http://akibatan.com/2017/03/special-scoop-books-and-how-they-were-made/#disqus_thread
เคยสงสัยกันไหมว่า กว่าที่จะเป็นหนังสือการ์ตูนหรือไลท์โนเวลให้เราได้ซื้อมาอ่านหรือมาสะสมกันได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนไหนหรือผ่านมือใครมาบ้างจนออกมาเป็นรูปเล่มสมบูรณ์ กว่าจะออกมาถึงมือเรานั้น มันผ่านขั้นตอน – กระบวนการอะไรบ้าง ลงทุนมากมายเพียงใด และใช้เวลาขนาดไหน
1.การติดต่อลิขสิทธิ์
ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำหนังสือแปลเลยก็ว่าได้ ในส่วนของขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนของการติดต่อล้วน ๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสำนักพิมพ์ต้นสังกัด ร่างสัญญา ทำข้อตกลง การชำระเงินค่าลิขสิทธิ์ และอะไรต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งเมื่อทุกอย่างลงตัวแล้ว สำนักพิมพ์ก็จะได้ต้นฉบับมา ไม่ว่าจะเป็น hard copy หรือ digital copy ซึ่งก็จะส่งต่อไปยังนักแปลในขั้นต่อไป
ในขั้นตอนนี้ก็ใช้เวลาประมาณ 3 – 6 เดือนเป็นอย่างต่ำ บางกรณีเรียกว่าเป็นปี ๆ เลยก็มี (บางครั้งก็อย่าได้แปลกใจไปว่า ทำไมกว่าเล่มนี้จะวางจำหน่าย ญี่ปุ่นฮือฮาจนกระแสหมดไปนับปีแล้ว นั่นไม่ใช่ว่าสำนักพิมพ์ไทยช้า แต่มันเป็นเงื่อนไขหลาย ๆ อย่างในด้านลิขสิทธิ์นั่นเอง) นอกจากนี้ ค่าลิขสิทธิ์ของแต่ละเรื่อง แต่ละเล่ม ก็ไม่เท่ากัน ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ มีผลต่อต้นทุนการผลิตหนังสือค่อนข้างมากทีเดียว
ในส่วนของหนังสือที่ตีพิมพ์หรืออัพโหลดแบบผิดกฎหมาย หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “การ์ตูนเถื่อน” จะไม่มีต้นทุนตรงนี้ แปลว่าการ์ตูนเถื่อนมีโอกาสตั้งราคาถูกกว่าการ์ตูนลิขสิทธิ์ได้ หรือสามารถหากำไรได้มากกว่าหนังสือมีลิขสิทธิ์ หรือกระทั่งการปล่อยให้อ่านฟรี เพราะไม่มีต้นทุนตรงนี้นั่นเอง
2.ขั้นตอนการแปล
เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการทำหนังสือเล่มหนึ่งเลยทีเดียว เพราะนักแปลมีหน้าที่ ที่จะต้องแปลผลงานจากอีกภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง ซึ่งนอกจากการแปลให้ได้เนื้อหาที่ครบถ้วนและถูกต้องแล้วยังต้องแปลออกมาให้ได้อรรถรสในการอ่าน และเลือกใช้คำที่สื่อความหมายออกมาชัดเจน
โดยส่วนใหญ่แล้วงานจะช้าหรือจะเร็วขั้นตอนนี้ก็เป็นอีกสาเหตุหลักเช่นกัน เพราะบางทีหานักแปลที่เหมาะสมไม่ได้ เนื่องจากบางงานจำเป็นต้องใช้นักแปลที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน รวมถึงนักแปลทำงานล่าช้าก็มี โดยปกติแล้วจะอยู่ที่ 1 – 3 เดือนสำหรับขั้นตอนนี้
3.กองบรรณาธิการ
