สำหรับผู้ที่ไม่เคยอ่านพระไตรปิฎกเกิน 3 หน้า แล้วเชื่อว่าพระไตรปิฎกนั้นเชื่อถือไม่ได้

จากกาลามสูตร
ก่อนจะอ่านเนื้อความต่อไปนี้โปรดอ่าน 10 ข้อนี้ก่อนครับ
------------------------

1. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
2. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
3. อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
4. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
5. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
6. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
7. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
8. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
9. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
10. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน


พระไตรปิฎกยุคท่องจำ แม่นยำแค่ไหน

ทีนี้การรักษาสืบต่อพระไตรปิฎกนั้นท่านทำกันมาอย่างไร เรื่องนี้ต้องแบ่งเป็น ๒ ยุค คือ
               ๑. ยุคที่สืบต่อมาด้วยการทรงจำด้วยปากเปล่า เรียกว่ามุขปาฐะหรือมุขปาฐ และ
               ๒. ยุคที่ได้จารึกเป็นตัวอักษร เช่นในใบลาน เป็นต้น
          ช่วงแรก เป็นยุคของการรักษาไว้ด้วยการทรงจำ โดยสวด หรือสาธยาย แต่ก่อนนี้อาตมาเองก็เคยสงสัย เหมือนหลายคนสงสัยว่า เมื่อรักษาด้วยการทรงจำ ก็น่ากลัวว่าจะมีการคลาดเคลื่อนเลอะเลือนหลงลืมไป แต่เมื่อเวลาผ่านมา ได้พิจารณาไตร่ตรอง และได้เห็นหลักฐานและหลักการต่างๆ ก็กลายเป็นว่า การรักษาด้วยการท่อง โดยสวดแล้วทรงจำไว้นั่นแหละ เป็นวิธีที่แม่นยำยิ่งกว่ายุคที่จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร
          ที่ว่าอย่างนั้นเพราะอะไร? เพราะว่าการท่อง ที่จะทรงจำพระไตรปิฎก หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า ธรรมวินัยนั้น ท่านทำด้วยวิธีสวดพร้อมกัน คือ คล้ายกับที่เราสวดมนต์กันทุกวันนี้แหละ เวลาสวดมนต์พร้อมกัน เช่นสวดกัน ๑๐ คน ๒๐ คน ๕๐ คน ๑๐๐ คนนั้น จะต้องสวดตรงกันหมดทุกถ้อยคำจะตกหล่นตัดขาดหายไปก็ไม่ได้ จะเพิ่มแม้คำเดียวก็ไม่ได้ เพราะจะขัดกัน ดีไม่ดีก็สวดล้มไปเลย
          เพราะฉะนั้น การที่จะสวดโดยคนจำนวนมากๆ ให้เป็นไปด้วยดี ให้สอด คล้องกลมกลืนกัน ก็จะต้องสวดเหมือนกันหมด ท่านจึงรักษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้ด้วยวิธีนี้ คือทรงจำพระไตรปิฎกด้วยวิธีสวดพร้อมกันจำนวนมากๆ
          พระสงฆ์ทั้งหลายนั้นท่านเห็นความสำคัญของพระไตรปิฎก เพราะรู้อยู่ว่า นี้แหละคือพระพุทธศาสนา ถ้าหมดพระไตรปิฎกเมื่อไร พระพุทธศาสนาก็หมดไปเมื่อนั้น ถ้าพระไตรปิฎกเคลื่อนคลาดไป พระพุทธศาสนาก็เคลื่อนคลาดไปด้วย
          พระเถระรุ่นก่อนนั้น ถือความสำคัญของพระไตรปิฎกเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ในยุคที่จารึกเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ก็ต้องถึงกับพูดกันว่า อักษรจารึกพระธรรมของพระพุทธเจ้านี้ อักษรเดียวมีค่าเท่ากับพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เพราะฉะนั้น ถ้ามองในแง่บวก ก็คือว่าต้องช่วยกันรักษาไว้ให้ดี แม้แต่จารึกหรือสนับสนุนการจารึกเพียงนิดหน่อยก็เป็นบุญเป็นกุศลมาก แต่มองในแง่ลบก็คือ ถ้าใครไปทำให้ผิดพลาด แม้แต่อักษรเดียว ก็เหมือนทำลายพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เป็นบาปมาก นี่แหละ ท่านให้ความสำคัญถึงอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระเถระรุ่นก่อน ท่านจึงระวังมากในเรื่องการรักษาทรงจำพระไตรปิฎกไม่ให้ผิดเพี้ยน รวมความว่า
               ๑. มีความระมัดระวังเห็นเป็นสำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นตัวพระพุทธศาสนา
               ๒. ถือเป็นงานของส่วนรวม โดยเฉพาะพระเถระผู้ใหญ่ ผู้นำหมู่คณะ และพระสงฆ์ทั้งหมดในพระพุทธศาสนา จะต้องเอาธุระในการดูแลรักษาอย่างยิ่ง
          เป็นอันว่า การรักษาด้วยวิธีเดิม คือการทรงจำด้วยการสาธยายนั้น เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุด เพราะรักษาโดยส่วนรวมที่สวดพร้อมกัน แต่พร้อมกันนั้นแต่ละองค์ก็มีหน้าที่ต้องท่องจำอยู่แล้ว โดยจะต้องมีการซักซ้อม และทบทวนกันอยู่เสมอ ซึ่งปรากฏแม้แต่ในสมัยนี้ ในพม่าก็ยังรักษาประเพณีนี้ไว้ กล่าวคือในยุคนี้ ทั้งๆ ที่มีคัมภีร์จารึกและพิมพ์เป็นเล่มหนังสือแล้ว เขาก็ยังพยายามสนับสนุนพระภิกษุให้ทรงจำพระไตรปิฎก
          ในพม่าปัจจุบันยังมีประเพณีเป็นทางการของบ้านเมือง คือ มีการสอบพระภิกษุที่มาสมัครเพื่อจะแสดงความสามารถในการทรงจำพระไตรปิฎก พระภิกษุองค์ใดสอบผ่านแสดงว่าทรงจำพระไตรปิฎกได้หมด ซึ่งถ้านับเป็นตัวหนังสือพิมพ์เป็นอักษรไทย ก็ได้ ๔๕ เล่ม ๒๒,๐๐๐ กว่าหน้า ถ้าท่านจำได้หมด ทางการจะตั้งให้เป็น พระติปิฏกธร แปลว่า ผู้ทรงจำพระไตรปิฎก ได้เป็นพระเป็นที่เคารพนับถือองค์หนึ่ง และทางรัฐบาลจะเลี้ยงดูโยมพ่อแม่ของพระภิกษุนั้น และอุปถัมภ์บำรุงด้วยประการต่างๆ
          เดี๋ยวนี้ก็ยังมีพระติปิฏกธร คือพระภิกษุรูปเดียวที่สามารถจำพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด๒๒,๐๐๐ กว่าหน้า ให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ไม่ใช่สิ่งเหลือวิสัย นี่คือองค์เดียวเท่านั้น ก็ยังจำไหว
          ในสมัยโบราณต้องใช้วิธีทรงจำโดยท่องปากเปล่าอย่างนี้ เพราะไม่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร เพราะฉะนั้น พระภิกษุทั้งหลายก็ทรงจำกันไว้ องค์ไหนทรงจำไว้ได้มากที่สุด ก็จะได้รับความเชื่อถือ และเคารพนับถือ
พระพรหมคุณากรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

