ตอนที่
1:
https://ppantip.com/topic/33107833
2:
https://ppantip.com/topic/33153280
3:
https://ppantip.com/topic/33204572
ใครมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุนอาเซียนนี้
สอบถามเพิ่มเติมติดต่อเพจนี้ได้นะครับ:
https://www.facebook.com/TSnxtgen/
ตอนที่ 4
แต่น แตน แตน แต๊นนนนนนน กราบสวัสดีพ่อแม่พี่น้องที่เคารพ รู้สึกห่างเหินจากการเขียนบล็อกเกี่ยวกับทุนอาเซียนไปนานมาก 555555 แอบหนีไปเอ็นจอยชีวิตมหาลัยมาครับ ซึ่งระหว่างที่หยุดเขียนไป ก็ได้เจออะไรหลายๆอย่าง ที่ได้ทำให้ผมรู้สึกโตขึ้น มีความรู้สึกนึกคิดมากขึ้น ต่อยอดจากสิ่งที่ได้มาจากสิงคโปร์ และวันนี้ผมกลับมาแล้วว เพื่อจะมาเล่าต่อจากตอนที่แล้วให้ฟังกันนะครับ
ป.ล.กระทู้นี้จะเน้นหนักไปทางอธิบายตัวระบบ Pre-University เนื่องจากมีผปคหลายคนได้ถามมา ขออภัยล่วงหน้าหากเนื้อเรื่องไม่แซ่บหรือฮา เท่ากระทู้ก่อนๆ (อิอิ)
ความเดิมจากตอนที่แล้ว…….. เด็กชาย กรกฤต ตัวน่อยได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศสิงคโปร์ เวลาสองปีผ่านไป เค้าก็ได้จากโรงเรียน Commonwealth Secondary School อันเป็นที่รักยิ่ง และมี uniform สีฟ้าสดใสที่เก๋ไก๋ที่สุดในปฐพี (เว่ออีกแล้ว 5555) เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับ Pre-University (เตรียมอุดมศึกษา หรือ ม ปลายนั่นเอง) ที่นี่เค้าจะได้พบกับความท้าทายสุดหฤโหดเวอร์ชั่นที่ ลูกเกต The Face ก็ยังต้องใจหาย …….
หลังจากที่ได้รับผล O-Level ออกมา ผมก็ได้ทำการยื่นคะแนนเพื่อสมัครเข้าเรียนต่อระดับ Pre-University
ก่อนอื่นต้องอธิบายว่า
ประเทศไทยแบ่งชั้นมัธยมเป็น มัธยมต้น 1-3 และ มัธยมปลาย 4-6
ส่วนที่สิงคโปร์แบ่งชั้นการศึกษาเป็นระดับ Secondary School 1-4 และ Pre-University 1-2 ซึ่งจะไม่เหมือนกับของบ้านเราครับ เพราะ Pre-University จะเป็นการเตรียมตัวนักเรียนสำหรับเข้ามหาลัยจริงๆ
สองปีแรกที่ที่เข้าไปเรียนในระบบ Secondary School ของสิงคโปร์ก็นับว่าเป็นการท้าทายตัวเองค่อนข้างมากแล้ว ตอนแรกเราต้องฝึกเปลียนจากการท่องจำ และมีคิดวิเคราะห์บ้างเล็กน้อยในบางวิชาที่ไทย ให้กลายมาเป็นการศึกษาด้วยความเข้าใจ และตามมาด้วยการฝึกฝนข้อสอบเก่าๆ จนช่ำชองในวิชาการ ทั้งเรื่องจำ และนำไปประยุกต์ใช้อย่างหลากหลายภายในเวลาที่ค่อนข้างจำกัด. การที่เราจะเข้า ม ปลายของที่สิงคโปร์ได้ เราจะต้องมีคะแนนสอบ O-Level อยู่ในระดับที่เรียกว่า Top 30% of the whole country ถึงจะมีสิทธิ์เข้าเรียนได้ (มีสิทธิ์นะครับ ไม่ได้แปลว่าจะได้เรียน 55555) ซึ่งสำหรับเด็กสิงคโปร์เอง การเข้าระดับ Pre-University ได้ (ที่สิงคโปร์จะเรียกโรงเรียน ม ปลายเหล่านี้ว่า Junior College หรือสั้นๆว่า JC) ถือว่าเป็นอะไรที่ท้าทายมาก แล้วจะดูเป็นเด็กเก่งมากๆ ถ้าเข้าได้
พูดถึงความยากขนาดนี้แล้ว หลายๆคนที่กำลังจะสมัครทุน Pre-Uni หรือ จะจบ Secondary School แล้วต่อ Pre-uni คงจะเริ่มกลัว 55555 ไม่ต้องกลัวครับ ถ้าน้องๆสอบทุนผ่าน แสดงว่าน้องๆมีศักยภาพเพียงพอสำหรับการเรียนที่นู่นอย่างแน่นอน
)))
มากกว่า 90% ของนักเรียนทุน Secondary School จะสามารถศึกษาต่อในระบบ Pre-University ได้ และจะมีอีกหลายคนที่สามารถทำคะแนน A รวดทุกวิชาได้!!!!
