ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 15
ภาพ - ดัชนีความร้อน จากบล็อกศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา (CDC), จาก NOAA 2012.
ตารางนี้ใช้อธิบายว่า ความชื้นสัมพัทธ์ที่สูงขึ้น ทำให้ร้อนกว่าจริงเท่าไร
https://blogs.cdc.gov/niosh-science-blog/2017/06/05/heat-index/
ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ เพิ่มขึ้น
ทำให้ การระเหยของน้ำที่ผิวหนัง และ ทางเดินหายใจ ลดลง
ทำให้ การระบายความร้อนออกจากร่างกาย น้อยลง
จึง รู้สึกร้อนกว่าจริง เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ เพิ่มขึ้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ใช้เตือนความเสี่ยงต่อการเกิดลมแดด (heat stroke - ทำให้ป่วยหนัก ไตเสื่อม ไตวาย หรือ เสียชีวิตได้)
และ โรคเพลียความร้อน (heat exhaustion - ทำให้ป่วยได้)
ตัวเลขแนวดิ่ง ด้านนอกแถบสี = ความชื้นสัมพัทธ์ (ร้อยละ)
ตัวเลขแนวนอน ด้านนอกแถบสี = อุณหภูมิ (ฟาเรนไฮต์ทางซ้าย และ เซลเซียสในวงเล็บ ทางขวา)
อุณหภูมิในแถบสี = ความรู้สึกร้อนเทียบเท่าร้อนขึ้นเท่าไร เมื่อความชื้นเพิ่มขึ้น เช่น
ที่ 30C, ความชื้นสัมพัทธ์ 40% = ร้อนเทียบเท่า 29C (สีเหลือง = เฝ้าระวัง)
ที่ 30C, ความชื้นสัมพัทธ์ 60% = ร้อนเทียบเท่า 33C (สีส้ม = เฝ้าระวังเข้มงวด)
ที่ 30C, ความชื้นสัมพัทธ์ 80% = ร้อนเทียบเท่า 38C (สีส้ม = เฝ้าระวังเข้มงวด)
ที่ 30C, ความชื้นสัมพัทธ์ 100% = ร้อนเทียบเท่า 44C (สีส้มแดง/แสด = อันตราย)
- สีเหลือง = เฝ้าระวัง
- สีส้ม = เฝ้าระวังเข้มงวด
- สีส้มแดง/แสด = อันตราย
- สีแดง = อันตรายอย่างยิ่ง
.....
โดยทั่วไปแล้ว...
ถ้าร้อนถึง 28C (องศาเซลเซียส) และ ความชื้น 90% ขึ้นไป ก็ต้องระวังอย่างยิ่งแล้ว
เพราะ ความชื้นที่สูงขึ้น
ทำให้ การระเหยของเหงื่อที่ผิวหนัง และ น้ำจากทางเดินหายใจ ต่ำลง เช่น
- หลีกเลี่ยง การอยู่กลางแจ้ง
- หลีกเลี่ยง การออกกำลังหนัก เช่น แข่งวิ่ง ฝึกทหาร
การใช้แอร์ทำให้คนเราเย็นลง
จาก อุณหภูมิที่ต่ำลง ความชื้นสัมพัทธ์ที่ต่ำลง ลมที่แรงขึ้น
และ ถ้าจะให้เย็นลงดีจริงๆ
ก็ อย่าลืมดื่มน้ำให้มากพอ เฉลี่ยไปตลอดวัน
เพราะ ภาวะขาดน้ำ ทำให้การหลั่งเหงื่อ ลดลง
การระบายความร้อนจากการระเหย ลดลงได้ เช่นกัน
ภาวะโลกร้อน ทำให้ ช่วงอากาศร้อน-ชื้น สูงขึ้น นานขึ้น
โอกาสพบลมแดด และ โรคเพลียความร้อน น่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
ขอบคุณครับ
นพ.วัลลภ - เรื่องนี้ให้ ลดา พรเรืองวงศ์ - หลานวิศวกรเป็น Peer Reviewer
.....
- Heat Index: When humidity makes it feel hotter. Brenda Jacklitsch. June 5, 2017. - https://blogs.cdc.gov/niosh-science-blog/2017/06/05/heat-index/
ภาพ - ดัชนีความร้อน จากบล็อกศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา (CDC), จาก NOAA 2012.