คนแล้วคนเล่า  นักวิชาการแล้วนักวิชาการเล่า มักจะยกว่าพระไตรปิฏกถูกแต่งเติม ดัดแปลง ของจริงมีน้อย ของแต่มีเยอะ บังเอิญผมไป่านกรณีพระไตรปิฏกมาเรื่องการท่องจำของพระ เราลองคิดดูสิครับการท่องจำมุขปาฐะนั้นอย่าได้ดูถูกความจำสมองคนเลย ในสมัย 500 ปีก่อนการสังคายนาจะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร การสืบทอดธรรมวินัยของตถาคตของพระภิกษุสงข์สมัยนั้นใช้การท่องจำอย่างเดียวจึงทำให้เกิด ผู้คนในยุคปัจจุบันมีข้อครหาว่าจะไม่ถูกแต่งเติมเหรอ ผมลองย้อนมามองแค่ตัวผมนะครับ ตอนผมบวชเรียนนั้นผมแทบจะไม่ได้เปิดบทสวดมนต์เลย  ส่วนใหญ่ก็ไปงานสวดกับเจ้าอาวาสบ้างไปนั่งสวดตามเขาบ้างแรกๆก็นั่งเงียบ หลายครั้งๆก้งึมๆงำๆ มุบๆมิบ  อ่ออย่าพึ่งด่าผมนะว่าทำไมผมไม่นั้งจำคำสวด คำสวดบางคำสวดผมก็จำเอง และอีกอย่างผมเรียนบาลีเลยหลังจากบวชได้สองเดือน ไม่มีเวลามากมายที่จะไปนั่งจำบทสวดมนต์ คราวนี้นานไปผมสามารถจำบทสวดสิบสองตำนานได้โดยไม่อ่านเลย แต่กลับจำได้เพราะนั่งฟังพระผู้ใหญ่สวดมนต์
        เรามาเข้าเนื้อหากันต่อคือการสวดต่อๆกันมาคุณคิดว่าจะผิดเพี้ยนเหรอ??? ผมว่ายากต่อการแต่งเติมเองหรือผิดเพี้ยน เพราะอะไร???  ท่าใครเคยไปนั่งฟังเขาสวดมนต์จะรู้ว่าพระที่สวดไม่ได้นั่งสวดกันรูปสองรูป พระสวดกันที่หลายองค์พระองค์ใดองค์หนึ่งสวดผิดก็มีอายกันบ้างละ คราวนี้เมื่อมานั่งสังคายนากันพระยุคสังคายนายุคแรกๆก็จะนั่งสวดกัน องค์ไหนสวดผิดเอ้าตาช่วงสวดผิด ต้องสวดกันแบบนี้รีบแก้ สิ  นี้คือการทำสังคายนาเมื่อได้คำสวดที่ถูกต้อง(อภิธรรม วินัย สุตตัน)ก้เอามานั่งท่องกัน ท่องกันฉินปากก็เอาไปเผยแพร่ต่อ  พอมาเจอหน้ากันก็ยังสวดคล่องปากกันดั่งเดิม  ยากต่อการเพิ่มเติมคำใหม่ได้  ท่าไม่เชื่อคุณลองบวชแล้วไปสวดมนต์สิครับ คุณสวดผิดมันจะแปร่งทันที   และสมัยก่อนนั้นการทำวัตร พระสมัยนั้นจะสาธยายธรรม จนเกิดวินัยที่ว่า  ห้ามอนุสัมบัน(เณร โยม)สวดมนต์ตามพระ เพราะการที่โยมสวดตามพระจะเป็นอาบัติ  ตถาคตฉลาดมาก ท่านสอนให้ภิกษุจำคำสอนหลายๆบทหลายๆตอนไปสอนคนอื่น ไม่ใช้สอนแค่ธรรมข้อเดียว นั้นหมายความว่าสมัยนั้นภิกษุมีการท่องจำข้อธรรมกันแล้ว  หรือกระทั่งวัดเชตวัน เป็นจุดศูนย์รวมให้ภิกษุนั่งท่องธรรมคำสั่งสอนของตถาคตเพื่อเอาไปเผยแพร่ ไม่ให้ผิดไม่ให้บิดเบื่อนท่าผิดไปจะกลายเป้นการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า ดังนั้นการที่พระไตรปิฏกจะถูกแต่งเติมบิดเบือนมานั้นผมว่ายากมากแต่ก็ใช้ว่าจะไม่ถูกบิดเบือน  แต่ธรรม 84000 นั้นหาได้ขัดแย้งกัน กลับเอนเอียงไปในทางเดียวกัน  คนที่เอาแต่ว่าไม่เชื่อที่พระไตรปิฏกเป้นของแท้ออริจิ  ผมอยากให้ลองไปเปิดอ่านกันสักนิด แล้วจะเห็นว่าหลักธรรมในพระไตรปิฏกนั้นจะไม่ขัดกันเลย


