเนตรบ่อเกลือสินเธาว์ ณ บ้านบ่อหลวง และทรงทราบถึงปัญหาในพื้นที่ จึงมีพระราชดำริให้ดำเนินการช่วยเหลือการพัฒนาโครงการต่างๆในพื้นที่นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
“ศูนย์ภูฟ้า” จึงถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี 2542 เพื่อการสร้างต้นแบบการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนและบูรณาการทั้งการประกอบอาชีพด้านการเกษตรและการแปรรูป ตั้งอยู่ที่บ้านผาสุก ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ซึ่งนอกจากศูนย์ภูฟ้าจะเปิดดำเนินการภายใต้แนวพระราชดำริที่ก่อให้เกิดโครงการต่างๆ อันส่งผลดีถึงสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่แล้ว ยังมีการส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมกับศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ราบและพื้นที่สูง โดยเป็นศูนย์รวบรวมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องด้านการตลาด รวมถึงยังส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศึกษาธรรมชาติ และวัฒนธรรมท้องถิ่นและจัดการศึกษาวิจัยถ่ายทอดความรู้การพัฒนาและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ ยั่งยืนด้วย
โดยหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของ “ศูนย์ภูฟ้า” ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว และมีราษฏรที่เป็นเกษตรให้ความสนใจเข้าร่วมก็คือการปลูก "ชาอู่หลง" ซึ่งเป็นหนึ่งใน โครงการของ ซีพี เพื่อความยั่งยืน ที่นำเอาเทคโนโลยีความรู้ต่างๆตลอดจนเรื่องของสายพันธุ์ใบชา เข้ามาถ่ายทอดให้ความรู้พร้อมส่งเสริมการปลูกเพื่อเป็นอาชีพให้กับเกษตรกร
กว่าจะมาเป็น “ชาภูฟ้า”
“ชาภูฟ้า” เป็นโครงการสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงต้องการจะช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อให้มีอาชีพและมีรายได้โดยเฉพาะเกี่ยวกับการปลูกชาที่ดอยภูฟ้า จากการที่เครือซีพีซึ่งมี “ธุรกิจชา” อยู่ ณ ประเทศจีนที่ทำอยู่แล้วก่อนหน้า โดยหลังจากที่ได้มีโอกาสรับเสด็จพร้อมทั้งชงชาถวายในงาน BOI ที่เมืองทองธานี ประมาณปี 2543
ทางเครือซีพี ได้ไปนำกล้าพันธุ์ชา“ชิงซินอูหลง” จากเมืองหมิงซาน มณฑลเสฉวน ประมาณ 25,000 กล้า เพื่อมาทดลองปลูกและทำการขยายพันธุ์ดูก่อนบนพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ภายในบริเวณของศูนย์ภูฟ้า และเมื่อเห็นว่าพันธุ์ชาที่ปลูกสามารถปรับตัวตลอดจนมีการเจริญเติบโตดี ประมาณปี 2545 จึงเริ่มขยายสู่เกษตรกรโดยการส่งเสริมปลูกพร้อมแจกจ่ายกล้าพันธุ์ให้
โดยช่วงแรกให้คนละประมาณ 1,000 กล้าหรือเท่ากับพื้นที่ 1 ไร่เพื่อไปทดลองปลูกดูก่อน ในขณะที่ทางโครงการพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของ ซีพีจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเพื่อคอยให้คำแนะนำตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีความรู้ต่างๆให้ ซึ่งเมื่อเกษตรกรสามารถทำได้และมีผลผลิตคือ “ยอดชา” ออกมา ตรงส่วนนี้ทางโครงการจะเป็นผู้รับซื้อเพื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใบชาในนามของ “ชาภูฟ้า” ต่อไป
สำหรับชาที่ทางโครงการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกและซื้อผลผลิตคืนในนามของศูนย์ภูฟ้านั้น เมื่อนำมาเข้าสู่กระบวนการแปรรูปในโรงงาน จะได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ชาอูหลงในรูปของ “ซองสุญญากาศ” ที่เป็นชาเกรดเอ และ “ซองเยื่อ” แบบพร้อมชง (เหมือนชาลิปตัน) ซึ่งเป็นชาเกรดบีและเกรดรองจากนั้น โดยทั้งหมดจะใช้แบรนด์หรือชื่อทางการค้าว่า “ชาภูฟ้า” สำหรับที่มีวางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน จากรูปแบบของการทำตลาดที่เบื้องต้นจะมุ่งเน้นภายในประเทศเป็นหลักก่อน
เท่าที่ผ่านมาทั้งไม่ว่าจะเป็นการวางจำหน่ายใน “ร้านภูฟ้า” ที่กรุงเทพฯ หรือที่ “ศูนย์ภูฟ้า” รวมถึงร้านจำหน่ายของที่ระลึกในเขต จ.น่าน เองก็ดี การตอบรับของตลาดนับว่าค่อยๆเติบโตขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าความเชื่อมั่นในเรื่องของการเป็นผลิตภัณฑ์จากศูนย์ภูฟ้าด้วยที่ทำให้ผู้คนทั่วไปต่างก็ให้การยอมรับ
หากใครสนใจเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของร้านภูฟ้า สามารถเยี่ยมชมได้ทั้ง 20 สาขา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น