*** ศาสตร์แห่งเกย์ สาเหตุที่ทำให้คนเราเกิดมาเป็นเกย์/กระเทย/ทอมดี้ ***
ได้ฤกษ์เขียนเรื่องนี้ หลังจากมีคนถามเข้ามาเยอะ ... ผมก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญอะไรนะครับ แต่เอางานวิจัย 48ปี ของ ศาสตราจารย์ Simon LeVay มาเล่าให้ฟัง ดร. LeVay เรียนจบ ที่มหาลัย Cambridge, Gottingen เยอรมัน, และทำงานที่มหาลัย Harvard เป็นเวลานาน ในด้านชีวะวิทยาสมอง จนสุดท้ายได้รับตำแหน่ง ผอ. ศูนย์ "เพศศึกษาของมนุษย์" ณ มหาลัย Stanford เขาได้ตีพิมพ์หนังสือและบทความจำนวนมาก ในด้านความหลากหลายทางเพศของมนุษย์ เรียกได้ว่าเขาเป็นคนที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลกด้านนี้และบุกเบิกสาขาวิทย์นี้
ด้วยความที่ท่านเกิดมาเป็นเกย์ เขาได้โฟกัสงานวิจัยไปที่ สรีระ/ชีวะวิทยาของคนที่เกิดมาเป็นเกย์ เลสเปี้ยน ว่าต่างจากคนทั่วไปยังไง วันที่งานชิ้นแรกของเขาตีพิมพ์ลงนิตยสาร Science นั้นเป็นวันที่ประเทศโซเวียตล่มสลายในปี 1991 แต่ นสพ. ทั่วอเมริกากลับโฟกัสหน้า 1 ไปที่ผลงานของ ดร. LeVay มากกว่าเรื่องอย่างอื่น .... มันคือเรื่องที่เขา ชำแหละสมองของคนที่เป็นเกย์และไม่เกย์ (เรียกว่า straight/สเตรท - ผมขอเลี่ยงคำว่า ปกติ/ไม่ปกติ เพราะมุมมองของผมการเป็นเกย์เป็นเรื่องปกติที่ธรรมชาติสร้างมาคู่สังคมมานานพันๆปี) จำนวน หลายสิบคน และพบความแตกต่างบางอย่างในซีกนึงของสมองส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์ ซึ่งผมจะเล่าให้ฟังข้างล่างนี้
ขอเกริ่นก่อนว่า ที่มาของบทความนี้ .... เมื่อ3 ปีที่แล้ว ขณะผมทำงานวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (Caltech) ซึ่งบ่อยครั้งจะเชิญนักวิทย์ระดับโลกมาบรรยาย มาวันนึง ผมเห็นหัวข้อนี้ที่ ดร. เลเวย์ มาบรรยาย ด้วยความที่เป็นเกย์เอง ผมจึงได้ไปฟังด้วยและทึ่งมากกับงานวิจัยที่เขาและคนอื่นๆได้ทำ ผมจึงได้ซื้อหนังสือท่านมา ขอลายเซ็น (รูปที่ 2, 3) และอ่าน ... บทความนี้จึงสรุปๆมา แต่ผมคงบรรยายได้ไม่หมดเพราะมันหนามาก หากมีโอกาสดีอาจเล่าต่ออีก ... ผมขอเน้นว่า งานวิจัยด้านจิตวิทยานั้นก็สำคัญต่อเรื่องนี้ ท่าน ดร. เลเวย์ก็ยอมรับ และได้เน้นว่างานของเขาเน้นทางด้านสรีระวิทยามากกว่า และทุกแขนงนั้นสำคัญ ทุกวันนี้งานวิจัยก็ยังดำเนินต่อไปทุกด้าน
