หลายๆคนเมื่อได้เห็นภาพนี้จาก
http://www.gearbest.com/living-appliances/pp_436540.html อาจจะคิดว่าสิ่งที่เห็นนั้นคือเมาส์ (mouse) ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์นะครับ 555 และอาจจะสงสัยต่อว่าเจ้าเมาส์ที่ว่านี้จะมาเกี่ยวข้องกับการซักเสื้อผ้าได้ยังไงกัน!!
ซึ่งอันที่จริงวัตถุรูปร่างคล้ายเมาส์นี่ เค้ามีชื่อเรียกว่า "เครื่องซักผ้าอัลตร้าโซนิกแบบพกพา" (Mini-ultrasonic washing machines) ที่เริ่มจะมีการโฆษณาขายในประเทศไทยแล้ว ><
ซึ่งมีการเคลมกันว่ามันสามารถที่จะปล่อยคลื่นเสียงที่มีความถี่สูง (Ultrasonic) ที่สามารถช่วยทำให้เราสามารถซักผ้าได้สะอาด โดยที่ประหยัดน้ำและผงซักฟอกได้ โดยที่สามารถพกพาไปไหนต่อไหนได้สะดวกเลยทีเดียว
โดยที่วันนี้ผมจะมาเล่าถึง #ข้อเท็จจริงของเครื่องซักผ้าอัลตร้าโซนิกแบบพกพา ให้ฟังกันนะครับ
ปกติแล้วคลื่นเสียง ultrasonic นี้ได้มีการใช้งานในการช่วยทำความสะอาดวัสดุต่างๆได้ดีทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุที่เป็นโลหะหรือพลาสติกที่มีซอกเล็กๆให้สิ่งสกปรกหลุดออกมาได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นแว่นตา เครื่องประดับต่างๆ หรือแม้กระทั่งผลไม้ต่างๆ เป็นต้น
ซึ่งวัสดุเหล่านี้เมื่อได้รับแรงกระแทกจากคลื่นเสียง ultrasonic ที่ทำให้เกิดฟองกาศที่สามารถซอกซอนเข้าสู่ซอกเล็กๆที่มีสิ่งสกปรกเกาะอยู่ก็จะทำให้ประสิทธิภาพการทำความสะอาดได้ดีขึ้น ยิ่งถ้าใช้สารซักล้างบางตัวผสมลงไปด้วยแล้วก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำความสะอาดได้ดีขึ้นไปอีก
แต่การนำเจ้าคลื่นเสียง ultrasonic มาช่วยซักผ้าโดยการจุ่มเจ้า "วัตถุคล้ายเมาส์" นี้ลงไปในน้ำซักผ้านั้นกลับเป็นเรื่องที่ถือว่า "เท็จ" ครับ
เพราะอะไร??? หลายๆคนก็คงจะสงสัยว่า ก็ในเมื่อแว่นตาหรือเครื่องประดับเหล่านี้ ต่างก็สามารถทำความสะอาดได้ดีนี่นา!!
