สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
เคสนี้แปลก ๆ ผ่านไป 12 ว้นยังหาเตียงไม่ได้ อาจจะมีปัจจัยอื่นที่ทำให้ไม่มี รพ.ไหนรับ
รพ.ใหญ่ๆ ในกรุงเทพ ปริมณฑล ก็เป็นแบบนี้หมดครับ เน้นมาตรฐาน ฝึกหมอ นักเรียนแพทย์ เตียงจำกัดเต็มคือเต็ม ไม่รับ ยิ่งคนไข้ต้องใช้ ICU แบบของ จขกท. เป็น ICU แผนกอายุรกรรม บอกเลย โอกาสว่างยากมาก ถ้าไม่มีคนตาย และคนไข้ในรพ.ไม่แย่ลง ซึ่งรพ.ใหญ่ ๆ เคสก็หนัก ๆ มีโอกาสต้องใช้ ICU ตลอดเวลา สมมุติ ถ้าเตียง ICU ว่างลงมีคนไข้หนักในตึกจำเป็นต้องใช้ ICU แต่มีความไม่ว่างทำให้ต้องอยู่ด้านนอกไปก่อน หมอคงไม่รับคนไข้จากเอกชนมาหรอกครับ รับของ รพ.ตัวเองก่อนอยู่แล้ว และก็มักมีเส้นบิ๊กเบิ้ม ที่จำเป็นต้องอยู่ ต้องได้ ก็ต้องเห็นใจครับ ระบบ ทำให้เป็นแบบนี้ ทำให้รพ. เจ้ง ขาดทุน ถ้าไม่มีพวกผู้สนับสนุน ก็เจริญยาก ขนาด ศิริราช รามา จุฬา คุณไปดูเถอะมีทุกวิถีทางหาเงิน ตจว. ก็วิ่งการกุศล ทอดผ้าป่า เดินสายไหว้ผู้ใหญ่ในจังหวัด เข้าวัดหาหลวงพ่อ คือปัญหาแบบนี้ สปสช. ผู้ใหญ่ในกระทรวงก็ไม่แก้ครับ เรื่องผลประโยชน์ทั้งนั้น คนลำบากก็หมอ ๆ ที่ทำงานให้ถูกด่าเช้าเย็นนั่นแหละ
รพ.ต่างจังหวัด ไม่มีเตียงเต็ม นอนกันยันบันได ทางเดิน แน่นขนัด หมอก็งานมาก พยาบาลก็งานมาก หลุดมาตรฐานเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้าง เน้นจำนวน อันนี้ต้องบอกคน ตจว. โชคดีมาก แต่ต้องแลกด้วยความไม่เพรียบพร้อม เหมือนในกรุงเทพ แต่หมอก็อยู่ยากอีก สมัยนี้นิด ๆ หน่อย ๆ ถ่ายรูปถ่ายวีดีโอ จะฟ้องๆ ขู่ยิง ขู่ทำร้ายหมอ ก็งานล้นมือขนาดนี้จะเอามาตรฐานแบบ กรุงเทพ กันอีก
สรุป ปัญหา อยู่ที่ระบบ มันแย่ แต่ จขกท. รับไม่ได้กับระบบ หาทางเลือกที่ดีกว่า ออกไปเอกชน แต่ก็พบว่าค่ารักษาเกินที่มี กรณีนี้ คงยากที่จะให้ สปสช. จ่าย เค้าก็อ้างได้ ว่าไม่ฉุกเฉินแล้ว
จขกท. เล่าผิด ไม่ก็รพ. เอกชน ผิด ไม่มีทางที่เคสที่ใช้ เครื่องช่วยหายใจ และ ICU ใน รพ.เอกชนจะ แค่วันละหลักพัน ขอโทษ รพ.รัฐทุกที่ ต่อวันยังแพงกว่าที่คุณบอกมาเลย เวลาไปเอกชน คุณจะคิดแค่ค่าห้องไม่ได้ ต้องดูตัวโรคด้วย คือแบบนี้ต้องคุยกับ หมอ รพ.ที่เริ่มชักนะ ผมว่าเค้ามีวิถีทางที่ดีและคำแนะนำดี ๆ เพราะต้องไม่ลืมว่าเคสแบบนี้ญาติพาไป รพ.เองไม่ได้ หมอต้องมีการส่งเวร มีการติดต่อ คุยกันเอง มีทีมเคลื่อนย้าย ย่อมทราบแนวทางรักษาและค่าใช้จ่าย ถ้าญาติคนป่วยรวมทั้ง จขกท. ไม่ได้คุยยากเกินไป หรือหมอห่วยเกินไป ก็ไม่ควรเกิดเหตุการณ์ แบบนี้นะ เห็นใจทุกฝ่าย
