1. ไม่รู้เลยว่าตำแหน่งที่ตัวเองจะไปสอบมีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง กรมกองที่สังกัดมีลักษณะงานอย่างไร มีส่วนราชการแห่งใดบ้าง?
"ตำแหน่งนี้ทำไรบ้างอะคะ"
"มีโอกาสก้าวหน้าแค่ไหนครับ"
"มีต่างจังหวัดไหม"
- ปัญหานี้เกิดขึ้นกับคนที่อยากสอบงานราชการให้ได้ แต่ขาดความใส่ใจ ทั้งๆ ที่ในประกาศรับสมัครสอบมีแทบทุกอย่างที่อยากรู้
ในเว็บไซต์ของหน่วยงานก็มีข้อมูลแทบทุกเรื่อง
2. สอบทั้งๆ ที่มีอคติในใจอยู่แล้วว่าการสอบงานราชการมีเส้นสาย
"เค้ามีคนของเค้าอยู่แล้ว"
"เก่งแค่ไหนก็แพ้เส้น"
- เป็นลักษณะของ Loser ที่น่าเบื่อหน่ายมาก ถ้าไม่สอบแล้ววิจารณ์การสอบจะไม่ว่าเลย แต่นี่สอบแทบทุกสนามแต่พอพลาดมา
ก็โทษว่าเส้นสายไม่ถึง เป็นทางออกสุดฮิตของคนประเภทนี้
3. เป็นคนอ่านหนังสือไม่ถึงแก่น อ่านสะเปะสะปะ จัดการวิธีการอ่านที่จะนำข้อมูลเข้าสมองของตัวเองให้มากที่สุดไม่ได้
- บางคนอ่านเหมือนอ่านโบรชัวสินค้า อ่านจนจบรอบนึงแล้วยังไม่รู้เลยว่าเขาขายอะไร ขายที่ไหน ราคาเท่าไหร่ คืออ่านจับใจความ
ไม่ได้เลย จนทำให้ต้องอ่านซ้ำหลายๆ รอบโดยไม่จำเป็น ยิ่งชอบพึ่งพาแนวข้อสอบหรือหนังสือของศูนย์ติวยิ่งแล้วใหญ่ บางคนเขา
สรุปมาให้แล้วขนาดนั้น ยังอ่านแล้วจับประเด็นไม่ได้
4. เป็นความหวังของหมู่บ้าน แต่ตัวเองอยากทำงานด้านอื่น
- มาสอบก็เครียดเพราะไม่อยากสอบได้ ซึ่งก็สอบไม่ค่อยได้หรอกเลยต้องมาสอบบ่อยมาก ถึงสอบเข้าไปได้ก็ไม่มีความสุขกับงานที่ทำ
ยิ่งเลือกอะไรก็ได้ที่พอจะมีทางเข้าไปได้ ยิ่งเป็นงานที่ห่วยสำหรับตัวเองเข้าไปใหญ่
5. ยังไม่ผ่าน ภาค ก. ของ กพ. และคิดว่าการสอบภาค ก. นี่ไร้สาระเสียจริง
- ติวก็แล้ว ซื้อข้อสอบเก่ามาอ่านก็แล้ว แต่กี่รอบๆ ก็ไม่เคยผ่าน บางคนอาจเห็นว่าเป็นวิชาไร้สาระไก่กา ทำไมต้องเอามาใช้กีดกันคนที่
มีความสามารถ บางคนเก่งกว่าคนที่สอบผ่านภาค ก. เสียอีก จริงๆ แล้วมันไม่ใช่วิชาไก่กา มันมีประโยชน์กับการปฏิบัติราชการพอสมควร
เลยทีเดียว ถ้าภาค ก. ยังผ่านไม่ได้ ไม่ควรได้สอบภาค ข. ก็ถูกต้องแล้ว
6. ขึ้นบัญชีลำดับไกลลิบ แต่ยังรอลุ้นอย่างมีความหวัง
- ถ้าลำดับแย่มากไม่ควรฝากผีฝากไข้ ต้องมองหางานอื่นๆ ไว้เตรียมสอบต่อ การขึ้นบัญชีไว้หลายที่คือทางเลือกของชีวิต หลายคนหมดไฟ
ก่อนจะได้บรรจุ หวังน้ำบ่อหน้ากับบัญชีที่มีอายุแค่ 2 ปี ซึ่งไม่ควรทำ
