งานราชการ vs งานสายเอกชน

ต้องเรียนสมาชิกทุกท่านครับ  ว่างานทั้งสองสายมีข้อดีข้อเสีย

ผมขอนับองค์กรอิสระเข้าไปในหมวดงานราชการนะครับ  

ผมเองก็อยู่ในช่วงที่กำลังตัดสินใจว่าจะไปสายไหน   ยอมรับกำลังชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียครับ

พอดีที่ผ่านมาทำแต่เอกชนมา 9 ปี  (ไม่นับช่วงที่ไม่ได้ทำงาน) สายธนาคาร

แต่หลังๆยอมรับว่างานราชการก็มีข้อดีพอควร  ข้อเสียหลักๆคือ รายได้จะค่อนข้างน้อยครับ  ถ้าไม่สามารถไต่เต้าไปไกลๆได้

เป็นจังหวะที่กำลังว่างงาน  เลยกำลังตัดสินใจครับ

ยอมรับว่าคิดช้าไปหรือปล่าวครับ  รับราชการ ตอน 30กว่าๆ

พอดียังไม่ได้มีครอบครัวเลยยังไม่ได้มีรายจ่ายมากมาย

ท่านไหนมี Comment เชิญครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
อยู่ที่ ไลฟ์สไตล์ จังหวะ โอกาส ฯลฯ ครับ

งานราชการ
พูดถึงเฉพาะ ข้าราชการ เท่านั้น เพราะถือเป็นขั้นสุดแล้วของงานราชการ
(ไม่พูดถึง พนักงานราชการ, ลูกจ้าง หรือ บุคลากรประเภทอื่น)
- เงินเดือนแรกบรรจุ
    ข้าราชการประเภทวิชาการทั่วๆไป (ข้าราชการที่บรรจุด้วยวุฒิปริญญา)
    - ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ช่วงเงินเดือนแรกบรรจุ 15,000 – 16,500 บาท
    - ระดับปริญญาโท ช่วงเงินเดือนแรกบรรจุ 17,500 – 19,250 บาท
    - ระดับปริญญาเอก ช่วงเงินเดือนแรกบรรจุ 21,000 – 23,100 บาท
    -  บางตำแหน่งในทุกส่วนราชการ อาจะจะมีเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้
       เช่น นิติกร ได้รับ 3,000 - 6,000 บาท แล้วแต่ระดับ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
       http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/files/salary/w2-2554.pdf
       บางองค์กร อาจจะมีเงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษ หรือที่เรียกอย่างอื่นให้
       เช่น ศาล, ปปช., กรมสอบสวนคดีพิเศษ, รัฐสภา ฯลฯ
       ทำให้รายรับรวมจะมากกว่าข้าราชการบางกลุ่มครับ เช่น
       พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ เงินเดือน 15,000 +
       ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับตำแหน่ง 7,000 +
       เงินส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการที่ดีของข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง 6,000
       รวม พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ ทำงานครบ 1 ปี รวมรายรับ/เดือน 28,000 บาท
       http://www.admincourt.go.th/00_web/08_service/08_service_center/16/1681.pdf
       http://www.admincourt.go.th/00_web/08_service/08_service_center/16/1682.pdf
       ข้อมูล เปรียบเทียบเงินเพิ่มพิเศษ, เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ
       http://www.vichakankunapab.com/forum/index.php?topic=81.0
- สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ พื้นฐานของข้าราชการ
   - เบิกค่ารักษาพยาบาล 5 คน
      พ่อ โดยชอบด้วยกฎหมาย
      แม่
      ลูก โดยชอบด้วยกฎหมาย 3 คน
      เมีย โดยชอบด้วยกฎหมาย
      ตัวเอง
      http://www.ocsc.go.th/OCSC/TH/uploads/File/hospital.pdf
   - การลา 11 ประเภท
      ลาพักผ่อน
      ลากิจ
      ลาป่วย
      ลา...
   - ค่าเล่าเรียนบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย 3 คน
      http://www.ocsc.go.th/OCSC/TH/uploads/File/child%20edu.pdf
   - บำเหน็จบำนาญ
      http://www.ocsc.go.th/OCSC/TH/uploads/File/pension.pdf
   - สิทธิพิเศษในการกู้เงิน
      OT
      ฯลฯ
   - สหกรณ์และณาปนกิจสงเคราะห์

ประสบการณ์
- ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและองค์กรครับ
  เอาภาพรวม ก็สามารถทำหน้าที่ที่เอกชนไม่สามารถปฏิบัติได้
  เช่น การบังคับใช้กฎหมาย การมีส่วนร่วมในการบริการสาธารณะบางอย่าง ฯลฯ

ข้อเสนอแนะ
งานราชการ ถ้าเริ่มตั้งแต่อายุน้อยๆ ด้วยคุณวุฒิระดับปริญญา ยิ่งมี ป.โท ป.เอก จะยิ่งก้าวไกล
หากตั้งใจจะทำงานราชการแน่วแน่ ก็ควรเริ่มตั้งแต่อายุน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้