รพ.ใหญ่ๆ ในกรุงเทพ ปริมณฑล ก็เป็นแบบนี้หมดครับ เน้นมาตรฐาน ฝึกหมอ นักเรียนแพทย์ เตียงจำกัดเต็มคือเต็ม ไม่รับ ยิ่งคนไข้ต้องใช้ ICU แบบของ จขกท. เป็น ICU แผนกอายุรกรรม บอกเลย โอกาสว่างยากมาก ถ้าไม่มีคนตาย และคนไข้ในรพ.ไม่แย่ลง ซึ่งรพ.ใหญ่ ๆ เคสก็หนัก ๆ มีโอกาสต้องใช้ ICU ตลอดเวลา สมมุติ ถ้าเตียง ICU ว่างลงมีคนไข้หนักในตึกจำเป็นต้องใช้ ICU แต่มีความไม่ว่างทำให้ต้องอยู่ด้านนอกไปก่อน หมอคงไม่รับคนไข้จากเอกชนมาหรอกครับ รับของ รพ.ตัวเองก่อนอยู่แล้ว และก็มักมีเส้นบิ๊กเบิ้ม ที่จำเป็นต้องอยู่ ต้องได้ ก็ต้องเห็นใจครับ ระบบ ทำให้เป็นแบบนี้ ทำให้รพ. เจ้ง ขาดทุน ถ้าไม่มีพวกผู้สนับสนุน ก็เจริญยาก ขนาด ศิริราช รามา จุฬา คุณไปดูเถอะมีทุกวิถีทางหาเงิน ตจว. ก็วิ่งการกุศล ทอดผ้าป่า เดินสายไหว้ผู้ใหญ่ในจังหวัด เข้าวัดหาหลวงพ่อ คือปัญหาแบบนี้ สปสช. ผู้ใหญ่ในกระทรวงก็ไม่แก้ครับ เรื่องผลประโยชน์ทั้งนั้น คนลำบากก็หมอ ๆ ที่ทำงานให้ถูกด่าเช้าเย็นนั่นแหละ
รพ.ต่างจังหวัด ไม่มีเตียงเต็ม นอนกันยันบันได ทางเดิน แน่นขนัด หมอก็งานมาก พยาบาลก็งานมาก หลุดมาตรฐานเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้าง เน้นจำนวน อันนี้ต้องบอกคน ตจว. โชคดีมาก แต่ต้องแลกด้วยความไม่เพรียบพร้อม เหมือนในกรุงเทพ แต่หมอก็อยู่ยากอีก สมัยนี้นิด ๆ หน่อย ๆ ถ่ายรูปถ่ายวีดีโอ จะฟ้องๆ ขู่ยิง ขู่ทำร้ายหมอ ก็งานล้นมือขนาดนี้จะเอามาตรฐานแบบ กรุงเทพ กันอีก
สรุป ปัญหา อยู่ที่ระบบ มันแย่ แต่ จขกท. รับไม่ได้กับระบบ หาทางเลือกที่ดีกว่า ออกไปเอกชน แต่ก็พบว่าค่ารักษาเกินที่มี กรณีนี้ คงยากที่จะให้ สปสช. จ่าย เค้าก็อ้างได้ ว่าไม่ฉุกเฉินแล้ว
จขกท. เล่าผิด ไม่ก็รพ. เอกชน ผิด ไม่มีทางที่เคสที่ใช้ เครื่องช่วยหายใจ และ ICU ใน รพ.เอกชนจะ แค่วันละหลักพัน ขอโทษ รพ.รัฐทุกที่ ต่อวันยังแพงกว่าที่คุณบอกมาเลย เวลาไปเอกชน คุณจะคิดแค่ค่าห้องไม่ได้ ต้องดูตัวโรคด้วย คือแบบนี้ต้องคุยกับ หมอ รพ.ที่เริ่มชักนะ ผมว่าเค้ามีวิถีทางที่ดีและคำแนะนำดี ๆ เพราะต้องไม่ลืมว่าเคสแบบนี้ญาติพาไป รพ.เองไม่ได้ หมอต้องมีการส่งเวร มีการติดต่อ คุยกันเอง มีทีมเคลื่อนย้าย ย่อมทราบแนวทางรักษาและค่าใช้จ่าย ถ้าญาติคนป่วยรวมทั้ง จขกท. ไม่ได้คุยยากเกินไป หรือหมอห่วยเกินไป ก็ไม่ควรเกิดเหตุการณ์ แบบนี้นะ เห็นใจทุกฝ่าย
