ระหว่างสองอาณาจักรคือ
ราชอาณาจักรและ
ศาสนจักร หากตัดการเมือง “ภายใน” ออกไปเสีย สองอาณาจักรก็ดูเหมือนจะมีแนวทาง, ปรัชญา, และการดำเนินการปกครองที่แตกต่างและเป็นเอกเทศต่อกันอยู่พอสมควร ภาษาศาสนาเรียกทั้งสองนี้ว่าฝ่าย “โลกิยะ” และอีกฝ่ายคือ “โลกุตะระ” ฝ่ายราชอาณาจักรมี “กฏหมายรัฐธรรมนูญ” เป็นแม่แบบในการปกครองและควบคุมพลเมือง ส่วนฝ่ายศาสนจักรมี “พระธรรมวินัย” และ “อภิสมาจาร” ปกครองและควบคุมนักบวช ก็ต่อเมื่อสังคมมนุษย์เริ่มซับซ้อนขึ้น....และในข้อเท็จจริงที่เลี่ยงไม่ได้ก็คือเหล่านักบวชก็คือส่วนหนึ่งของการเป็น “พลเมือง” ในราชอาณาจักร ความเชื่อมโยงของสองอาณาจักรในรูปแบบของการบริหารและปกครองจึงจำเป็นต้องมี ส่วนใครจะมีอิทธิพลมากกว่าใครนั้น คำตอบหลักอยู่ที่สถานะและแนวทางของศาสนจักร ในอดีต....บางราชอาณาจักรเช่นทิเบต ผู้นำทั้งสองอาณาจักรก็อยู่ที่บุคคลๆ เดียวคือองค์ดาไลลามะ
ยุโรปในยุคกลาง ศาสนาจักร(คริสต์)ที่มีศูนย์กลางที่กรุงโรมมีอิทธิพลต่อประเทศและประชากรยุโรปมาก ซึ่งประชากรเหล่านั้นไล่มาตั้งแต่กษัตริย์ ขุนนาง ชาวบ้าน มีอิทธพลมากถึงขั้นที่กษัตริย์ในยุโรปบางพระองค์ใช้ชีวิตในการครองราชย์เกือบทั้งหมดในการทำสงครามศาสนา(ครูเสด)และต้องสูญเสียประชากรในยุโรปทั้งเยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ ฯลฯ ไปจำนวนมากตลอดระยะเวลา 200 กว่าปีที่สงครามศาสนานี้ถูกดำเนินไป นอกจากนั้น อิทธิพลของศาสนจักร(คริสต์)ยังรุกล้ำและแผ่เข้าไปในอาณาจักรเล็กๆ ที่พึ่งจะก่อร่างสร้างตัวอย่างเป็นเอกเทศที่พวกเราเรียกในภายหลังต่อมาว่า”วิทยาศาสตร์” ที่ชนิดที่นักวิทยาศาสตร์อย่างเช่น
กาลิเลโอสัมผัสได้ถึงอิทธิพลของศาสนจักร(คริสต์)ในยามนั้น แต่ปัจจุบันนี้แนวความเชื่อจากอาณาจักรที่เรียกว่า "วิทยาศาสตร์" มีอิทธิพลไปทั่วแทบทุกอณู
สำหรับเมืองไทย ดูเหมือนว่าศาสนจักร(พุทธ)จะตกอยู่ใต้อิทธิพลและเป็นเครื่องมือให้กับราชอาณาจักรมาแทบตลอด และเรามักจะเห็นศาสนจักรถูกใช้เป็นเครื่องทางการเมืองบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะ..... จากการยินยอมจากฝ่ายศาสนจักรเอง, จากการถูกบังคับจากฝ่ายราชอาณาจักร ,จากปัญหา“ภายใน” ของศาสนจักร และจากปัญหา “ภายใน” ของราชอาณาจักร เหล่านี้คือปัจจัย/เหตุผลที่ฝ่ายราชอาณาจักรอ้างในการ “ยื่นมือ”เข้าไปกำหนดทิศทางในศาสนจักร และหากมองในด้านดีก็ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อศาสนจักรไม่น้อย เพราะแม้ฝ่ายศาสนจักร(พุทธ)มักจะอ้างความสันโดษอันเป็นแก่นแท้และแนวทาง แต่ก็มีบ่อยครั้งที่ฝ่ายศาสจักร(พุทธ)เองไม่ได้ปฏิบัติตามแนวทางดั่งกล่าว ในบางกรณีผู้นำฝ่ายศาสนจักรก็ทำตัวเป็นผู้นำชุมชนของราชอาณาจักรเสียเอง อย่างเช่นกรณีพระเจ้าฝาง สังฆราชาแห่งสวางคบุรี หรือท่านพระครูธรรมโชติแห่งบ้านบางระจัน(กรณีนี้คือผู้นำร่วม)