คำตอบก็คือว่า วัสดุที่สามารถทำความสะอาดด้วยคลื่นเสียง ultrasonic เหล่านี้นั้นจะต้องมีความแข็งเกร็ง (rigidity) และมีลักษณะพื้นผิวที่แข็ง (hard surface) ครับ จึงจะทำให้แรงกระแทกที่เป็นแรงกิริยา (action) ส่งไปนั้นไม่เกิดการสูญเสีย ส่งผลทำให้เกิดแรงปฏิกิริยา (reaction) ที่จะทำให้สิ่งสกปรกหลุดออกมาได้ดีขึ้นน่ะครับ
แต่ผ้าที่เรานำมาซักนั้นเป็นวัสดุที่ไม่ได้แข็งเกร็งเอาซะเลย แถมยังเกิดการพริ้วไหว (flexible) จนทำให้ผ้านั้นเกิดการซับแรง (absorb) ส่งผลทำให้เกิดการสูญเสีย (loss) ก่อนที่จะเกิดการกระแทกโดยตรงจากคลื่นเสียง ultrasonic ทำให้แรงปฏิกิริยานั้นไม่เกิดขึ้นครับ
ซึ่งถามว่าจริงๆแล้วเจ้าคลื่นเสียง ultrasonic สามารถใช้ช่วยทำความสะอาดผ้าได้มั้ย?? จริงๆก็ช่วยได้ในกรณีของ "ผ้าที่ขึงจนตึง" เท่านั้นครับ เพราะผ้าที่ขึงจนตึงนั้นจะมีความแข็งเกร็งและไม่สามารถพริ้วไหวได้ตามแรงกระแทกของคลื่นเสียง ultrasonic ครับ
แต่การที่จะนำ "วัตถุคล้ายเมาส์" ดังกล่าวมาเพียงจุ่มน้ำซักที่มีผ้าแช่อยู่นั้น กลับไม่มี "หลักฐานงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ" มายืนยันประสิทธิภาพได้ มีเพียงแต่ "คำโฆษณาอันสวยหรู" ที่สร้างความ "ได๋ใหม่ยุ้ย" (มาจากนามสกุลของสามสาวอันประกอบไปด้วย "จงจินตนาการ-เกิดนิมิตร-มโนแจ่ม" ที่มาเสริมความเชื่อ) ให้แก่ผู้ที่พร้อมจะเชื่ออยู่เสมอ
และเป็นเครื่องมือที่ถือว่า "สามารถซักเงินในกระเป๋าออกได้สะอาด กว่าซักสิ่งสกปรกออกจากเนื้อผ้า" ได้นะครับ
ดังนั้นเก็บตังค์ของท่านไว้ทำอย่างอื่นน่าจะคุ้มค่ากว่าเป็นไหนๆครับ ^^
#วัตถุคล้ายเมาส์อันแสนมโน
#วิทยาศาสตร์เทียมมาอีกแว้ววว
#ตรรกวิบัติของการซักผ้าแบบพกพา
ที่มา
https://www.facebook.com/textile.phys.and.chem/photos/a.507291945975911.112460.506996079338831/1438481272856969/?type=3&theater
มาทำความรู้จัก "เครื่องซักผ้าอัลตร้าโซนิกแบบพกพา" กันนะครับว่าใช้งานได้ "จริง" หรือ "เท็จ" กันแน่!!
ซึ่งอันที่จริงวัตถุรูปร่างคล้ายเมาส์นี่ เค้ามีชื่อเรียกว่า "เครื่องซักผ้าอัลตร้าโซนิกแบบพกพา" (Mini-ultrasonic washing machines) ที่เริ่มจะมีการโฆษณาขายในประเทศไทยแล้ว ><
ซึ่งมีการเคลมกันว่ามันสามารถที่จะปล่อยคลื่นเสียงที่มีความถี่สูง (Ultrasonic) ที่สามารถช่วยทำให้เราสามารถซักผ้าได้สะอาด โดยที่ประหยัดน้ำและผงซักฟอกได้ โดยที่สามารถพกพาไปไหนต่อไหนได้สะดวกเลยทีเดียว
โดยที่วันนี้ผมจะมาเล่าถึง #ข้อเท็จจริงของเครื่องซักผ้าอัลตร้าโซนิกแบบพกพา ให้ฟังกันนะครับ
ปกติแล้วคลื่นเสียง ultrasonic นี้ได้มีการใช้งานในการช่วยทำความสะอาดวัสดุต่างๆได้ดีทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุที่เป็นโลหะหรือพลาสติกที่มีซอกเล็กๆให้สิ่งสกปรกหลุดออกมาได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นแว่นตา เครื่องประดับต่างๆ หรือแม้กระทั่งผลไม้ต่างๆ เป็นต้น
ซึ่งวัสดุเหล่านี้เมื่อได้รับแรงกระแทกจากคลื่นเสียง ultrasonic ที่ทำให้เกิดฟองกาศที่สามารถซอกซอนเข้าสู่ซอกเล็กๆที่มีสิ่งสกปรกเกาะอยู่ก็จะทำให้ประสิทธิภาพการทำความสะอาดได้ดีขึ้น ยิ่งถ้าใช้สารซักล้างบางตัวผสมลงไปด้วยแล้วก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำความสะอาดได้ดีขึ้นไปอีก
แต่การนำเจ้าคลื่นเสียง ultrasonic มาช่วยซักผ้าโดยการจุ่มเจ้า "วัตถุคล้ายเมาส์" นี้ลงไปในน้ำซักผ้านั้นกลับเป็นเรื่องที่ถือว่า "เท็จ" ครับ
เพราะอะไร??? หลายๆคนก็คงจะสงสัยว่า ก็ในเมื่อแว่นตาหรือเครื่องประดับเหล่านี้ ต่างก็สามารถทำความสะอาดได้ดีนี่นา!!