ในผลวิจัยโดยรวมของ ดร. เลเวย์ นี้ เขาพบว่า การเป็นเกย์กระเทยนั้นเป็นผลมาจากการผสมผสานของ ยีนส์ ฮอร์โมนเพศ และเซลล์ของสรีระและสมอง ... งานในปี 1991 นั้น หลังจากชำแหละสมองของ ชายเกย์ และสเตรททั้งหญิงชาย ในส่วนสมองที่เรียก ไฮโปธาลามัส ซึ่งเป็นส่วนเล็กๆ (รูป 4) ที่ควบคุมสัญชาตญานต่างๆของมนุษย์ที่ต้องการ เช่น เวลาหิวน้ำ มันจะไปกระตุ้นต่อมหมวกไต รวมทั้งความต้องการทางเพศ ซึ่งเขาได้ให้ความสนใจบริเวณหน้าของไฮโปธารามัส เพราะนักชีวะได้พบว่ามันเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศมาช้านาน ตรงบริเวณนี้มีส่วนขนาดเท่าเม็ดข้าว เรียกว่า INAH3 (รูป 5 สีแดง) ซึ่งปกติพบว่า ผู้ชายมีขนาดใหญ่กว่าผู้หญิง 2 เท่า และพบว่า ในเกย์ชาย ขนาดของ INAH 3 กลับขนาดเท่าๆของผู้หญิง เขาจึงสรุปได้ว่า นี่คือหลักฐานว่า กระบวนการทางชีวะของการเติบโตของสมองอาจมีอิทธิพลต่อรสนิยมทางเพศ ... การศึกษาส่วนนี้ของสมอง ยังมีนักชีวะนำมาใช้เรื่อยมา มีคนทำซ้ำงานวิจัยของเขาอีกรอบ และได้ผลใกล้เคียง แม้แต่ไม่นานมานี้ปี 2008 คนอื่นยังได้ศึกษาขนาดของ INAH 3 ใน transgender women ก่อนและหลังแปลงเพศเป็นต้น (ซึ่งพบว่าฮอร์โมนที่กินไปไม่เกี่ยว) .... ทั้งนี้ สาเหตุที่เขารู้ว่าใครเป็นเกย์ เพราะว่า ในยุคนั้น เอดส์ระบาดหนัก และในเมืองซานฟรานซิสโก มีชาวเกย์ที่ตายไปมาก (แต่เขาได้ทดสอบให้แน่ใจแล้วว่า ผลสรุปวิจัยของเขา ไม่เกี่ยวกับว่าโรคเอดส์เป็นปัจจัย)
ที่ผมทึ่งมากๆๆๆ ก็คือในปี 2004 มีนักชีวะอีกคนคือ ดร. Roselli ได้ทำการชำแหละสมองของแกะ เพราะ หากใครเรียนเกี่ยวกับชีวิตสัตว์ จะรู้ว่ามีสัตว์หลายชนิดที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน หรือรักเพศเดียวกัน เช่น เพนกวิน แกะ ลิงชิมแปนซี ฯลฯ ในแกะเลี้ยงนั้น ประมาณ 6-10% ตัวผู้จะมีเซ็กซ์กับตัวผู้ด้วยกัน และไม่ทำกับตัวเมีย (จากแบบสำเร็จจำนวนมาก ทั่วโลก มีชาวรักร่วมเพศ 5-10% เช่นกันในสังคมทุกประเทศ) ผลวิจัยของ Roselli พบว่าขนาดของเซลล์สมองส่วนนั้นในแกะที่เป็นเกย์ ตัวผู้ และตัวเมีย สอดคล้องกับงานวิจัยข้างต้นของ ดร. เลเวย์ เป๊ะ ซึ่ง Roselli โยงไปถึงฮอร์โมนเพศผู้ที่อ่อนในขณะที่แกะและสมองมันกำลังเจริญเติบโต .... ดร. เลเวย์ ยังได้พบว่า คนตายเกย์บางคนที่เขาชำแหละนั้น หา INAH 3 ไม่เจอก็มี ซึ่งแปลก เขาจึงคาดว่าเป็นไปได้ที่ ในเกย์นั้น เซลล์ INAH 3 บางส่วนอาจฝ่อตายไป ขณะที่ทารกกำลังเจริญเติบโต .... นอกจากนี้ที่น่าสนใจมากๆคือ ในงานของ Roselli เขาได้ทดลองผ่าตัดเอา เซลล์ที่คล้ายคลึง INAH 3 ในสมองแกะ (เรียก oSDN) ออก และพบว่าแกะตัวผู้ที่ไม่มี oSDN นั้น มีแนวโน้มพฤติกรรมรักร่วมเพศมากขึ้น จากที่มันไม่เคย
