การทุบอาคารโรงแรมดุสิตธานีแสดงให้เห็นว่าอายุขัยทางเศรษฐกิจของตึกหมดแล้ว ควรทุบเพื่อเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาที่คุ้มค่ากว่า ควรทำบนพื้นฐานที่โปร่งใสในการเช่าระยะยาว และควรย้ายอาคารสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าไปในโรงแรมเพราะโรงแรมได้ประโยชน์ และคืนพื้นที่สังคมเถอะ
ตามที่มีข่าวจะทุบทิ้งโรงแรมดุสิตธานี ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) มีข้อสังเกตฝในด้านอสังหาริมทรัพย์ดังนี้:
1. อาคารนี้มีอายุเกือบ 50 ปีแล้ว สภาพทางกายภาพอาจยังดีอยู่ในแง่ของอายุทางกายภาพ (Physical Age) อาจอยู่ได้เป็นร้อยปี แต่ในแง่อายุขัยทางเศรษฐกิจ (Economic Age) คงหมดแล้ว นำไปพัฒนาทางอื่นที่ให้ผลประโยชน์สูงกว่า ก็เป็นสิ่งที่ควรจะทำ แม้จะ "ดรามา" น่าเสียดายกับสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นก็ตาม กรณีนี้เกิดขึ้นกับโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัลเดิมที่ปัจจุบันกลายเป็นห้างสยามพารากอน เป็นต้น
2. ที่ดินแปลงนี้เป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อให้มีการให้เช่า สำนักงานควรเปิดการประมูลเพื่อความโปร่งใส และให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการเพราะถือเป็นสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งสำนักงานอาจได้ดำเนินการตามนี้ เพียงแต่ไม่ได้เป็นข่าวก็อาจเป็นได้ และควรเปิดเผยสัญญาการเช่าที่ดินดังกล่าวแก่สาธารณชน
3. การให้เช่าระยะยาว 30 ปี บวก 30 ปี อาจไม่สอดคล้องกับข้อกฎหมายที่รับรองสิทธิเฉพาะ 30 ปีแรก การให้เช่า 30 ปี ก็ถือว่าเพียงพอ โดยดูได้จากกรณีห้างเซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว ก็กำไรมหาศาลในห้วงเวลาการเช่า 30 ปี ทางด่วนโทลเวย์หรือทางด่วนขั้นที่สองก็มักให้เช่าในระยะเวลา 30 ปีซึ่งก็เพียงพอ อย่างไรก็ตามก็อาจเช่าในระยะเวลา 50 ปีตามกฎหมายได้เช่นกัน
4. ควรย้ายที่ตั้งของสถานีรถไฟฟ้า MRT อยู่หน้าโรงแรมดุสิตธานี เพราะในสมัยการก่อสร้างนั้นไม่สามารถตกลงกับทางโรงแรมได้ทั้งที่แต่เดิมออกแบบให้ตั้งอยู่ในดินบนพื้นที่ของพื้นที่จอดรถของโรงแรม ดังนั้นเมื่อจะมีการก่อสร้างใหม่ น่าจะให้สถานีนี้อยู่ในโรงแรมเพราะจะเป็นประโยชน์ต่อทางโรงแรมโดยตรง และถือเป็นการคืนถนนให้กับสาธารณชน จะเป็นกุศลแรงที่ได้ทำดีเพื่อสังคมยิ่งกว่าการทำ CSR แบบพื้นๆ เสียอีก
ไหน ๆ ก็จะพัฒนาใหม่แล้ว ทำเชิงสร้างสรรค์เพื่อสังคมด้วย
ที่มา:
http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1865.htm
4 ข้อสังเกตทุบดุสิตธานี
ตามที่มีข่าวจะทุบทิ้งโรงแรมดุสิตธานี ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) มีข้อสังเกตฝในด้านอสังหาริมทรัพย์ดังนี้:
1. อาคารนี้มีอายุเกือบ 50 ปีแล้ว สภาพทางกายภาพอาจยังดีอยู่ในแง่ของอายุทางกายภาพ (Physical Age) อาจอยู่ได้เป็นร้อยปี แต่ในแง่อายุขัยทางเศรษฐกิจ (Economic Age) คงหมดแล้ว นำไปพัฒนาทางอื่นที่ให้ผลประโยชน์สูงกว่า ก็เป็นสิ่งที่ควรจะทำ แม้จะ "ดรามา" น่าเสียดายกับสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นก็ตาม กรณีนี้เกิดขึ้นกับโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัลเดิมที่ปัจจุบันกลายเป็นห้างสยามพารากอน เป็นต้น
2. ที่ดินแปลงนี้เป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อให้มีการให้เช่า สำนักงานควรเปิดการประมูลเพื่อความโปร่งใส และให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการเพราะถือเป็นสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งสำนักงานอาจได้ดำเนินการตามนี้ เพียงแต่ไม่ได้เป็นข่าวก็อาจเป็นได้ และควรเปิดเผยสัญญาการเช่าที่ดินดังกล่าวแก่สาธารณชน
3. การให้เช่าระยะยาว 30 ปี บวก 30 ปี อาจไม่สอดคล้องกับข้อกฎหมายที่รับรองสิทธิเฉพาะ 30 ปีแรก การให้เช่า 30 ปี ก็ถือว่าเพียงพอ โดยดูได้จากกรณีห้างเซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว ก็กำไรมหาศาลในห้วงเวลาการเช่า 30 ปี ทางด่วนโทลเวย์หรือทางด่วนขั้นที่สองก็มักให้เช่าในระยะเวลา 30 ปีซึ่งก็เพียงพอ อย่างไรก็ตามก็อาจเช่าในระยะเวลา 50 ปีตามกฎหมายได้เช่นกัน
4. ควรย้ายที่ตั้งของสถานีรถไฟฟ้า MRT อยู่หน้าโรงแรมดุสิตธานี เพราะในสมัยการก่อสร้างนั้นไม่สามารถตกลงกับทางโรงแรมได้ทั้งที่แต่เดิมออกแบบให้ตั้งอยู่ในดินบนพื้นที่ของพื้นที่จอดรถของโรงแรม ดังนั้นเมื่อจะมีการก่อสร้างใหม่ น่าจะให้สถานีนี้อยู่ในโรงแรมเพราะจะเป็นประโยชน์ต่อทางโรงแรมโดยตรง และถือเป็นการคืนถนนให้กับสาธารณชน จะเป็นกุศลแรงที่ได้ทำดีเพื่อสังคมยิ่งกว่าการทำ CSR แบบพื้นๆ เสียอีก
ไหน ๆ ก็จะพัฒนาใหม่แล้ว ทำเชิงสร้างสรรค์เพื่อสังคมด้วย
ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1865.htm