เที่ยววัดกรุงเก่า พระนครศรีอยุธยาง่ายๆด้วยรถโดยสาร

วันนี้เที่ยววัดจังหวัดอยุธยาด้วยรถโดยสาร ปกติผมเดินทางคนเดียววิธีนี้จึงเหมาะกับผม วิธีเดินทางอื่นๆ พวกเช่าจักรยาน มอเตอร์ไซด์ หรือเหมารถรับจ้างก็ได้ ขึ้นกับจำนวนคน เวลาที่ไป เลือกตามความเหมาะสม ซึ่งเวลามาเที่ยวอยุธยาวันเสาร์อาทิตย์ รถโดยสารจะเห็นน้อยกว่าวันธรรมดาเพราะคนใช้บริการ นักเรียน คนทำงานหยุด บางสายเวลาต่อรอบเพิ่มขึ้น 10-15 นาที  เช่นจากปกติออกทุก 30 นาที ก็เพิ่มเป็น 40-50 นาที  ทำให้เสียเวลาในการรอ แต่ถ้าเราทราบเส้นทางจะช่วยให้วางแผนการเดินทางได้ดี ข้อมูลเส้นทางอาจจะไม่ถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะบางสายไม่ได้ขึ้นตั้งแต่ต้นทางไปจนสุดสาย  

รถสองแถวสีน้ำเงิน รอบเมือง – ศาลากลาง (รอ 15-20 นาที ค่ารถ 7 บาท)

เส้นทางสายนี้ง่ายๆ คือวิ่งรอบเมือง เลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่าน
โลตัส/โรบินสัน อยุธยา โรงพยาบาลราชธานี  วิทยาลัยเทคโลโลยีพณิชยการอยุธยา  เจดีย์วัดสามปลื้ม  ข้ามสะพานปรีดีพนมยงค์  วิทยาลัยอาชีวะศึกษาพระนครศรีอยุธยา  ตลาดเจ้าพรหม พิพิธภัณฑ์วังจันทรเกษม  ตลาดหัวรอ  วัดราชประดิษฐาน  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ  วัดธรรมิกราช  วัดหน้าพระเมรุ (เดินข้ามสะพานอีก 150 เมตร)  โรงเรียนประตูชัย  พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่น  วัดตึก  วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหาธุรกิจอยุธยา เจดีย์ศรีสุริโยทัย  รพ.พระนครศรีอยุธยา  วัดสุวรรณดาราราม  กลับมาที่ตลาดเจ้าพรหม  เพื่อวนรถกลับ

ขากลับ วนกลับมาทาง วัดสุวรรณดาราราม  รพ.พระนครศรีอยุธยา ......... ข้ามสะพานปรีดีพนมยงค์  เลี้ยวไปสถานีรถไฟ ...... กลับโลตัส
ข้อระวัง หน้าตลาดเจ้าพรหม จะมีรถทั้งข้ามสะพานมา กับ รถที่วิ่งครบรอบ เพื่อวนกลับรถ
สมมุติ จะขึ้นไปตลาดหัวรอ ไปถึงเหมือนกันแต่ระยะที่ใช้จะต่างกัน  
รถข้ามสะพาน  - ตลาดเจ้าพรหม  พิพิธภัณฑ์วังจันทรเกษม  ตลาดหัวรอ  
รถวนกลับ   -  ตลาดเจ้าพรหม  วัดสุวรรณดาราราม  รพ.พระนครศรีอยุธยา วัดตึก  รร.ประตูชัย  วัดธรรมิกราช  วัดราชประดิษฐาน  ตลาดหัวรอ  

เที่ยววัดเส้นทางนี้
1.วัดแม่นางปลื้ม
(ลงตลาดหัวรอ เดินไปหลังตลาด เดินข้ามสะพานไปวัด)


เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา วัดแม่นางปลื้มเปี่ยมด้วยตำนาน และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
ตำนานการสร้างวัดมีหลายความเชื่อ บ้างก็ว่าวัดนี้มีมาก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยา บ้างก็ว่าวัดนี้สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีตำนานเล่าว่า ที่ดินตรงนี้เคยเป็นเรือนของแม่ปลื้ม แม่ปลื้มอาศัยอยู่คนเดียวไม่มีลูกหลาน วันหนึ่งพระนเรศวรพายเรือมาแต่พระองค์เดียวแล้วเจอพายุฝนซัดกระหน่ำ เมื่อทอดพระเนตรเห็นเรือนหลังนี้ยังสว่างด้วยแสงไฟตะเกียงจึงเสด็จขึ้นท่า ขอเสวยน้ำจันทน์และพักค้างแรม แม้แม่ปลื้มจะไม่รู้ถึงชาติกำเนิดของชายผู้นี้ ก็ยังต้อนรับขับสู้อย่างดี อีกทั้งยังกล่าวถึงพระเจ้าแผ่นดินด้วยความจงรักภักดี พระนเรศวรทรงพอพระทัยมาก พอรุ่งสางก็เสด็จกลับพระราชวังหลวง จากนั้นไม่นานก็จัดขบวนมารับแม่นางปลื้มไปเลี้ยงอาหารในวัง เพื่อตอบแทนความเมตตา เมื่อแม่ปลื้มเสียชีวิต สมเด็จพระนเรศวรก็จัดพิธีศพให้อย่างสมเกียรติ พร้อมสร้างวัดพระราชทาน ชื่อว่า วัดแม่นางปลื้ม

สถาปัตยกรรมภายในวัด อันได้แก่ พระวิหารเก่าแก่

ภายในประดิษฐาน “ หลวงพ่อขาว ” พระประธานองค์สีขาวบริสุทธิ์ ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น

เจดีย์ทรงกลมฐานสิงห์ล้อม ศิลปะสมัยอยุธยาที่ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร


พระอุโบสถหลังใหม่ หน้าบันประดับด้วยปูนปั้น


ภายในประดิษฐานพระพุทธประธาน ปางมารวิชัย


2.วัดธรรมิกราช
เดิมชื่อ วัดมุขราช  เมื่อพระเจ้าสายน้ำผึ้ง สร้างวัดพนัญเชิงนั้น พระราชโอรส คือพระเจ้าธรรมิกราช โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นที่บริเวณเมืองเก่า ทางหน้าประตูด้านทิศเหนือคือ
พระเจดีย์สิงห์ล้อม 52 ตัวที่แตกต่างไปจากเจดีย์ทั่วไป เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ



ในสมัยต่อมา พระมหากษัตริยได้ทรงบูรณะมาโดยตลอด โดยสังเกตจากร่องรอยการซ่อม และพื้นที่ของวัดที่อยู่ทางทิศตะวันออกของพระนครฯ ตามคติโบราณถือว่าเป็นทิศมงคล ในสมัยสมเด็จพระไตรโลกนาถทรงธรรม (พ.ศ. 2153) ทรงบูรณะวัด และสร้างพระวิหารหลวง เพื่อฟังธรรมในวันธรรมสวนะ
พระวิหารพระพุทธไสยยาสน์ (พระนอน) นั้น พระราชมเหสีของพระองค์มีพระราชธิดาประชวร ทรงอธิษฐานไว้เมื่อพระราชธิดาหายแล้ว

จึงสร้างพระวิหารถวาย  เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน มุงด้วยกระเบื้องเกล็ดเต่า บูรณะใหม่เมื่อ ปีพ.ศ.2499 โดยรัฐบาบจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยยาสน์ พระบาทมีลายมงคล 108 ประการ ประดับกระจก

พระอูโบสถ


พระวิหารทรงธรรม

3.วัดหน้าพระเมรุ
สิ่งสำคัญภายในวัดนี้


พระอุโบสถ มีพระพุทธรูปประธานทรงเครื่องใหญ่ ซึ่งคงสร้างขึ้นราวรัชกาลของพระเจ้าปราสาททอง


หน้าบันของพระอุโบสถ  เป็นไม้แกะสลักปิดทอง รูปพระนารายณ์ทรงครุฑแวดล้อมด้วยเหล่าเทวดา

ทางทิศตะวันออกของพระอุโบสถมีวิหารน้อยที่สร้างขึ้นโดยพระยาชัยวิชิต (เผือก) ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
โดยมีรูปแบบลอกเลียนมาจากพระอุโบสถ

ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปแบบทวาราวดีขนาดใหญ่ ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุ อยุธยา

วิหารน้อยหรือวิหารเขียน ซึ่งมีภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องการค้าสำเภาและพุทธชาดกต่าง ๆ

บานประตุไม้มีการแกะสลักที่สวยงาม


วิหารหลวง (วิหารขาว) สักการะพระพุทธลึลา พระพุทธรูปสมัยลพบุรี

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่