สรุปสั้นๆ ง่ายๆ การเข้า Pre-University เป็นเรื่องที่ยากแต่ไม่ไกลเกินเอื่อมครับ
หลังจากได้หลั่งเลือด และน้ำตาไปหลายลิตร ในที่สุดผมก็ได้เข้าไปเรียนต่อที่ Innova Junior College โดยพักอยู่ที่หอของ Anglo Chinese School Barker Road ที่ Newton
ก่อนที่ผมจะได้เข้ามาเรียนในระบบ Pre-University นี้ ก็ได้รับการให้กำลังใจจากรุ่นพี่หลายๆรุ่นมากๆว่าอะไรที่เจอมา 2 ปีที่แล้ว ให้ถือเป็นของเล่นซะ นี่สิของจริง…………. ของเล่น หึๆๆ ที่อ่านหนังสือแทบตายนี่ยังของเล่นอีกหรอ T-T ตูจะรอดมั้ยเนี่ยยยยยย รุ่นพี่แต่ละคนก็ทำหน้าเศร้าใจแล้วยังบอกอีกว่า การนอนก่อนเที่ยงคืนจะของ rare มาก #ร้องไห้หนักอีกรอบ…….. เอาวะ ไหนๆก็เข้ามาละ ก็ขอสู้จนตายไปข้างนึงละกัน ไม่มีการถอยกลับแล้ว!!!
สิ่งหลักๆที่แต่งต่างในการเรียนระดับ Pre-University คือ
1. เรียนจำนวนวิชาน้อยลง
เยสสสสสสส ไม่ต้องเรียนสากกระเบือยันเรือรบแบบตอน Secondary School แล้วววว ม ปลายที่นี่เรียนไม่เกิน 6 วิชาครับ วิชาจะแบ่งระดับเป็น H1, H2 and H3 (ระดับ 1-3 นั่นเอง) โดยก็ยากขึ้นตามลำดับเลข โดยทั่วไป เด็กจะเลือกได้ 4 วิชาจาก 6 ซึ่งก็ต้องเป็นระดับ H2 อย่างน้อย 3 จาก 4 ตัว (ถ้าไม่เข้าใจ ไม่เป็นไรครับ ถึงเวลาจะเข้าใจเอง 5555555) ซึ่งสำหรับผม ผมได้เลือก Physics, Chemistry, Mathematics and Economics ครับ เป็นระดับ H2 หมดเลย
2.ที่นี่ก็มีแยกสายวิทย์ ศิลป์ แบบบ้านเรา
วิทย์ที่นี่จะให้เลือกได้แค่ 2 ใน 3 เท่านั้น คือ ไม่ต้องเรียน Physics Chemistry and Biology พร้อมกัน เลือกเพียงสองอันที่ต้องใช้พอ (ต่างจากบ้านเราที่ต้องรู้ทุกตัว) ซึ่งโดยส่วนตัวผมชอบแนวสิงคโปร์มากกว่า เนื่องจากเราจะได้โฟกัสกับวิชาที่เราต้องใช้จริงๆ แต่ในกรณีที่น้องๆคนไหนอยากศึกษาต่อทางการแพทย์จริงๆ จะแนะนำให้เรียน Biology and Chemistry ไปเลย แล้วหากจะต้องสอบ Physics SAT หรือกลับมาสอบที่ไทย เราสามารถไปศึกษาเพิ่มเติมตามคอร์สเรียนพิเศษได้ ซึ่งก็มีรุ่นพี่หลายๆคนได้ทำ และสามารถติดหมอของที่ประเทศไทยได้
3. สายศิลป์ที่สิงคโปร์ไม่ได้มีแค่ศิลปะ หรือ ภาษา
History, Geography, Music, Drawing หรือ Business ก็นับว่าอยู่ในสายศิลป์เช่นกัน และข้อแตกต่างก็คือเด็กสายศิลป์ ไม่ได้ด้อยไปกว่าเด็กสายวิทย์เลย เด็กสายศิลป์ก็จะเก่งในการวิเคารห์เชิงอธิบายโดยใช้หลักการที่เรียนในวิชาของตนเช่นเดียวกับสายวิทย์ ซึ่งถ้าเป็นวิชาประวัติศาสตร์ หรือ ธุรกิจ ก็ต้องเขียน Essay เป็นพันๆคำในห้องสอบ
4. วิธีการเรียนการสอน
จะแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ -Lecture Period (คาบที่เราจะไปนั่งเรียนเนื้อหารวมในห้องใหญ่ๆ) -Tutorial Period (คาบที่เราจะเข้าไปในห้องเรียนเล็กๆ พร้อมเพื่อนๆห้องละไม่เกิน 20 คน เพื่อส่งการบ้าน และเคลียข้อสงสัยจากชั่วโมง Lecture) ซึ่งวิธีนี้ในคาบ Lecture อาจารย์จะไปค่อนข้างเร็วมากกกกกกก เร็วติดจรวดก็ว่าได้ เนื่องจากว่าเนื้อหาของแต่ละวิชาที่ต้องเรียนนั้นมีเยอะมากๆ และต้องสอนใหทันภายใน 1 ปีครึ่ง……. เยอะขนาดไหน ก็อาจจะน้อยกว่าที่เรียนที่ไทย 2 ปีครึ่ง ไปหน่อย (อีกเกือบครึ่งปีไว้อ่านหนังสือ) แต่ต้องเรียนให้จบภายใน 1 ปีครึ่ง………. (วิชาเรียนถึงน้อยไงจ๊ะ อิอิ….. สรุปคือก็หนักอยู่ดีนี่ล่ะ T-T) ซึ่งด้วยความเร็วยิ่งกว่า Usian Bolt วิ่งเข้าเส้นชัยแล้ว อาจารย์ก็หวังให้เราเข้าใน Lecture แค่ประมาณ 60-70% (ตัวเลขนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณมันสมองของเด็กน่อยๆแต่ละขึ้น และความง่วงระหว่างคาบเรียน 5555555) เพราะฉะนั้นกลับบ้านไปก็ต้องไปอ่านทบทวนอีกรอบ และพอมีปัญหาในการทำการบ้านหรอืเข้าใจบทเรียน เราก็จะไปเคลียกันใน ชั่วโมง Tutorial ที่จะมีอาจารย์คอยให้คำปรึกษา…….. ซึ่งทั้งหมดนี้ มันแตกต่างจากการเรียนตอน Secondary School หรือที่ไทย ที่นั่งฟังอาจารย์ไปเรื่อยๆ ทำการบ้านบ้าง อ่านหนังสือบ้าง เล่นๆ เดี๋ยวก็โอ นี่เป็นหนึ่งในเรื่องที่ท้าทายมากๆ สำหรับการเข้ามาเรียนในระบบ Pre-University
5. อาจารย์ที่สอนใน Junior College
เป็นอาจารย์ที่อุทิศชีวิตเพื่อการสอนจริงๆครับ อาจารย์ไม่ได้มาแค่ร่ายคาถารัวๆให้ฟังในห้อง Lecture หรือแค่ตรวจการบ้าน และให้คำแนะนำเด็กในช่วง Tutorial Class เท่านั้น อาจารย์เหล่านี้จะยอมกลับบ้านช้าเพื่ออธิบายให้เราฟัง หมายถึงเราสามารถนัดเวลากับอาจารย์หลังเลิกเรียนได้ อาจารย์ที่ขาจะชอบเด็กที่สนใจเรียน เข้าหาเขามาก เขาจะยินดีและเต็มใจตอบเรามากๆครับ บางครั้งถึงกับไปนั่ง McDonald’s กับเรา วันเสาร์อาทิตย์เพื่อตอบคำถามเราด้วย นี่เป็นอีกเหตุผลนึงที่ทำให้เด็กที่จบสิงคโปร์มามีคุณภาพที่ดีมากครับ
อาจารย์ See Tho เป็นหนึ่งในอาจารย์ที่ทุ่มเทมากๆ อาจารย์มาร่วมแสดงความยินดีกับพวกเราในวันที่ประกาศผลสอบ
6. CCA (Co-Curricular Activities หรือ ชมรมนั่นเอง)
อย่างที่เกริ่นไปในพาร์ทที่แล้วว่าชมรมที่นี่เด็กเต็มที่มากๆ และเมื่อเข้ามาใน Pre-university อาจารย์จะให้ freedom ในการดำเนินการอย่างเต็มที่ ใครอยากทำอะไร เขียนแพลนไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาดู และอาจารย์ก็จะช่วยแนะแนวอย่างเต็มที่ เพื่อให้แผนเราสำเร็จลุล่วง หรือแก้ไขในจุดที่บกพร่อง ผมนั้นได้เลือกที่จะเข้าชมรม Students’ Council หรือสภานักเรียนของโรงเรียน ซึ่งต้องบอกว่าได้เรียนรู้เรื่องความเป็นผู้นำ การรับฟังผู้อื่น และทักษะต่างๆอีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานเป็นกลุ่ม และการนำทีม (ซึ่งตอนนี้ก็ยังได้ใช้อยู่เป็นประจำ