ความคิดเห็นที่ 10
ด้วยความเคารพ
หลายๆครั้งผมก็ไม่เข้าใจคนที่(พอมี)นะครับ
ทำไมไม่ทำประกัน
เช่นเพื่อนผมบางคร
สมมุติประกันสุขภาพ จ่ายทิ้งปีละ 1-2 หมื่น ไม่จ่าย
แต่เปลี่ยนมือถือทุกปี ก็พอๆกัน
บางคนเปลี่ยนมือถือ แต่งรถ กินหรู อื่นๆ ถ้าตัดๆไป
ก็ปีละ 1-2 หมื่น พอกัน
แต่ป่วยมาเจอแบบนี้ ก็ช็อกครับ
ซื้อประกันๆเถอะครับ
ได้รักษาเอกชน ชิวๆ บริการดีๆ
จ่ายสบายๆ ครับ(ส่วนต่างแยก)
หลายๆครั้งผมก็ไม่เข้าใจคนที่(พอมี)นะครับ
ทำไมไม่ทำประกัน
เช่นเพื่อนผมบางคร
สมมุติประกันสุขภาพ จ่ายทิ้งปีละ 1-2 หมื่น ไม่จ่าย
แต่เปลี่ยนมือถือทุกปี ก็พอๆกัน
บางคนเปลี่ยนมือถือ แต่งรถ กินหรู อื่นๆ ถ้าตัดๆไป
ก็ปีละ 1-2 หมื่น พอกัน
แต่ป่วยมาเจอแบบนี้ ก็ช็อกครับ
ซื้อประกันๆเถอะครับ
ได้รักษาเอกชน ชิวๆ บริการดีๆ
จ่ายสบายๆ ครับ(ส่วนต่างแยก)
ความคิดเห็นที่ 5
ผมถึงสนับสนุนระบบ co-pay ครับ หรือทำให้เป็นระบบคล้ายๆประกันสังคม คือบังคับจ่ายทุกเดือนเหมือนประกัน เยอะน้อยตามรายได้ ซึ่งจะช่วยเรื่องงบประมาณได้ดีกว่า 30 บาทที่ตอนนี้มีปัญหามากๆ
ตอนนี้งบ 30 บาทก็เป็นแสนล้านทุกปี ซึ่งขนาดนี้โรงพยาบาลก็ยังขาดทุน และถ้าโรงพยาบาลขาดทุนตัวโรงพยาบาลเองก็จะไม่มีเงินทุนมาพัฒนาอุปกรณ์ ต่อเติมตึก หาเตียงหาบุคลากรเพิ่ม
ถ้ายังไม่ทำอะไรตอนนี้ ปัญหา "เตียงเต็ม" ก็จะมีเพิ่มมากขึ้นแน่นอนครับ เพราะลองคิดดูว่าถ้าโรงพยาบาลรัฐยังขาดทุนอยู่แบบนี้ ก็จะไม่มีเงินทุนมาพัฒนาโรงพยาบาลไปเรื่อยๆ อีกหน่อย รพ.เอกชนจะยิ่งทิ้งห่างไปเรื่อยๆครับ อุปกรณ์ทันสมัยมาเรื่อยๆ ขณะที่ รพ. รัฐไม่มีเงินทุกพัฒนา
ผมเชื่อว่าถ้าเป็น co-pay จขทก. เสียไม่ถึงแสนครับ หรือบริหารแบบประกันสังคม ที่รพ.ส่วนใหญ่ไม่ได้มีปัญหาขาดทุนจากตัวนี้
ตอนนี้งบ 30 บาทก็เป็นแสนล้านทุกปี ซึ่งขนาดนี้โรงพยาบาลก็ยังขาดทุน และถ้าโรงพยาบาลขาดทุนตัวโรงพยาบาลเองก็จะไม่มีเงินทุนมาพัฒนาอุปกรณ์ ต่อเติมตึก หาเตียงหาบุคลากรเพิ่ม