ตารางนี้ใช้อธิบายว่า ความชื้นสัมพัทธ์ที่สูงขึ้น ทำให้ร้อนกว่าจริงเท่าไร
https://blogs.cdc.gov/niosh-science-blog/2017/06/05/heat-index/
ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ เพิ่มขึ้น
ทำให้ การระเหยของน้ำที่ผิวหนัง และ ทางเดินหายใจ ลดลง
ทำให้ การระบายความร้อนออกจากร่างกาย น้อยลง
จึง รู้สึกร้อนกว่าจริง เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ เพิ่มขึ้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ใช้เตือนความเสี่ยงต่อการเกิดลมแดด (heat stroke - ทำให้ป่วยหนัก ไตเสื่อม ไตวาย หรือ เสียชีวิตได้)
และ โรคเพลียความร้อน (heat exhaustion - ทำให้ป่วยได้)
ตัวเลขแนวดิ่ง ด้านนอกแถบสี = ความชื้นสัมพัทธ์ (ร้อยละ)
ตัวเลขแนวนอน ด้านนอกแถบสี = อุณหภูมิ (ฟาเรนไฮต์ทางซ้าย และ เซลเซียสในวงเล็บ ทางขวา)
อุณหภูมิในแถบสี = ความรู้สึกร้อนเทียบเท่าร้อนขึ้นเท่าไร เมื่อความชื้นเพิ่มขึ้น เช่น
ที่ 30C, ความชื้นสัมพัทธ์ 40% = ร้อนเทียบเท่า 29C (สีเหลือง = เฝ้าระวัง)
ที่ 30C, ความชื้นสัมพัทธ์ 60% = ร้อนเทียบเท่า 33C (สีส้ม = เฝ้าระวังเข้มงวด)
ที่ 30C, ความชื้นสัมพัทธ์ 80% = ร้อนเทียบเท่า 38C (สีส้ม = เฝ้าระวังเข้มงวด)
ที่ 30C, ความชื้นสัมพัทธ์ 100% = ร้อนเทียบเท่า 44C (สีส้มแดง/แสด = อันตราย)
- สีเหลือง = เฝ้าระวัง
- สีส้ม = เฝ้าระวังเข้มงวด
- สีส้มแดง/แสด = อันตราย
- สีแดง = อันตรายอย่างยิ่ง
.....
โดยทั่วไปแล้ว...
ถ้าร้อนถึง 28C (องศาเซลเซียส) และ ความชื้น 90% ขึ้นไป ก็ต้องระวังอย่างยิ่งแล้ว
เพราะ ความชื้นที่สูงขึ้น
ทำให้ การระเหยของเหงื่อที่ผิวหนัง และ น้ำจากทางเดินหายใจ ต่ำลง เช่น
- หลีกเลี่ยง การอยู่กลางแจ้ง
- หลีกเลี่ยง การออกกำลังหนัก เช่น แข่งวิ่ง ฝึกทหาร
การใช้แอร์ทำให้คนเราเย็นลง
จาก อุณหภูมิที่ต่ำลง ความชื้นสัมพัทธ์ที่ต่ำลง ลมที่แรงขึ้น
และ ถ้าจะให้เย็นลงดีจริงๆ
ก็ อย่าลืมดื่มน้ำให้มากพอ เฉลี่ยไปตลอดวัน
เพราะ ภาวะขาดน้ำ ทำให้การหลั่งเหงื่อ ลดลง
การระบายความร้อนจากการระเหย ลดลงได้ เช่นกัน
ภาวะโลกร้อน ทำให้ ช่วงอากาศร้อน-ชื้น สูงขึ้น นานขึ้น
โอกาสพบลมแดด และ โรคเพลียความร้อน น่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
ขอบคุณครับ
นพ.วัลลภ - เรื่องนี้ให้ ลดา พรเรืองวงศ์ - หลานวิศวกรเป็น Peer Reviewer
.....
- Heat Index: When humidity makes it feel hotter. Brenda Jacklitsch. June 5, 2017. - https://blogs.cdc.gov/niosh-science-blog/2017/06/05/heat-index/
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
อุณหภูมิร่างกายคือ37องศาเราควรจะรู้สึกร้อนเมื่ออุณหภูมิมากกว่า37องศา แต่ทำไมอุณหภูมิแค่30กว่าองศาก็รู้สึกร้อนแล้ว
ความเข้าใจของผมคือ ถ้าอากาศร้อนกว่าอุณหภูมิร่างกายเราจะรู้สึกร้อน
ถ้าอากาศอุณหภูมิต่ำกว่าร่างกายเราจะรู้สึกหนาว
ผมเข้าใจถูกรึเปล่าคับ