ทีม Students' Council ที่ทำงานมาด้วยกันคลอด 2 ปี
7. เพื่อน
เนื่องจากระดับ Pre-University จะแยกตัวออกจาก Secondary School เพราะฉะนั้น เด็กทุกคนจะต้องเข้าไปอยู่ในโรงเรียนใหม่ ทำให้เราได้มีโอกาสทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่หมดเลย ทำให้เรามีโอกาสสนิทกับเพื่อนเหล่านี้มากยิ่งขึ้น และหลายๆคนก็บอกว่า Junior College เป็นช่วงเวลาที่เราจะได้เจอเพื่อนที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเราเยอะมาก จึงทำให้สนิทกันมากๆ
เพื่อนๆชาวไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ขณะที่จิ๊กโทรศัพท์ผมไปถ่าย Wefie
สรุปคือการเรียนในระบบ Pre-University ของทางสิงคโปร์เป็นอะไรที่ท้าทายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ แต่ผมเชื่อว่าถ้าเรามีความตั้งใจ มันจะผ่านไปได้ด้วยดี แล้วเราก็ยังมี Support จากทางเพื่อนๆ พี่ๆน้องๆ คุณครู และทางกระทรวงศึกษาของสิงคโปร์คอยช่วยหนุนหลังเราด้วยครับ และที่แน่ๆคือ เราทุกคนที่ผ่านระบบนี้มาแล้ว พร้อมใจกันลงความเห็นว่า เป็น 2 ปีที่เหนื่อยมากกกกกกกกกกกก แต่ก็เป็น 2 ปีที่สนุกมากกกกกกกก และได้ความรู้ และทักษะชีวิตมากกกกกกกกกกด้วย เช่นกัน
ไว้วันหลังจะมาเล่าเรืองราวชีวิตส่วนตัวในช่วง 2 ปีนี้ให้ฟังนะครับ
สำหรับวันนี้ สวัสดีคร้าบบบ
กฤต
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุน หรือการเตรียมตัว สามารถเข้าไปดูได้ที่
FB page: TSnxtgen by รุ่นพี่ทุนอาเซียน - ASEAN Scholarship
https://web.facebook.com/TSnxtgen/
และ
FB page: พ่อนักเรียนทุนอาเซี่ยน asean scholarship
https://web.facebook.com/%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99-asean-scholarship-284074585069781/
วันนี้อยากเล่า: ระบบ Pre-University ของสิงคโปร์
1:https://ppantip.com/topic/33107833
2:https://ppantip.com/topic/33153280
3:https://ppantip.com/topic/33204572
ใครมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุนอาเซียนนี้
สอบถามเพิ่มเติมติดต่อเพจนี้ได้นะครับ: https://www.facebook.com/TSnxtgen/
ตอนที่ 4
แต่น แตน แตน แต๊นนนนนนน กราบสวัสดีพ่อแม่พี่น้องที่เคารพ รู้สึกห่างเหินจากการเขียนบล็อกเกี่ยวกับทุนอาเซียนไปนานมาก 555555 แอบหนีไปเอ็นจอยชีวิตมหาลัยมาครับ ซึ่งระหว่างที่หยุดเขียนไป ก็ได้เจออะไรหลายๆอย่าง ที่ได้ทำให้ผมรู้สึกโตขึ้น มีความรู้สึกนึกคิดมากขึ้น ต่อยอดจากสิ่งที่ได้มาจากสิงคโปร์ และวันนี้ผมกลับมาแล้วว เพื่อจะมาเล่าต่อจากตอนที่แล้วให้ฟังกันนะครับ