ถ้ายังไม่ทำอะไรตอนนี้ ปัญหา "เตียงเต็ม" ก็จะมีเพิ่มมากขึ้นแน่นอนครับ เพราะลองคิดดูว่าถ้าโรงพยาบาลรัฐยังขาดทุนอยู่แบบนี้ ก็จะไม่มีเงินทุนมาพัฒนาโรงพยาบาลไปเรื่อยๆ อีกหน่อย รพ.เอกชนจะยิ่งทิ้งห่างไปเรื่อยๆครับ อุปกรณ์ทันสมัยมาเรื่อยๆ ขณะที่ รพ. รัฐไม่มีเงินทุกพัฒนา
ผมเชื่อว่าถ้าเป็น co-pay จขทก. เสียไม่ถึงแสนครับ หรือบริหารแบบประกันสังคม ที่รพ.ส่วนใหญ่ไม่ได้มีปัญหาขาดทุนจากตัวนี้
ความคิดเห็นที่ 20
มีประเด็นเยอะเลยที่มาเมนต์ในกระทู้นี้ ที่อาจไม่ทราบหรือเข้าใจระบบ
ข้อที่ 1 กรณีของ จขกท มี รพ.ที่ใช้สิทธิได้ แต่ไม่ประสงค์ใช้สิทธิ ต้องการไปเอกชนเอง
แน่นอนก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งสุดท้ายก็เกินจากที่จะสามารถจ่ายได้
พอจะย้ายกลับมา รพ.รัฐเพื่อลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากผมยังไม่ทราบว่าสิทธิของผู้ป่วยอยู่ที่ รพ เอกชนหรือรัฐ
ถ้า รพ.รัฐคุณมีสิทธิย้ายกลับได้เลย รพ.นั้นไม่มีสิทธิอ้างเตียงเต็ม ถ้า รพ.รัฐนั้นไม่มีศักยภาพที่จะรักษาได้
ต้องมีหน้าที่หา รพ. เพื่อส่งต่อ แต่ถ้าเป็นเอกชน ก็สามารถย้ายกลับได้เช่นเดียวกันที่ จขกท มีสิทธิ
แต่ดูเหมือนว่าเกิดความไม่เชื่อใจว่าจะรักษาได้ และกลัวไม่ได้รับการส่งต่อถ้าศักยภาพไม่พอ
ซึ่งที่จริงเป็นหน้าที่ของ รพ.ตามสิทธิ ถ้ารักษาไม่ได้เพราะศักยภาพไม่พอ ก็มีหน้าที่หา รพ.ส่งต่อให้ครับ
ปัญหามักเกิดจากไปคิดหรือเชื่อก่อนแล้วว่าศักยภาพไม่พอ ทั้งที่ความจริงอาจพอ
และอาจเป็นความต้องการของ จขกท เองที่อยากไป รพ.ใหญ่ เช่นศิริราช จุฬา หรืออื่นตามที่ จขกท ต้องการ
แต่โดยข้อเท็จจริงคือ รพ.เหล่านี้ เตียงเต็ม ไม่พร้อมจะรับครับ แต่ก็ยังอยากไป
ข้อแนะนำตอนนี้คือคุณต้องยอมรับที่จะกลับไปรักษาที่ รพ.ตามสิทธิแล้วเริ่มต้นใหม่
คุณก็จะหมดภาระค่าใช้จ่ายอีกต่อไป และอาจจะส่งต่อได้ง่ายขึ้น ที่ รพ.ที่คุณอยู่ปัจจุบันจะหาให้เพราะไมีใช่เครือข่าย
ประเด็นที่สองที่อยากอธิบาย ในโรงพยาบาลที่เป็นแม่ข่ายสิทธิต่างๆ จะเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่
มีหลายแผนกซึ่งจะมีเตียงของแผนกตัวเอง ซึ่งพยายามกำหนดตามศักยภาพของบุคลากรของแผนกที่มี
จะไม่มีการใช้เตียงข้ามแผนกโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะโควต้าเตียงใน ICU
