🐝 การปฏิวัติซินไฮ่ ถือเป็นหมากตาที่พลาดของซุนยัตเซ็นไหมคะ

ซุนยัตเซ็น ผู้ผลักดันแนวทางปฏิวัติ

เหลียงฉี่เชา เป็นผู้เสนอแนวทางปฏิรูป หลังล้มเหลวจากการปฏิรูป 100 วัน (จริงๆ 103 วัน) ก็เผ่นหนีออกนอกประเทศ
ในระหว่างอยู่นอกประเทศ เขาได้อ่านหนังสือพิมพ์ ศึกษาแนวคิดของพวกปฏิวัติที่เคลื่อนไหวอยู่นอกจีน และเขาก็เริ่มเห็นด้วย

แต่ไม่นานหลังจากนั้น เขาได้ไปเยือนอเมริกา ได้เห็นสังคมชาวจีนในอเมริกา (แดนประชาธิปไตย) และพบว่าเหลวแหลกไม่แพ้ที่เป็นอยู่ในจีนเลย
เขาจึงคิดว่า คนจีนไม่เหมาะกับประชาธิปไตย หันกลับมาเสนอแนวทาง Constitutional monarchy (รักษาพระจักรพรรดิไว้)
เขาเห็นว่าสังคมจีนต้องการ เอกภาพและกฏเกณฑ์ที่เข้มแข็ง

ซึ่งถ้ามองจากความสำเร็จของระบอบคอมมิวนิสต์ในปัจจุบัน มันก็เป็นแบบเหลียงฉี่เชาคิดหรือเปล่าคะ อิอิ

ดูเพิ่ม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


Ref: Jia, S.S. (2012); SunYatsen, Liang Qichao: Friends, Foes and Nationalism
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
การปฏิวัติซินไฮ่นั้น ดร.ซุนผิดพลาด ครับ โดยที่

1. ดร. ซุน ประเมินกำลังฝ่ายปฏิวัติของตัวเองต่ำเกินไป และประเมินฝ่ายของหยวนซื่อไคสูงเกินไป ดังนั้นการปฏิวัติเพื่อสร้างจีนใหม่ เลยเป็นการปฏิวัติเพื่อส่งให้กองทัพเป่ยหยางและหยวนซื่อไคขึ้นเป็นใหญ่แทน

2. ดร. ซุน ผิดพลาดตรงที่ประเมินพันธมิตรผิด หน่วยกองกำลังใต้ดินของเขามีแต่นักการเมืองและนายทหารรุ่นใหม่ ซึ่งไม่มีกำลังทางทหารที่จะไปต่อกรกับพวกที่มีอำนาจทหารในมือได้ สุดท้ายการปฏิวัติจึงตกไปอยู่ในมือของพวกขุนศึก ไม่ใช่ประชาชนหรือรัฐบาลใหม่

3. ดร. ซุน ประเมินการสนับสนุนจากต่างประเทศผิดพลาด เพราะรัฐบาลต่างประเทศต้องการรัฐบาลที่ให้คุณประโยชน์กับพวกเขา ไม่ใช่รัฐบาลที่ให้คุณประโยชน์ต่อประเทศจีน นั่นทำให้หยวนซื่อไคได้รับการยอมรับอย่างง่ายดาย

แต่จะว่าไป การปฏิวัติซินไฮ่เกิดขึ้นเหมือนไฟไหม้ฟางครับ มาด้วยเรื่องไม่ใหญ่ไม่โตเหมือนสะเก็ตไฟเล็กๆ แต่ลามไปทั้งภูเขาที่ชื่อว่าต้าชิงจนพินาศย่อยยับ มันไม่ได้ถูกเตรียมการอย่างมีระบบ ไม่ได้เตรียมแผนว่าหลังจบไฟไหม้แล้วจะทำอย่างไรต่อ และฝ่ายปฏิวัติก็มุ่งเพียงว่าถ้าโค่นราชสำนักได้ทุกอย่างก็จะจบ แต่มันไม่ใช่ มันเป็นเพียงการเปิดม่านศักราชแห่งความวุ่นวายอันยาวนานเท่านั้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่