ป.ล.กระทู้นี้จะเน้นหนักไปทางอธิบายตัวระบบ Pre-University เนื่องจากมีผปคหลายคนได้ถามมา ขออภัยล่วงหน้าหากเนื้อเรื่องไม่แซ่บหรือฮา เท่ากระทู้ก่อนๆ (อิอิ)
ความเดิมจากตอนที่แล้ว…….. เด็กชาย กรกฤต ตัวน่อยได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศสิงคโปร์ เวลาสองปีผ่านไป เค้าก็ได้จากโรงเรียน Commonwealth Secondary School อันเป็นที่รักยิ่ง และมี uniform สีฟ้าสดใสที่เก๋ไก๋ที่สุดในปฐพี (เว่ออีกแล้ว 5555) เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับ Pre-University (เตรียมอุดมศึกษา หรือ ม ปลายนั่นเอง) ที่นี่เค้าจะได้พบกับความท้าทายสุดหฤโหดเวอร์ชั่นที่ ลูกเกต The Face ก็ยังต้องใจหาย …….
หลังจากที่ได้รับผล O-Level ออกมา ผมก็ได้ทำการยื่นคะแนนเพื่อสมัครเข้าเรียนต่อระดับ Pre-University
ก่อนอื่นต้องอธิบายว่า
ประเทศไทยแบ่งชั้นมัธยมเป็น มัธยมต้น 1-3 และ มัธยมปลาย 4-6
ส่วนที่สิงคโปร์แบ่งชั้นการศึกษาเป็นระดับ Secondary School 1-4 และ Pre-University 1-2 ซึ่งจะไม่เหมือนกับของบ้านเราครับ เพราะ Pre-University จะเป็นการเตรียมตัวนักเรียนสำหรับเข้ามหาลัยจริงๆ
สองปีแรกที่ที่เข้าไปเรียนในระบบ Secondary School ของสิงคโปร์ก็นับว่าเป็นการท้าทายตัวเองค่อนข้างมากแล้ว ตอนแรกเราต้องฝึกเปลียนจากการท่องจำ และมีคิดวิเคราะห์บ้างเล็กน้อยในบางวิชาที่ไทย ให้กลายมาเป็นการศึกษาด้วยความเข้าใจ และตามมาด้วยการฝึกฝนข้อสอบเก่าๆ จนช่ำชองในวิชาการ ทั้งเรื่องจำ และนำไปประยุกต์ใช้อย่างหลากหลายภายในเวลาที่ค่อนข้างจำกัด. การที่เราจะเข้า ม ปลายของที่สิงคโปร์ได้ เราจะต้องมีคะแนนสอบ O-Level อยู่ในระดับที่เรียกว่า Top 30% of the whole country ถึงจะมีสิทธิ์เข้าเรียนได้ (มีสิทธิ์นะครับ ไม่ได้แปลว่าจะได้เรียน 55555) ซึ่งสำหรับเด็กสิงคโปร์เอง การเข้าระดับ Pre-University ได้ (ที่สิงคโปร์จะเรียกโรงเรียน ม ปลายเหล่านี้ว่า Junior College หรือสั้นๆว่า JC) ถือว่าเป็นอะไรที่ท้าทายมาก แล้วจะดูเป็นเด็กเก่งมากๆ ถ้าเข้าได้
พูดถึงความยากขนาดนี้แล้ว หลายๆคนที่กำลังจะสมัครทุน Pre-Uni หรือ จะจบ Secondary School แล้วต่อ Pre-uni คงจะเริ่มกลัว 55555 ไม่ต้องกลัวครับ ถ้าน้องๆสอบทุนผ่าน แสดงว่าน้องๆมีศักยภาพเพียงพอสำหรับการเรียนที่นู่นอย่างแน่นอน )))
มากกว่า 90% ของนักเรียนทุน Secondary School จะสามารถศึกษาต่อในระบบ Pre-University ได้ และจะมีอีกหลายคนที่สามารถทำคะแนน A รวดทุกวิชาได้!!!!