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยบน “รอยต่อ” ระหว่างราชอาณาจักรกับศาสนจักรก็คือการใช้ศาสนาเป็นเครื่องเพื่อประโยชน์ทางการเมือง เด่นที่สุดเห็นจะเป็นกรณีสงครามระหว่างอยุธยากับเชียงใหม่เพื่อแย่งชิงดินแดน ต่อสู้กันมาหลายปี(สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงกับย้ายเมืองหลวงจากอยุธยาไปอยู่พิษณุโลกเพื่อการนี้โดยเฉพาะ) และในที่สุดผู้นำฝ่ายอยุธยาต้องออกผนวชแล้วจาริกขึ้นเหนือเพื่อ
บิณฑบาตรขอเมืองเชลียงคืนจากพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่แทนการทำสงครามกัน หรือกรณีของพระราชาคณะชั้นสูงอย่าง
พระพิมลธรรมอนันตปรีชาที่ซ่องสุมกำลังได้แล้วทำการปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ในยุคกลางของอยุธยา
“ช่องโหว่”ของศาสนจักร(พุทธ)ที่ปล่อยให้ฝ่ายราชอาณาจักรยื่นมือเข้ามากำหนดทิศทางและใช้ประโยชน์ได้บ่อยๆ ครั้งเช่นนี้ เกิดจากความตั้งใจที่คิดจะไม่ก่อโครงสร้างอันเป็นรูปธรรมของพุทธจักรเอง เพราะโดยทั่วๆ ไปได้ก็ยึดเอา “พระธรรม” เป็นผู้นำ
(การแต่งตั้งสังฆราช สังฆปาโมกข์ พระราชาคณะชั้นนั้นชั้นนี้เป็นสิ่งที่มีมาในภายหลัง และเหล่านี้ล้วนเป็นอภินันทนาการจากฝ่ายราชอาณาจักรที่อุปโลกน์ให้ศาสนจักรเพื่อประโยชน์ทางการเมืองทั้งสิ้น) และดูเหมือนว่า....เมื่อใดก็ตามที่ฝ่ายพุทธจักรได้แสดงทีท่าว่ากำลังจะมีโครงสร้างและเริ่มแข่งแกร็งขึ้น(ซึ่งฝ่ายบ้านเมืองเห็นว่าอาจเป็นภัยหรือท้าทายอำนาจของราชอาราจักรได้ในภายหลัง) เราก็มักจะเห็นอิทธิพลของฝ่ายอาณาจักรเข้ามามีบทบาทหรือปราบปราม.....อย่างเช่นกรณีของครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนา
ในสมัยอยุธยา ฝ่ายบ้านเมืองจะเฝ้ามองดู “กิจสงฆ์” ของฝ่ายศาสนจักรอยู่ห่างๆ และหากไม่มีอะไรที่เป็นพิษภัยต่อบ้านเมืองขั้นรุนแรงก็จะไม่เข้าไปยุ่มย่าม ในกรณีที่พระทำผิดวินัยสงฆ์ร้ายแรง ก็จะปล่อยให้ฝ่ายสงฆ์ตั้งอธิกรณ์และระงับอธิกรณ์กันไปเอง หรือถ้าเห็นอะไรที่มันขัดหูขัดตาบ้างฝ่ายบ้านเมืองก็จะเข้าไป “สะกิด” ต่อคณะสงฆ์ อย่างกรณีสมเด็จพระนารายณ์สั่งให้ทหารวังนำพระราชปุจฉาไปถามพระผู้ใหญ่ว่าพอจะสึกพระรูปหนึ่งที่กำลังมีอิทธิในชุมชนได้ไหม? การลงโทษพระสงฆ์จากฝ่ายบ้านเมืองก็ยังไม่เด่นชัดหรือแทบจะไม่มี อย่างกรณีที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไ่ม่สามารถเอาผิดกับพระสงฆ์ซึ่งปกป้องขุนยกกระบัตรที่ทำผิดกฏหมายบ้านเมืองในตอนนั้นได้ โดยพระองค์ให้เหตุผลว่า “....
