สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ตอนที่ ๒
เรื่องบริจาคมากได้บุญมาก
คำสอนเรื่องหนึ่งของสำนักธรรมกายที่เห็นประจักษ์กันทั่วไปก็คือ สอนว่าทำบุญมากได้ผลมาก ทำน้อยได้ผลน้อย
ขอให้พิจารณาคำกล่าวต่อไปนี้
..........
เราจะมี รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ หรือคุณสมบัติ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ขึ้นอยู่กับ “บุญ”
ถ้าทำมาก..ก็มีมาก
ทำปานกลาง..ก็มีปานกลาง
ทำน้อย..ก็มีน้อย
ถ้าไม่ทำ..ก็ไม่มี
..........
คำว่า “ทำมาก..ก็มีมาก” หมายความว่า ถ้าทำบุญมาก รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ และลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็จะมีมาก
นี่เป็นคำชี้นำ หรือโน้มน้าวใจให้ “อยาก”
พูดแบบหาเรื่องกันนิดๆ ก็ว่า-ยกเอารูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ และลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ขึ้นมาล่อให้อยากได้
แน่นอน ปุถุชนคนมีกิเลสก็ต้องอยากได้เป็นธรรมดา
พอล่อให้อยากได้แล้ว ก็ชี้แนะต่อไป-อยากได้ก็ต้องทำ “บุญ” สิ
แล้วก็สรุปชวนแบบให้คิดตาม
...........
ทำมาก..ก็มีมาก
ทำปานกลาง..ก็มีปานกลาง
ทำน้อย..ก็มีน้อย
ไม่ทำ..ก็ไม่มี
...........
ฟังดูก็เป็นเหตุเป็นผลทุกประการ
ฟังดูก็ไม่เห็นจะมีอะไรผิดตรงไหน
โปรดดูต่อไปอีก
วัดพระธรรมกายสอนว่า
----------
แน่นอนว่าผู้ที่ให้ทานจำนวนมากกว่าก็ย่อมได้รับผลมากกว่า
เหมือนคนทำนา ๑๐๐ ไร่ ย่อมได้ผลมากกว่าคนทำนา ๑ ไร่
----------
นี่เป็นการย้ำว่า “ทำบุญมาก” ในความหมายของสำนักวัดพระธรรมกายก็คือ “ให้ทานจำนวนมาก”
อยากได้รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ และลาภ ยศ สรรเสริญ สุขมากๆ ก็ต้องบริจาคมากๆ
“ทำบุญ” อาจหมายถึงให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ฟังให้ดีนะครับ ประเดี๋ยวจะมีคนแย้งกลับมาอีก
ผมบอกว่าบุญอย่างอื่นวัดพระธรรมกายก็สอน ไม่ใช่ไม่สอน
แต่ “ทำบุญ” ตามคำสอนของสำนักนี้เน้นที่ทานมัย บุญบริจาค-บุญที่สำเร็จได้ด้วยการควักกระเป๋า เปิดบัญชี โอนที่ โอนเงิน โอนทรัพย์สินเท่านั้นที่เน้น
กิจกรรมบุญใดๆ ที่สำนักนี้จัด ไม่ว่าจะเป็นตักบาตรพระสงฆ์หมื่นรูป บวชพระแสนรูป เดินธุดงค์ธรรมชัย หรือแม้แต่กิจกรรมเชิงวิชาการอื่นใด ล้วนมุ่งไปที่การจูงใจให้คนควักประเป๋าเป็นจุดหมายปลายทาง
และเน้นย้ำที่-อยากได้บุญมากๆ ก็ต้องบริจาคมากๆ
ทั้งต้องบริจาคกับธรรมกายเท่านั้นด้วย
เราไม่เคยได้ยินธรรมกายบอกว่า-ญาติโยมทั้งหลาย อยู่ใกล้วัดไหน สะดวกวัดไหน หรือศรัทธาวัดไหน ก็ขอให้ไปทำบุญกันที่วัดนั้นแหละ ไม่ต้องมาที่วัดธรรมกายหรอก ทำบุญที่วัดไหนก็ได้บุญเหมือนกันนั่นแหละโยม
เราเคยเห็นแต่ธรรมกายดูดพระจากวัดต่างๆ ไปร่วมชุมนุมในกิจกรรมที่ธรรมกายจัดขึ้น
บรรพบุรุษของเราท่านสร้างวัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ
เมื่อดูดเอาพระจากวัดต่างๆ มา ธรรมกายเคยรู้สึกบ้างไหมว่าญาติโยมรอบวัดนั้นเขาจะคิดอย่างไร เขาจะไปทำบุญกันที่ไหน แล้วจะสร้างวัดตามหมู่บ้านตำบลต่างๆ ไว้ทำไม
นี่เป็นข้อพิสูจน์ว่า ทำบุญต้องทำกับธรรมกายเท่านั้น
----------------
คราวนี้ก็มาดูกันว่า-แล้วในคัมภีร์ท่านแสดงไว้อย่างไร
ขออนุญาตยกเรื่องจากคัมภีร์วิมานวัตถุมาเสนอสักเรื่องหนึ่ง
เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าของเราเสด็จดับขันธปรินิพพานและได้ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งกรุงราชคฤห์ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่ทรงได้รับส่วนแบ่งมาสร้างสถูปไว้ในเมืองราชคฤห์และจัดให้มีงานฉลอง
สตรีนางหนึ่งเก็บดอกโกสาตกีได้ ๔ ดอก เกิดศรัทธาคิดจะเอาไปบูชาพระสถูป
“โกสาตกี” (โก-สา-ตะ-กี) ท่านแปลกันว่า บวบขม เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามพื้นถิ่นทั่วไป ไม่มีราคาค่างวดอะไร และน่าจะกินไม่ได้ เพราะมีคำขยายความว่า “อนภิจฺฉิตา” แปลว่า “ไม่มีใครอยากได้”
พอเกิดศรัทธา สตรีนางนั้นก็เดินมุ่งหน้าไปที่พระสถูป ตั้งใจเอาดอกบวบขมไปบูชา
ระหว่างทางถูกโคขวิดตาย ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ รัศมีข่มเทพธิดาองค์อื่นๆ ทั้งหมด พระอินทร์ถามว่า ทำบุญด้วยอะไรจึงได้มาเกิดที่นี่ นางก็ตอบว่าทำบุญด้วยดอกบวบขม ความจริงแล้วยังไม่ทันได้ทำสำเร็จด้วยซ้ำ แค่ตั้งใจและกำลังจะไปทำเท่านั้น
พระอินทร์ได้ฟังดังนั้นจึงตรัสกับมาตลีเทพสารถีว่า
----------------
หลักฐานอีกแห่งหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณาประกอบ คือหลักเรื่องสัมปทา ๔
ขอยกข้อความจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต มาเสนอไว้ตรงนี้ ท่านแสดงไว้กระชับและชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว
----------
[190] สัมปทา หรือ สัมปทาคุณ 4 (ความถึงพร้อม, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์แห่งองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งทำให้ทานที่บริจาคแล้ว เป็นทานอันยอดเยี่ยม มีผลมาก อาจเห็นผลทันตา — Sampadā: successful attainment; accomplishment; excellence)
1. วัตถุสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยวัตถุ คือบุคคลผู้เป็นที่ตั้งรองรับทาน เช่น ทักขิไณยบุคคลเป็นพระอรหันต์ หรือพระอนาคามี ผู้เข้านิโรธสมาบัติได้ — Vatthu-sampadā: excellence of the foundation for merit)
2. ปัจจัยสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยปัจจัย คือ สิ่งที่จะให้เป็นของบริสุทธิ์ ได้มาโดยชอบธรรม — Paccaya-sampadā: excellence of the gift)
3. เจตนาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยเจตนา คือ มีเจตนาในการให้สมบูรณ์ครบ 3 กาล ทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้ จิตโสมนัส ประกอบด้วยปัญญา — Cetanā-sampadā: excellence of the intention)
4. คุณาติเรกสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยคุณส่วนพิเศษ คือ ปฏิคาหกมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ทักขิไณยบุคคลนั้น ออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ — Guṇātireka-sampadā: excellence of extra virtue)
DhA.III.93. ธ.อ.5/88.
----------
จะเห็นได้ว่า ในหลักเรื่องสัมปทา ๔ นี้ ของที่ทำบุญต้องเป็นของบริสุทธิ์คือได้มาโดยถูกธรรมถูกทาง
ท่านไม่ได้บอกเลยว่าต้องบริจาคมากๆ จึงจะได้บุญมาก
สรุปว่า การจะทำบุญให้ได้บุญมาก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินหรือปริมาณของทรัพย์สินที่บริจาคแต่ประการใดเลย แม้จะถวายของเพียงเล็กน้อย ก็ได้บุญมาก ถ้ามีองค์ประกอบที่ถูกต้อง เช่นจิตเลื่อมใสมั่นคงในพระรัตนตรัยเป็นต้น
----------------
มีพระสูตรอีกสูตรหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ขอนำมาเสนอไว้ในที่นี้เพื่อประกอบการศึกษา
พระสูตรนี้ชื่อ “เวลามสูตร” มีมาในคัมภีร์อังคุตรนิกาย นวกนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม ๒๓ ข้อ ๒๒๔ หน้า ๔๐๕-๔๐๘
เล่าลัดๆ ว่า ในอดีตกาลนานไกล ในชมพูทวีปมีพราหมณ์ชื่อ “เวลามะ” (เวลามพราหมณ์) ได้ถวายมหาทานอย่างมโหฬาร
รายการทรัพย์สินที่บริจาคมีดังต่อไปนี้ -
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทั้งปริมาณและคุณภาพของทรัพย์สินเอามาสร้างวัดพระธรรมกายได้อีกร้อยวัด
แต่ทำบุญมากมายขนาดนั้น พระพุทธองค์ยังตรัสว่า
๑ เลี้ยงพระโสดาบันองค์เดียวอิ่มเดียวได้บุญมากกว่าทานทั้งหมดที่เวลามพราหมณ์บริจาคตามรายการข้างต้น
๒ เลี้ยงพระสกทาคามีองค์เดียวอิ่มเดียว ได้บุญมากกว่าเลี้ยงพระโสดาบัน ๑๐๐ องค์
๓ เลี้ยงพระอนาคามีองค์เดียวอิ่มเดียว ได้บุญมากกว่าเลี้ยงพระสกทาคามี ๑๐๐ องค์
๔ เลี้ยงพระอรหันต์องค์เดียวอิ่มเดียว ได้บุญมากกว่าเลี้ยงพระอนาคามี ๑๐๐ องค์
๕ เลี้ยงพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์เดียว ได้บุญมากกว่าเลี้ยงพระอรหันต์ ๑๐๐ องค์
๖ เลี้ยงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียว ได้บุญมากกว่าเลี้ยงพระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ องค์
๗ เลี้ยงพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ ได้บุญมากกว่าเลี้ยงเฉพาะพระพุทธเจ้าองค์เดียว
๘ สร้างวัดหรือสร้างเสนาสนะถวายให้เป็นของสงฆ์ ได้บุญมากกว่าเลี้ยงพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์
๙ ทำจิตใจให้ผ่องใสนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ได้บุญมากกว่าสร้างวัดหรือสร้างเสนาสนะถวายให้เป็นของสงฆ์
๑๐ ตั้งใจรักษาศีลแล้วรักษาได้จริง ได้บุญมากกว่าทำจิตใจให้ผ่องใสนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
๑๑ เจริญเมตตาแม้เพียงชั่วเวลาสูดกลิ่นหอมอึดหนึ่ง (หรือชั่วเวลาที่รีดนมได้หยดหนึ่ง) ได้บุญมากกว่ารักษาศีล
๑๒ เจริญอนิจสัญญา (พิจารณาให้เห็นประจักษ์ใจว่าสรรพสิ่งไม่เที่ยงแท้แน่นอน) เพียงชั่วเวลาดีดนิ้วมือทีหนึ่ง ได้บุญมากกว่าเจริญเมตตาอึดใจหนึ่ง
ลองคำนวณดูว่า จะต้องบริจาคทรัพย์สินเป็นปริมาณมากมายมหาศาลขนาดไหนจึงจะได้บุญเท่ากับเจริญอนิจสัญญาเพียงชั่วเวลาดีดนิ้วมือทีหนึ่ง
พูดอีกแง่หนึ่ง ระหว่าง -
๑ การบริจาคทรัพย์สินเป็นปริมาณมากมายมหาศาลเหมือนกับที่เวลามพราหมณ์ถวายมหาทาน
กับ -
๒ การเจริญอนิจสัญญาเพียงชั่วเวลาดีดนิ้วมือทีหนึ่ง
อย่างไหนจะได้บุญมากกว่ากัน ?
ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่า เราไม่จำเป็นต้องบริจาคทานอะไรกันอีกแล้วนะครับ อย่าเข้าใจผิดเป็นอันขาด
ทำบุญให้ทานบริจาคทรัพย์สินก็ยังคงต้องทำ เลิกไม่ได้
แต่ทำตามกำลัง
ไม่ใช่ทำตามคำโฆษณาชวนเชื่อว่า ทำมากได้บุญมาก
----------------
ก่อนจบตอนนี้ขอตั้งข้อสังเกตว่า ข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับการทำบุญบริจาคที่นำมาเสนอให้ทราบนี้ล้วนแต่มีอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎก
วัดพระธรรมกายมีมหาเปรียญเฉพาะที่เป็นเปรียญเอก ๙ ประโยคประมาณ ๘๐ รูป ต่ำกว่า ๙ ประโยคอีกเป็นร้อย ท่านเหล่านั้นล้วนทรงภูมิรู้ที่สามารถค้นคว้าพระไตรปิฎกได้แตกฉานทั้งสิ้น
สำนักธรรมกายสอนสวนทางกับพระไตรปิฎกอยู่เช่นนี้ ท่านจะมีประโยค ๙ เปรียญเอกเป็นร้อยๆ ไว้ทำอะไร ?
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๒๗ เมษายน ๒๕๕๙
๑๖:๔๖
เรื่องบริจาคมากได้บุญมาก
คำสอนเรื่องหนึ่งของสำนักธรรมกายที่เห็นประจักษ์กันทั่วไปก็คือ สอนว่าทำบุญมากได้ผลมาก ทำน้อยได้ผลน้อย
ขอให้พิจารณาคำกล่าวต่อไปนี้
..........
เราจะมี รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ หรือคุณสมบัติ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ขึ้นอยู่กับ “บุญ”
ถ้าทำมาก..ก็มีมาก
ทำปานกลาง..ก็มีปานกลาง
ทำน้อย..ก็มีน้อย
ถ้าไม่ทำ..ก็ไม่มี
..........
คำว่า “ทำมาก..ก็มีมาก” หมายความว่า ถ้าทำบุญมาก รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ และลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็จะมีมาก
นี่เป็นคำชี้นำ หรือโน้มน้าวใจให้ “อยาก”
พูดแบบหาเรื่องกันนิดๆ ก็ว่า-ยกเอารูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ และลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ขึ้นมาล่อให้อยากได้
แน่นอน ปุถุชนคนมีกิเลสก็ต้องอยากได้เป็นธรรมดา
พอล่อให้อยากได้แล้ว ก็ชี้แนะต่อไป-อยากได้ก็ต้องทำ “บุญ” สิ
แล้วก็สรุปชวนแบบให้คิดตาม
...........
ทำมาก..ก็มีมาก
ทำปานกลาง..ก็มีปานกลาง
ทำน้อย..ก็มีน้อย
ไม่ทำ..ก็ไม่มี
...........