มีหลายคนที่เชื่อกันว่า ขั้นตอนการทำหนังสือนั้นพอแปลจบแล้วก็พิมพ์ได้เลย แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ หลังจากแปลเสร็จสิ้นแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือการพิสูจน์อักษรซึ่งจะเป็นหน้าที่ของ กองบรรณาธิการ ที่กำหนดทิศทางของหนังสือเล่มนั้น เพราะผลงานที่แปลออกมาแล้วนั้นจะต้องผ่านการแก้ไขโดยบรรณาธิการ ทั้งเกลาเนื้อหาและภาษา ตลอดจนตรวจทานความถูกต้องของเนื้อหา คำผิด (พิสูจน์อักษร)
โดยส่วนมากแล้วการทำงานของกองบรรณาธิการทุกขั้นตอนนั้นจะทำประมาณ 1 – 3 รอบ แล้วแต่สำนักพิมพ์หรือความยากง่ายของงานซึ่งบางเรื่องก็มีการตรวจสอบกันถึง 3 – 4 รอบเลยก็มี สำหรับขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ตัววัดคุณภาพงานจะดีหรือไม่ดีนั้น อยู่ที่ขั้นตอนนี้นั่นเอง
4.จัดทำรูปเล่ม
ส่วนที่เป็นหน้าเป็นตาของหนังสือรวมอยู่ในขั้นตอนนี้ครับ ทุก ๆ อย่างตั้งแต่รูปแบบปก ภาพประกอบ จัดวางรูปแบบหน้า แต่งคำโปรย ใส่ effect เรียกได้ว่านอกจากเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรแล้วนั้น ตัวรูปแทบจะเป็นฝีมือของทีมกราฟฟิกทั้งสิ้น ซึ่งความช้าเร็วก็แล้วแต่ลักษณะและความยากง่ายของตัวงานที่ทำเช่นกัน (มังงะ / ไลท์โนเวล / นิยาย) ในส่วนนี้ใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์
5.ขั้นตอนการส่งตรวจและขออนุญาตจากต้นสังกัด
หลังจากเสร็จงานในส่วนของฝั่งไทยแล้วนั้น เช่นการแปล ตรวจทาน จัดรูปเล่ม จนแทบจะเหลือแค่ส่งโรงพิมพ์แล้ว ก็จะถึงขั้นตอนการส่งตัวงานไปยังสำนักพิมพ์ต้นสังกัด และ อ.ผู้แต่งผลงานชิ้นนั้น เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยและขออนุญาตในการจัดพิมพ์ ตรงจุดนี้ก็แตกต่างกันไปตามสัญญาและเงื่อนไขของแต่ละสำนักพิมพ์อีกเช่นกัน โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 1 – 2 เดือนเป็นอย่างต่ำหรืออาจมากกว่านั้น
***หลายๆ ครั้งที่หนังสือออกช้ามากๆ ก็มาจากขั้นตอนนี้
6.กระบวนการในการจัดพิมพ์
จากนั้นก็จะไปสู่ขั้นตอนของการจัดพิมพ์หรือการทำหนังสือออกมาเป็นรูปเล่มผ่านทางโรงพิมพ์ ซึ่งก็มีทั้ง จัดพิมพ์ลงบนกระดาษ ตัดแบ่งกระดาษออกเป็นหน้า ๆ ไสกาวเพื่อยืดรวมให้เป็นเล่มและนำไปประกอบกับปก รวมไปถึงขั้นตอนอื่น ๆ อีกมากมาย จนได้มาเป็นหนังสือที่จับต้องได้จริง ๆ สำหรับขั้นตอนนี้กินเวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์โดยประมาณ จากนั้นก็จะถูกระจายไปตามร้านหนังสือทั่วไปโดยสายส่ง จนมาถึงมือเราให้ได้อ่านกัน
***เวลาที่เขียนไว้ในข้างต้นของทุกขั้นตอนคือเวลาโดยประมาณ***
ตอนนี้เราก็รู้กันแล้วว่ากว่าจะออกมาเป็นหนังสือการ์ตูนหรือนิยาย 1 เล่มให้เราได้อ่านกันนั้น ต้องผ่านขั้นตอนมากมายทั้งการติดต่อชื้อลิขสิทธิ์ แปล ตรวจทาน จัดรูปเล่ม ไปจนถึงการพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่ม กว่าจะมาถึงมือเราก็ต้องใช้เวลาพอสมควร