ขณะนี้มีหลักฐานเพิ่มมากขึ้น เกี่ยวกับโครงสร้างของสมองของเกย์และสเตรท ที่ต่างกัน เพราะว่า ฮอร์โมนเพศในครรภ์ของแม่นั้นควบคุมการแยกเพศของสมองทารกที่ควบคุมพฤติกรรมทางเพศ (INAH3) ต่างไป และกระบวนการจะเดินหน้าไปต่างกันระหว่างทารกเกย์หรือสเตรท ผมว่ามันไม่แปลกเลย ที่คุณจะเห็นว่าเด็กชายบางคนนั้นเป็นกระเทยหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้หญิงตั้งแต่ 4-5 ขวบ .... สาเหตุที่มั่นใจกันว่า ฮอร์โมนในทารกช่วงตั้งครรภ์นั้นเป็นช่วงสำคัญเพราะว่า จากการศึกษาระดับฮอร์โมนเพศผู้ (เทสโทสเตอโรน) ในสัตว์ต่างๆในแลป พบช่วงที่ สำคัญสุดๆ คือระดับเทสโทสเตอโรน (ซึ่งมีในทั้งเพศผู้และเพศเมีย น้อยมากแค่นั้น) ในตอนก่อนคลอดหรือตอนคลอดใหม่ๆ เป็นตัวชี้วัดพฤติกรรมเพศของมัน ....สำหรับมนุษย์ที่การตั้งครรภ์ยาวนานกว่าสัตว์ ทารกพัฒนาแทบทุกอย่างในครรภ์ จึงมีแนวโน้มสูงที่ สถานการณ์ก่อนคลอดสำคัญที่สุด ปัจจัยขณะตั้งครรภ์ของแม่จึงสำคัญมาก (สิ่งแวดล้อม ของที่กิน หรือแม้แต่การกระจายของฮอร์โมน ซึ่งควบคุมไม่ได้)
นอกจากนี้ ก่อนยุคของ ดร. เลเวย์ มีนักวิทย์/แพทย์เยอรมันอีก 2 คนที่ได้คิดว่า การพัฒนาของสมองในตัวอ่อนทารกในครรภ์เปลี่ยนไปในทางต่างกันระหว่างทารกที่จะโตมาเป็นเกย์หรือไม่ และนักจิตวิทยาในบอสตั้นยังพบอีกว่า ในครอบครัวบางคนนั้นมีเกย์มากกว่าครอบครัวอื่นๆ ซึ่งนำไปสู่แนวคิดที่ว่า อาจเป็นกรรมพันธ์ ... แฟนเก่าผมเป็นต้น (เกย์ฝรั่ง) มีลุงป้าฝ่ายแม่ทั้งหมด 9 คน ... เป็นเกย์/เลสเปี้ยน 4 คน ไบฯ 1 คน อะเซ็กช่วล 1 คน (อะเซ็กช่วล คือคนที่เกิดมาไม่มีอารมณ์ทางเพศ) และแม่เค้ายังดูแมนสุดๆอีกตะหาก (นินทาอดีตแม่ยาย) แม้ว่าไม่เป็นทอม .... งานวิจัยของ เลเวย์ ได้ช่วยพิสูจน์ว่า รสนิยมทางเพศนั้น ไม่ใช่เลือกกันได้ อย่างที่พวกแอนตี้เกย์ในอเมริกาคิดกัน แต่มันเป็นมาแต่เกิด (ผมเองรู้ว่าเป็น ตอน ป.3) ... หมายเหตุว่า การเป็นเกย์นั้นแน่นอนว่าไม่ใช่เฉพาะชอบกันทางกายภาพ แต่ด้านจิตใจ เกย์ยังอยากที่จะมีความสัมพันธ์/ผูกพันกับเพศเดียวกันอีกด้วย ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโรมัน หลายร้อยปีก่อน