ฟังดูก็เป็นเหตุเป็นผลทุกประการ
ฟังดูก็ไม่เห็นจะมีอะไรผิดตรงไหน
โปรดดูต่อไปอีก
วัดพระธรรมกายสอนว่า
----------
แน่นอนว่าผู้ที่ให้ทานจำนวนมากกว่าก็ย่อมได้รับผลมากกว่า
เหมือนคนทำนา ๑๐๐ ไร่ ย่อมได้ผลมากกว่าคนทำนา ๑ ไร่
----------
นี่เป็นการย้ำว่า “ทำบุญมาก” ในความหมายของสำนักวัดพระธรรมกายก็คือ “ให้ทานจำนวนมาก”
อยากได้รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ และลาภ ยศ สรรเสริญ สุขมากๆ ก็ต้องบริจาคมากๆ
“ทำบุญ” อาจหมายถึงให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
ฟังให้ดีนะครับ ประเดี๋ยวจะมีคนแย้งกลับมาอีก
ผมบอกว่าบุญอย่างอื่นวัดพระธรรมกายก็สอน ไม่ใช่ไม่สอน
แต่ “ทำบุญ” ตามคำสอนของสำนักนี้เน้นที่ทานมัย บุญบริจาค-บุญที่สำเร็จได้ด้วยการควักกระเป๋า เปิดบัญชี โอนที่ โอนเงิน โอนทรัพย์สินเท่านั้นที่เน้น
กิจกรรมบุญใดๆ ที่สำนักนี้จัด ไม่ว่าจะเป็นตักบาตรพระสงฆ์หมื่นรูป บวชพระแสนรูป เดินธุดงค์ธรรมชัย หรือแม้แต่กิจกรรมเชิงวิชาการอื่นใด ล้วนมุ่งไปที่การจูงใจให้คนควักประเป๋าเป็นจุดหมายปลายทาง
และเน้นย้ำที่-อยากได้บุญมากๆ ก็ต้องบริจาคมากๆ
ทั้งต้องบริจาคกับธรรมกายเท่านั้นด้วย
เราไม่เคยได้ยินธรรมกายบอกว่า-ญาติโยมทั้งหลาย อยู่ใกล้วัดไหน สะดวกวัดไหน หรือศรัทธาวัดไหน ก็ขอให้ไปทำบุญกันที่วัดนั้นแหละ ไม่ต้องมาที่วัดธรรมกายหรอก ทำบุญที่วัดไหนก็ได้บุญเหมือนกันนั่นแหละโยม
เราเคยเห็นแต่ธรรมกายดูดพระจากวัดต่างๆ ไปร่วมชุมนุมในกิจกรรมที่ธรรมกายจัดขึ้น
บรรพบุรุษของเราท่านสร้างวัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ
เมื่อดูดเอาพระจากวัดต่างๆ มา ธรรมกายเคยรู้สึกบ้างไหมว่าญาติโยมรอบวัดนั้นเขาจะคิดอย่างไร เขาจะไปทำบุญกันที่ไหน แล้วจะสร้างวัดตามหมู่บ้านตำบลต่างๆ ไว้ทำไม
นี่เป็นข้อพิสูจน์ว่า ทำบุญต้องทำกับธรรมกายเท่านั้น
----------------
คราวนี้ก็มาดูกันว่า-แล้วในคัมภีร์ท่านแสดงไว้อย่างไร
ขออนุญาตยกเรื่องจากคัมภีร์วิมานวัตถุมาเสนอสักเรื่องหนึ่ง
เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าของเราเสด็จดับขันธปรินิพพานและได้ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งกรุงราชคฤห์ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่ทรงได้รับส่วนแบ่งมาสร้างสถูปไว้ในเมืองราชคฤห์และจัดให้มีงานฉลอง
สตรีนางหนึ่งเก็บดอกโกสาตกีได้ ๔ ดอก เกิดศรัทธาคิดจะเอาไปบูชาพระสถูป
“โกสาตกี” (โก-สา-ตะ-กี) ท่านแปลกันว่า บวบขม เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามพื้นถิ่นทั่วไป ไม่มีราคาค่างวดอะไร และน่าจะกินไม่ได้ เพราะมีคำขยายความว่า “อนภิจฺฉิตา” แปลว่า “ไม่มีใครอยากได้”
พอเกิดศรัทธา สตรีนางนั้นก็เดินมุ่งหน้าไปที่พระสถูป ตั้งใจเอาดอกบวบขมไปบูชา
ระหว่างทางถูกโคขวิดตาย ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ รัศมีข่มเทพธิดาองค์อื่นๆ ทั้งหมด พระอินทร์ถามว่า ทำบุญด้วยอะไรจึงได้มาเกิดที่นี่ นางก็ตอบว่าทำบุญด้วยดอกบวบขม ความจริงแล้วยังไม่ทันได้ทำสำเร็จด้วยซ้ำ แค่ตั้งใจและกำลังจะไปทำเท่านั้น
พระอินทร์ได้ฟังดังนั้นจึงตรัสกับมาตลีเทพสารถีว่า
ปสฺส มาตลิ อจฺเฉรํ
จิตฺตํ กมฺมผลํ อิทํ
อปฺปกมฺปิ กตํ เทยฺยํ
ปุญฺญํ โหติ มหปฺผลํ
นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺหิ
อปฺปกา นาม ทกฺขิณา
ตถาคเต วา สมฺพุทฺเธ
อถ วา ตสฺส สาวเก.
มาตลีเอย
จงดูผลแห่งกรรมอันวิจิตรน่าอัศจรรย์นี้เถิด
ไทยธรรมที่เทพธิดานี้ถวายแล้วถึงจะน้อย บุญก็มีผลมาก
เมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า
หรือในสาวกของพระองค์ก็ตาม (แล้วทำบุญ)
ผลบุญไม่ชื่อว่าน้อยเลย
จิตฺตํ กมฺมผลํ อิทํ
อปฺปกมฺปิ กตํ เทยฺยํ
ปุญฺญํ โหติ มหปฺผลํ
นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺหิ
อปฺปกา นาม ทกฺขิณา
ตถาคเต วา สมฺพุทฺเธ
อถ วา ตสฺส สาวเก.
มาตลีเอย
จงดูผลแห่งกรรมอันวิจิตรน่าอัศจรรย์นี้เถิด
ไทยธรรมที่เทพธิดานี้ถวายแล้วถึงจะน้อย บุญก็มีผลมาก
เมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า
หรือในสาวกของพระองค์ก็ตาม (แล้วทำบุญ)
ผลบุญไม่ชื่อว่าน้อยเลย
ที่มา:
ปีตวิมาน วิมานวัตถุ พระไตรปิฎกเล่ม ๒๖ ข้อ ๔๗
ปรมัตถทีปนี อรรถกถาวิมานวัตถุ หน้า ๒๗๐-๒๗๕
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๔๘ หน้า ๓๘๒-๓๘๙
ปีตวิมาน วิมานวัตถุ พระไตรปิฎกเล่ม ๒๖ ข้อ ๔๗
ปรมัตถทีปนี อรรถกถาวิมานวัตถุ หน้า ๒๗๐-๒๗๕
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม ๔๘ หน้า ๓๘๒-๓๘๙
----------------
หลักฐานอีกแห่งหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณาประกอบ คือหลักเรื่องสัมปทา ๔
ขอยกข้อความจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต มาเสนอไว้ตรงนี้ ท่านแสดงไว้กระชับและชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว
----------
[190] สัมปทา หรือ สัมปทาคุณ 4 (ความถึงพร้อม, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์แห่งองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งทำให้ทานที่บริจาคแล้ว เป็นทานอันยอดเยี่ยม มีผลมาก อาจเห็นผลทันตา — Sampadā: successful attainment; accomplishment; excellence)
1. วัตถุสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยวัตถุ คือบุคคลผู้เป็นที่ตั้งรองรับทาน เช่น ทักขิไณยบุคคลเป็นพระอรหันต์ หรือพระอนาคามี ผู้เข้านิโรธสมาบัติได้ — Vatthu-sampadā: excellence of the foundation for merit)
2. ปัจจัยสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยปัจจัย คือ สิ่งที่จะให้เป็นของบริสุทธิ์ ได้มาโดยชอบธรรม — Paccaya-sampadā: excellence of the gift)
3. เจตนาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยเจตนา คือ มีเจตนาในการให้สมบูรณ์ครบ 3 กาล ทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้ จิตโสมนัส ประกอบด้วยปัญญา — Cetanā-sampadā: excellence of the intention)
4. คุณาติเรกสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยคุณส่วนพิเศษ คือ ปฏิคาหกมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ทักขิไณยบุคคลนั้น ออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ — Guṇātireka-sampadā: excellence of extra virtue)
DhA.III.93. ธ.อ.5/88.
----------
จะเห็นได้ว่า ในหลักเรื่องสัมปทา ๔ นี้ ของที่ทำบุญต้องเป็นของบริสุทธิ์คือได้มาโดยถูกธรรมถูกทาง
ท่านไม่ได้บอกเลยว่าต้องบริจาคมากๆ จึงจะได้บุญมาก
สรุปว่า การจะทำบุญให้ได้บุญมาก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินหรือปริมาณของทรัพย์สินที่บริจาคแต่ประการใดเลย แม้จะถวายของเพียงเล็กน้อย ก็ได้บุญมาก ถ้ามีองค์ประกอบที่ถูกต้อง เช่นจิตเลื่อมใสมั่นคงในพระรัตนตรัยเป็นต้น
----------------
มีพระสูตรอีกสูตรหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ขอนำมาเสนอไว้ในที่นี้เพื่อประกอบการศึกษา
พระสูตรนี้ชื่อ “เวลามสูตร” มีมาในคัมภีร์อังคุตรนิกาย นวกนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม ๒๓ ข้อ ๒๒๔ หน้า ๔๐๕-๔๐๘
เล่าลัดๆ ว่า ในอดีตกาลนานไกล ในชมพูทวีปมีพราหมณ์ชื่อ “เวลามะ” (เวลามพราหมณ์) ได้ถวายมหาทานอย่างมโหฬาร
รายการทรัพย์สินที่บริจาคมีดังต่อไปนี้ -
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทั้งปริมาณและคุณภาพของทรัพย์สินเอามาสร้างวัดพระธรรมกายได้อีกร้อยวัด
แต่ทำบุญมากมายขนาดนั้น พระพุทธองค์ยังตรัสว่า
๑ เลี้ยงพระโสดาบันองค์เดียวอิ่มเดียวได้บุญมากกว่าทานทั้งหมดที่เวลามพราหมณ์บริจาคตามรายการข้างต้น
๒ เลี้ยงพระสกทาคามีองค์เดียวอิ่มเดียว ได้บุญมากกว่าเลี้ยงพระโสดาบัน ๑๐๐ องค์
๓ เลี้ยงพระอนาคามีองค์เดียวอิ่มเดียว ได้บุญมากกว่าเลี้ยงพระสกทาคามี ๑๐๐ องค์
๔ เลี้ยงพระอรหันต์องค์เดียวอิ่มเดียว ได้บุญมากกว่าเลี้ยงพระอนาคามี ๑๐๐ องค์
๕ เลี้ยงพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์เดียว ได้บุญมากกว่าเลี้ยงพระอรหันต์ ๑๐๐ องค์
๖ เลี้ยงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียว ได้บุญมากกว่าเลี้ยงพระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ องค์
๗ เลี้ยงพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ ได้บุญมากกว่าเลี้ยงเฉพาะพระพุทธเจ้าองค์เดียว
๘ สร้างวัดหรือสร้างเสนาสนะถวายให้เป็นของสงฆ์ ได้บุญมากกว่าเลี้ยงพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์
๙ ทำจิตใจให้ผ่องใสนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ได้บุญมากกว่าสร้างวัดหรือสร้างเสนาสนะถวายให้เป็นของสงฆ์
๑๐ ตั้งใจรักษาศีลแล้วรักษาได้จริง ได้บุญมากกว่าทำจิตใจให้ผ่องใสนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
๑๑ เจริญเมตตาแม้เพียงชั่วเวลาสูดกลิ่นหอมอึดหนึ่ง (หรือชั่วเวลาที่รีดนมได้หยดหนึ่ง) ได้บุญมากกว่ารักษาศีล
๑๒ เจริญอนิจสัญญา (พิจารณาให้เห็นประจักษ์ใจว่าสรรพสิ่งไม่เที่ยงแท้แน่นอน) เพียงชั่วเวลาดีดนิ้วมือทีหนึ่ง ได้บุญมากกว่าเจริญเมตตาอึดใจหนึ่ง
ลองคำนวณดูว่า จะต้องบริจาคทรัพย์สินเป็นปริมาณมากมายมหาศาลขนาดไหนจึงจะได้บุญเท่ากับเจริญอนิจสัญญาเพียงชั่วเวลาดีดนิ้วมือทีหนึ่ง
พูดอีกแง่หนึ่ง ระหว่าง -
๑ การบริจาคทรัพย์สินเป็นปริมาณมากมายมหาศาลเหมือนกับที่เวลามพราหมณ์ถวายมหาทาน
กับ -
๒ การเจริญอนิจสัญญาเพียงชั่วเวลาดีดนิ้วมือทีหนึ่ง
อย่างไหนจะได้บุญมากกว่ากัน ?
ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่า เราไม่จำเป็นต้องบริจาคทานอะไรกันอีกแล้วนะครับ อย่าเข้าใจผิดเป็นอันขาด
ทำบุญให้ทานบริจาคทรัพย์สินก็ยังคงต้องทำ เลิกไม่ได้
แต่ทำตามกำลัง
ไม่ใช่ทำตามคำโฆษณาชวนเชื่อว่า ทำมากได้บุญมาก
----------------
ก่อนจบตอนนี้ขอตั้งข้อสังเกตว่า ข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับการทำบุญบริจาคที่นำมาเสนอให้ทราบนี้ล้วนแต่มีอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎก
วัดพระธรรมกายมีมหาเปรียญเฉพาะที่เป็นเปรียญเอก ๙ ประโยคประมาณ ๘๐ รูป ต่ำกว่า ๙ ประโยคอีกเป็นร้อย ท่านเหล่านั้นล้วนทรงภูมิรู้ที่สามารถค้นคว้าพระไตรปิฎกได้แตกฉานทั้งสิ้น
สำนักธรรมกายสอนสวนทางกับพระไตรปิฎกอยู่เช่นนี้ ท่านจะมีประโยค ๙ เปรียญเอกเป็นร้อยๆ ไว้ทำอะไร ?