นี้คือความคิดเห็นของปราชญ์ในพันทิปท่านหนึ่ง
การรักษาสืบต่อพระไตรปิฎกนั้นท่านทำกันมาอย่างไร เรื่องนี้ต้องแบ่งเป็น ๒ ยุค คือ

               ๑. ยุคที่สืบต่อมาด้วยการทรงจำด้วยปากเปล่า เรียกว่ามุขปาฐะหรือมุขปาฐ และ
               ๒. ยุคที่ได้จารึกเป็นตัวอักษร เช่นในใบลาน เป็นต้น
          


ช่วงแรก เป็นยุคของการรักษาไว้ด้วยการทรงจำ โดยสวด หรือสาธยาย แต่ก่อนนี้อาตมาเองก็เคยสงสัย เหมือนหลายคนสงสัยว่า เมื่อรักษาด้วยการทรงจำ ก็น่ากลัวว่าจะมีการคลาดเคลื่อนเลอะเลือนหลงลืมไป แต่เมื่อเวลาผ่านมา ได้พิจารณาไตร่ตรอง และได้เห็นหลักฐานและหลักการต่างๆ ก็กลายเป็นว่า การรักษาด้วยการท่อง โดยสวดแล้วทรงจำไว้นั่นแหละ เป็นวิธีที่แม่นยำยิ่งกว่ายุคที่จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร
          

