เผลอด่าพ่อเพราะพ่อมีเมียน้อย

ตามหัวกระทู้เลยค่ะ ปกติพ่อด่าอะไรมา ขึ้นกูเราจะเฉยๆ แต่รอบนี้เราทนไม่ไหว
เขามาขึ้นกูใส่ ด่าว่าเรา"อย่ายิ้มที่ไปยุ่งกับชีวิตกู" เราเลยด่ากลับไปว่า "งั้นก็ไม่ต้องมายิ้มชีวิตของกูเหมือนกัน รำคาญ"
ก็ด่ากันไปมาอย่างนี้หลายชั่วโมง เบื่อมากๆทำไมพ่อทำผิดเราไม่มีสิทธิ์ด่าเหรอคะ  ในเมื่ออะไรถูกผิดยังไม่รู้อีก
ลองเสิร์ชเรื่องเกี่ยวกับธรรมะก็บอกว่ามันบาป ซึ่งปกติเราไม่เคยด่าพ่อแม่เลยค่ะ แต่ครั้งนี้มันอดไม่ไหวจริงๆ
มีแต่เรื่องผลประโยชน์ทางบ้านที่ยังไม่ลงตัว เลยทำอะไรไม่ได้ ได้แต่เก็บตังค์รอตั้งตัวได้
สงสารน้อง น้องยังเรียนไม่จบ สงสารแม่ที่ต้องมาเจอผัวเลวๆ สงสารตัวเองที่มีพ่อไม่ดี แค่น้ำเชื้อจะอะไรนักหนา
มาทวงบุญคุณว่ากว่าจะเลี้ยงให้โตขนาดนี้ ตอนเราจะเกิดไม่เห็นถามเลยว่าอยากมาเกิดกับพ่อแบบนี้มั้ย
เห้อ.....
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
มีหลักอันประเสริฐเที่ยงแท้ที่ควรปฏิบัติอยู่ ขอให้พิจาณาเถอะครับ

หลักการปฏิบัติตัวโดยทั่วไป ขอให้น้อมหลักพระโอวาทปาฏิโมกข์เป็นจุดยืนในชีวิตเสมอ
        -  ไม่มุ่งสร้างความทุกข์เดือดร้อนแก่ตัวเองและชีวิตอื่นไม่ว่าทางคำโพสต์คำพูดหรือการกระทำ โดยในที่นี้หากเราไม่ได้มุ่งร้ายในทางต่างๆต่อพ่อหรือเมียน้อยของพ่อ ก็คือเราไม่ได้ก่อบาปอะไรชัดเจน
        -  ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ร้อนแก่ตัวเองและชีวิตอื่น ตลอดจนช่วยเสนอแนะสิ่งดีเพื่อเป็นธรรมทานให้ผู้อื่นพ้นบาปสมุทัย "เท่าที่ช่วยได้อย่างสร้างสรรค์"  โดยในที่นี้ถ้าเราดุด่าพ่อด้วยเจตนาติเพื่อก่อเพื่อให้พ่อได้สติความนึกคิดหยุดละบาปเชิงชู้สาวที่เป็นอยู่ นั้นถือเป็นกุศลกรรมที่เด่นชัด  ส่วนกรณีถ้ามีลักษณะที่มุ่งด่าทะเลาะกันไปมานั้นก็เป็นบาปทั่วไปตามประสาสังคมครอบครัวมนุษย์ซึ่งควรปล่อยวางต่อสิ่งผ่านไปแล้วและนำมาเป็นข้อปรับปรุงในโอกาสต่อๆไป  แต่ไม่ควรมัวยึดเหนี่ยวยึดถือแบบโบร่ำโบราณตามความเชื่อทางศาสนาหรือธรรมเนียมสังคมใดๆ เพราะมักก่อให้จมอยู่ในภาวะทางจิตต่างๆโดยใช่เหตุ เช่น หลงเครียดเก็บกด หลงเกรงกลัวบาป หลงเชื่อ หลงปีติเคลิบเคลิ้ม หลงคลั่ง หลงฮึกเหิม หลงทะเยอทะยาน ฯลฯ ซึ่ง 2 ตัวอย่างแรกนั้นเป็นสภาพทุกข์ที่น่าสงสารเห็นใจ แต่ที่เหลือนั้นคือกิเลสสมุทัยที่ขาดสติและน่าตำหนิทั้งนั้น
        -  มีจิตใจที่ประเสริฐผ่องใส(พ้นทุกข์พ้นบาปสมุทัยในใจ) สิ่งนี้คือหัวใจของพระโอวาทที่ควรมีอยู่ทุกเมื่อ แล้วจะเกิดทุกพฤติกรรมที่ถูกต้องตามมาเสมอ

การตัดสินใจแนวทางใดๆในชีวิต ขอให้น้อมหลักพระสัปปุริสธรรมมาประกอบการตัดสินใจเสมอ
       เช่น รู้ความคิดจิตใจตัวเอง(อัตตัญญุตา)  รู้นิสัยตัวตนของพ่อตลอดจนรู้ความคิดและหัวจิตหัวใจของทุกคนที่เกี่ยวข้อง(ปุคคลัญญุตา)  รู้กาลเวลาที่เหมาะสม(กาลัญญุตา)  รู้ประโยชน์ในทางต่างๆ(อัตถัญญุตา)  รู้ระดับที่เหมาะสมในการดำเนินการใดๆ(มัตตัญญุตา) ฯลฯ แล้วนำสิ่งที่ควรรู้เหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจในชีวิต
       ทั้งนี้การตัดสินใจใดๆนั้นล้วนคือโลกชีวิตของผู้คนที่ย่อมแตกต่างหลากหลายไปตามความเหมาะสมของแต่ละคนแต่ละครอบครัว และอาจเปลี่ยนแปลงไปมาได้  ดังนั้นไม่ว่าจะตัดสินใจอยู่ร่วมกันไปดังเดิม หรืออยู่กันไปก่อนชั่วคราว หรือแยกกันอยู่ชั่วคราว หรือแยกกันไปโดยถาวร หรือเดินตามแผนตามเกมใดๆชีวิต ฯลฯ ขอให้ตัดสินใจในแต่ละช่วงจังหวะไปตามที่พิจารณาว่าเหมาะสมที่สุดแล้วหรือเกิดทุกข์ร้อนแก่ตัวเองและผู้เกี่ยวข้องน้อยที่สุดแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่