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๒๗ เมษายน ๒๕๕๙
๑๖:๔๖
ความคิดเห็นที่ 5
ตอนที่ ๑
ช่วงนี้ข่าวเกี่ยวกับท่านเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายกำลังขึ้นหน้า ๑
ขอเรียนว่า ผมไม่มีเคยมีเรื่องขุ่นข้องหมองใจเป็นส่วนตัวกับบุคคลระดับใดๆ ของสำนักธรรมกาย เจอพระจากวัดธรรมกายที่ไหนผมก็น้อมนมัสการด้วยความเคารพ พระวัดพระธรรมกายมาบ้านผม ผมก็ต้อนรับด้วยความเต็มใจ เพราะบ้านผมเปิดประตูรับสงฆ์อันมาแต่จาตุรทิศ ญาติมิตรที่นับถือธรรมกายก็ยังคบหาสมาคมกันเป็นปกติสุขทุกประการ
การพูดถึงธรรมกายของผมจึงไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานแห่งอคติใดๆ ทั้งสิ้น
ผมเพียงแต่เห็นว่า ในท่ามกลางกระแสเช่นนี้ควรถือเป็นโอกาสที่จะกระตุ้นเตือนกันและกันให้ศึกษาทำความเข้าใจ
มีคำสอนบางเรื่องของสำนักธรรมกายที่ผมอยากให้สังคมทำความเข้าใจและรู้ทันข้อเท็จจริง
มิใช่เพื่อให้เลิกนับถือหรือยกขบวนไปต่อต้าน
ท่านผู้ใดจะยังคงนับถือ ก็นับถือไป เพราะศรัทธาบังคับกันไม่ได้
การต่อต้านใดๆ ในลักษณะที่ไม่สุภาพ เช่นใช้คำหยาบคายด่าว่า เป็นสิ่งไม่ควรทำ แต่ควรมองกันด้วยเมตตาไมตรี
เมื่อการนับถือศาสนาห้ามศรัทธากันไม่ได้ การทำความเข้าใจเพื่อรู้ทันน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ทำความเข้าใจ-คือศึกษาเรียนรู้ว่า คำสอนที่ธรรมกายยกขึ้นมาเชิดชูนั้น ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทท่านแสดงไว้อย่างไร
เมื่อศึกษาเข้าใจแล้ว มีพื้นฐานพอที่จะรู้ทัน คือรู้ว่าผิดหรือถูก รู้ว่าตนควรมีท่าทีอย่างไรต่อคำสอนนั้นแล้ว
ต่อจากนั้นก็เป็นสิทธิเสรีภาพของแต่ละคนที่จะใช้วิจารณญาณได้เอง
เท่านี้ก็น่าจะพอ
ขอยกคำสอนเด่นๆ ของสำนักธรรมกายมาทำความเข้าใจเพียง ๓ เรื่อง
๑ เรื่องนิพพานเป็นอัตตา
๒ เรื่องบริจาคมากได้บุญมาก
๓ เรื่องสร้างศาสนสถานใหญ่โต
--------------
๑ เรื่องนิพพานเป็นอัตตา
เรื่องนี้ผมเข้าใจว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจ หรืออาจจะไม่สนใจที่จะเข้าใจเสียด้วยซ้ำไป ได้ยินบางท่านบอกว่านิพพานจะเป็นอัตตาหรือไม่เป็นอัตตาก็ไม่เห็นจะสำคัญอะไร
เรื่องนิพพานเป็นหลักการของพระพุทธศาสนา
ถ้าไม่สนใจ ก็เหมือนไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา
ถ้าไม่เข้าใจ ก็คือนับถือพุทธศาสนาแบบไม่รู้เป้าหมาย
ถ้าเข้าใจผิด ก็คือนับถือพุทธศาสนาแบบหลงทาง คือแสดงตัวว่าเป็นชาวพุทธ แต่สิ่งที่ตั้งใจปฏิบัตินั้นไม่ใช่พุทธ
เรื่องนิพพาน ผู้รู้ท่านเขียนชี้แจงไว้มากแล้ว เช่นงานนิพนธ์ของพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต เป็นต้น ควรขวนขวายศึกษากันดู
ผมไม่มีความสามารถที่จะอธิบายเรื่องนี้ให้เป็นวิชาการได้ในที่นี้ จะขออนุญาตพูดแบบชาวบ้านพอให้มองเห็นภาพก็แล้วกัน
คือพระพุทธศาสนามีคำสอนเพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติขัดเกลาตนเองจนจิตใจโปร่งโล่งเป็นอิสระอยู่เหนือโลภโกรธหลงทั้งปวง
สภาพที่จิตใจโปร่งโล่งเป็นอิสระอยู่เหนือโลภโกรธหลงทั้งปวงนี่แหละคือนิพพาน
นิพพานจึงคือคุณภาพของจิตใจ ไม่ใช่ภพภูมิใดๆ ที่มีอยู่ เช่นสวรรค์ชั้นฟ้า หรือเทพหรือพรหม หรือแดนสุขาวดี
อันผู้ละโลกนี้แล้วจะไปเกิดอยู่ที่นั่น
ผู้บรรลุนิพพานไม่ถูกกิเลสตัณหาไสหัวให้ทำชั่วทำผิด
ถูกทุกข์มากระทบก็ไม่กระเทือน
เมื่อดับชีพแล้วก็ไม่มีอะไรที่จะไปเกิดในภพภูมิไหนอีกต่อไป อุปมาเหมือนดวงเทียนที่จุดไว้ เมื่อไส้เทียนเนื้อเทียนถูกเปลวไฟลุกไหม้ไปจนหมดสภาพความเป็นเทียนแล้ว เทียนเล่มนั้นก็ไม่มีอีกต่อไป
สภาพเช่นนี้ไม่ใช่ทฤษฎีทางปรัชญาหรือความคาดเดาในเชิงตรรกะ แต่เป็นสัจธรรม คือเป็นจริงตามที่มันเป็น ใครจะเชื่ออย่างไรหรือไม่เชื่ออย่างไร มันก็คงเป็นอย่างที่มันเป็น ถ้าใครอยากพิสูจน์ ก็ต้องทำด้วยวิธีปฏิบัติขัดเกลาจิตจนกระทั่งเกิดความเห็นตรงกับความเป็นจริง แต่ไม่ใช่พยายามอธิบายความเป็นจริงให้ตรงกับความเห็นของตน
นี่คือนิพพานไม่ใช่อัตตา
แต่สำนักธรรมกายสอนว่า เมื่อปฏิบัติตามวิธีของธรรมกายจนบรรลุธรรมแล้ว เมื่อดับชีพผู้นั้นก็ไปสถิตอยู่ที่ “อายตนะนิพพาน”
แปลตามศัพท์ว่าแดนนิพพาน ซึ่งเป็นภพภูมิชนิดหนึ่ง มีขนาดกว้างยาวเท่าไรบอกไว้เสร็จ และจะสถิตอยู่ที่นั่นเป็นเอกันตบรมสุข
คือสุขสุดยอด เป็นอภิมหาอมตะนิรันดร์กาลไม่มีเวลาสิ้นสุด
นี่คือนิพพานเป็นอัตตา
นิพพานแบบนี้สนองกิเลสของสัตว์โลกได้ดียิ่งนัก เพราะทุกชีวิตไม่อยากตาย แต่อยากเสวยสุขเป็นอมตะตลอดกาล
--------------
สัจธรรมมีอยู่ว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมแตกดับ
คำที่รู้กันเป็นสามัญคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
หลายท่านรู้เป็นคำบาลีได้ด้วย คือ อุปปาทะ ฐิติ ภังคะ
อุปปาทะ (อุบ-ปา-ทะ) = เกิดขึ้น
ฐิติ (ถิ-ติ) = ตั้งอยู่
ภังคะ (พัง-คะ) = ดับไป
ผู้ที่จะเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาซึ่งจะได้บรรลุนิพพานเป็นที่สุดนั้นจะต้องเห็นประจักษ์ใจในสัจธรรมข้อนี้ก่อนเป็นอันดับแรก
ที่มีคำเรียกว่า “ธรรมจักษุ-ดวงตาเห็นธรรม”
คำบาลีที่รู้จักกันทั่วโลกก็คือ -
ปุถุชนเมื่อดับชีพ ยังมีเหตุปัจจัยให้ต้องเกิดอีก แม้ไม่อยากเกิดก็ต้องเกิด
เมื่อเกิดแล้วก็ต้องดับ คือตาย
ตายแล้วก็เกิดอีก ก็ตายอีก
เวียนเกิดเวียนตายอยู่เช่นนี้ เสวยสุขทุกข์ สมหวังผิดหวัง หัวเราะร้องไห้ นับชาติไม่ถ้วน
สภาพเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สังสารวัฏ” เราพูดกันคุ้นปากว่า เวียนว่ายตายเกิด
ถ้าเอาเฉพาะภาพหัวเราะ-ร้องไห้ของแต่ละคนที่เกิดมาในแต่ละชาติมาตัดต่อสลับกันแล้วเอามาฉายดูเหมือนฉายหนัง
ก็จะได้เห็นภาพคนบ้าคนหนึ่ง
พระพุทธเจ้าทรงค้นพบวิธีที่จะหลุดจากวงโคจรบ้านี้ นั่นคือฝึกหัดพัฒนาจิตจนอยู่เหนืออำนาจของโลภโกรธหลง
อันเป็นรากเหง้าของปัจจัยที่ทำให้ต้องเกิดอีก
เมื่อไม่มีปัจจัยที่ทำให้เกิด ก็ไม่เกิด
เมื่อไม่เกิด ก็เป็นอมตะ คือไม่ตาย
นิพพานของพระพุทธเจ้าเป็นอมตะ คือไม่ตายเพราะไม่เกิด
นิพพานของธรรมกายเป็นอมตะเพราะเกิดแล้วไม่ตาย
สัตว์โลกล้วนปรารถนาว่า เกิดขึ้นแล้วไม่ตาย คือดำรงอยู่ตลอดไป
เมื่อธรรมกายบอกว่า นิพพานเป็นอัตตา คือผู้บรรลุนิพพานจะได้เสวยสุขในแดนนิพพานตลอดไป
จึงสนองความปรารถนาของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
แต่ขัดต่อหลักสัจธรรม-ก็คือ-เป็นไปไม่ได้
พุทธภาษิตบทที่ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ แปลเท่าตัวว่า นิพพานเป็นบรมสุข
เจ้าสำนักธรรมกายที่ราชบุรีท่านแปลเสริมเข้าไปว่า-นิพพานเป็นบรมสุขอันถาวร
คือต้องการจะให้เข้าใจไปว่า ใครบรรลุนิพพานก็จะมีชีวิตอยู่ในแดนนิพพานเป็นอมตะถาวรตลอดไป
เพราะมุ่งจะให้นิพพานเป็นไปตามความอยากเช่นนี้ นิพพานของธรรมกายจึงขัดแย้งกับตัวเองโดยไม่รู้ตัว นั่นก็คือ –
ผู้จะบรรลุนิพพานได้ เบื้องต้นจะต้องได้ธรรมจักษุ-ดวงตาเห็นธรรม คือเห็นประจักษ์แจ้งใจว่า สรรพสิ่งล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ถ้าเข้าใจว่านิพพานเป็นภพภูมิที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แต่ไม่ดับไป ก็ขัดกับหลักสัจธรรม
อันที่จริงเพียงแค่เข้าใจว่านิพพานเป็นภพภูมิคือดินแดนอะไรอย่างหนึ่ง ก็ผิดหลักพระพุทธศาสนาแล้ว
เมื่อเข้าใจนิพพานผิดจากความเป็นจริงก็เท่ากับยังไม่ได้มีธรรมจักษุ-ดวงตาเห็นธรรม อันเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะบรรลุนิพพาน
นิพพานเป็นอัตตาที่ธรรมกายสอนนั้นไม่ต่างจาก “มหาตมัน” หรือ “ปรมาตมัน” ในลัทธิพราหมณ์
ซึ่งผู้คนในชมพูทวีปเชื่อถือกันมานานนักหนาก่อนพระพุทธศาสนา
ผู้บรรลุนิพพานของธรรมกายก็ไม่ต่างจากพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม และพระอะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย
ที่เป็นเทพอมตะอยู่ทุกวันนี้ตามความเชื่อของผู้คนในศาสนาต่างๆ
พระพุทธเจ้าท่านอุตส่าห์ดึงผู้คนให้หลุดออกมาจากความเชื่อชนิดนั้นได้แล้ว
ธรรมกายกลับพยายามดึงกลับเข้าไปอีก
เรื่องนิพพานเป็นอัตตาจึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย
แต่เป็นเรื่องที่สามารถกลืนพระพุทธศาสนาให้กลายเป็นศาสนาอื่นไปได้ทั้งศาสนาเลยทีเดียว
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๒๗ เมษายน ๒๕๕๙
๑๕:๐๔
ตอนที่ ๑
ช่วงนี้ข่าวเกี่ยวกับท่านเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายกำลังขึ้นหน้า ๑
ขอเรียนว่า ผมไม่มีเคยมีเรื่องขุ่นข้องหมองใจเป็นส่วนตัวกับบุคคลระดับใดๆ ของสำนักธรรมกาย เจอพระจากวัดธรรมกายที่ไหนผมก็น้อมนมัสการด้วยความเคารพ พระวัดพระธรรมกายมาบ้านผม ผมก็ต้อนรับด้วยความเต็มใจ เพราะบ้านผมเปิดประตูรับสงฆ์อันมาแต่จาตุรทิศ ญาติมิตรที่นับถือธรรมกายก็ยังคบหาสมาคมกันเป็นปกติสุขทุกประการ
การพูดถึงธรรมกายของผมจึงไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานแห่งอคติใดๆ ทั้งสิ้น
ผมเพียงแต่เห็นว่า ในท่ามกลางกระแสเช่นนี้ควรถือเป็นโอกาสที่จะกระตุ้นเตือนกันและกันให้ศึกษาทำความเข้าใจ
มีคำสอนบางเรื่องของสำนักธรรมกายที่ผมอยากให้สังคมทำความเข้าใจและรู้ทันข้อเท็จจริง
มิใช่เพื่อให้เลิกนับถือหรือยกขบวนไปต่อต้าน
ท่านผู้ใดจะยังคงนับถือ ก็นับถือไป เพราะศรัทธาบังคับกันไม่ได้
การต่อต้านใดๆ ในลักษณะที่ไม่สุภาพ เช่นใช้คำหยาบคายด่าว่า เป็นสิ่งไม่ควรทำ แต่ควรมองกันด้วยเมตตาไมตรี
เมื่อการนับถือศาสนาห้ามศรัทธากันไม่ได้ การทำความเข้าใจเพื่อรู้ทันน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ทำความเข้าใจ-คือศึกษาเรียนรู้ว่า คำสอนที่ธรรมกายยกขึ้นมาเชิดชูนั้น ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทท่านแสดงไว้อย่างไร
เมื่อศึกษาเข้าใจแล้ว มีพื้นฐานพอที่จะรู้ทัน คือรู้ว่าผิดหรือถูก รู้ว่าตนควรมีท่าทีอย่างไรต่อคำสอนนั้นแล้ว
ต่อจากนั้นก็เป็นสิทธิเสรีภาพของแต่ละคนที่จะใช้วิจารณญาณได้เอง
เท่านี้ก็น่าจะพอ
ขอยกคำสอนเด่นๆ ของสำนักธรรมกายมาทำความเข้าใจเพียง ๓ เรื่อง
๑ เรื่องนิพพานเป็นอัตตา
๒ เรื่องบริจาคมากได้บุญมาก
๓ เรื่องสร้างศาสนสถานใหญ่โต
--------------
๑ เรื่องนิพพานเป็นอัตตา
เรื่องนี้ผมเข้าใจว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจ หรืออาจจะไม่สนใจที่จะเข้าใจเสียด้วยซ้ำไป ได้ยินบางท่านบอกว่านิพพานจะเป็นอัตตาหรือไม่เป็นอัตตาก็ไม่เห็นจะสำคัญอะไร
เรื่องนิพพานเป็นหลักการของพระพุทธศาสนา
ถ้าไม่สนใจ ก็เหมือนไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา
ถ้าไม่เข้าใจ ก็คือนับถือพุทธศาสนาแบบไม่รู้เป้าหมาย
ถ้าเข้าใจผิด ก็คือนับถือพุทธศาสนาแบบหลงทาง คือแสดงตัวว่าเป็นชาวพุทธ แต่สิ่งที่ตั้งใจปฏิบัตินั้นไม่ใช่พุทธ
เรื่องนิพพาน ผู้รู้ท่านเขียนชี้แจงไว้มากแล้ว เช่นงานนิพนธ์ของพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต เป็นต้น ควรขวนขวายศึกษากันดู
ผมไม่มีความสามารถที่จะอธิบายเรื่องนี้ให้เป็นวิชาการได้ในที่นี้ จะขออนุญาตพูดแบบชาวบ้านพอให้มองเห็นภาพก็แล้วกัน
คือพระพุทธศาสนามีคำสอนเพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติขัดเกลาตนเองจนจิตใจโปร่งโล่งเป็นอิสระอยู่เหนือโลภโกรธหลงทั้งปวง
สภาพที่จิตใจโปร่งโล่งเป็นอิสระอยู่เหนือโลภโกรธหลงทั้งปวงนี่แหละคือนิพพาน
นิพพานจึงคือคุณภาพของจิตใจ ไม่ใช่ภพภูมิใดๆ ที่มีอยู่ เช่นสวรรค์ชั้นฟ้า หรือเทพหรือพรหม หรือแดนสุขาวดี
อันผู้ละโลกนี้แล้วจะไปเกิดอยู่ที่นั่น
ผู้บรรลุนิพพานไม่ถูกกิเลสตัณหาไสหัวให้ทำชั่วทำผิด
ถูกทุกข์มากระทบก็ไม่กระเทือน
เมื่อดับชีพแล้วก็ไม่มีอะไรที่จะไปเกิดในภพภูมิไหนอีกต่อไป อุปมาเหมือนดวงเทียนที่จุดไว้ เมื่อไส้เทียนเนื้อเทียนถูกเปลวไฟลุกไหม้ไปจนหมดสภาพความเป็นเทียนแล้ว เทียนเล่มนั้นก็ไม่มีอีกต่อไป
สภาพเช่นนี้ไม่ใช่ทฤษฎีทางปรัชญาหรือความคาดเดาในเชิงตรรกะ แต่เป็นสัจธรรม คือเป็นจริงตามที่มันเป็น ใครจะเชื่ออย่างไรหรือไม่เชื่ออย่างไร มันก็คงเป็นอย่างที่มันเป็น ถ้าใครอยากพิสูจน์ ก็ต้องทำด้วยวิธีปฏิบัติขัดเกลาจิตจนกระทั่งเกิดความเห็นตรงกับความเป็นจริง แต่ไม่ใช่พยายามอธิบายความเป็นจริงให้ตรงกับความเห็นของตน
นี่คือนิพพานไม่ใช่อัตตา
แต่สำนักธรรมกายสอนว่า เมื่อปฏิบัติตามวิธีของธรรมกายจนบรรลุธรรมแล้ว เมื่อดับชีพผู้นั้นก็ไปสถิตอยู่ที่ “อายตนะนิพพาน”
แปลตามศัพท์ว่าแดนนิพพาน ซึ่งเป็นภพภูมิชนิดหนึ่ง มีขนาดกว้างยาวเท่าไรบอกไว้เสร็จ และจะสถิตอยู่ที่นั่นเป็นเอกันตบรมสุข
คือสุขสุดยอด เป็นอภิมหาอมตะนิรันดร์กาลไม่มีเวลาสิ้นสุด
นี่คือนิพพานเป็นอัตตา
นิพพานแบบนี้สนองกิเลสของสัตว์โลกได้ดียิ่งนัก เพราะทุกชีวิตไม่อยากตาย แต่อยากเสวยสุขเป็นอมตะตลอดกาล
--------------
สัจธรรมมีอยู่ว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมแตกดับ
คำที่รู้กันเป็นสามัญคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
หลายท่านรู้เป็นคำบาลีได้ด้วย คือ อุปปาทะ ฐิติ ภังคะ
อุปปาทะ (อุบ-ปา-ทะ) = เกิดขึ้น
ฐิติ (ถิ-ติ) = ตั้งอยู่
ภังคะ (พัง-คะ) = ดับไป
ผู้ที่จะเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาซึ่งจะได้บรรลุนิพพานเป็นที่สุดนั้นจะต้องเห็นประจักษ์ใจในสัจธรรมข้อนี้ก่อนเป็นอันดับแรก
ที่มีคำเรียกว่า “ธรรมจักษุ-ดวงตาเห็นธรรม”
คำบาลีที่รู้จักกันทั่วโลกก็คือ -
ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ.
(ยังกิญฺจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมัง)
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งทั้งมวลนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา
(ยังกิญฺจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมัง)
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งทั้งมวลนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา
ปุถุชนเมื่อดับชีพ ยังมีเหตุปัจจัยให้ต้องเกิดอีก แม้ไม่อยากเกิดก็ต้องเกิด
เมื่อเกิดแล้วก็ต้องดับ คือตาย
ตายแล้วก็เกิดอีก ก็ตายอีก
เวียนเกิดเวียนตายอยู่เช่นนี้ เสวยสุขทุกข์ สมหวังผิดหวัง หัวเราะร้องไห้ นับชาติไม่ถ้วน
สภาพเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สังสารวัฏ” เราพูดกันคุ้นปากว่า เวียนว่ายตายเกิด
ถ้าเอาเฉพาะภาพหัวเราะ-ร้องไห้ของแต่ละคนที่เกิดมาในแต่ละชาติมาตัดต่อสลับกันแล้วเอามาฉายดูเหมือนฉายหนัง
ก็จะได้เห็นภาพคนบ้าคนหนึ่ง
พระพุทธเจ้าทรงค้นพบวิธีที่จะหลุดจากวงโคจรบ้านี้ นั่นคือฝึกหัดพัฒนาจิตจนอยู่เหนืออำนาจของโลภโกรธหลง
อันเป็นรากเหง้าของปัจจัยที่ทำให้ต้องเกิดอีก
เมื่อไม่มีปัจจัยที่ทำให้เกิด ก็ไม่เกิด
เมื่อไม่เกิด ก็เป็นอมตะ คือไม่ตาย
นิพพานของพระพุทธเจ้าเป็นอมตะ คือไม่ตายเพราะไม่เกิด
นิพพานของธรรมกายเป็นอมตะเพราะเกิดแล้วไม่ตาย
สัตว์โลกล้วนปรารถนาว่า เกิดขึ้นแล้วไม่ตาย คือดำรงอยู่ตลอดไป
เมื่อธรรมกายบอกว่า นิพพานเป็นอัตตา คือผู้บรรลุนิพพานจะได้เสวยสุขในแดนนิพพานตลอดไป
จึงสนองความปรารถนาของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
แต่ขัดต่อหลักสัจธรรม-ก็คือ-เป็นไปไม่ได้
พุทธภาษิตบทที่ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ แปลเท่าตัวว่า นิพพานเป็นบรมสุข
เจ้าสำนักธรรมกายที่ราชบุรีท่านแปลเสริมเข้าไปว่า-นิพพานเป็นบรมสุขอันถาวร
คือต้องการจะให้เข้าใจไปว่า ใครบรรลุนิพพานก็จะมีชีวิตอยู่ในแดนนิพพานเป็นอมตะถาวรตลอดไป
เพราะมุ่งจะให้นิพพานเป็นไปตามความอยากเช่นนี้ นิพพานของธรรมกายจึงขัดแย้งกับตัวเองโดยไม่รู้ตัว นั่นก็คือ –
ผู้จะบรรลุนิพพานได้ เบื้องต้นจะต้องได้ธรรมจักษุ-ดวงตาเห็นธรรม คือเห็นประจักษ์แจ้งใจว่า สรรพสิ่งล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ถ้าเข้าใจว่านิพพานเป็นภพภูมิที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แต่ไม่ดับไป ก็ขัดกับหลักสัจธรรม
อันที่จริงเพียงแค่เข้าใจว่านิพพานเป็นภพภูมิคือดินแดนอะไรอย่างหนึ่ง ก็ผิดหลักพระพุทธศาสนาแล้ว
เมื่อเข้าใจนิพพานผิดจากความเป็นจริงก็เท่ากับยังไม่ได้มีธรรมจักษุ-ดวงตาเห็นธรรม อันเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะบรรลุนิพพาน
นิพพานเป็นอัตตาที่ธรรมกายสอนนั้นไม่ต่างจาก “มหาตมัน” หรือ “ปรมาตมัน” ในลัทธิพราหมณ์
ซึ่งผู้คนในชมพูทวีปเชื่อถือกันมานานนักหนาก่อนพระพุทธศาสนา
ผู้บรรลุนิพพานของธรรมกายก็ไม่ต่างจากพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม และพระอะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย
ที่เป็นเทพอมตะอยู่ทุกวันนี้ตามความเชื่อของผู้คนในศาสนาต่างๆ
พระพุทธเจ้าท่านอุตส่าห์ดึงผู้คนให้หลุดออกมาจากความเชื่อชนิดนั้นได้แล้ว
ธรรมกายกลับพยายามดึงกลับเข้าไปอีก
เรื่องนิพพานเป็นอัตตาจึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย
แต่เป็นเรื่องที่สามารถกลืนพระพุทธศาสนาให้กลายเป็นศาสนาอื่นไปได้ทั้งศาสนาเลยทีเดียว
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๒๗ เมษายน ๒๕๕๙
๑๕:๐๔
ความคิดเห็นที่ 7
ตอนที่ ๓
เรื่องนี้มีที่มาจากเพจที่ชื่อ พุทธสามัคคี ซึ่งเป็นเพจที่สนับสนุนวัดพระธรรมกาย โพสต์เมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๘
สรรเสริญการสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่ว่ามีประโยชน์มากมายหลายอย่าง
ข้อความตอนหนึ่งว่าดังนี้ -
...........
สถานศึกษาจะมีหลายขนาด เช่น สถานศึกษาในหมู่บ้าน ก็เป็นโรงเรียนประถม ในตำบล ในอำเภอ ในจังหวัด ก็เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้น
จนถึงมัธยม บางจังหวัดก็มีสถาบันระดับอาชีวะและอุดมศึกษา ส่วนในระดับประเทศก็มีมหาวิทยาลัยใหญ่
บางแห่งใช้งบก่อสร้างหลายหมื่นล้านบาท ใช้งบดำเนินการปีละหลายพันล้าน
หากทั้งประเทศมีแต่โรงเรียนประชาบาล ไม่มีมหาวิทยาลัย ก็คงยากที่จะพัฒนาการศึกษาและคุณภาพประชากรได้
สถานศึกษาต้องมีหลายระดับ ต่างทำหน้าที่ตามบทบาทของตน
วัดก็เช่นเดียวกัน มีทั้งวัดในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เป็นเหมือนโรงเรียนสอนศีลธรรมในชุมชน และต้องมีวัดใหญ่ๆ
เพื่อเป็นเหมือนมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรม เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของวัดต่างๆ เพื่อนำไปขยายผลต่อไปยังประชาชนทั่วประเทศ
เป็นแหล่งสร้างสรรค์กิจกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการปลูกฝังศีลธรรม
เป็นเหมือนหัวรถจักรที่ฉุดขบวนรถไฟให้เคลื่อนตัวไป
......
เราจึงควรช่วยกันสร้างวัดใหญ่ๆเพิ่มขึ้น ชวนคนเข้าวัดปฏิบัติธรรมให้มากๆ
และชวนคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถมาบวชเป็นพระภิกษุให้มากขึ้นด้วย
(ภาพประกอบของเพจดังกล่าว)
...........
--------------
ผมได้เขียนวิจารณ์ไปแล้วในบทความชื่อ “วิธีรักษาพระศาสนา” ญาติมิตรที่ประสงค์จะทราบรายละเอียด
โปรดตามไปอ่านที่ลิงก์ข้างล่างนี้
https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/880338438726561:0
--------------
ที่ยกประเด็นการสร้างศาสนสถานที่ใหญ่โตมาไว้ในชุดคำสอนที่สวนทางก็เพราะว่าการสร้างวัดหรือศาสนสถานใหญ่ๆ
นั้นเป็นเรื่องที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์
เพื่อเจริญปัญญาสัมมาทิฐิ ขอเชิญศึกษาจากข้อความในคัมภีร์ดังต่อไปนี้
--------------
-๑-
ตถารูปายเอว ปริสาย ปณีตปิณฺฑปาตสฺส ปตฺเต ปูเรตฺวา ทินฺนทานโตปิ สปฺปิเตลาทีนํ ปตฺเต ปูเรตฺวา ทินฺนเภสชฺชทานโตปิ มหาวิหารสทิสานํ วิหารานํ โลหปาสาทสทิสานญฺจ ปาสาทานํ อเนกานิ สตสหสฺสานิ กาเรตฺวา ทินฺนเสนาสนทานโตปิ อนาถปิณฺฑิกาทีหิ วิหาเร อารพฺภ กตปริจฺจาคโตปิ อนฺตมโส จตุปฺปทิกาย คาถาย อนุโทนวเสนาปิ ปวตฺติตํ ธมฺมทานเมว เสฏฺฐํ. กึการณา? เอวรูปานิ หิ ปุญฺญานิ กโรนฺตา ธมฺมํ สุตฺวาว กโรนฺติ, โน อสฺสุตฺวา; สเจ หิ อิเม สตฺตา ธมฺมํ น สุเณยฺยํ, อุฬุงฺกมตฺตํ ยาคํปิ กฏจฺฉุมตฺตํ ภตฺตํปิ น ทเทยฺยํ; อิมินา การเณน สพฺพทาเนหิ ธมฺมทานเมว เสฏฺฐํ.
คำแปล :
ทานที่ทายกบรรจุบาตรให้เต็มด้วยบิณฑบาตอันประณีตแล้วถวายแก่บริษัท (คือพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก) เห็นปานนั้นนั่นแหละก็ดี
เภสัชทานที่ทายกบรรจุบาตรให้เต็มด้วยเนยใสและน้ำมันเป็นต้นแล้วถวายก็ดี
เสนาสนทานที่ทายกให้สร้างวิหารเช่นกับมหาวิหารและปราสาทเช่นกับโลหปราสาทตั้งหลายแสนแล้วถวายก็ดี
การบริจาคที่บุคคลทั้งหลาย เช่นที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้นริเริ่มสร้างวัดทั้งหลายแล้วได้บริจาคออกไปก็ดี
ธรรมทาน (คือการประกาศธรรมเผยแพร่ธรรม) ที่ผู้รู้ทั้งหลายกระทำกัน แม้จนชั้นต่ำที่สุดการกล่าวคำอนุโมทนา
ด้วยพระคาถาเพียง ๔ บาท (ซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อยเหลือเกิน) ก็ยังประเสริฐกว่าทานและการบริจาคดังที่กล่าวมานั้น
เพราะเหตุไร ?
เพราะว่าชนทั้งหลายเมื่อจะทำบุญเห็นปานนั้น ต่อฟังธรรมแล้วเท่านั้นจึงทำได้, ไม่ได้ฟังก็หาทำได้ไม่;
ก็ถ้าว่าสัตว์เหล่านี้ไม่พึงฟังธรรมไซร้, เขาก็ไม่พึงถวายข้าวยาคูประมาณกระบวยหนึ่งบ้าง ภัตประมาณทัพพีหนึ่งบ้าง;
เพราะเหตุนี้ ธรรมทานนั่นแหละจึงประเสริฐที่สุดกว่าทานทุกชนิด.
-๒-
อามิสปูชา จ นาเมสา สาสนํ เอกยาคุปานกาลมตฺตํปิ สนฺธาเรตํ น สกฺโกติ มหาวิหารสทิสญฺหิ วิหารสหสฺสํปิ มหาเจติยสทิสํ เจติยสหสฺสํปิ สาสนํ สนฺธาเรตํ น สกฺโกติ เยน กตํ ตสฺเสว โหติ สมฺมาปฏิปตฺติ ปน สตฺถุ อนุจฺฉวิกา ปูชา ฯ สา หิ เตน ปฏฺฐิตา เจว สกฺโกติ จ สาสนํ สนฺธาเรตํ ฯ
คำแปล :
ก็ชื่อว่าอามิสบูชานั่นไม่อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้ชั่วกาลแม้เพียงดื่มยาคูอึกหนึ่ง,
ความจริงวิหารนับพันเช่นมหาวิหารก็ดี เจดีย์นับพันเช่นมหาเจดีย์ก็ดี หาอาจดำรงพระศาสนาไว้ได้ไม่;
ผู้ใดทำ, อานิสงส์ก็มีแก่ผู้นั้นเท่านั้น.
ส่วนสัมมาปฏิบัติเป็นบูชาสมควรแก่พระศาสดา. เพราะสัมมาปฏิบัตินั้นพระองค์โปรดด้วย อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้ด้วย.
------------
ข้อพิจารณา
คัมภีร์อันเป็นที่มาของข้อความที่ยกมานี้เป็นคัมภีร์ที่ใช้ศึกษาในหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์
ชั้น ป.ธ.๓ และ ป.ธ.๔ นั่นหมายถึงว่า พระมหาเปรียญทุกรูปจะต้องได้ศึกษาเรื่องนี้มาแล้ว
และนั่นหมายถึงว่าวัดพระธรรมกายก็ย่อมจะได้ศึกษาเรื่องนี้มาแล้วด้วย
ประเด็นของผมอยู่ตรงนี้-ตรงที่ --
คัมภีร์บอกว่า วัดใหญ่โตมโหฬารก็รักษาพระศาสนาไว้ไม่ได้
ธรรมกายบอกว่า วัดใหญ่โตมโหฬารรักษาพระศาสนาไว้ได้
ประเด็นไม่ใช่อยู่ที่ว่า-สร้างวัดใหญ่โตดีหรือไม่ดี
ถ้าจะอภิปรายประเด็นนี้ก็ต้องไปพูดกันอีกวงหนึ่ง
แต่ประเด็นอยู่ที่-ธรรมกายคิดอย่างไรจึงสอนสวนทาง?
เพจที่สนับสนุนวัดพระธรรมกายสรุปว่า -
........
เราจึงควรช่วยกันสร้างวัดใหญ่ๆเพิ่มขึ้น ชวนคนเข้าวัดปฏิบัติธรรมให้มากๆ และชวนคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถมาบวชเป็นพระภิกษุให้มากขึ้นด้วย
........