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นๆ เช่น การติดตามชีวิตของฝาแฝดเหมือนว่า คนนึงเป็นเกย์ อีกคนจะเป็นไหม สุดท้ายผลสรุปไม่ได้เพราะ หาตัวอย่างยากมากโดยเฉพาะที่แยกกันอยู่หลังเกิด มีไม่กี่คู่ แต่ก็มีที่คนนึงเป็นเกย์ คู่แฝดก็เป็นตาม ... เพื่อนผมที่คาลเทค เป็นต้น มีพี่ชายเป็นเกย์ และต่อมาฝาแฝดของเพื่อนผมก็ได้บอกเขาว่าเป็นไบฯ แต่เพื่อนผมไม่เป็น .... มีอีกอันที่พบว่า การที่เด็กชายบางคนชอบแต่งตัวเป็นหญิงตอนเด็กๆ ไม่จำเป็นที่ว่าโตไปจะเป็นเกย์ บางคนชอบผู้หญิง .... มีอีกหลายงานที่แสดงว่า ลักษณะภายนอกไม่จำเป็นจะต้องบ่งบอกรสนิยมทางเพศ .... เพื่อนของแฟนเก่าผม เป็นต้น เรียนจบสูงนะ จบ ดร. จาก Harvard เป็นหญิงแต่กำเนิดแต่แปลงเพศเพราะรู้สึกว่าตัวเองเกิดมาเป็นชาย เข้ากับร่างกายชายมากกว่า แต่ก็ชอบผู้ชาย (ชอบแฟนผม) กรณีแบบนี้มีให้เห็นบ่อยมาก .... นอกจากนี้ยังมี การศึกษาของคนอื่นๆเกี่ยวกับจิตวิทยา หรือ ลำดับของพี่น้องในครอบครัวที่มีผล ... ที่ผมว่าน่าสนใจมากก็คือ มีวิจัยพบว่า ผู้หญิงหลายคนที่รอดจากมะเร็งเต้านม ที่ต้องผ่าตัดนมออก ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศหญิงต่ำลง และเปอร์เซ็นต์ผู้หญิงที่ผ่านแบบนี้และเป็นเลสเปี้ยนนั้นสูงกว่า ผู้หญิงที่ไม่เป็นมะเร็ง มากๆ
นอกจากนี้แล้ว รสนิยมทางเพศนั้นมันไม่ใช่อะไรที่ clear cut (ตายตัว) ในบางครั้ง จะเห็นได้ว่ายังมีคนที่เป็นไบเซ็กซ่วล ซึ่งไบฯนั้นก็มีหลายระดับ .... แม้ว่ารายละเอียดหลายอย่างอาจไม่เคลียร์ แต่สิ่งนึงที่นักวิทย์หลายคนยอมรับก็คือ รสนิยมทางเพศของคนเรานั้น เกิดจากกระบวนการทางชีวะตั้งแต่ตอนก่อนเกิดของทารกแล้ว ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมคือ แทนที่คนเราจะมองไปที่ว่า มีอะไรผิด ทำไมลูกฉันเป็นเกย์ หรือหายารักษา หรือมองหาคำอธิบายในการเลี้ยงดู อบรมลูกเต้า ว่าเลี้ยงผิด.... นักวิทย์ในยุคนี้กลับเน้นย้ำไปที่ว่า ความหลากหลายทางเพศ นั้นเป็นเรื่องปกติและสังคมควรเข้าใจว่าธรรมชาติสร้างมาและยอมรับมัน
ใครชอบก็กดไลค์ด้วยจ้า เพื่อกำลังใจนะ พิมพ์เมื่อยจัง สรุปใจความมา 4 ชม. นะเนี่ย
ดร. ไพโรจน์
ที่มา เพจ วิทยาศาสตร์ทันโลก และภัยพิบัติในไทย
https://www.facebook.com/tsunamithailandCaltech/photos/pcb.804996102897948/804859066244985/?type=3
สรุปก็คือ เกย์ เลสเบียน กับพวก สเตรท ชายแท้หญิง ต่างกันที่ต่อมสมองส่วนหน้า ไฮโปธาลามัส โดยต่อมนี้ของเกย์ หรือ คนข้ามเพศ จะเล็กกว่าชายแท้ เกือบเล็กเท่าของผู้หญิง นอกจากนี้ ยังอยู่ที่ พันธุกรรม ยีน และระดับฮอร์โมนของแม่ตอนที่ท้องเราด้วย งั้น ที่เราเป็นแบบนี้เป็นเพราะธรรมชาติสร้างเรามา ไม่ใช่สิ่งที่เราเลือกเป็น แต่เราเป็นมาตั้งตั้งอยู่ในท้องแม่ ครับ แล้ว อีกอย่างเราไม่สามารถเปลี่ยนรสนิยมทางเพศใครได้ เพราะ เป็นสัณชาตญาณที่ติดตัวมาแต่แต่เกิด