ที่ว่าอย่างนั้นเพราะอะไร? เพราะว่าการท่อง ที่จะทรงจำพระไตรปิฎก หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า ธรรมวินัยนั้น ท่านทำด้วยวิธีสวดพร้อมกัน คือ คล้ายกับที่เราสวดมนต์กันทุกวันนี้แหละ เวลาสวดมนต์พร้อมกัน เช่นสวดกัน ๑๐ คน ๒๐ คน ๕๐ คน ๑๐๐ คนนั้น จะต้องสวดตรงกันหมดทุกถ้อยคำจะตกหล่นตัดขาดหายไปก็ไม่ได้ จะเพิ่มแม้คำเดียวก็ไม่ได้ เพราะจะขัดกัน ดีไม่ดีก็สวดล้มไปเลย
          

เพราะฉะนั้น การที่จะสวดโดยคนจำนวนมากๆ ให้เป็นไปด้วยดี ให้สอด คล้องกลมกลืนกัน ก็จะต้องสวดเหมือนกันหมด ท่านจึงรักษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้ด้วยวิธีนี้ คือทรงจำพระไตรปิฎกด้วยวิธีสวดพร้อมกันจำนวนมากๆ
พระสงฆ์ทั้งหลายนั้นท่านเห็นความสำคัญของพระไตรปิฎก เพราะรู้อยู่ว่า นี้แหละคือพระพุทธศาสนา
ถ้าหมดพระไตรปิฎกเมื่อไร พระพุทธศาสนาก็หมดไปเมื่อนั้น ถ้าพระไตรปิฎกเคลื่อนคลาดไป พระพุทธศาสนาก็เคลื่อนคลาดไปด้วย


          
พระเถระรุ่นก่อนนั้น ถือความสำคัญของพระไตรปิฎกเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ในยุคที่จารึกเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
ก็ต้องถึงกับพูดกันว่า อักษรจารึกพระธรรมของพระพุทธเจ้านี้ อักษรเดียวมีค่าเท่ากับพระพุทธรูปองค์หนึ่ง
เพราะฉะนั้น ถ้ามองในแง่บวก ก็คือว่าต้องช่วยกันรักษาไว้ให้ดี แม้แต่จารึกหรือสนับสนุนการจารึกเพียงนิดหน่อยก็เป็นบุญเป็นกุศลมาก
แต่มองในแง่ลบก็คือ ถ้าใครไปทำให้ผิดพลาด แม้แต่อักษรเดียว ก็เหมือนทำลายพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เป็นบาปมาก

นี่แหละ ท่านให้ความสำคัญถึงอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระเถระรุ่นก่อน ท่านจึงระวังมากในเรื่องการรักษาทรงจำพระไตรปิฎกไม่ให้ผิดเพี้ยน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ในสมัยของตถาคตก้เริ่มจัดหมวดหมู่แล้วนาจา  ตถาคตฟังเอง

สมัยพุทธกาล

การรวบรวมคำสอนของพระพุทธศาสนาเริ่มมีขึ้นเมื่อครั้งที่นิครนถนาฏบุตร ศาสดาของศาสนาเชนสิ้นชีวิตลง และสาวกของท่านไม่ได้เก็บรวบรวมคำสอนไว้ ทำให้เหล่าผู้นับถือศาสนาเชนจึงเกิดการแตกแยก และถกเถียงกันว่าแท้จริงแล้วศาสดาของตนสอนไว้เช่นไร พระจุนทเถระทราบเรื่องจึงนำความขึ้นกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์จึงได้ตรัสแนะนำให้พระสงฆ์ทั้งปวงร่วมกันทำสังคายนา เพื่อรักษาคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป

เมื่อพระสารีบุตรทราบถึงเรื่องราวปัญหาของศาสนาเชน ก็ได้แสดงวิธีสังคายนาไว้เป็นตัวอย่างต่อหน้าที่ประชุมคณะสงฆ์ โดยรวบรวมข้อธรรมต่างๆ ให้อยู่ตามลำดับหมวด ตั้งแต่หมวดหนึ่ง ไปจนถึงหมวดสิบ เมื่อพระสารีบุตรแสดงธรรมจบแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานสาธุการแก่หลักธรรมที่พระสารีบุตรแสดงไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่