ข้อเสนอแนะนี้มีกิจที่ควรทำ ๓ อย่าง คือ -
๑ ช่วยกันสร้างวัดใหญ่ๆ เพิ่มขึ้น
๒ ชวนคนเข้าวัดปฏิบัติธรรมให้มากๆ
๓ ชวนคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถมาบวชเป็นพระภิกษุให้มากขึ้น
โปรดสังเกตว่า กิจทั้ง ๓ อย่างนี้ไม่จำเป็นต้องขึ้นแก่กันและกัน เช่นต้องสร้างวัดใหญ่ๆ ก่อนจึงจะชวนคนเข้าวัดปฏิบัติธรรมให้มากๆ ได้
แต่ผู้เขียนข้อความนี้ใช้วิธีเรียงลำดับความจูงความคิดว่า-ถ้าอยากให้มีคนเข้าวัดปฏิบัติธรรมมากๆ ก็ต้องสร้างวัดใหญ่ๆ เพิ่มขึ้นก่อน
------------
ประเด็นนี้ต้องถอยไปตั้งหลักกันให้ถูกก่อนว่า-เข้าวัดปฏิบัติธรรมคืออย่างไร
เวลานี้เรามักเข้าใจว่า
การปฏิบัติธรรม ก็คือ ต้องไปอยู่ ณ สถานที่ซึ่งจัดไว้ ต้องแต่งกายตามชุดที่กำหนด
ต้องอยู่ ๓ วัน ๗ วัน ต้องยืนเดินนั่งนอนตามอิริยาบถที่กำหนด จนกระทั่งบางทีต้องหายใจตามวิธีการที่กำหนดด้วย
ต้องทำดังว่ามานี้จึงจะเรียกว่า “ปฏิบัติธรรม”
เวลานี้คำว่า “เข้าวัดปฏิบัติธรรม” คนทั้งหลายพากันหมายความตามที่ว่านี้ไปแล้ว
ถ้าใครไม่ได้ทำตามนี้ ก็คือไม่ได้ปฏิบัติธรรม หรือปฏิบัติธรรมไม่ได้
ปฏิบัติธรรมที่แท้จริงในพระพุทธศาสนาไม่ได้กำหนดว่าต้องทำอย่างที่ว่านี้เลย
ปฏิบัติธรรมตามที่เข้าใจกันนั้นควรจะเรียกว่า ภาคฝึกปฏิบัติธรรม หรือแบบฝึกหัดปฏิบัติธรรม
ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ควร-หรือต้อง-ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน สามารถปฏิบัติได้ทุกเวลาทุกสถานที่-
พูดหยาบๆ อย่างที่ผู้รู้ท่านว่า-แม้แต่ขณะเข้าห้องน้ำก็ปฏิบัติธรรมได้ เมื่อได้ผ่านการฝึกปฏิบัติธรรมจนเข้าใจถูกต้องแล้วว่าปฏิบัติธรรมคืออะไร
แต่เพราะเราช่วยกันสร้างภาพตอกย้ำว่า ปฏิบัติธรรมต้องแต่งชุดขาว ต้องไปอยู่ที่สำนักนั่น ๓ วัน ๗ วัน ฯลฯ จึงทำให้เกิดความเข้าใจว่า
จะปฏิบัติธรรมแต่ละทีต้องไปวัด ต้องแต่งชุดขาว ปฏิบัติธรรมเป็นคนละเรื่องกับชีวิตประจำวัน
ทั้งๆ ที่ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นเนื้อเป็นตัวของชีวิตประจำวันเลยทีเดียว ไม่ต้องแบ่งเวลาออกจากชีวิตประจำวันเลย
แทนที่เราจะแนะวิธีปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องว่า เจริญสติแบบนี้นะ กำหนดจิตแบบนี้นะ เมื่อเข้าใจดีแล้วโยมอยู่ที่ไหนก็ทำที่นั่นแหละ
ทำได้ตลอดเวลา กำลังทำงานก็ทำได้ กำลังขับรถอยู่ก็ทำได้ กำลังทำกับข้าวอยู่ในครัวก็ทำได้ แม้กำลังพูดคุยกับใครอยู่ก็ทำได้
แต่เราพากันบอกย้ำว่า
ปฏิบัติธรรมคือต้องไปวัด ต้องไปเข้าหลักสูตร ต้องไปชุมนุมกันที่วัดเท่านั้น และถ้าไปกันเป็นหมื่นเป็นแสนก็ยิ่งดี
เป็นการปฏิบัติธรรมที่ยิ่งใหญ่
จากปฏิบัติธรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน
กลายเป็นปฏิบัติธรรมต้องแยกตัวออกจากชีวิตประจำวัน
ก็เลยกลายเป็นว่าถ้าจะให้คนปฏิบัติธรรมมากๆ ก็ต้องสร้างวัดใหญ่ๆ ไว้รองรับ
ถ้าไม่สร้างวัดใหญ่ๆ ไว้รองรับ คนก็จะไม่มีสถานที่ปฏิบัติธรรม และจะไม่ได้ปฏิบัติธรรม
พูดอย่างนี้อย่าเข้าใจผิดไปอีกว่า การปฏิบัติธรรมไม่ต้องไปทำที่วัด ชาวพุทธไม่ต้องไปวัดก็ได้ หรือถ้าอย่างนี้ไม่ต้องมีวัดก็ได้
ประเดี๋ยวจะมีคนชวนให้ทะเลาะกับวัดที่มีกิจกรรมปฏิบัติธรรมเข้าอีก
ใครจะไปปฏิบัติธรรมที่วัดไหนหรือสำนักไหน ก็เชิญตามสะดวก เพียงแต่ขอได้โปรดเข้าใจให้ถูกต้องว่า
เมื่อเรียนรู้วิธีปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องแล้วจะปฏิบัติที่ไหนก็ได้ ปฏิบัติแล้วสงสัยอะไร จะไปศึกษาสอบถามหรือลองปฏิบัติที่วัดอีกก็ได้
หลักสำคัญก็คือศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจถูกต้องว่าวิธีปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนานั้นคือทำอย่างไร
หลักสำคัญของการปฏิบัติธรรมก็คือ อยู่กับชีวิตจริง ทำกับชีวิตจริง ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอนชีวิตจริงทำอะไร ก็ปฏิบัติธรรมควบคู่ไปกับชีวิตจริงๆ นั่นเลย
ถ้าการปฏิบัติธรรมจะต้องมีโลกส่วนตัวโดยเฉพาะที่แยกออกจากชีวิตประจำวัน ธรรมของพระพุทธเจ้าก็จะมีประโยชน์น้อยที่สุด
เพราะจะมีคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมีโอกาสสร้างโลกส่วนตัวไว้ปฏิบัติธรรมได้ตลอดเวลา
สรุปว่า การสร้างวัด การไปวัด การไปทำกิจต่างๆ ที่วัด เป็นวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ยังต้องมี ต้องทำ ยังต้องควรชักชวนกันทำ เลิกไม่ได้
วัดยังมีความจำเป็นสำหรับวิถีชีวิตของคนไทย
เรายังจำเป็นต้องมีวัดไว้รองรับวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต
แต่ไม่ใช่มีวัดไว้รองรับการปฏิบัติธรรมตามความหมายที่คลาดเคลื่อนที่คนส่วนมากพากันเข้าใจ
------------
(ต่อ)
เรื่องนี้มีที่มาจากเพจที่ชื่อ พุทธสามัคคี ซึ่งเป็นเพจที่สนับสนุนวัดพระธรรมกาย โพสต์เมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๘
สรรเสริญการสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่ว่ามีประโยชน์มากมายหลายอย่าง
ข้อความตอนหนึ่งว่าดังนี้ -
...........
สถานศึกษาจะมีหลายขนาด เช่น สถานศึกษาในหมู่บ้าน ก็เป็นโรงเรียนประถม ในตำบล ในอำเภอ ในจังหวัด ก็เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ขึ้น
จนถึงมัธยม บางจังหวัดก็มีสถาบันระดับอาชีวะและอุดมศึกษา ส่วนในระดับประเทศก็มีมหาวิทยาลัยใหญ่
บางแห่งใช้งบก่อสร้างหลายหมื่นล้านบาท ใช้งบดำเนินการปีละหลายพันล้าน
หากทั้งประเทศมีแต่โรงเรียนประชาบาล ไม่มีมหาวิทยาลัย ก็คงยากที่จะพัฒนาการศึกษาและคุณภาพประชากรได้
สถานศึกษาต้องมีหลายระดับ ต่างทำหน้าที่ตามบทบาทของตน
วัดก็เช่นเดียวกัน มีทั้งวัดในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เป็นเหมือนโรงเรียนสอนศีลธรรมในชุมชน และต้องมีวัดใหญ่ๆ
เพื่อเป็นเหมือนมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรม เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของวัดต่างๆ เพื่อนำไปขยายผลต่อไปยังประชาชนทั่วประเทศ
เป็นแหล่งสร้างสรรค์กิจกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการปลูกฝังศีลธรรม
เป็นเหมือนหัวรถจักรที่ฉุดขบวนรถไฟให้เคลื่อนตัวไป
......
เราจึงควรช่วยกันสร้างวัดใหญ่ๆเพิ่มขึ้น ชวนคนเข้าวัดปฏิบัติธรรมให้มากๆ
และชวนคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถมาบวชเป็นพระภิกษุให้มากขึ้นด้วย
(ภาพประกอบของเพจดังกล่าว)
...........
--------------
ผมได้เขียนวิจารณ์ไปแล้วในบทความชื่อ “วิธีรักษาพระศาสนา” ญาติมิตรที่ประสงค์จะทราบรายละเอียด
โปรดตามไปอ่านที่ลิงก์ข้างล่างนี้
https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/880338438726561:0
--------------
ที่ยกประเด็นการสร้างศาสนสถานที่ใหญ่โตมาไว้ในชุดคำสอนที่สวนทางก็เพราะว่าการสร้างวัดหรือศาสนสถานใหญ่ๆ
นั้นเป็นเรื่องที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์
เพื่อเจริญปัญญาสัมมาทิฐิ ขอเชิญศึกษาจากข้อความในคัมภีร์ดังต่อไปนี้
--------------
-๑-
ตถารูปายเอว ปริสาย ปณีตปิณฺฑปาตสฺส ปตฺเต ปูเรตฺวา ทินฺนทานโตปิ สปฺปิเตลาทีนํ ปตฺเต ปูเรตฺวา ทินฺนเภสชฺชทานโตปิ มหาวิหารสทิสานํ วิหารานํ โลหปาสาทสทิสานญฺจ ปาสาทานํ อเนกานิ สตสหสฺสานิ กาเรตฺวา ทินฺนเสนาสนทานโตปิ อนาถปิณฺฑิกาทีหิ วิหาเร อารพฺภ กตปริจฺจาคโตปิ อนฺตมโส จตุปฺปทิกาย คาถาย อนุโทนวเสนาปิ ปวตฺติตํ ธมฺมทานเมว เสฏฺฐํ. กึการณา? เอวรูปานิ หิ ปุญฺญานิ กโรนฺตา ธมฺมํ สุตฺวาว กโรนฺติ, โน อสฺสุตฺวา; สเจ หิ อิเม สตฺตา ธมฺมํ น สุเณยฺยํ, อุฬุงฺกมตฺตํ ยาคํปิ กฏจฺฉุมตฺตํ ภตฺตํปิ น ทเทยฺยํ; อิมินา การเณน สพฺพทาเนหิ ธมฺมทานเมว เสฏฺฐํ.
ที่มา :
สกฺกเทวราชวตฺถุ (๒๔๙) ธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๘
สกฺกเทวราชวตฺถุ (๒๔๙) ธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๘
คำแปล :
ทานที่ทายกบรรจุบาตรให้เต็มด้วยบิณฑบาตอันประณีตแล้วถวายแก่บริษัท (คือพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก) เห็นปานนั้นนั่นแหละก็ดี
เภสัชทานที่ทายกบรรจุบาตรให้เต็มด้วยเนยใสและน้ำมันเป็นต้นแล้วถวายก็ดี
เสนาสนทานที่ทายกให้สร้างวิหารเช่นกับมหาวิหารและปราสาทเช่นกับโลหปราสาทตั้งหลายแสนแล้วถวายก็ดี
การบริจาคที่บุคคลทั้งหลาย เช่นที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้นริเริ่มสร้างวัดทั้งหลายแล้วได้บริจาคออกไปก็ดี
ธรรมทาน (คือการประกาศธรรมเผยแพร่ธรรม) ที่ผู้รู้ทั้งหลายกระทำกัน แม้จนชั้นต่ำที่สุดการกล่าวคำอนุโมทนา
ด้วยพระคาถาเพียง ๔ บาท (ซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อยเหลือเกิน) ก็ยังประเสริฐกว่าทานและการบริจาคดังที่กล่าวมานั้น
เพราะเหตุไร ?
เพราะว่าชนทั้งหลายเมื่อจะทำบุญเห็นปานนั้น ต่อฟังธรรมแล้วเท่านั้นจึงทำได้, ไม่ได้ฟังก็หาทำได้ไม่;
ก็ถ้าว่าสัตว์เหล่านี้ไม่พึงฟังธรรมไซร้, เขาก็ไม่พึงถวายข้าวยาคูประมาณกระบวยหนึ่งบ้าง ภัตประมาณทัพพีหนึ่งบ้าง;
เพราะเหตุนี้ ธรรมทานนั่นแหละจึงประเสริฐที่สุดกว่าทานทุกชนิด.
-๒-
อามิสปูชา จ นาเมสา สาสนํ เอกยาคุปานกาลมตฺตํปิ สนฺธาเรตํ น สกฺโกติ มหาวิหารสทิสญฺหิ วิหารสหสฺสํปิ มหาเจติยสทิสํ เจติยสหสฺสํปิ สาสนํ สนฺธาเรตํ น สกฺโกติ เยน กตํ ตสฺเสว โหติ สมฺมาปฏิปตฺติ ปน สตฺถุ อนุจฺฉวิกา ปูชา ฯ สา หิ เตน ปฏฺฐิตา เจว สกฺโกติ จ สาสนํ สนฺธาเรตํ ฯ
ที่มา :
ปูชากถา มังคลัตถทีปนี ภาค ๑ ข้อ ๖๙ หน้า ๗๖
ปูชากถา มังคลัตถทีปนี ภาค ๑ ข้อ ๖๙ หน้า ๗๖
คำแปล :
ก็ชื่อว่าอามิสบูชานั่นไม่อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้ชั่วกาลแม้เพียงดื่มยาคูอึกหนึ่ง,
ความจริงวิหารนับพันเช่นมหาวิหารก็ดี เจดีย์นับพันเช่นมหาเจดีย์ก็ดี หาอาจดำรงพระศาสนาไว้ได้ไม่;
ผู้ใดทำ, อานิสงส์ก็มีแก่ผู้นั้นเท่านั้น.
ส่วนสัมมาปฏิบัติเป็นบูชาสมควรแก่พระศาสดา. เพราะสัมมาปฏิบัตินั้นพระองค์โปรดด้วย อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้ด้วย.
------------
ข้อพิจารณา
คัมภีร์อันเป็นที่มาของข้อความที่ยกมานี้เป็นคัมภีร์ที่ใช้ศึกษาในหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์
ชั้น ป.ธ.๓ และ ป.ธ.๔ นั่นหมายถึงว่า พระมหาเปรียญทุกรูปจะต้องได้ศึกษาเรื่องนี้มาแล้ว
และนั่นหมายถึงว่าวัดพระธรรมกายก็ย่อมจะได้ศึกษาเรื่องนี้มาแล้วด้วย
ประเด็นของผมอยู่ตรงนี้-ตรงที่ --
คัมภีร์บอกว่า วัดใหญ่โตมโหฬารก็รักษาพระศาสนาไว้ไม่ได้
ธรรมกายบอกว่า วัดใหญ่โตมโหฬารรักษาพระศาสนาไว้ได้
ประเด็นไม่ใช่อยู่ที่ว่า-สร้างวัดใหญ่โตดีหรือไม่ดี
ถ้าจะอภิปรายประเด็นนี้ก็ต้องไปพูดกันอีกวงหนึ่ง
แต่ประเด็นอยู่ที่-ธรรมกายคิดอย่างไรจึงสอนสวนทาง?
เพจที่สนับสนุนวัดพระธรรมกายสรุปว่า -
........
เราจึงควรช่วยกันสร้างวัดใหญ่ๆเพิ่มขึ้น ชวนคนเข้าวัดปฏิบัติธรรมให้มากๆ และชวนคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถมาบวชเป็นพระภิกษุให้มากขึ้นด้วย
........