ผมนำบทความ ว่าอะไรที่ทำให้เราเกิดมาเป็นเกย์ ชายแท้
ได้ฤกษ์เขียนเรื่องนี้ หลังจากมีคนถามเข้ามาเยอะ ... ผมก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญอะไรนะครับ แต่เอางานวิจัย 48ปี ของ ศาสตราจารย์ Simon LeVay มาเล่าให้ฟัง ดร. LeVay เรียนจบ ที่มหาลัย Cambridge, Gottingen เยอรมัน, และทำงานที่มหาลัย Harvard เป็นเวลานาน ในด้านชีวะวิทยาสมอง จนสุดท้ายได้รับตำแหน่ง ผอ. ศูนย์ "เพศศึกษาของมนุษย์" ณ มหาลัย Stanford เขาได้ตีพิมพ์หนังสือและบทความจำนวนมาก ในด้านความหลากหลายทางเพศของมนุษย์ เรียกได้ว่าเขาเป็นคนที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลกด้านนี้และบุกเบิกสาขาวิทย์นี้
ด้วยความที่ท่านเกิดมาเป็นเกย์ เขาได้โฟกัสงานวิจัยไปที่ สรีระ/ชีวะวิทยาของคนที่เกิดมาเป็นเกย์ เลสเปี้ยน ว่าต่างจากคนทั่วไปยังไง วันที่งานชิ้นแรกของเขาตีพิมพ์ลงนิตยสาร Science นั้นเป็นวันที่ประเทศโซเวียตล่มสลายในปี 1991 แต่ นสพ. ทั่วอเมริกากลับโฟกัสหน้า 1 ไปที่ผลงานของ ดร. LeVay มากกว่าเรื่องอย่างอื่น .... มันคือเรื่องที่เขา ชำแหละสมองของคนที่เป็นเกย์และไม่เกย์ (เรียกว่า straight/สเตรท - ผมขอเลี่ยงคำว่า ปกติ/ไม่ปกติ เพราะมุมมองของผมการเป็นเกย์เป็นเรื่องปกติที่ธรรมชาติสร้างมาคู่สังคมมานานพันๆปี) จำนวน หลายสิบคน และพบความแตกต่างบางอย่างในซีกนึงของสมองส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์ ซึ่งผมจะเล่าให้ฟังข้างล่างนี้
ขอเกริ่นก่อนว่า ที่มาของบทความนี้ .... เมื่อ3 ปีที่แล้ว ขณะผมทำงานวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (Caltech) ซึ่งบ่อยครั้งจะเชิญนักวิทย์ระดับโลกมาบรรยาย มาวันนึง ผมเห็นหัวข้อนี้ที่ ดร. เลเวย์ มาบรรยาย ด้วยความที่เป็นเกย์เอง ผมจึงได้ไปฟังด้วยและทึ่งมากกับงานวิจัยที่เขาและคนอื่นๆได้ทำ ผมจึงได้ซื้อหนังสือท่านมา ขอลายเซ็น (รูปที่ 2, 3) และอ่าน ... บทความนี้จึงสรุปๆมา แต่ผมคงบรรยายได้ไม่หมดเพราะมันหนามาก หากมีโอกาสดีอาจเล่าต่ออีก ... ผมขอเน้นว่า งานวิจัยด้านจิตวิทยานั้นก็สำคัญต่อเรื่องนี้ ท่าน ดร. เลเวย์ก็ยอมรับ และได้เน้นว่างานของเขาเน้นทางด้านสรีระวิทยามากกว่า และทุกแขนงนั้นสำคัญ ทุกวันนี้งานวิจัยก็ยังดำเนินต่อไปทุกด้าน
