ในแวดวงของ “ทหาร” ซึ่งมีส่วนกับปัญหา”คอมมิวนิสต์”มีคำอยู่ 2 คำซึ่งรับรู้กันอย่างกว้างขวาง
1 คือคำว่า “เหยี่ยว” 1 คือคำว่า”พิราบ”
วิธีการในแบบของ จอมพลประภาส จารุเสถียร เรียกกันว่าวิธีการแบบ “เหยี่ยว”
วิธีการในแบบของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เรียกกันว่าวิธีการแบบ “พิราบ”
แท้จริงแล้ว 2 คำนี้มีความสัมพันธ์กัน
เพราะว่าวิธีการในแบบ “เหยี่ยว” ไม่ประสบผลสำเร็จอย่างที่สรุปกันในภายหลังว่า
ยิ่ง “ปราบ” ก็ยิ่ง “โต”
จึงได้มีวิธีการในแบบ “พิราบ” เกิดขึ้นกระทั่งในที่สุดก็ตกผลึกเป็น “คำสั่งที่ 66/2523”
สามารถยุติ “สงครามกลางเมือง”ที่ยืดเยื้อมาแต่ปี 2507 ลงได้
นั่นเป็นบทเรียนในเรื่อง “คอมมิวนิสต์”
คุณูปการอย่างสำคัญของ “คำสั่งที่ 66/2523” ในทางความคิด ในทางการเมืองคืออะไร
คือ การชู “การเมืองนำการทหาร”
บทบาทและความหมายที่สำคัญที่สาย”พิราบ”เข้าอยู่ในสถานะนำในทางความคิดก็คือ
เอาคำว่า “ต่อสู้” มาแทนคำว่า “ปราบปราม”
เพราะการใช้คำว่า “ปราบปราม” สะท้อนการทหารเป็นด้านหลัก และมองข้ามบทบาท
และความหมายของการเมือง
ขณะที่คำว่า “ต่อสู้” มากด้วยความละเอียดอ่อน
ละเอียดอ่อนเพราะเมื่อยกคำว่า “ต่อสู้” มาเป็นด้านนำหมายถึงการต่อสู้เพื่อเอาชนะ
ในทาง “ความคิด”
นี่สอดรับกับ”เป้าหมาย”สูงสุดในทาง”ยุทธศาสตร์”
ไม่ว่าจะเป็นแนวทางของ”ซุนวู”แห่งจีน ไม่ว่าจะเป็นแนวทางของ “เคลาสวิตซ์”แห่งเยอรมนี
”ชัยชนะ”สุดยอดคือเอาชนะที่”ใจ”
ถามว่ากระบวนการเพื่อจัดการกับ”ธรรมกาย”สะท้อนแนวทางแบบใดระหว่าง “เหยี่ยว” กับ”พิราบ”
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ “สำเหนียก”บ้างหรือไม่
นับแต่มีคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 5 มายังคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 12 บ่งชี้อย่างเด่นชัด
เป็น “เหยี่ยว” มิใช่ “พิราบ”
ทั้งที่ปัญหาของ “ธรรมกาย” โดยพื้นฐานแล้วเป็นปัญหาในทางความคิด เป็นปัญหาในทางการเมือง
นี่เป็นเรื่องของ”การต่อสู้” มิใช่เรื่องของ”การปราบปราม”
อีกทั้งความลึกซึ้งอย่างยิ่งของปัญหา”ธรรมกาย”มีความสัมพันธ์อยู่กับเรื่องในทาง “ศาสนา”
อันมากด้วยความละ เอียดอ่อนและอ่อนไหว
หากไม่ตระหนักก็จะอาจจะถลำลึกลงไปเป็นลำดับ
9.00 INDEX กระบวนการ “เหยี่ยว” กับ “พิราบ” การบริหารจัดการต่อ “ธรรมกาย” ...มติชนออนไลน์.../sao..เหลือ..noi
ในแวดวงของ “ทหาร” ซึ่งมีส่วนกับปัญหา”คอมมิวนิสต์”มีคำอยู่ 2 คำซึ่งรับรู้กันอย่างกว้างขวาง
1 คือคำว่า “เหยี่ยว” 1 คือคำว่า”พิราบ”
วิธีการในแบบของ จอมพลประภาส จารุเสถียร เรียกกันว่าวิธีการแบบ “เหยี่ยว”
วิธีการในแบบของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เรียกกันว่าวิธีการแบบ “พิราบ”
แท้จริงแล้ว 2 คำนี้มีความสัมพันธ์กัน
เพราะว่าวิธีการในแบบ “เหยี่ยว” ไม่ประสบผลสำเร็จอย่างที่สรุปกันในภายหลังว่า
ยิ่ง “ปราบ” ก็ยิ่ง “โต”
จึงได้มีวิธีการในแบบ “พิราบ” เกิดขึ้นกระทั่งในที่สุดก็ตกผลึกเป็น “คำสั่งที่ 66/2523”
สามารถยุติ “สงครามกลางเมือง”ที่ยืดเยื้อมาแต่ปี 2507 ลงได้
นั่นเป็นบทเรียนในเรื่อง “คอมมิวนิสต์”
คุณูปการอย่างสำคัญของ “คำสั่งที่ 66/2523” ในทางความคิด ในทางการเมืองคืออะไร
คือ การชู “การเมืองนำการทหาร”
บทบาทและความหมายที่สำคัญที่สาย”พิราบ”เข้าอยู่ในสถานะนำในทางความคิดก็คือ
เอาคำว่า “ต่อสู้” มาแทนคำว่า “ปราบปราม”
เพราะการใช้คำว่า “ปราบปราม” สะท้อนการทหารเป็นด้านหลัก และมองข้ามบทบาท
และความหมายของการเมือง
ขณะที่คำว่า “ต่อสู้” มากด้วยความละเอียดอ่อน
ละเอียดอ่อนเพราะเมื่อยกคำว่า “ต่อสู้” มาเป็นด้านนำหมายถึงการต่อสู้เพื่อเอาชนะ
ในทาง “ความคิด”
นี่สอดรับกับ”เป้าหมาย”สูงสุดในทาง”ยุทธศาสตร์”
ไม่ว่าจะเป็นแนวทางของ”ซุนวู”แห่งจีน ไม่ว่าจะเป็นแนวทางของ “เคลาสวิตซ์”แห่งเยอรมนี
”ชัยชนะ”สุดยอดคือเอาชนะที่”ใจ”
ถามว่ากระบวนการเพื่อจัดการกับ”ธรรมกาย”สะท้อนแนวทางแบบใดระหว่าง “เหยี่ยว” กับ”พิราบ”
นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ “สำเหนียก”บ้างหรือไม่
นับแต่มีคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 5 มายังคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 12 บ่งชี้อย่างเด่นชัด
เป็น “เหยี่ยว” มิใช่ “พิราบ”
ทั้งที่ปัญหาของ “ธรรมกาย” โดยพื้นฐานแล้วเป็นปัญหาในทางความคิด เป็นปัญหาในทางการเมือง
นี่เป็นเรื่องของ”การต่อสู้” มิใช่เรื่องของ”การปราบปราม”
อีกทั้งความลึกซึ้งอย่างยิ่งของปัญหา”ธรรมกาย”มีความสัมพันธ์อยู่กับเรื่องในทาง “ศาสนา”
อันมากด้วยความละ เอียดอ่อนและอ่อนไหว
หากไม่ตระหนักก็จะอาจจะถลำลึกลงไปเป็นลำดับ