ก็ประมาณนี้ล่ะครับ
ปัญหาส่วนใหญ่ของคนสอบงานราชการ (กี่ปีๆ ก็ยังมีเหมือนเดิม)
"ตำแหน่งนี้ทำไรบ้างอะคะ"
"มีโอกาสก้าวหน้าแค่ไหนครับ"
"มีต่างจังหวัดไหม"
- ปัญหานี้เกิดขึ้นกับคนที่อยากสอบงานราชการให้ได้ แต่ขาดความใส่ใจ ทั้งๆ ที่ในประกาศรับสมัครสอบมีแทบทุกอย่างที่อยากรู้
ในเว็บไซต์ของหน่วยงานก็มีข้อมูลแทบทุกเรื่อง
2. สอบทั้งๆ ที่มีอคติในใจอยู่แล้วว่าการสอบงานราชการมีเส้นสาย
"เค้ามีคนของเค้าอยู่แล้ว"
"เก่งแค่ไหนก็แพ้เส้น"
- เป็นลักษณะของ Loser ที่น่าเบื่อหน่ายมาก ถ้าไม่สอบแล้ววิจารณ์การสอบจะไม่ว่าเลย แต่นี่สอบแทบทุกสนามแต่พอพลาดมา
ก็โทษว่าเส้นสายไม่ถึง เป็นทางออกสุดฮิตของคนประเภทนี้
3. เป็นคนอ่านหนังสือไม่ถึงแก่น อ่านสะเปะสะปะ จัดการวิธีการอ่านที่จะนำข้อมูลเข้าสมองของตัวเองให้มากที่สุดไม่ได้
- บางคนอ่านเหมือนอ่านโบรชัวสินค้า อ่านจนจบรอบนึงแล้วยังไม่รู้เลยว่าเขาขายอะไร ขายที่ไหน ราคาเท่าไหร่ คืออ่านจับใจความ
ไม่ได้เลย จนทำให้ต้องอ่านซ้ำหลายๆ รอบโดยไม่จำเป็น ยิ่งชอบพึ่งพาแนวข้อสอบหรือหนังสือของศูนย์ติวยิ่งแล้วใหญ่ บางคนเขา
สรุปมาให้แล้วขนาดนั้น ยังอ่านแล้วจับประเด็นไม่ได้
4. เป็นความหวังของหมู่บ้าน แต่ตัวเองอยากทำงานด้านอื่น
- มาสอบก็เครียดเพราะไม่อยากสอบได้ ซึ่งก็สอบไม่ค่อยได้หรอกเลยต้องมาสอบบ่อยมาก ถึงสอบเข้าไปได้ก็ไม่มีความสุขกับงานที่ทำ
ยิ่งเลือกอะไรก็ได้ที่พอจะมีทางเข้าไปได้ ยิ่งเป็นงานที่ห่วยสำหรับตัวเองเข้าไปใหญ่
5. ยังไม่ผ่าน ภาค ก. ของ กพ. และคิดว่าการสอบภาค ก. นี่ไร้สาระเสียจริง
- ติวก็แล้ว ซื้อข้อสอบเก่ามาอ่านก็แล้ว แต่กี่รอบๆ ก็ไม่เคยผ่าน บางคนอาจเห็นว่าเป็นวิชาไร้สาระไก่กา ทำไมต้องเอามาใช้กีดกันคนที่
มีความสามารถ บางคนเก่งกว่าคนที่สอบผ่านภาค ก. เสียอีก จริงๆ แล้วมันไม่ใช่วิชาไก่กา มันมีประโยชน์กับการปฏิบัติราชการพอสมควร
เลยทีเดียว ถ้าภาค ก. ยังผ่านไม่ได้ ไม่ควรได้สอบภาค ข. ก็ถูกต้องแล้ว
6. ขึ้นบัญชีลำดับไกลลิบ แต่ยังรอลุ้นอย่างมีความหวัง
- ถ้าลำดับแย่มากไม่ควรฝากผีฝากไข้ ต้องมองหางานอื่นๆ ไว้เตรียมสอบต่อ การขึ้นบัญชีไว้หลายที่คือทางเลือกของชีวิต หลายคนหมดไฟ
ก่อนจะได้บรรจุ หวังน้ำบ่อหน้ากับบัญชีที่มีอายุแค่ 2 ปี ซึ่งไม่ควรทำ
ก็ประมาณนี้ล่ะครับ