สรุปสั้นๆ ง่ายๆ การเข้า Pre-University เป็นเรื่องที่ยากแต่ไม่ไกลเกินเอื่อมครับ
หลังจากได้หลั่งเลือด และน้ำตาไปหลายลิตร ในที่สุดผมก็ได้เข้าไปเรียนต่อที่ Innova Junior College โดยพักอยู่ที่หอของ Anglo Chinese School Barker Road ที่ Newton
ก่อนที่ผมจะได้เข้ามาเรียนในระบบ Pre-University นี้ ก็ได้รับการให้กำลังใจจากรุ่นพี่หลายๆรุ่นมากๆว่าอะไรที่เจอมา 2 ปีที่แล้ว ให้ถือเป็นของเล่นซะ นี่สิของจริง…………. ของเล่น หึๆๆ ที่อ่านหนังสือแทบตายนี่ยังของเล่นอีกหรอ T-T ตูจะรอดมั้ยเนี่ยยยยยย รุ่นพี่แต่ละคนก็ทำหน้าเศร้าใจแล้วยังบอกอีกว่า การนอนก่อนเที่ยงคืนจะของ rare มาก #ร้องไห้หนักอีกรอบ…….. เอาวะ ไหนๆก็เข้ามาละ ก็ขอสู้จนตายไปข้างนึงละกัน ไม่มีการถอยกลับแล้ว!!!
สิ่งหลักๆที่แต่งต่างในการเรียนระดับ Pre-University คือ
1. เรียนจำนวนวิชาน้อยลง
เยสสสสสสส ไม่ต้องเรียนสากกระเบือยันเรือรบแบบตอน Secondary School แล้วววว ม ปลายที่นี่เรียนไม่เกิน 6 วิชาครับ วิชาจะแบ่งระดับเป็น H1, H2 and H3 (ระดับ 1-3 นั่นเอง) โดยก็ยากขึ้นตามลำดับเลข โดยทั่วไป เด็กจะเลือกได้ 4 วิชาจาก 6 ซึ่งก็ต้องเป็นระดับ H2 อย่างน้อย 3 จาก 4 ตัว (ถ้าไม่เข้าใจ ไม่เป็นไรครับ ถึงเวลาจะเข้าใจเอง 5555555) ซึ่งสำหรับผม ผมได้เลือก Physics, Chemistry, Mathematics and Economics ครับ เป็นระดับ H2 หมดเลย
2.ที่นี่ก็มีแยกสายวิทย์ ศิลป์ แบบบ้านเรา
วิทย์ที่นี่จะให้เลือกได้แค่ 2 ใน 3 เท่านั้น คือ ไม่ต้องเรียน Physics Chemistry and Biology พร้อมกัน เลือกเพียงสองอันที่ต้องใช้พอ (ต่างจากบ้านเราที่ต้องรู้ทุกตัว) ซึ่งโดยส่วนตัวผมชอบแนวสิงคโปร์มากกว่า เนื่องจากเราจะได้โฟกัสกับวิชาที่เราต้องใช้จริงๆ แต่ในกรณีที่น้องๆคนไหนอยากศึกษาต่อทางการแพทย์จริงๆ จะแนะนำให้เรียน Biology and Chemistry ไปเลย แล้วหากจะต้องสอบ Physics SAT หรือกลับมาสอบที่ไทย เราสามารถไปศึกษาเพิ่มเติมตามคอร์สเรียนพิเศษได้ ซึ่งก็มีรุ่นพี่หลายๆคนได้ทำ และสามารถติดหมอของที่ประเทศไทยได้
3. สายศิลป์ที่สิงคโปร์ไม่ได้มีแค่ศิลปะ หรือ ภาษา
History, Geography, Music, Drawing หรือ Business ก็นับว่าอยู่ในสายศิลป์เช่นกัน และข้อแตกต่างก็คือเด็กสายศิลป์ ไม่ได้ด้อยไปกว่าเด็กสายวิทย์เลย เด็กสายศิลป์ก็จะเก่งในการวิเคารห์เชิงอธิบายโดยใช้หลักการที่เรียนในวิชาของตนเช่นเดียวกับสายวิทย์ ซึ่งถ้าเป็นวิชาประวัติศาสตร์ หรือ ธุรกิจ ก็ต้องเขียน Essay เป็นพันๆคำในห้องสอบ