กว่าจะมาเป็นหนังสือการ์ตูน/ไลท์โนเวล ในมือเรา
เคยสงสัยกันไหมว่า กว่าที่จะเป็นหนังสือการ์ตูนหรือไลท์โนเวลให้เราได้ซื้อมาอ่านหรือมาสะสมกันได้นั้น ต้องผ่านขั้นตอนไหนหรือผ่านมือใครมาบ้างจนออกมาเป็นรูปเล่มสมบูรณ์ กว่าจะออกมาถึงมือเรานั้น มันผ่านขั้นตอน – กระบวนการอะไรบ้าง ลงทุนมากมายเพียงใด และใช้เวลาขนาดไหน
1.การติดต่อลิขสิทธิ์
ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำหนังสือแปลเลยก็ว่าได้ ในส่วนของขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนของการติดต่อล้วน ๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสำนักพิมพ์ต้นสังกัด ร่างสัญญา ทำข้อตกลง การชำระเงินค่าลิขสิทธิ์ และอะไรต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งเมื่อทุกอย่างลงตัวแล้ว สำนักพิมพ์ก็จะได้ต้นฉบับมา ไม่ว่าจะเป็น hard copy หรือ digital copy ซึ่งก็จะส่งต่อไปยังนักแปลในขั้นต่อไป
ในขั้นตอนนี้ก็ใช้เวลาประมาณ 3 – 6 เดือนเป็นอย่างต่ำ บางกรณีเรียกว่าเป็นปี ๆ เลยก็มี (บางครั้งก็อย่าได้แปลกใจไปว่า ทำไมกว่าเล่มนี้จะวางจำหน่าย ญี่ปุ่นฮือฮาจนกระแสหมดไปนับปีแล้ว นั่นไม่ใช่ว่าสำนักพิมพ์ไทยช้า แต่มันเป็นเงื่อนไขหลาย ๆ อย่างในด้านลิขสิทธิ์นั่นเอง) นอกจากนี้ ค่าลิขสิทธิ์ของแต่ละเรื่อง แต่ละเล่ม ก็ไม่เท่ากัน ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ มีผลต่อต้นทุนการผลิตหนังสือค่อนข้างมากทีเดียว
ในส่วนของหนังสือที่ตีพิมพ์หรืออัพโหลดแบบผิดกฎหมาย หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “การ์ตูนเถื่อน” จะไม่มีต้นทุนตรงนี้ แปลว่าการ์ตูนเถื่อนมีโอกาสตั้งราคาถูกกว่าการ์ตูนลิขสิทธิ์ได้ หรือสามารถหากำไรได้มากกว่าหนังสือมีลิขสิทธิ์ หรือกระทั่งการปล่อยให้อ่านฟรี เพราะไม่มีต้นทุนตรงนี้นั่นเอง
2.ขั้นตอนการแปล
เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการทำหนังสือเล่มหนึ่งเลยทีเดียว เพราะนักแปลมีหน้าที่ ที่จะต้องแปลผลงานจากอีกภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง ซึ่งนอกจากการแปลให้ได้เนื้อหาที่ครบถ้วนและถูกต้องแล้วยังต้องแปลออกมาให้ได้อรรถรสในการอ่าน และเลือกใช้คำที่สื่อความหมายออกมาชัดเจน
โดยส่วนใหญ่แล้วงานจะช้าหรือจะเร็วขั้นตอนนี้ก็เป็นอีกสาเหตุหลักเช่นกัน เพราะบางทีหานักแปลที่เหมาะสมไม่ได้ เนื่องจากบางงานจำเป็นต้องใช้นักแปลที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน รวมถึงนักแปลทำงานล่าช้าก็มี โดยปกติแล้วจะอยู่ที่ 1 – 3 เดือนสำหรับขั้นตอนนี้
3.กองบรรณาธิการ