ข้อเสนอแนะนี้มีกิจที่ควรทำ ๓ อย่าง คือ -
๑ ช่วยกันสร้างวัดใหญ่ๆ เพิ่มขึ้น
๒ ชวนคนเข้าวัดปฏิบัติธรรมให้มากๆ
๓ ชวนคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถมาบวชเป็นพระภิกษุให้มากขึ้น
โปรดสังเกตว่า กิจทั้ง ๓ อย่างนี้ไม่จำเป็นต้องขึ้นแก่กันและกัน เช่นต้องสร้างวัดใหญ่ๆ ก่อนจึงจะชวนคนเข้าวัดปฏิบัติธรรมให้มากๆ ได้
แต่ผู้เขียนข้อความนี้ใช้วิธีเรียงลำดับความจูงความคิดว่า-ถ้าอยากให้มีคนเข้าวัดปฏิบัติธรรมมากๆ ก็ต้องสร้างวัดใหญ่ๆ เพิ่มขึ้นก่อน
------------
ประเด็นนี้ต้องถอยไปตั้งหลักกันให้ถูกก่อนว่า-เข้าวัดปฏิบัติธรรมคืออย่างไร
เวลานี้เรามักเข้าใจว่า
การปฏิบัติธรรม ก็คือ ต้องไปอยู่ ณ สถานที่ซึ่งจัดไว้ ต้องแต่งกายตามชุดที่กำหนด
ต้องอยู่ ๓ วัน ๗ วัน ต้องยืนเดินนั่งนอนตามอิริยาบถที่กำหนด จนกระทั่งบางทีต้องหายใจตามวิธีการที่กำหนดด้วย
ต้องทำดังว่ามานี้จึงจะเรียกว่า “ปฏิบัติธรรม”
เวลานี้คำว่า “เข้าวัดปฏิบัติธรรม” คนทั้งหลายพากันหมายความตามที่ว่านี้ไปแล้ว
ถ้าใครไม่ได้ทำตามนี้ ก็คือไม่ได้ปฏิบัติธรรม หรือปฏิบัติธรรมไม่ได้
ปฏิบัติธรรมที่แท้จริงในพระพุทธศาสนาไม่ได้กำหนดว่าต้องทำอย่างที่ว่านี้เลย
ปฏิบัติธรรมตามที่เข้าใจกันนั้นควรจะเรียกว่า ภาคฝึกปฏิบัติธรรม หรือแบบฝึกหัดปฏิบัติธรรม
ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ควร-หรือต้อง-ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน สามารถปฏิบัติได้ทุกเวลาทุกสถานที่-
พูดหยาบๆ อย่างที่ผู้รู้ท่านว่า-แม้แต่ขณะเข้าห้องน้ำก็ปฏิบัติธรรมได้ เมื่อได้ผ่านการฝึกปฏิบัติธรรมจนเข้าใจถูกต้องแล้วว่าปฏิบัติธรรมคืออะไร
แต่เพราะเราช่วยกันสร้างภาพตอกย้ำว่า ปฏิบัติธรรมต้องแต่งชุดขาว ต้องไปอยู่ที่สำนักนั่น ๓ วัน ๗ วัน ฯลฯ จึงทำให้เกิดความเข้าใจว่า
จะปฏิบัติธรรมแต่ละทีต้องไปวัด ต้องแต่งชุดขาว ปฏิบัติธรรมเป็นคนละเรื่องกับชีวิตประจำวัน
ทั้งๆ ที่ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นเนื้อเป็นตัวของชีวิตประจำวันเลยทีเดียว ไม่ต้องแบ่งเวลาออกจากชีวิตประจำวันเลย
แทนที่เราจะแนะวิธีปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องว่า เจริญสติแบบนี้นะ กำหนดจิตแบบนี้นะ เมื่อเข้าใจดีแล้วโยมอยู่ที่ไหนก็ทำที่นั่นแหละ
ทำได้ตลอดเวลา กำลังทำงานก็ทำได้ กำลังขับรถอยู่ก็ทำได้ กำลังทำกับข้าวอยู่ในครัวก็ทำได้ แม้กำลังพูดคุยกับใครอยู่ก็ทำได้
แต่เราพากันบอกย้ำว่า
ปฏิบัติธรรมคือต้องไปวัด ต้องไปเข้าหลักสูตร ต้องไปชุมนุมกันที่วัดเท่านั้น และถ้าไปกันเป็นหมื่นเป็นแสนก็ยิ่งดี
เป็นการปฏิบัติธรรมที่ยิ่งใหญ่
จากปฏิบัติธรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน
กลายเป็นปฏิบัติธรรมต้องแยกตัวออกจากชีวิตประจำวัน
ก็เลยกลายเป็นว่าถ้าจะให้คนปฏิบัติธรรมมากๆ ก็ต้องสร้างวัดใหญ่ๆ ไว้รองรับ
ถ้าไม่สร้างวัดใหญ่ๆ ไว้รองรับ คนก็จะไม่มีสถานที่ปฏิบัติธรรม และจะไม่ได้ปฏิบัติธรรม
พูดอย่างนี้อย่าเข้าใจผิดไปอีกว่า การปฏิบัติธรรมไม่ต้องไปทำที่วัด ชาวพุทธไม่ต้องไปวัดก็ได้ หรือถ้าอย่างนี้ไม่ต้องมีวัดก็ได้
ประเดี๋ยวจะมีคนชวนให้ทะเลาะกับวัดที่มีกิจกรรมปฏิบัติธรรมเข้าอีก
ใครจะไปปฏิบัติธรรมที่วัดไหนหรือสำนักไหน ก็เชิญตามสะดวก เพียงแต่ขอได้โปรดเข้าใจให้ถูกต้องว่า
เมื่อเรียนรู้วิธีปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องแล้วจะปฏิบัติที่ไหนก็ได้ ปฏิบัติแล้วสงสัยอะไร จะไปศึกษาสอบถามหรือลองปฏิบัติที่วัดอีกก็ได้
หลักสำคัญก็คือศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจถูกต้องว่าวิธีปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนานั้นคือทำอย่างไร
หลักสำคัญของการปฏิบัติธรรมก็คือ อยู่กับชีวิตจริง ทำกับชีวิตจริง ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอนชีวิตจริงทำอะไร ก็ปฏิบัติธรรมควบคู่ไปกับชีวิตจริงๆ นั่นเลย
ถ้าการปฏิบัติธรรมจะต้องมีโลกส่วนตัวโดยเฉพาะที่แยกออกจากชีวิตประจำวัน ธรรมของพระพุทธเจ้าก็จะมีประโยชน์น้อยที่สุด
เพราะจะมีคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมีโอกาสสร้างโลกส่วนตัวไว้ปฏิบัติธรรมได้ตลอดเวลา
สรุปว่า การสร้างวัด การไปวัด การไปทำกิจต่างๆ ที่วัด เป็นวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ยังต้องมี ต้องทำ ยังต้องควรชักชวนกันทำ เลิกไม่ได้
วัดยังมีความจำเป็นสำหรับวิถีชีวิตของคนไทย
เรายังจำเป็นต้องมีวัดไว้รองรับวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต
แต่ไม่ใช่มีวัดไว้รองรับการปฏิบัติธรรมตามความหมายที่คลาดเคลื่อนที่คนส่วนมากพากันเข้าใจ
------------
(ต่อ)
ความคิดเห็นที่ 8
(ต่อ)
คำเสนอแนะที่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งก็คือที่บอกว่าให้ชวนคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถมาบวชเป็นพระภิกษุให้มากขึ้น
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง ควรเป็นนโยบายของคณะสงฆ์ที่จะสร้างบุคลากรทางศาสนาขึ้นมาให้บริบูรณ์
ไม่ใช่รอเก็บตกเอาจากคนที่บวชเข้ามาตามโอกาส
ถ้าจะว่าไปแล้วเป็นสิ่งที่ต้องทำด้วย ไม่ใช่แค่ “ควรทำ”
ปัญหาที่กำลังเผชิญหน้าชาวพุทธในเมืองไทย-โดยเฉพาะเผชิญหน้าคณะสงฆ์-อยู่ในเวลานี้ก็คือ
พระภิกษุสามเณรตามวัดต่างๆ มีจำนวนลดลงไปเรื่อยๆ อย่างน่าวิตก
การจัดกิจกรรมบวชพระหมื่นรูปแสนรูปที่ธรรมกายทำอยู่นั้น ก็ดีในบางแง่
แต่ถ้าจะให้ดีอย่างถาวร ยั่งยืน ธรรมกายควรใช้ศักยภาพที่มีอยู่ดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถอย่างที่ว่านั่น
มาบวชถวายชีวิตไว้ในพระพุทธศาสนา โดยดำเนินการให้มีคนบวชเพิ่มขึ้นตามวัดต่างๆ หรือบริหารจัดการให้วัดต่างๆ
ที่มีอยู่แล้วทั่วประเทศมีพระเพิ่มขึ้น
ให้เพิ่มขึ้นจนถึงกุฏิไม่พออยู่เหมือนในอดีตได้ยิ่งดี เพราะจะได้มีเหตุให้สร้างเสนาสนะ
จนถึงสร้างวัดเพิ่มขึ้นต่อไปอีก-ตรงตามแนวคิดที่เสนอไว้
รวมทั้งฟื้นฟูการศึกษาพระปริยัติธรรมในวัดต่างๆ ให้มีคุณภาพ พระจะได้สอนชาวบ้านและชักชวนชาวบ้านในกิจที่ถูกต้อง
ตรงตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา
-------------
ตามที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า ไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะต้องโหมกระหน่ำสร้างศาสนสถานที่ใหญ่โตมโหฬาร
โปรดสังเกตภาพประกอบของเพจที่อ้างถึง จะเห็นเจตนาว่ามุ่งแสดงให้เห็นความใหญ่โตมหึมาอลังการของสถานที่โดยเทียบกับศาสนาอื่น
เหมือนกับจะบอกว่า-ต้องขนาดนี้จึงจะเทียบกับเขาได้
และเราต้องสร้างวัดใหญ่ๆ ขนาดนี้ให้มากๆ ผู้คนจึงจะมีสถานที่ปฏิบัติธรรม และจึงจะรักษาพระศาสนาไว้ได้
......
------------
ผมเขียนเรื่อง “คำสอนที่สวนทาง” มา ๓ ตอน
ตอนที่หนึ่ง
พระไตรปิฎกบอกว่านิพพานเป็นอนัตตา
ธรรมกายบอกว่า นิพพานเป็นอัตตา
ตอนที่สอง
พระไตรปิฎกบอกว่า บริจาคทรัพย์น้อยก็ได้บุญมากถ้าจิตผ่องใสและมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่สมบูรณ์
ธรรมกายบอกว่า บริจาคมากได้บุญมาก บริจาคน้อยได้บุญน้อย
ตอนที่สาม
คัมภีร์บอกว่า วัดใหญ่โตมโหฬารก็รักษาพระศาสนาไว้ไม่ได้
ธรรมกายบอกว่า วัดใหญ่โตมโหฬารรักษาพระศาสนาไว้ได้
ผู้ที่ไม่รู้ว่าเรื่องแบบนี้มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ ก็คงจะชื่นชมกับคำสอน ประกอบกับคุณภาพในการสร้างสรรค์องค์ประกอบทางกายภาพ เช่น อาคารสถานที่ กิจกรรมต่างๆ ที่ล้วนแต่อภิมหาอลังการ และระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ย่อมก่อให้เกิดศรัทธาได้อย่างท่วมท้น จนไม่มีใครนึกถึงหลักคำสอนที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนา
ประเด็นของผมก็อยู่ตรงที่-ทำไมธรรมกายจึงสอนสวนทางกับคัมภีร์
------------
คำตอบ
--------
ประเด็นเหล่านี้ถ้าวัดพระธรรมกายหรือชาวธรรมกายมีคำตอบให้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เป็นประโยชน์แก่สังคมที่จะได้ศึกษาหลักคำสอนที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์แก่ธรรมกายเองที่ย่อมต้องพึงประสงค์ให้สังคมเข้าใจธรรมกายให้ถูกต้องด้วย
ถ้าธรรมกายมีคำตอบอยู่แล้ว หรือเคยตอบเคยอธิบายมาแล้ว ก็ควรช่วยกันโหมกระหน่ำทำให้คำตอบนั้นให้ปรากฏชัดเจนแก่สายของสังคม โดยเฉพาะในช่วงเวลาวิกฤตเช่นนี้
จัดให้มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์เผยแพร่คำตอบคำอธิบายของธรรมกายอย่างยิ่งใหญ่อภิมหาอลังการเหมือนกับที่ใช้กับวิธีทำกิจกรรมให้ผู้คนตื่นตาตื่นใจนั่นเลย
เก่งในทางทำให้คนเลื่อมใสได้ขนาดไหน
ก็ใช้ความเก่งในทางทำให้คนเข้าใจคำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้าให้ได้ขนาดนั้น
อย่าให้คนทั้งหลายพากันมองธรรมกายแบบติดลบอยู่ในทุกวันนี้
(เว้นไว้แต่ธรรมกายจะคิดว่า ใครจะมองติดลบหรือใครจะไม่เลื่อมใสก็ไม่แคร์ เพราะคนเลื่อมใสธรรมกายมีอยู่มากมายทั่วโลก)
...........
ความจริง ปัญหาดังที่กล่าวมาชาวธรรมกายก็มีคำตอบ ไม่ใช่ไม่มี แต่เป็นคำตอบที่พอจะเรียกได้ว่า เฉไฉ
เช่นเรื่องนิพพานเป็นอัตตา ชาวธรรมกายบอกว่านี่เป็นผลจากการปฏิบัติ หลวงพ่อท่านปฏิบัติมานานเท่านี้ๆ
ท่านจึงได้เห็นผล และผลจากการปฏิบัติย่อมสำคัญกว่าถูกต้องกว่าปริยัติ
เวลานี้นิยมอ้างผลจากการปฏิบัติมายืนยันความถูกต้องของตนกันมากขึ้น
การอ้างเช่นนี้มีผลเท่ากับบอกว่า
(๑) พระไตรปิฎกผิด ข้าพเจ้าและอาจารย์ของข้าพเจ้าถูก
(๒) ข้าพเจ้าไม่เชื่อและไม่นับถือพระไตรปิฎก อย่างน้อยก็พระไตรปิฎกตอนที่ว่าด้วยเรื่องนี้
(๓) ผู้ที่เรียนปริยัติเป็นพวกที่ปฏิบัติไม่เป็น หรือเป็นพวกที่ไม่เคยปฏิบัติ มีแต่พวกข้าพเจ้าเท่านั้นที่ปฏิบัติและเห็นผลจากการปฏิบัติได้
นอกจากอ้างผลจากการปฏิบัติแล้ว ก็เฉไฉต่อไปว่าเรื่องนิพพานเป็นเรื่องละเอียด
ควรที่จะรับฟังความเห็นของนักปราชญ์ราชบัณฑิตให้ทั่วถึง ไม่ควรด่วนลงความเห็นกันง่ายๆ
.......