ข้อดี
- มีความมั่นคงสูงงงงงงงงงง เกินจะหาใดเปรียบ
  แม้หน่วยงานยุบเลิก ข้าราชการก็ไม่โดนให้ออก แต่จะได้โอนย้ายไปอยู่หน่วยงานอื่นแทน
  แม้เศรษฐกิจไม่ดีปานใด ข้าราชการก็ยังอยู่ได้ไม่ต้องกลัวตกงาน
- ฐานเงินเดือน สวัสดิการเท่ากันทั่วประเทศ
  หากเป็นคนต่างจังหวัด ทำงานเอกชนได้เงินเยอะใน กทม. จริง
  แต่ถ้าอยากกลับไปอยู่บ้าน ก็หาองค์กรเอกชนที่ได้เท่ากับที่ทำใน กทม. ยาก
  แต่ถ้าเป็นข้าราชการ หากโอนย้ายได้ ก็โอนไปได้หมดทั้งฐานเงินเดือนและสิทธิสวัสดิการ

ข้อเสีย
- หากไปอยู่ในตำแหน่ง-องค์กร ที่ไม่ค่อยแจ่ม
   สมองอาจจะฝ่อ ไม่พัฒนา หมดไฟ
- การแข่งขันสูง บรรจุเข้ารับราชการยาก มีกระบวนการสอบหลายขั้นตอน
- บางคนชอบใช้อคติมอง มองในแง่ลบ บางทีก็บั่นทอนกำลังใจ
- ฯลฯ

------------------------------------

เอกชน
- เงินเดือน ไม่แน่นอนแล้วแต่องค์กร บางแห่งมากกว่าข้าราชการ บางแห่งน้อยกว่าข้าราชการเสียอีก
- สวัสดิการ
   - ประกันสังคมยืนพื้น บางแห่งดีหน่อยมีประกันสุขภาพ/อุบัติเหตุ ให้
   - สิทธิการลาประเภทต่างๆ ยืนพื้นตามกฎหมายแรงงาน
   - สิทธิต่างๆ ตามกฎหมายแรงงาน เช่น เงินทดแทน เงินชดเชย ฯลฯ
   - บางแห่งมีโบนัส บางแห่งไม่มี
   - OT
   - สิทธิประโยชน์อื่นๆ แล้วแต่ตำแหน่ง เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าเสื่อมรถ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก กรณีเป็นพนักงานขาย
   - ฯลฯ

ประสบการณ์
- ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและองค์กรครับ
  เอาภาพรวม เอกชนค่อนข้างใช้งานคุ้ม พนักงานอายุงานน้อยๆ แต่ได้เงินเดือนเยอะยิ่งใช้คุ้มครับ

ข้อเสนอแนะ
หากจะทำงานเอกชน
ควรดูรายได้รวมเปรียบเทียบกับเงินเดือนข้าราชการ
ควรจะมากกว่าข้าราชการอย่างน้อยๆ 1.5 - 2 เท่า ขึ้นไป ในระดับคุณวุฒิเดียวกัน
ถ้าน้อยกว่านี้ก็ควรคิดหนักหน่อย
ปัจจัยเรื่องขนาดและความมั่นคงขององค์กร ก็ควรนำมาพิจารณา
เช่น ระหว่าง อู่ซ่อมรถยนต์เล็กๆ แถวบ้าน กับ ศูนย์บำรุงรักษารถยนต์ของบริษัทขนาดใหญ่ เป็นต้น
เรื่อง สวัสดิการต่างๆ เอกชนบางที่ก็ไม่ได้น้อยหน้าข้าราชการเลย เช่น
http://www.hondaunion.org/index.php?option=com_content&view=article&id=10&Itemid=18
http://www.thaitheparos.com/welfare.php
http://www.ajinomoto.co.th/job_vacancy.php?dataPage=3
http://www.homepro.co.th/news/hr-news/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%97
http://www.daikinthai.com/daikinthai/index.php?option=com_content&view=article&id=69&Itemid=287&lang=th
http://www.hinomanufacturing.co.th/th/Welfare.aspx

ข้อดี
เนื่องจากเอกชนจะใช้งานบุคลากรคุ้ม จึงทำให้ลูกจ้าง/พนักงานเอกชนได้รับประสบการณ์ในการทำงานสูง ท้าทาย พัฒนาตนเอง

ข้อเสีย
ความมั่นคงต่ำ แม้จะเป็นบริษัทใหญ่โต ตำแหน่งใหญ่ๆ ก็มีโอกาสตกงานได้ง่ายๆ
ลองดูข่าวที่ผ่านๆมา บริษัทใหญ่ๆ ปลดพนักงานเยอะแยะแบบไม่น่าเชื่อ เช่น
http://prachatai.com/journal/2015/09/61608
https://www.thansettakij.com/2016/07/11/69570
http://www.mol.go.th/content/51473/1467720896
http://ppantip.com/topic/35333035
สถาบันทางการเงินไม่ค่อยให้ความเชื่อถือ
การจะกู้ได้เท่าข้าราชการ อาจจะต้องมีฐานเงินเดือนสูงกว่ามาก และต้องมีอายุงานพอสมควร
สวัสดิการไม่เท่ากันในแต่ละองค์กร หากอยู่องค์กรขนาดเล็ก สวัสดิการอะไรๆก็น้อยตาม
เงินเดือนก็เช่นกัน ไม่มีฐานที่แน่นอน
ส่วนใหญ่องค์กรดีๆ ก็จะกระจุกตัวอยู่ กทม. และ ปริมณฑล
หากเป็นคนต่างจังหวัด อยากกลับไปทำงานแถวบ้าน ก็คงหางานเอกชนเงินเดือนดี มีความมั่นคงสูงได้ยาก

ที่พอนึกออกตอนนี้ก็มีเท่านี้ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่