ก็สงฆ์เหล่านั้นทรงกาสาวพัตรพระพุทธเจ้าอยู่...” และต่อมาพระองค์ก็ทรงตราพระราชกำหนด “อย่าให้สงฆ์ล่วงเข้าว่ากล่าวอยู่ด้วยเหตุอันมิควรด้วยกิจ” แต่ก็ไม่ได้กำหนดบทลงโทษพระสงฆ์โดยตรงหากสงฆ์รูปนั้นทำผิดพระราชกำหนด และคนที่ซวยต้องรับโทษแทนคือ ”ญาติของสงฆ์” (จากหนังสือ “พุทธศาสนากับแนวคิดทางการเมือง” โดยสายชล สัตยานุรักษ์ หน้า๑๖๓)
การเข้ามามีบทบาทและกำหนดทิศทางของราชอาณาจักรต่อศาสนจักรที่เป็นรูปธรรมในครั้งแรก, ที่เป็นลายลักณ์อักษรและถือเป็นความชอบธรรมทางกฏหมายเลยก็คือ “กฏหมายตราสามดวง”ในรัชสมัยของร.๑ โดยเฉพาะ “กฏพระสงฆ์” ที่มีเป็นมาตราๆ ไป และตอกย้ำอิทธิพลของฝ่ายราชอาณาจักรต่อศาสนจักรด้วยการถือกำเนิดคณะสงฆ์อีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า “ธรรมยุติกนิกาย” ขออจบลงไว้เพียงแค่นี้นะครับ
....."ศาสนากับการเมือง" เรื่องอำนาจ(Whose?) บทความ...วัชรานนท์
ยุโรปในยุคกลาง ศาสนาจักร(คริสต์)ที่มีศูนย์กลางที่กรุงโรมมีอิทธิพลต่อประเทศและประชากรยุโรปมาก ซึ่งประชากรเหล่านั้นไล่มาตั้งแต่กษัตริย์ ขุนนาง ชาวบ้าน มีอิทธพลมากถึงขั้นที่กษัตริย์ในยุโรปบางพระองค์ใช้ชีวิตในการครองราชย์เกือบทั้งหมดในการทำสงครามศาสนา(ครูเสด)และต้องสูญเสียประชากรในยุโรปทั้งเยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ ฯลฯ ไปจำนวนมากตลอดระยะเวลา 200 กว่าปีที่สงครามศาสนานี้ถูกดำเนินไป นอกจากนั้น อิทธิพลของศาสนจักร(คริสต์)ยังรุกล้ำและแผ่เข้าไปในอาณาจักรเล็กๆ ที่พึ่งจะก่อร่างสร้างตัวอย่างเป็นเอกเทศที่พวกเราเรียกในภายหลังต่อมาว่า”วิทยาศาสตร์” ที่ชนิดที่นักวิทยาศาสตร์อย่างเช่นกาลิเลโอสัมผัสได้ถึงอิทธิพลของศาสนจักร(คริสต์)ในยามนั้น แต่ปัจจุบันนี้แนวความเชื่อจากอาณาจักรที่เรียกว่า "วิทยาศาสตร์" มีอิทธิพลไปทั่วแทบทุกอณู
สำหรับเมืองไทย ดูเหมือนว่าศาสนจักร(พุทธ)จะตกอยู่ใต้อิทธิพลและเป็นเครื่องมือให้กับราชอาณาจักรมาแทบตลอด และเรามักจะเห็นศาสนจักรถูกใช้เป็นเครื่องทางการเมืองบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะ..... จากการยินยอมจากฝ่ายศาสนจักรเอง, จากการถูกบังคับจากฝ่ายราชอาณาจักร ,จากปัญหา“ภายใน” ของศาสนจักร และจากปัญหา “ภายใน” ของราชอาณาจักร เหล่านี้คือปัจจัย/เหตุผลที่ฝ่ายราชอาณาจักรอ้างในการ “ยื่นมือ”เข้าไปกำหนดทิศทางในศาสนจักร และหากมองในด้านดีก็ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อศาสนจักรไม่น้อย เพราะแม้ฝ่ายศาสนจักร(พุทธ)มักจะอ้างความสันโดษอันเป็นแก่นแท้และแนวทาง แต่ก็มีบ่อยครั้งที่ฝ่ายศาสจักร(พุทธ)เองไม่ได้ปฏิบัติตามแนวทางดั่งกล่าว ในบางกรณีผู้นำฝ่ายศาสนจักรก็ทำตัวเป็นผู้นำชุมชนของราชอาณาจักรเสียเอง อย่างเช่นกรณีพระเจ้าฝาง สังฆราชาแห่งสวางคบุรี หรือท่านพระครูธรรมโชติแห่งบ้านบางระจัน(กรณีนี้คือผู้นำร่วม)