คำตอบก็คือว่า วัสดุที่สามารถทำความสะอาดด้วยคลื่นเสียง ultrasonic เหล่านี้นั้นจะต้องมีความแข็งเกร็ง (rigidity) และมีลักษณะพื้นผิวที่แข็ง (hard surface) ครับ จึงจะทำให้แรงกระแทกที่เป็นแรงกิริยา (action) ส่งไปนั้นไม่เกิดการสูญเสีย ส่งผลทำให้เกิดแรงปฏิกิริยา (reaction) ที่จะทำให้สิ่งสกปรกหลุดออกมาได้ดีขึ้นน่ะครับ
แต่ผ้าที่เรานำมาซักนั้นเป็นวัสดุที่ไม่ได้แข็งเกร็งเอาซะเลย แถมยังเกิดการพริ้วไหว (flexible) จนทำให้ผ้านั้นเกิดการซับแรง (absorb) ส่งผลทำให้เกิดการสูญเสีย (loss) ก่อนที่จะเกิดการกระแทกโดยตรงจากคลื่นเสียง ultrasonic ทำให้แรงปฏิกิริยานั้นไม่เกิดขึ้นครับ
ซึ่งถามว่าจริงๆแล้วเจ้าคลื่นเสียง ultrasonic สามารถใช้ช่วยทำความสะอาดผ้าได้มั้ย?? จริงๆก็ช่วยได้ในกรณีของ "ผ้าที่ขึงจนตึง" เท่านั้นครับ เพราะผ้าที่ขึงจนตึงนั้นจะมีความแข็งเกร็งและไม่สามารถพริ้วไหวได้ตามแรงกระแทกของคลื่นเสียง ultrasonic ครับ
แต่การที่จะนำ "วัตถุคล้ายเมาส์" ดังกล่าวมาเพียงจุ่มน้ำซักที่มีผ้าแช่อยู่นั้น กลับไม่มี "หลักฐานงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ" มายืนยันประสิทธิภาพได้ มีเพียงแต่ "คำโฆษณาอันสวยหรู" ที่สร้างความ "ได๋ใหม่ยุ้ย" (มาจากนามสกุลของสามสาวอันประกอบไปด้วย "จงจินตนาการ-เกิดนิมิตร-มโนแจ่ม" ที่มาเสริมความเชื่อ) ให้แก่ผู้ที่พร้อมจะเชื่ออยู่เสมอ
และเป็นเครื่องมือที่ถือว่า "สามารถซักเงินในกระเป๋าออกได้สะอาด กว่าซักสิ่งสกปรกออกจากเนื้อผ้า" ได้นะครับ
ดังนั้นเก็บตังค์ของท่านไว้ทำอย่างอื่นน่าจะคุ้มค่ากว่าเป็นไหนๆครับ ^^
#วัตถุคล้ายเมาส์อันแสนมโน
#วิทยาศาสตร์เทียมมาอีกแว้ววว
#ตรรกวิบัติของการซักผ้าแบบพกพา
ที่มา https://www.facebook.com/textile.phys.and.chem/photos/a.507291945975911.112460.506996079338831/1438481272856969/?type=3&theater