มีหลายคนที่เชื่อกันว่า ขั้นตอนการทำหนังสือนั้นพอแปลจบแล้วก็พิมพ์ได้เลย แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ หลังจากแปลเสร็จสิ้นแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือการพิสูจน์อักษรซึ่งจะเป็นหน้าที่ของ กองบรรณาธิการ ที่กำหนดทิศทางของหนังสือเล่มนั้น เพราะผลงานที่แปลออกมาแล้วนั้นจะต้องผ่านการแก้ไขโดยบรรณาธิการ ทั้งเกลาเนื้อหาและภาษา ตลอดจนตรวจทานความถูกต้องของเนื้อหา คำผิด (พิสูจน์อักษร)
โดยส่วนมากแล้วการทำงานของกองบรรณาธิการทุกขั้นตอนนั้นจะทำประมาณ 1 – 3 รอบ แล้วแต่สำนักพิมพ์หรือความยากง่ายของงานซึ่งบางเรื่องก็มีการตรวจสอบกันถึง 3 – 4 รอบเลยก็มี สำหรับขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ตัววัดคุณภาพงานจะดีหรือไม่ดีนั้น อยู่ที่ขั้นตอนนี้นั่นเอง
4.จัดทำรูปเล่ม
ส่วนที่เป็นหน้าเป็นตาของหนังสือรวมอยู่ในขั้นตอนนี้ครับ ทุก ๆ อย่างตั้งแต่รูปแบบปก ภาพประกอบ จัดวางรูปแบบหน้า แต่งคำโปรย ใส่ effect เรียกได้ว่านอกจากเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรแล้วนั้น ตัวรูปแทบจะเป็นฝีมือของทีมกราฟฟิกทั้งสิ้น ซึ่งความช้าเร็วก็แล้วแต่ลักษณะและความยากง่ายของตัวงานที่ทำเช่นกัน (มังงะ / ไลท์โนเวล / นิยาย) ในส่วนนี้ใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์
5.ขั้นตอนการส่งตรวจและขออนุญาตจากต้นสังกัด
หลังจากเสร็จงานในส่วนของฝั่งไทยแล้วนั้น เช่นการแปล ตรวจทาน จัดรูปเล่ม จนแทบจะเหลือแค่ส่งโรงพิมพ์แล้ว ก็จะถึงขั้นตอนการส่งตัวงานไปยังสำนักพิมพ์ต้นสังกัด และ อ.ผู้แต่งผลงานชิ้นนั้น เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยและขออนุญาตในการจัดพิมพ์ ตรงจุดนี้ก็แตกต่างกันไปตามสัญญาและเงื่อนไขของแต่ละสำนักพิมพ์อีกเช่นกัน โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 1 – 2 เดือนเป็นอย่างต่ำหรืออาจมากกว่านั้น
***หลายๆ ครั้งที่หนังสือออกช้ามากๆ ก็มาจากขั้นตอนนี้
6.กระบวนการในการจัดพิมพ์
จากนั้นก็จะไปสู่ขั้นตอนของการจัดพิมพ์หรือการทำหนังสือออกมาเป็นรูปเล่มผ่านทางโรงพิมพ์ ซึ่งก็มีทั้ง จัดพิมพ์ลงบนกระดาษ ตัดแบ่งกระดาษออกเป็นหน้า ๆ ไสกาวเพื่อยืดรวมให้เป็นเล่มและนำไปประกอบกับปก รวมไปถึงขั้นตอนอื่น ๆ อีกมากมาย จนได้มาเป็นหนังสือที่จับต้องได้จริง ๆ สำหรับขั้นตอนนี้กินเวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์โดยประมาณ จากนั้นก็จะถูกระจายไปตามร้านหนังสือทั่วไปโดยสายส่ง จนมาถึงมือเราให้ได้อ่านกัน
***เวลาที่เขียนไว้ในข้างต้นของทุกขั้นตอนคือเวลาโดยประมาณ***
ตอนนี้เราก็รู้กันแล้วว่ากว่าจะออกมาเป็นหนังสือการ์ตูนหรือนิยาย 1 เล่มให้เราได้อ่านกันนั้น ต้องผ่านขั้นตอนมากมายทั้งการติดต่อชื้อลิขสิทธิ์ แปล ตรวจทาน จัดรูปเล่ม ไปจนถึงการพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่ม กว่าจะมาถึงมือเราก็ต้องใช้เวลาพอสมควร