เรื่องนี้ผู้รู้ท่านชี้หลักให้เห็นเพื่อจับประเด็นให้ถูกมานานแล้วว่า พระพุทธศาสนาเถรวาทมีพระไตรปิฎกบาลีเป็นมาตรฐาน
ต้องยึดหลักไว้อย่างนี้
และพระไตรปิฎกเถรวาทระบุไว้ชัดว่า นิพพานเป็นอนัตตา ชัดเจนแน่นอนอยู่แล้ว ไม่ต้องตีความหรือต้องรอฟังความเห็นของใครก่อน
เมื่อจับหลักอย่างนี้แล้ว ต่อจากนี้ใครจะเป็นว่านิพพานเป็นอัตตาโดยอ้างผลจากการปฏิบัติของตนหรือของใคร หรือใครจะอ้างความเห็นของท่านโปรเฟรสเสอร์สำนักไหน หรือความเห็นของนักปราชญ์ราชบัณฑิตจากสถาบันไหน หรือแม้แต่จะอ้างคัมภีร์ของศาสนาไหนๆ อีกด้วย ก็อ้างไป ตลอดจนตัวเองจะเชื่อถือตามคำของใคร ก็เชื่อไป ทั้งนี้ย่อมเป็นสิทธิเสรีภาพโดยสมบูรณ์
แต่ความจริงที่ว่าพระไตรปิฎกเถรวาทบอกว่านิพพานเป็นอนัตตาก็ยังคงเป็นความจริงอยู่เช่นนั้น
และเป็นมาตรฐานแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาทอยู่เช่นนั้นเสมอไป
เมื่อจะอ้างคำสอนเรื่องนิพพานเป็นอนัตตา ก็จึงต้องอ้างพระไตรปิฎก
ถ้าจะบอกว่าพระไตรปิฎกตรงนี้ผิด ก็ต้องแสดงเหตุผลว่าผิดเพราะอะไร แต่ไม่ใช่อ้างว่าผิดเพราะไม่ตรงกับการผลการปฏิบัติของตน
หรือผิดเพราะไม่ตรงกับความเห็นของท่านผู้นั้นผู้โน้น
แม้แต่ท่านผู้ใดไม่พอใจคำสอนในพระไตรปิฎกตรงนั้นตรงโน้น หรือแม้กระทั่งไม่พอใจพระไตรปิฎกทั้งหมด
ก็มีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธพระไตรปิฎกได้ เพียงแต่ขอให้มีความซื่อตรง หรือตรงไปตรงมา
ตามปกติ เมื่อเราใช้สิทธิ์เข้าเป็นสมาชิกของสังคมใด นั่นก็คือเราพร้อมที่จะนับถือและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ของสังคมนั้น
ถ้าไม่เห็นด้วยกับกติกามารยาทของสังคมนั้น เราก็มีสิทธิ์ที่จะแสดงออกอย่างซื่อตรง คือไม่เข้าไปเป็นสมาชิก ไม่ไปเกี่ยวข้องด้วย
แต่เมื่อเข้าไปเป็นสมาชิกแล้ว กลับบอกว่า กฎข้อนั้นไม่ถูก ระเบียบข้อนี้ไม่เหมาะ เราไม่เห็นด้วย เพราะฉะนั้นเราจะขอไม่ปฏิบัติตาม
แต่จะทำตามที่เราเห็นควร-อย่างนี้คือความไม่ซื่อตรง
เวลานี้ที่เกิดปัญหาก็เพราะไม่ซื่อตรงนี่แหละ คือพยายามจะบอกคนทั้งหลายว่า
ที่ข้าพเจ้าเชื่อและปฏิบัติอยู่นี่แหละคือพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องแท้จริง
พระพุทธศาสนาที่ถูกต้องแท้จริงเป็นอย่างที่ข้าพเจ้าเชื่อและปฏิบัติอยู่นี่ ไม่ใช่อย่างที่บอกไว้ในพระไตรปิฎก
ถ้าสิบคนร้อยคนอ้างผลการปฏิบัติของตนสิบอย่างร้อยอย่างว่านี่แหละคือพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องแท้จริง
ถ้าอย่างนี้ก็คือทำให้เกิดความฟั่นเฟือน หรือที่ท่านเรียกว่าเป็นการประทุษร้ายทางปัญญาต่อสังคม
ทำให้เกิดความสับสนอลหม่านว่าอันไหนกันแน่คือพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องแท้จริง
นี่คือเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องยึดพระไตรปิฎกไว้เป็นมาตรฐาน
การยึดถือพระไตรปิฎกด้วยเหตุผลดังว่านี้ไม่ใช่การยึดตำราหรือติดตำรา ประเดี๋ยวจะมีคนยกเอากาลามสูตรขึ้นมาแย้งอีก
เรื่องอ้างกาลามสูตรนี่ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ควรทำความเข้าใจให้ตรง
ถ้าไม่เอาพระไตรปิฎกเป็นมาตรฐาน ก็จะไม่รู้ว่าคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร ก็เท่ากับไม่มีพระพุทธศาสนานั่นเอง
---------
เรื่องบอกว่าทำบุญบริจาคมากๆ ได้ผลมาก ก็มีคำตอบว่า วัดธรรมกายไม่ได้สอนอย่างนี้ หลวงพ่อท่านบอกว่ามีเงินบาทเดียวก็ทำบุญได้
ข้อเท็จจริงก็คือ คนศรัทธาวัดธรรมกายบริจาคจนหมดตัวก็มีให้เห็นกันมากมาย สามีภรรยาทะเลาะกัน
เรื่องเอาทรัพย์สินไปทำบุญกับธรรมกายก็มีให้เห็น ทำบุญด้วยวิธีผ่อนส่ง ใครไม่เคยเห็นก็มีให้เห็นที่วัดพระธรรมกาย
ตั้งสหกรณ์ขึ้นมาในวัดเพื่อให้คนกู้เงินไปทำบุญ วัดพระธรรมกายก็ทำแล้ว
ถ้าบาทเดียวก็ทำบุญได้ แล้วทำไมจึงเป็นเช่นนี้
---------
ผมบอกว่า .... เราไม่เคยได้ยินธรรมกายบอกว่า-ญาติโยมทั้งหลาย อยู่ใกล้วัดไหน สะดวกวัดไหน หรือศรัทธาวัดไหน
ก็ขอให้ไปทำบุญกันที่วัดนั้นแหละ ไม่ต้องมาที่วัดธรรมกายหรอก ....
มีชาวธรรมกายท่านแย้งว่า คำแบบนั้นหลวงพ่อธัมมชโยท่านบอกเสมอ ไม่ใช่ไม่บอก ผมไปเอาอะไรมาพูด
......
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า
ทุกวันนี้สำนักธรรมกายก็ยังใช้วิธีไปเที่ยวดูดพระเณรตามวัดต่างๆ
ให้ไปรวมกันในกิจกรรมของธรรมกายอยู่เหมือนเดิม ล่าสุดตักบาตรสามเณรที่ราชบุรีก็ไปดูดสามเณรมาจากที่อื่นเป็นคันรถๆ
อย่างนี้จะอธิบายว่ากระไรจึงจะสมเหตุสมผลกับคำที่ว่า หลวงพ่อท่านบอกเสมอว่า อยู่ใกล้วัดไหนก็ให้ไปทำบุญวัดนั้น
ในเมื่อ “วัดนั้น” ธรรมกายดูดเอาพระเณรไปหมดวัดอยู่เรื่อย?
----------
เรื่องชวนให้สร้างศาสนสถานใหญ่โต ยังไม่ทราบว่าธรรมกายจะตอบอย่างไร แต่คำยืนยันที่เป็นของจริงดูได้ที่วัดพระธรรมกายเอง
อภิมโหฬารเหนือคำบรรยาย ธรรมกายที่ราชบุรีก็ไม่เบา กำลังไล่ที่ชาวบ้านเพื่อขยายอาณาจักรออกไปเรื่อยๆ
กรณีวัดอยู่ไกล กรณีโยมมาทำบุญที่ไม่พอนั่ง กรณีห้องน้ำไม่พอ กรณีห้องเรียนไม่พอกับจำนวนพระเณร เป็นต้น-
กรณีเช่นว่านี้เป็นคนละประเด็นกับที่มีคนตั้งคำถามเชิงประชดว่า จะไปสวรรค์ไปนิพพานในศาสนาพุทธนี่ต้องดูดคนมารวมกัน
เป็นหมื่นเป็นแสนก่อนจึงจะไปได้กระนั้นหรือ
........
ที่ว่ามาทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างที่ยืนยันว่า คำยืนยันกับข้อเท็จจริงบางทีก็ไม่ตรงกัน
------------
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ผมไม่มีความประสงค์จะรับโต้เถียงกับท่านผู้ใด เพียงแต่นำหลักต่างๆ ตามที่ผมรู้ผมเห็นมาแสดง
เพื่อให้ช่วยกันพิจารณา เป็นการศึกษา
ประเด็นไหนส่วนไหนที่ท่านเห็นว่าผมเข้าใจผิด หรือพูดผิด ทุกท่านย่อมมีสิทธิ์อธิบายด้วยเหตุด้วยผลด้วยข้อเท็จจริง
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นการช่วยกันบูรณาการองค์ความรู้ที่ถูกต้องให้แก่สังคม
.........
การพูดถึงธรรมกายของผมจึงไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานแห่งอคติใดๆ ทั้งสิ้น
ผมเพียงแต่เห็นว่า ในท่ามกลางกระแสเช่นนี้ควรถือเป็นโอกาสที่จะกระตุ้นเตือนกันและกันให้ศึกษาทำความเข้าใจ
มีคำสอนบางเรื่องของสำนักธรรมกายที่ผมอยากให้สังคมทำความเข้าใจและรู้ทันข้อเท็จจริง
มิใช่เพื่อให้เลิกนับถือหรือยกขบวนไปต่อต้าน
ท่านผู้ใดจะยังคงนับถือ ก็นับถือไป เพราะศรัทธาบังคับกันไม่ได้
การต่อต้านใดๆ ในลักษณะที่ไม่สุภาพ เช่นใช้คำหยาบคายด่าว่า เป็นสิ่งไม่ควรทำ แต่ควรมองกันด้วยเมตตาไมตรี
เมื่อการนับถือศาสนาห้ามศรัทธากันไม่ได้ การทำความเข้าใจเพื่อรู้ทันน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ทำความเข้าใจ-คือศึกษาเรียนรู้ว่า คำสอนที่ธรรมกายยกขึ้นมาเชิดชูนั้น ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทท่านแสดงไว้อย่างไร
เมื่อศึกษาเข้าใจแล้ว มีพื้นฐานพอที่จะรู้ทัน คือรู้ว่าผิดหรือถูก รู้ว่าตนควรมีท่าทีอย่างไรต่อคำสอนนั้นแล้ว
ต่อจากนั้นก็เป็นสิทธิเสรีภาพของแต่ละคนที่จะใช้วิจารณญาณได้เอง
เท่านี้ก็น่าจะพอ
.........
นั่นเป็นคำที่ผมบอกไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มเรื่องของบทความชุด “คำสอนที่สวนทาง” นี้ ขออนุญาตนำมาเป็นคำปิดเรื่องในที่สุดนี้ด้วยครับ
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๓๐ เมษายน ๒๕๕๙
๑๘:๓๔
คำเสนอแนะที่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งก็คือที่บอกว่าให้ชวนคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถมาบวชเป็นพระภิกษุให้มากขึ้น
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง ควรเป็นนโยบายของคณะสงฆ์ที่จะสร้างบุคลากรทางศาสนาขึ้นมาให้บริบูรณ์
ไม่ใช่รอเก็บตกเอาจากคนที่บวชเข้ามาตามโอกาส
ถ้าจะว่าไปแล้วเป็นสิ่งที่ต้องทำด้วย ไม่ใช่แค่ “ควรทำ”
ปัญหาที่กำลังเผชิญหน้าชาวพุทธในเมืองไทย-โดยเฉพาะเผชิญหน้าคณะสงฆ์-อยู่ในเวลานี้ก็คือ
พระภิกษุสามเณรตามวัดต่างๆ มีจำนวนลดลงไปเรื่อยๆ อย่างน่าวิตก
การจัดกิจกรรมบวชพระหมื่นรูปแสนรูปที่ธรรมกายทำอยู่นั้น ก็ดีในบางแง่
แต่ถ้าจะให้ดีอย่างถาวร ยั่งยืน ธรรมกายควรใช้ศักยภาพที่มีอยู่ดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถอย่างที่ว่านั่น
มาบวชถวายชีวิตไว้ในพระพุทธศาสนา โดยดำเนินการให้มีคนบวชเพิ่มขึ้นตามวัดต่างๆ หรือบริหารจัดการให้วัดต่างๆ
ที่มีอยู่แล้วทั่วประเทศมีพระเพิ่มขึ้น
ให้เพิ่มขึ้นจนถึงกุฏิไม่พออยู่เหมือนในอดีตได้ยิ่งดี เพราะจะได้มีเหตุให้สร้างเสนาสนะ
จนถึงสร้างวัดเพิ่มขึ้นต่อไปอีก-ตรงตามแนวคิดที่เสนอไว้
รวมทั้งฟื้นฟูการศึกษาพระปริยัติธรรมในวัดต่างๆ ให้มีคุณภาพ พระจะได้สอนชาวบ้านและชักชวนชาวบ้านในกิจที่ถูกต้อง
ตรงตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา
-------------
ตามที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า ไม่มีความจำเป็นอะไรเลยที่จะต้องโหมกระหน่ำสร้างศาสนสถานที่ใหญ่โตมโหฬาร
โปรดสังเกตภาพประกอบของเพจที่อ้างถึง จะเห็นเจตนาว่ามุ่งแสดงให้เห็นความใหญ่โตมหึมาอลังการของสถานที่โดยเทียบกับศาสนาอื่น
เหมือนกับจะบอกว่า-ต้องขนาดนี้จึงจะเทียบกับเขาได้
และเราต้องสร้างวัดใหญ่ๆ ขนาดนี้ให้มากๆ ผู้คนจึงจะมีสถานที่ปฏิบัติธรรม และจึงจะรักษาพระศาสนาไว้ได้
......
------------
ผมเขียนเรื่อง “คำสอนที่สวนทาง” มา ๓ ตอน
ตอนที่หนึ่ง
พระไตรปิฎกบอกว่านิพพานเป็นอนัตตา
ธรรมกายบอกว่า นิพพานเป็นอัตตา
ตอนที่สอง
พระไตรปิฎกบอกว่า บริจาคทรัพย์น้อยก็ได้บุญมากถ้าจิตผ่องใสและมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่สมบูรณ์
ธรรมกายบอกว่า บริจาคมากได้บุญมาก บริจาคน้อยได้บุญน้อย
ตอนที่สาม
คัมภีร์บอกว่า วัดใหญ่โตมโหฬารก็รักษาพระศาสนาไว้ไม่ได้
ธรรมกายบอกว่า วัดใหญ่โตมโหฬารรักษาพระศาสนาไว้ได้
ผู้ที่ไม่รู้ว่าเรื่องแบบนี้มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ ก็คงจะชื่นชมกับคำสอน ประกอบกับคุณภาพในการสร้างสรรค์องค์ประกอบทางกายภาพ เช่น อาคารสถานที่ กิจกรรมต่างๆ ที่ล้วนแต่อภิมหาอลังการ และระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ย่อมก่อให้เกิดศรัทธาได้อย่างท่วมท้น จนไม่มีใครนึกถึงหลักคำสอนที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนา
ประเด็นของผมก็อยู่ตรงที่-ทำไมธรรมกายจึงสอนสวนทางกับคัมภีร์
------------
คำตอบ
--------
ประเด็นเหล่านี้ถ้าวัดพระธรรมกายหรือชาวธรรมกายมีคำตอบให้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เป็นประโยชน์แก่สังคมที่จะได้ศึกษาหลักคำสอนที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์แก่ธรรมกายเองที่ย่อมต้องพึงประสงค์ให้สังคมเข้าใจธรรมกายให้ถูกต้องด้วย
ถ้าธรรมกายมีคำตอบอยู่แล้ว หรือเคยตอบเคยอธิบายมาแล้ว ก็ควรช่วยกันโหมกระหน่ำทำให้คำตอบนั้นให้ปรากฏชัดเจนแก่สายของสังคม โดยเฉพาะในช่วงเวลาวิกฤตเช่นนี้
จัดให้มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์เผยแพร่คำตอบคำอธิบายของธรรมกายอย่างยิ่งใหญ่อภิมหาอลังการเหมือนกับที่ใช้กับวิธีทำกิจกรรมให้ผู้คนตื่นตาตื่นใจนั่นเลย
เก่งในทางทำให้คนเลื่อมใสได้ขนาดไหน
ก็ใช้ความเก่งในทางทำให้คนเข้าใจคำสอนที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้าให้ได้ขนาดนั้น
อย่าให้คนทั้งหลายพากันมองธรรมกายแบบติดลบอยู่ในทุกวันนี้
(เว้นไว้แต่ธรรมกายจะคิดว่า ใครจะมองติดลบหรือใครจะไม่เลื่อมใสก็ไม่แคร์ เพราะคนเลื่อมใสธรรมกายมีอยู่มากมายทั่วโลก)
...........