4. วิธีการเรียนการสอน
จะแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ -Lecture Period (คาบที่เราจะไปนั่งเรียนเนื้อหารวมในห้องใหญ่ๆ) -Tutorial Period (คาบที่เราจะเข้าไปในห้องเรียนเล็กๆ พร้อมเพื่อนๆห้องละไม่เกิน 20 คน เพื่อส่งการบ้าน และเคลียข้อสงสัยจากชั่วโมง Lecture) ซึ่งวิธีนี้ในคาบ Lecture อาจารย์จะไปค่อนข้างเร็วมากกกกกกก เร็วติดจรวดก็ว่าได้ เนื่องจากว่าเนื้อหาของแต่ละวิชาที่ต้องเรียนนั้นมีเยอะมากๆ และต้องสอนใหทันภายใน 1 ปีครึ่ง……. เยอะขนาดไหน ก็อาจจะน้อยกว่าที่เรียนที่ไทย 2 ปีครึ่ง ไปหน่อย (อีกเกือบครึ่งปีไว้อ่านหนังสือ) แต่ต้องเรียนให้จบภายใน 1 ปีครึ่ง………. (วิชาเรียนถึงน้อยไงจ๊ะ อิอิ….. สรุปคือก็หนักอยู่ดีนี่ล่ะ T-T) ซึ่งด้วยความเร็วยิ่งกว่า Usian Bolt วิ่งเข้าเส้นชัยแล้ว อาจารย์ก็หวังให้เราเข้าใน Lecture แค่ประมาณ 60-70% (ตัวเลขนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณมันสมองของเด็กน่อยๆแต่ละขึ้น และความง่วงระหว่างคาบเรียน 5555555) เพราะฉะนั้นกลับบ้านไปก็ต้องไปอ่านทบทวนอีกรอบ และพอมีปัญหาในการทำการบ้านหรอืเข้าใจบทเรียน เราก็จะไปเคลียกันใน ชั่วโมง Tutorial ที่จะมีอาจารย์คอยให้คำปรึกษา…….. ซึ่งทั้งหมดนี้ มันแตกต่างจากการเรียนตอน Secondary School หรือที่ไทย ที่นั่งฟังอาจารย์ไปเรื่อยๆ ทำการบ้านบ้าง อ่านหนังสือบ้าง เล่นๆ เดี๋ยวก็โอ นี่เป็นหนึ่งในเรื่องที่ท้าทายมากๆ สำหรับการเข้ามาเรียนในระบบ Pre-University
5. อาจารย์ที่สอนใน Junior College
เป็นอาจารย์ที่อุทิศชีวิตเพื่อการสอนจริงๆครับ อาจารย์ไม่ได้มาแค่ร่ายคาถารัวๆให้ฟังในห้อง Lecture หรือแค่ตรวจการบ้าน และให้คำแนะนำเด็กในช่วง Tutorial Class เท่านั้น อาจารย์เหล่านี้จะยอมกลับบ้านช้าเพื่ออธิบายให้เราฟัง หมายถึงเราสามารถนัดเวลากับอาจารย์หลังเลิกเรียนได้ อาจารย์ที่ขาจะชอบเด็กที่สนใจเรียน เข้าหาเขามาก เขาจะยินดีและเต็มใจตอบเรามากๆครับ บางครั้งถึงกับไปนั่ง McDonald’s กับเรา วันเสาร์อาทิตย์เพื่อตอบคำถามเราด้วย นี่เป็นอีกเหตุผลนึงที่ทำให้เด็กที่จบสิงคโปร์มามีคุณภาพที่ดีมากครับ
อาจารย์ See Tho เป็นหนึ่งในอาจารย์ที่ทุ่มเทมากๆ อาจารย์มาร่วมแสดงความยินดีกับพวกเราในวันที่ประกาศผลสอบ
6. CCA (Co-Curricular Activities หรือ ชมรมนั่นเอง)