ในผลวิจัยโดยรวมของ ดร. เลเวย์ นี้ เขาพบว่า การเป็นเกย์กระเทยนั้นเป็นผลมาจากการผสมผสานของ ยีนส์ ฮอร์โมนเพศ และเซลล์ของสรีระและสมอง ... งานในปี 1991 นั้น หลังจากชำแหละสมองของ ชายเกย์ และสเตรททั้งหญิงชาย ในส่วนสมองที่เรียก ไฮโปธาลามัส ซึ่งเป็นส่วนเล็กๆ (รูป 4) ที่ควบคุมสัญชาตญานต่างๆของมนุษย์ที่ต้องการ เช่น เวลาหิวน้ำ มันจะไปกระตุ้นต่อมหมวกไต รวมทั้งความต้องการทางเพศ ซึ่งเขาได้ให้ความสนใจบริเวณหน้าของไฮโปธารามัส เพราะนักชีวะได้พบว่ามันเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศมาช้านาน ตรงบริเวณนี้มีส่วนขนาดเท่าเม็ดข้าว เรียกว่า INAH3 (รูป 5 สีแดง) ซึ่งปกติพบว่า ผู้ชายมีขนาดใหญ่กว่าผู้หญิง 2 เท่า และพบว่า ในเกย์ชาย ขนาดของ INAH 3 กลับขนาดเท่าๆของผู้หญิง เขาจึงสรุปได้ว่า นี่คือหลักฐานว่า กระบวนการทางชีวะของการเติบโตของสมองอาจมีอิทธิพลต่อรสนิยมทางเพศ ... การศึกษาส่วนนี้ของสมอง ยังมีนักชีวะนำมาใช้เรื่อยมา มีคนทำซ้ำงานวิจัยของเขาอีกรอบ และได้ผลใกล้เคียง แม้แต่ไม่นานมานี้ปี 2008 คนอื่นยังได้ศึกษาขนาดของ INAH 3 ใน transgender women ก่อนและหลังแปลงเพศเป็นต้น (ซึ่งพบว่าฮอร์โมนที่กินไปไม่เกี่ยว) .... ทั้งนี้ สาเหตุที่เขารู้ว่าใครเป็นเกย์ เพราะว่า ในยุคนั้น เอดส์ระบาดหนัก และในเมืองซานฟรานซิสโก มีชาวเกย์ที่ตายไปมาก (แต่เขาได้ทดสอบให้แน่ใจแล้วว่า ผลสรุปวิจัยของเขา ไม่เกี่ยวกับว่าโรคเอดส์เป็นปัจจัย)
ที่ผมทึ่งมากๆๆๆ ก็คือในปี 2004 มีนักชีวะอีกคนคือ ดร. Roselli ได้ทำการชำแหละสมองของแกะ เพราะ หากใครเรียนเกี่ยวกับชีวิตสัตว์ จะรู้ว่ามีสัตว์หลายชนิดที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน หรือรักเพศเดียวกัน เช่น เพนกวิน แกะ ลิงชิมแปนซี ฯลฯ ในแกะเลี้ยงนั้น ประมาณ 6-10% ตัวผู้จะมีเซ็กซ์กับตัวผู้ด้วยกัน และไม่ทำกับตัวเมีย (จากแบบสำเร็จจำนวนมาก ทั่วโลก มีชาวรักร่วมเพศ 5-10% เช่นกันในสังคมทุกประเทศ) ผลวิจัยของ Roselli พบว่าขนาดของเซลล์สมองส่วนนั้นในแกะที่เป็นเกย์ ตัวผู้ และตัวเมีย สอดคล้องกับงานวิจัยข้างต้นของ ดร. เลเวย์ เป๊ะ ซึ่ง Roselli โยงไปถึงฮอร์โมนเพศผู้ที่อ่อนในขณะที่แกะและสมองมันกำลังเจริญเติบโต .... ดร. เลเวย์ ยังได้พบว่า คนตายเกย์บางคนที่เขาชำแหละนั้น หา INAH 3 ไม่เจอก็มี ซึ่งแปลก เขาจึงคาดว่าเป็นไปได้ที่ ในเกย์นั้น เซลล์ INAH 3 บางส่วนอาจฝ่อตายไป ขณะที่ทารกกำลังเจริญเติบโต .... นอกจากนี้ที่น่าสนใจมากๆคือ ในงานของ Roselli เขาได้ทดลองผ่าตัดเอา เซลล์ที่คล้ายคลึง INAH 3 ในสมองแกะ (เรียก oSDN) ออก และพบว่าแกะตัวผู้ที่ไม่มี oSDN นั้น มีแนวโน้มพฤติกรรมรักร่วมเพศมากขึ้น จากที่มันไม่เคย