ดังนั้นเตียงแผนกหนึ่งเต็มแต่แผนกอื่นอาจจะว่างครับ ซึ่งมักเต็มในแผนกอายุรกรรม และศัลยกรรม
การว่างไม่ได้หมายถึงว่าแผนกอื่นจะมาใช้เตียงได้ เพราะไม่มีบุคลากรของแผนกที่เต็มมากพอจะมาดูแล
ดังนั้นขอให้ คห18 เข้าใจด้วยครับ
สำหรับประเด็นอื่นของดเว้นก่อนครับ
ข้อที่ 1 กรณีของ จขกท มี รพ.ที่ใช้สิทธิได้ แต่ไม่ประสงค์ใช้สิทธิ ต้องการไปเอกชนเอง
แน่นอนก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งสุดท้ายก็เกินจากที่จะสามารถจ่ายได้
พอจะย้ายกลับมา รพ.รัฐเพื่อลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากผมยังไม่ทราบว่าสิทธิของผู้ป่วยอยู่ที่ รพ เอกชนหรือรัฐ
ถ้า รพ.รัฐคุณมีสิทธิย้ายกลับได้เลย รพ.นั้นไม่มีสิทธิอ้างเตียงเต็ม ถ้า รพ.รัฐนั้นไม่มีศักยภาพที่จะรักษาได้
ต้องมีหน้าที่หา รพ. เพื่อส่งต่อ แต่ถ้าเป็นเอกชน ก็สามารถย้ายกลับได้เช่นเดียวกันที่ จขกท มีสิทธิ
แต่ดูเหมือนว่าเกิดความไม่เชื่อใจว่าจะรักษาได้ และกลัวไม่ได้รับการส่งต่อถ้าศักยภาพไม่พอ
ซึ่งที่จริงเป็นหน้าที่ของ รพ.ตามสิทธิ ถ้ารักษาไม่ได้เพราะศักยภาพไม่พอ ก็มีหน้าที่หา รพ.ส่งต่อให้ครับ
ปัญหามักเกิดจากไปคิดหรือเชื่อก่อนแล้วว่าศักยภาพไม่พอ ทั้งที่ความจริงอาจพอ
และอาจเป็นความต้องการของ จขกท เองที่อยากไป รพ.ใหญ่ เช่นศิริราช จุฬา หรืออื่นตามที่ จขกท ต้องการ
แต่โดยข้อเท็จจริงคือ รพ.เหล่านี้ เตียงเต็ม ไม่พร้อมจะรับครับ แต่ก็ยังอยากไป
ข้อแนะนำตอนนี้คือคุณต้องยอมรับที่จะกลับไปรักษาที่ รพ.ตามสิทธิแล้วเริ่มต้นใหม่
คุณก็จะหมดภาระค่าใช้จ่ายอีกต่อไป และอาจจะส่งต่อได้ง่ายขึ้น ที่ รพ.ที่คุณอยู่ปัจจุบันจะหาให้เพราะไมีใช่เครือข่าย
ประเด็นที่สองที่อยากอธิบาย ในโรงพยาบาลที่เป็นแม่ข่ายสิทธิต่างๆ จะเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่
มีหลายแผนกซึ่งจะมีเตียงของแผนกตัวเอง ซึ่งพยายามกำหนดตามศักยภาพของบุคลากรของแผนกที่มี
จะไม่มีการใช้เตียงข้ามแผนกโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะโควต้าเตียงใน ICU
ดังนั้นเตียงแผนกหนึ่งเต็มแต่แผนกอื่นอาจจะว่างครับ ซึ่งมักเต็มในแผนกอายุรกรรม และศัลยกรรม
การว่างไม่ได้หมายถึงว่าแผนกอื่นจะมาใช้เตียงได้ เพราะไม่มีบุคลากรของแผนกที่เต็มมากพอจะมาดูแล
ดังนั้นขอให้ คห18 เข้าใจด้วยครับ