อย่างที่เกริ่นไปในพาร์ทที่แล้วว่าชมรมที่นี่เด็กเต็มที่มากๆ และเมื่อเข้ามาใน Pre-university อาจารย์จะให้ freedom ในการดำเนินการอย่างเต็มที่ ใครอยากทำอะไร เขียนแพลนไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาดู และอาจารย์ก็จะช่วยแนะแนวอย่างเต็มที่ เพื่อให้แผนเราสำเร็จลุล่วง หรือแก้ไขในจุดที่บกพร่อง ผมนั้นได้เลือกที่จะเข้าชมรม Students’ Council หรือสภานักเรียนของโรงเรียน ซึ่งต้องบอกว่าได้เรียนรู้เรื่องความเป็นผู้นำ การรับฟังผู้อื่น และทักษะต่างๆอีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานเป็นกลุ่ม และการนำทีม (ซึ่งตอนนี้ก็ยังได้ใช้อยู่เป็นประจำ
ทีม Students' Council ที่ทำงานมาด้วยกันคลอด 2 ปี
7. เพื่อน
เนื่องจากระดับ Pre-University จะแยกตัวออกจาก Secondary School เพราะฉะนั้น เด็กทุกคนจะต้องเข้าไปอยู่ในโรงเรียนใหม่ ทำให้เราได้มีโอกาสทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่หมดเลย ทำให้เรามีโอกาสสนิทกับเพื่อนเหล่านี้มากยิ่งขึ้น และหลายๆคนก็บอกว่า Junior College เป็นช่วงเวลาที่เราจะได้เจอเพื่อนที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเราเยอะมาก จึงทำให้สนิทกันมากๆ
เพื่อนๆชาวไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ขณะที่จิ๊กโทรศัพท์ผมไปถ่าย Wefie
สรุปคือการเรียนในระบบ Pre-University ของทางสิงคโปร์เป็นอะไรที่ท้าทายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ แต่ผมเชื่อว่าถ้าเรามีความตั้งใจ มันจะผ่านไปได้ด้วยดี แล้วเราก็ยังมี Support จากทางเพื่อนๆ พี่ๆน้องๆ คุณครู และทางกระทรวงศึกษาของสิงคโปร์คอยช่วยหนุนหลังเราด้วยครับ และที่แน่ๆคือ เราทุกคนที่ผ่านระบบนี้มาแล้ว พร้อมใจกันลงความเห็นว่า เป็น 2 ปีที่เหนื่อยมากกกกกกกกกกกก แต่ก็เป็น 2 ปีที่สนุกมากกกกกกกก และได้ความรู้ และทักษะชีวิตมากกกกกกกกกกด้วย เช่นกัน
ไว้วันหลังจะมาเล่าเรืองราวชีวิตส่วนตัวในช่วง 2 ปีนี้ให้ฟังนะครับ
สำหรับวันนี้ สวัสดีคร้าบบบ
กฤต
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุน หรือการเตรียมตัว สามารถเข้าไปดูได้ที่
FB page: TSnxtgen by รุ่นพี่ทุนอาเซียน - ASEAN Scholarship https://web.facebook.com/TSnxtgen/
และ
FB page: พ่อนักเรียนทุนอาเซี่ยน asean scholarship
https://web.facebook.com/%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99-asean-scholarship-284074585069781/