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยบน “รอยต่อ” ระหว่างราชอาณาจักรกับศาสนจักรก็คือการใช้ศาสนาเป็นเครื่องเพื่อประโยชน์ทางการเมือง เด่นที่สุดเห็นจะเป็นกรณีสงครามระหว่างอยุธยากับเชียงใหม่เพื่อแย่งชิงดินแดน ต่อสู้กันมาหลายปี(สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงกับย้ายเมืองหลวงจากอยุธยาไปอยู่พิษณุโลกเพื่อการนี้โดยเฉพาะ) และในที่สุดผู้นำฝ่ายอยุธยาต้องออกผนวชแล้วจาริกขึ้นเหนือเพื่อบิณฑบาตรขอเมืองเชลียงคืนจากพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่แทนการทำสงครามกัน หรือกรณีของพระราชาคณะชั้นสูงอย่างพระพิมลธรรมอนันตปรีชาที่ซ่องสุมกำลังได้แล้วทำการปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ในยุคกลางของอยุธยา
“ช่องโหว่”ของศาสนจักร(พุทธ)ที่ปล่อยให้ฝ่ายราชอาณาจักรยื่นมือเข้ามากำหนดทิศทางและใช้ประโยชน์ได้บ่อยๆ ครั้งเช่นนี้ เกิดจากความตั้งใจที่คิดจะไม่ก่อโครงสร้างอันเป็นรูปธรรมของพุทธจักรเอง เพราะโดยทั่วๆ ไปได้ก็ยึดเอา “พระธรรม” เป็นผู้นำ (การแต่งตั้งสังฆราช สังฆปาโมกข์ พระราชาคณะชั้นนั้นชั้นนี้เป็นสิ่งที่มีมาในภายหลัง และเหล่านี้ล้วนเป็นอภินันทนาการจากฝ่ายราชอาณาจักรที่อุปโลกน์ให้ศาสนจักรเพื่อประโยชน์ทางการเมืองทั้งสิ้น) และดูเหมือนว่า....เมื่อใดก็ตามที่ฝ่ายพุทธจักรได้แสดงทีท่าว่ากำลังจะมีโครงสร้างและเริ่มแข่งแกร็งขึ้น(ซึ่งฝ่ายบ้านเมืองเห็นว่าอาจเป็นภัยหรือท้าทายอำนาจของราชอาราจักรได้ในภายหลัง) เราก็มักจะเห็นอิทธิพลของฝ่ายอาณาจักรเข้ามามีบทบาทหรือปราบปราม.....อย่างเช่นกรณีของครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนา
ในสมัยอยุธยา ฝ่ายบ้านเมืองจะเฝ้ามองดู “กิจสงฆ์” ของฝ่ายศาสนจักรอยู่ห่างๆ และหากไม่มีอะไรที่เป็นพิษภัยต่อบ้านเมืองขั้นรุนแรงก็จะไม่เข้าไปยุ่มย่าม ในกรณีที่พระทำผิดวินัยสงฆ์ร้ายแรง ก็จะปล่อยให้ฝ่ายสงฆ์ตั้งอธิกรณ์และระงับอธิกรณ์กันไปเอง หรือถ้าเห็นอะไรที่มันขัดหูขัดตาบ้างฝ่ายบ้านเมืองก็จะเข้าไป “สะกิด” ต่อคณะสงฆ์ อย่างกรณีสมเด็จพระนารายณ์สั่งให้ทหารวังนำพระราชปุจฉาไปถามพระผู้ใหญ่ว่าพอจะสึกพระรูปหนึ่งที่กำลังมีอิทธิในชุมชนได้ไหม? การลงโทษพระสงฆ์จากฝ่ายบ้านเมืองก็ยังไม่เด่นชัดหรือแทบจะไม่มี อย่างกรณีที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไ่ม่สามารถเอาผิดกับพระสงฆ์ซึ่งปกป้องขุนยกกระบัตรที่ทำผิดกฏหมายบ้านเมืองในตอนนั้นได้ โดยพระองค์ให้เหตุผลว่า “....ก็สงฆ์เหล่านั้นทรงกาสาวพัตรพระพุทธเจ้าอยู่...” และต่อมาพระองค์ก็ทรงตราพระราชกำหนด “อย่าให้สงฆ์ล่วงเข้าว่ากล่าวอยู่ด้วยเหตุอันมิควรด้วยกิจ” แต่ก็ไม่ได้กำหนดบทลงโทษพระสงฆ์โดยตรงหากสงฆ์รูปนั้นทำผิดพระราชกำหนด และคนที่ซวยต้องรับโทษแทนคือ ”ญาติของสงฆ์” (จากหนังสือ “พุทธศาสนากับแนวคิดทางการเมือง” โดยสายชล สัตยานุรักษ์ หน้า๑๖๓)
การเข้ามามีบทบาทและกำหนดทิศทางของราชอาณาจักรต่อศาสนจักรที่เป็นรูปธรรมในครั้งแรก, ที่เป็นลายลักณ์อักษรและถือเป็นความชอบธรรมทางกฏหมายเลยก็คือ “กฏหมายตราสามดวง”ในรัชสมัยของร.๑ โดยเฉพาะ “กฏพระสงฆ์” ที่มีเป็นมาตราๆ ไป และตอกย้ำอิทธิพลของฝ่ายราชอาณาจักรต่อศาสนจักรด้วยการถือกำเนิดคณะสงฆ์อีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า “ธรรมยุติกนิกาย” ขออจบลงไว้เพียงแค่นี้นะครับ