ทำไมที่วัดออกซิเจนในเลือดตามโรงพยาบาล ที่เหมือนตัวหนีบปลายนิ้ว ถึงวัดออกซิเจนในเลือดจากผิวหนังได้ล่ะครับ เขาใช้หลักการใด

สอบถามหน่อยครับว่าเขาใช้หลักการใดในการวัดค่าออกซิเจนในเลือดได้ล่ะครับ ทั้งที่แค่สัมผัสที่ผิวหนังด้านนอก (คืออย่างวัดความดันหรือวัดชีพจร มันยังมีจุดให้สังเกตได้จากการเต้นของหลอดเลือดตามผิวหนังที่เราเห็นได้อยู่) แต่วัดออกซิเจนที่ผิวหนังนี่แอบงงนิดๆ

ใครพอทราบบ้างครับ ขอบคุณครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เรียกว่า  pulse oximetry  เป็นเครื่องตรวจวัดร้อยละของฮีโมโกลบินที่จับอยู่กับออกซิเจนในเลือด อาศัยหลักการของ light absorption คือ สารต่างชนิดกันจะมีคุณสมบัติในการดูดซับแสงที่ความยาวคลื่นแตกต่างกัน ซึ่งหากเราใช้แสงชนิดหนึ่งที่มีความเจาะจงกับ oxyhemoglobin ฉายผ่านบริเวณที่มี oxyhemoglobin สารนี้ก็จะดูดซับแสงไป ส่วนที่เหลือก็จะทะลุผ่านไปยังฉากรับที่อยู่ด้านล่างซึ่งจะมีตัววัดปริมาณแสงที่เหลืออยู่ นำไปคำนวณปริมาณแสงที่หายไป ก็จะรู้ได้ว่ามี oxyhemoglobin อยู่เท่าใดนั่นเอง

ง่ายๆคือเครื่องนี้จะฉายคลื่นผ่านนิ้ว แล้ววัดร้อยละของฮีโมโกลบินที่จับอยู่กับออกซิเจนในเลือดทั้งเลือดแดงและเลือดดำ
แล้วเอามาคำนวณครับ อยากรู้ละเอียดพิมพ์ pulse oximetry ในกูเกิ้ล
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่