ความจริง ปัญหาดังที่กล่าวมาชาวธรรมกายก็มีคำตอบ ไม่ใช่ไม่มี แต่เป็นคำตอบที่พอจะเรียกได้ว่า เฉไฉ
เช่นเรื่องนิพพานเป็นอัตตา ชาวธรรมกายบอกว่านี่เป็นผลจากการปฏิบัติ หลวงพ่อท่านปฏิบัติมานานเท่านี้ๆ
ท่านจึงได้เห็นผล และผลจากการปฏิบัติย่อมสำคัญกว่าถูกต้องกว่าปริยัติ
เวลานี้นิยมอ้างผลจากการปฏิบัติมายืนยันความถูกต้องของตนกันมากขึ้น
การอ้างเช่นนี้มีผลเท่ากับบอกว่า
(๑) พระไตรปิฎกผิด ข้าพเจ้าและอาจารย์ของข้าพเจ้าถูก
(๒) ข้าพเจ้าไม่เชื่อและไม่นับถือพระไตรปิฎก อย่างน้อยก็พระไตรปิฎกตอนที่ว่าด้วยเรื่องนี้
(๓) ผู้ที่เรียนปริยัติเป็นพวกที่ปฏิบัติไม่เป็น หรือเป็นพวกที่ไม่เคยปฏิบัติ มีแต่พวกข้าพเจ้าเท่านั้นที่ปฏิบัติและเห็นผลจากการปฏิบัติได้
นอกจากอ้างผลจากการปฏิบัติแล้ว ก็เฉไฉต่อไปว่าเรื่องนิพพานเป็นเรื่องละเอียด
ควรที่จะรับฟังความเห็นของนักปราชญ์ราชบัณฑิตให้ทั่วถึง ไม่ควรด่วนลงความเห็นกันง่ายๆ
.......
เรื่องนี้ผู้รู้ท่านชี้หลักให้เห็นเพื่อจับประเด็นให้ถูกมานานแล้วว่า พระพุทธศาสนาเถรวาทมีพระไตรปิฎกบาลีเป็นมาตรฐาน
ต้องยึดหลักไว้อย่างนี้
และพระไตรปิฎกเถรวาทระบุไว้ชัดว่า นิพพานเป็นอนัตตา ชัดเจนแน่นอนอยู่แล้ว ไม่ต้องตีความหรือต้องรอฟังความเห็นของใครก่อน
เมื่อจับหลักอย่างนี้แล้ว ต่อจากนี้ใครจะเป็นว่านิพพานเป็นอัตตาโดยอ้างผลจากการปฏิบัติของตนหรือของใคร หรือใครจะอ้างความเห็นของท่านโปรเฟรสเสอร์สำนักไหน หรือความเห็นของนักปราชญ์ราชบัณฑิตจากสถาบันไหน หรือแม้แต่จะอ้างคัมภีร์ของศาสนาไหนๆ อีกด้วย ก็อ้างไป ตลอดจนตัวเองจะเชื่อถือตามคำของใคร ก็เชื่อไป ทั้งนี้ย่อมเป็นสิทธิเสรีภาพโดยสมบูรณ์
แต่ความจริงที่ว่าพระไตรปิฎกเถรวาทบอกว่านิพพานเป็นอนัตตาก็ยังคงเป็นความจริงอยู่เช่นนั้น
และเป็นมาตรฐานแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาทอยู่เช่นนั้นเสมอไป
เมื่อจะอ้างคำสอนเรื่องนิพพานเป็นอนัตตา ก็จึงต้องอ้างพระไตรปิฎก
ถ้าจะบอกว่าพระไตรปิฎกตรงนี้ผิด ก็ต้องแสดงเหตุผลว่าผิดเพราะอะไร แต่ไม่ใช่อ้างว่าผิดเพราะไม่ตรงกับการผลการปฏิบัติของตน
หรือผิดเพราะไม่ตรงกับความเห็นของท่านผู้นั้นผู้โน้น
แม้แต่ท่านผู้ใดไม่พอใจคำสอนในพระไตรปิฎกตรงนั้นตรงโน้น หรือแม้กระทั่งไม่พอใจพระไตรปิฎกทั้งหมด
ก็มีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธพระไตรปิฎกได้ เพียงแต่ขอให้มีความซื่อตรง หรือตรงไปตรงมา
ตามปกติ เมื่อเราใช้สิทธิ์เข้าเป็นสมาชิกของสังคมใด นั่นก็คือเราพร้อมที่จะนับถือและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ของสังคมนั้น
ถ้าไม่เห็นด้วยกับกติกามารยาทของสังคมนั้น เราก็มีสิทธิ์ที่จะแสดงออกอย่างซื่อตรง คือไม่เข้าไปเป็นสมาชิก ไม่ไปเกี่ยวข้องด้วย
แต่เมื่อเข้าไปเป็นสมาชิกแล้ว กลับบอกว่า กฎข้อนั้นไม่ถูก ระเบียบข้อนี้ไม่เหมาะ เราไม่เห็นด้วย เพราะฉะนั้นเราจะขอไม่ปฏิบัติตาม
แต่จะทำตามที่เราเห็นควร-อย่างนี้คือความไม่ซื่อตรง
เวลานี้ที่เกิดปัญหาก็เพราะไม่ซื่อตรงนี่แหละ คือพยายามจะบอกคนทั้งหลายว่า
ที่ข้าพเจ้าเชื่อและปฏิบัติอยู่นี่แหละคือพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องแท้จริง
พระพุทธศาสนาที่ถูกต้องแท้จริงเป็นอย่างที่ข้าพเจ้าเชื่อและปฏิบัติอยู่นี่ ไม่ใช่อย่างที่บอกไว้ในพระไตรปิฎก
ถ้าสิบคนร้อยคนอ้างผลการปฏิบัติของตนสิบอย่างร้อยอย่างว่านี่แหละคือพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องแท้จริง
ถ้าอย่างนี้ก็คือทำให้เกิดความฟั่นเฟือน หรือที่ท่านเรียกว่าเป็นการประทุษร้ายทางปัญญาต่อสังคม
ทำให้เกิดความสับสนอลหม่านว่าอันไหนกันแน่คือพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องแท้จริง
นี่คือเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องยึดพระไตรปิฎกไว้เป็นมาตรฐาน
การยึดถือพระไตรปิฎกด้วยเหตุผลดังว่านี้ไม่ใช่การยึดตำราหรือติดตำรา ประเดี๋ยวจะมีคนยกเอากาลามสูตรขึ้นมาแย้งอีก
เรื่องอ้างกาลามสูตรนี่ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ควรทำความเข้าใจให้ตรง
ถ้าไม่เอาพระไตรปิฎกเป็นมาตรฐาน ก็จะไม่รู้ว่าคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร ก็เท่ากับไม่มีพระพุทธศาสนานั่นเอง
---------
เรื่องบอกว่าทำบุญบริจาคมากๆ ได้ผลมาก ก็มีคำตอบว่า วัดธรรมกายไม่ได้สอนอย่างนี้ หลวงพ่อท่านบอกว่ามีเงินบาทเดียวก็ทำบุญได้
ข้อเท็จจริงก็คือ คนศรัทธาวัดธรรมกายบริจาคจนหมดตัวก็มีให้เห็นกันมากมาย สามีภรรยาทะเลาะกัน
เรื่องเอาทรัพย์สินไปทำบุญกับธรรมกายก็มีให้เห็น ทำบุญด้วยวิธีผ่อนส่ง ใครไม่เคยเห็นก็มีให้เห็นที่วัดพระธรรมกาย
ตั้งสหกรณ์ขึ้นมาในวัดเพื่อให้คนกู้เงินไปทำบุญ วัดพระธรรมกายก็ทำแล้ว
ถ้าบาทเดียวก็ทำบุญได้ แล้วทำไมจึงเป็นเช่นนี้
---------
ผมบอกว่า .... เราไม่เคยได้ยินธรรมกายบอกว่า-ญาติโยมทั้งหลาย อยู่ใกล้วัดไหน สะดวกวัดไหน หรือศรัทธาวัดไหน
ก็ขอให้ไปทำบุญกันที่วัดนั้นแหละ ไม่ต้องมาที่วัดธรรมกายหรอก ....
มีชาวธรรมกายท่านแย้งว่า คำแบบนั้นหลวงพ่อธัมมชโยท่านบอกเสมอ ไม่ใช่ไม่บอก ผมไปเอาอะไรมาพูด
......
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า
ทุกวันนี้สำนักธรรมกายก็ยังใช้วิธีไปเที่ยวดูดพระเณรตามวัดต่างๆ
ให้ไปรวมกันในกิจกรรมของธรรมกายอยู่เหมือนเดิม ล่าสุดตักบาตรสามเณรที่ราชบุรีก็ไปดูดสามเณรมาจากที่อื่นเป็นคันรถๆ
อย่างนี้จะอธิบายว่ากระไรจึงจะสมเหตุสมผลกับคำที่ว่า หลวงพ่อท่านบอกเสมอว่า อยู่ใกล้วัดไหนก็ให้ไปทำบุญวัดนั้น
ในเมื่อ “วัดนั้น” ธรรมกายดูดเอาพระเณรไปหมดวัดอยู่เรื่อย?
----------
เรื่องชวนให้สร้างศาสนสถานใหญ่โต ยังไม่ทราบว่าธรรมกายจะตอบอย่างไร แต่คำยืนยันที่เป็นของจริงดูได้ที่วัดพระธรรมกายเอง
อภิมโหฬารเหนือคำบรรยาย ธรรมกายที่ราชบุรีก็ไม่เบา กำลังไล่ที่ชาวบ้านเพื่อขยายอาณาจักรออกไปเรื่อยๆ
กรณีวัดอยู่ไกล กรณีโยมมาทำบุญที่ไม่พอนั่ง กรณีห้องน้ำไม่พอ กรณีห้องเรียนไม่พอกับจำนวนพระเณร เป็นต้น-
กรณีเช่นว่านี้เป็นคนละประเด็นกับที่มีคนตั้งคำถามเชิงประชดว่า จะไปสวรรค์ไปนิพพานในศาสนาพุทธนี่ต้องดูดคนมารวมกัน
เป็นหมื่นเป็นแสนก่อนจึงจะไปได้กระนั้นหรือ
........
ที่ว่ามาทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างที่ยืนยันว่า คำยืนยันกับข้อเท็จจริงบางทีก็ไม่ตรงกัน
------------
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ผมไม่มีความประสงค์จะรับโต้เถียงกับท่านผู้ใด เพียงแต่นำหลักต่างๆ ตามที่ผมรู้ผมเห็นมาแสดง
เพื่อให้ช่วยกันพิจารณา เป็นการศึกษา
ประเด็นไหนส่วนไหนที่ท่านเห็นว่าผมเข้าใจผิด หรือพูดผิด ทุกท่านย่อมมีสิทธิ์อธิบายด้วยเหตุด้วยผลด้วยข้อเท็จจริง
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นการช่วยกันบูรณาการองค์ความรู้ที่ถูกต้องให้แก่สังคม
.........
การพูดถึงธรรมกายของผมจึงไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานแห่งอคติใดๆ ทั้งสิ้น
ผมเพียงแต่เห็นว่า ในท่ามกลางกระแสเช่นนี้ควรถือเป็นโอกาสที่จะกระตุ้นเตือนกันและกันให้ศึกษาทำความเข้าใจ
มีคำสอนบางเรื่องของสำนักธรรมกายที่ผมอยากให้สังคมทำความเข้าใจและรู้ทันข้อเท็จจริง
มิใช่เพื่อให้เลิกนับถือหรือยกขบวนไปต่อต้าน
ท่านผู้ใดจะยังคงนับถือ ก็นับถือไป เพราะศรัทธาบังคับกันไม่ได้
การต่อต้านใดๆ ในลักษณะที่ไม่สุภาพ เช่นใช้คำหยาบคายด่าว่า เป็นสิ่งไม่ควรทำ แต่ควรมองกันด้วยเมตตาไมตรี
เมื่อการนับถือศาสนาห้ามศรัทธากันไม่ได้ การทำความเข้าใจเพื่อรู้ทันน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ทำความเข้าใจ-คือศึกษาเรียนรู้ว่า คำสอนที่ธรรมกายยกขึ้นมาเชิดชูนั้น ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทท่านแสดงไว้อย่างไร
เมื่อศึกษาเข้าใจแล้ว มีพื้นฐานพอที่จะรู้ทัน คือรู้ว่าผิดหรือถูก รู้ว่าตนควรมีท่าทีอย่างไรต่อคำสอนนั้นแล้ว
ต่อจากนั้นก็เป็นสิทธิเสรีภาพของแต่ละคนที่จะใช้วิจารณญาณได้เอง
เท่านี้ก็น่าจะพอ
.........
นั่นเป็นคำที่ผมบอกไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มเรื่องของบทความชุด “คำสอนที่สวนทาง” นี้ ขออนุญาตนำมาเป็นคำปิดเรื่องในที่สุดนี้ด้วยครับ
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๓๐ เมษายน ๒๕๕๙
๑๘:๓๔
ความคิดเห็นที่ 12
ยิ้มๆ...
การมีคุณธรรม การมีศีลธรรม การมีปัญญาญาณ(วิปัสสนาญาณ) ไม่ใช่สอบข้อเขียน การคิดวิเคราะห์ การเฉลียวฉลาดทางสมอง การสอบได้ปริญญา หรือเปรียณธรรม จนถึง 9 ประโยค
ดังนั้นไม่ว่าจะ จบปริญญา สูงสุดในโลก หรือเรียนธรรมบัญญัติจนได้เปรียญธรรม จนถึง 9 ประโยค เมื่อยังมีกิเลสตัณหาที่ อยากมีอยากเป็น และไม่อยากมีไม่อยากเป็นอยู่ ข้องอยู่ในโลกธรรมทั้งแปด( คู้ที่ 1.สุข ทุกข์ คู้ที่ 2.ติดในลาภและเสื่อมลาภ คู่ที่ 3.ติดในยศและเสื่อมยศ คู่ที่ 4.ติดในสรรเสริญและนิททา) ย่อมมีความเห็น หรือ ทิฏฐิ ที่คลาดเคลือนไได้ จนถึงผิดเป็นถูกได้ ด้วยทิฏฐิที่คลาดเคลื่อนจนผิดนั้นๆ จึงสอบธรรมผิด บิดคลาดเคลื่อนจนผิดได้ เป็นธรรมดา ด้วยสอนธรรมด้วยกิเลสด้วยทิฏฐิที่ตนเองติดแน่นอยู่ นั้นเอง.
การมีคุณธรรม การมีศีลธรรม การมีปัญญาญาณ(วิปัสสนาญาณ) ไม่ใช่สอบข้อเขียน การคิดวิเคราะห์ การเฉลียวฉลาดทางสมอง การสอบได้ปริญญา หรือเปรียณธรรม จนถึง 9 ประโยค
ดังนั้นไม่ว่าจะ จบปริญญา สูงสุดในโลก หรือเรียนธรรมบัญญัติจนได้เปรียญธรรม จนถึง 9 ประโยค เมื่อยังมีกิเลสตัณหาที่ อยากมีอยากเป็น และไม่อยากมีไม่อยากเป็นอยู่ ข้องอยู่ในโลกธรรมทั้งแปด( คู้ที่ 1.สุข ทุกข์ คู้ที่ 2.ติดในลาภและเสื่อมลาภ คู่ที่ 3.ติดในยศและเสื่อมยศ คู่ที่ 4.ติดในสรรเสริญและนิททา) ย่อมมีความเห็น หรือ ทิฏฐิ ที่คลาดเคลือนไได้ จนถึงผิดเป็นถูกได้ ด้วยทิฏฐิที่คลาดเคลื่อนจนผิดนั้นๆ จึงสอบธรรมผิด บิดคลาดเคลื่อนจนผิดได้ เป็นธรรมดา ด้วยสอนธรรมด้วยกิเลสด้วยทิฏฐิที่ตนเองติดแน่นอยู่ นั้นเอง.
แสดงความคิดเห็น
สงสัยไหมว่า วัดพระธรรมกายสอนผิด ทำไมการสอบบาลี สอบเปรียบธรรม จึงมี พระปธ.9 มากที่สุดในประเทศ พระมหาดร.ก็เยอะ!!!
ตั้งแต่เปิดการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ จนถึงปัจจุบัน ผ่านมาแล้ว ๒๙ ปี
โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ประจำจังหวัดปทุมธานี แห่งที่ ๒ (สำนักศาสนศึกษาวัดพระธรรมกาย)
มีผู้สำเร็จการศึกษาภาษาบาลีเปรียญธรรมประโยค ๙ (ป.ธ.๙) และบาลีศึกษา ๙ ประโยค (บ.ศ.๙) รวมทั้งหมด ๗๑ รูป/ท่าน ดังนี้
-ป.ธ.๙ (พระภิกษุสามเณร) รวมทั้งสิน ๖๖ รูป
-เป็นพระราชาคณะ ๑ รูป
-บ.ศ.๙ (อุบาสก อุบสิกา) รวมทั้งสิ้น ๕ คน
แปลกจัง ! ถ้าสอนผิดทำไมสอบผ่านเยอะขนาดนี้ แสดงว่า เขาก็สอนถูกซิ