สำหรับประเด็นอื่นของดเว้นก่อนครับ
แสดงความคิดเห็น
เงินไม่ใช่ทุกอย่างแต่ทุกอย่างต้องใช้เงิน..แลกกับ1ชีวิต
เมื่อวันที่ 20/2 น้องเราเกิดอุบัติเหตุช๊อคน้ำตาล(สูง1000กว่าๆ) ขณะขี่มอไซต์ทำให้รถล้มและเข้ารักษาตัวที่รพ.เอกชนแถวรามประมาณ2วันอาการดีขึ้นทางรพ.จึงส่งตัวไปให้รพ.แถวนนทบุรีซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิบัตรทองรักษาต่อ
(น้องไม่ได้ทำงานประจำ สิทธิเดียวที่จะใช้ได้คือ บัตรทอง 30 บาท)
อาการก็ดูเหมือนจะดีขึ้นแต่อยู่ๆน้องเราก็แน่นหน้าอกและหยุดหายใจไปแพทย์รพ.ตามสิทธิปั้มหัวใจขึ้นมาใช้เวลาประมาณ2นาที หลังจากนั้นก็มีอาการชักตลอดตั้งแต่4ทุ่มของคืนวันศุกร์ที่24/2 จนถึงเวลาประมาณบ่าย3ของวันที่25/2 ระหว่างนั้นทางรพ.ได้พยายามติดต่อไปที่รพ.รัฐขนาดใหญ่ที่สุดในจ.นนทบุรีให้มารับคนไข้เนื่องจากรพ.ตามสิทธิไม่มีicuและพยาบาลแจ้งว่ายากันชักมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะใช้รักษาคนไข้เคสนี้
รพ.รัฐนั้นก็ตอบแต่ว่า..."เตียงเต็ม"...เราเลยพยายามติดต่อทุกโรงพยาบาลรัฐให้เค้าช่วยรับรักษา ทั้งโทรหา และไปติดต่อที่รพ.ทุกวัน แต่ได้คำตอบเหมือนกันคือ..."เตียงเต็ม"...
เมื่อหมดหนทาง...เราเลยลองติดต่อรพ.เอกชนแห่งหนึ่งไป...สอบถามเบื้องต้น ค่าห้องประมาณ x,xxx บาท ในตอนนั้นเราไม่มีทางเลือกและประมาณการค่ารักษาจาก รพ คิดว่าไม่น่าจะเกิน 100,000 บ เราจึงให้เค้ามารับตัว
ปรากฎว่าเค้ารับเค้าดูแลและรักษาดีมาก แต่ราคาที่เค้าแจ้งเป็นยอดกลมๆ ไม่มีรายละเอียดในการคิดค่าบริการ ซึ่งมันเกินกว่างบที่เราตั้งไว้มาก ระหว่างนั้นเราได้พยายามติดต่อไปที่ สปสช.และเดินทางไปติดต่อรพ.ของรัฐแทบจะทั่วกรุงเทพ ก็ได้คำตอบเดิมๆคือ..."เตียงเต็ม"...
ผ่านมา12วันแล้ว อาการของน้องยังคงโคม่าอยู่ ไม่รู้สึกตัว ใส่ท่อช่วยหายใจ และให้ยากันชักค่ะ
ถึงตอนนี้ก็ยังหาเตียงไม่ได้ ค่าใช้จ่ายแทบจะขึ้นเป็นนาที ค่ารักษาทะลุล้านแล้วหน่วยงานรัฐพูดเพียงว่าตอนนี้กำลังประสานงานให้อยู่ค่ะ แต่เตียงเต็ม
เราควรทำไงดีคะ การรักษาชีวิต 1 ชีวิต กับค่าใช้จ่ายที่มหาศาล และไม่รู้ รพ จะคิดราคาอีกเท่าไหร่
พยายามไกล่เกลี่ยกับ รพ แล้ว แต่ฝ่ายการเงินก็พูดเพียงว่า ให้พยายามหาเงินมาจ่าย และเค้าจะช่วยหา รพ รัฐให้ และย้ายออกได้