ขณะนี้มีหลักฐานเพิ่มมากขึ้น เกี่ยวกับโครงสร้างของสมองของเกย์และสเตรท ที่ต่างกัน เพราะว่า ฮอร์โมนเพศในครรภ์ของแม่นั้นควบคุมการแยกเพศของสมองทารกที่ควบคุมพฤติกรรมทางเพศ (INAH3) ต่างไป และกระบวนการจะเดินหน้าไปต่างกันระหว่างทารกเกย์หรือสเตรท ผมว่ามันไม่แปลกเลย ที่คุณจะเห็นว่าเด็กชายบางคนนั้นเป็นกระเทยหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้หญิงตั้งแต่ 4-5 ขวบ .... สาเหตุที่มั่นใจกันว่า ฮอร์โมนในทารกช่วงตั้งครรภ์นั้นเป็นช่วงสำคัญเพราะว่า จากการศึกษาระดับฮอร์โมนเพศผู้ (เทสโทสเตอโรน) ในสัตว์ต่างๆในแลป พบช่วงที่ สำคัญสุดๆ คือระดับเทสโทสเตอโรน (ซึ่งมีในทั้งเพศผู้และเพศเมีย น้อยมากแค่นั้น) ในตอนก่อนคลอดหรือตอนคลอดใหม่ๆ เป็นตัวชี้วัดพฤติกรรมเพศของมัน ....สำหรับมนุษย์ที่การตั้งครรภ์ยาวนานกว่าสัตว์ ทารกพัฒนาแทบทุกอย่างในครรภ์ จึงมีแนวโน้มสูงที่ สถานการณ์ก่อนคลอดสำคัญที่สุด ปัจจัยขณะตั้งครรภ์ของแม่จึงสำคัญมาก (สิ่งแวดล้อม ของที่กิน หรือแม้แต่การกระจายของฮอร์โมน ซึ่งควบคุมไม่ได้)
นอกจากนี้ ก่อนยุคของ ดร. เลเวย์ มีนักวิทย์/แพทย์เยอรมันอีก 2 คนที่ได้คิดว่า การพัฒนาของสมองในตัวอ่อนทารกในครรภ์เปลี่ยนไปในทางต่างกันระหว่างทารกที่จะโตมาเป็นเกย์หรือไม่ และนักจิตวิทยาในบอสตั้นยังพบอีกว่า ในครอบครัวบางคนนั้นมีเกย์มากกว่าครอบครัวอื่นๆ ซึ่งนำไปสู่แนวคิดที่ว่า อาจเป็นกรรมพันธ์ ... แฟนเก่าผมเป็นต้น (เกย์ฝรั่ง) มีลุงป้าฝ่ายแม่ทั้งหมด 9 คน ... เป็นเกย์/เลสเปี้ยน 4 คน ไบฯ 1 คน อะเซ็กช่วล 1 คน (อะเซ็กช่วล คือคนที่เกิดมาไม่มีอารมณ์ทางเพศ) และแม่เค้ายังดูแมนสุดๆอีกตะหาก (นินทาอดีตแม่ยาย) แม้ว่าไม่เป็นทอม .... งานวิจัยของ เลเวย์ ได้ช่วยพิสูจน์ว่า รสนิยมทางเพศนั้น ไม่ใช่เลือกกันได้ อย่างที่พวกแอนตี้เกย์ในอเมริกาคิดกัน แต่มันเป็นมาแต่เกิด (ผมเองรู้ว่าเป็น ตอน ป.3) ... หมายเหตุว่า การเป็นเกย์นั้นแน่นอนว่าไม่ใช่เฉพาะชอบกันทางกายภาพ แต่ด้านจิตใจ เกย์ยังอยากที่จะมีความสัมพันธ์/ผูกพันกับเพศเดียวกันอีกด้วย ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโรมัน หลายร้อยปีก่อน
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นๆ เช่น การติดตามชีวิตของฝาแฝดเหมือนว่า คนนึงเป็นเกย์ อีกคนจะเป็นไหม สุดท้ายผลสรุปไม่ได้เพราะ หาตัวอย่างยากมากโดยเฉพาะที่แยกกันอยู่หลังเกิด มีไม่กี่คู่ แต่ก็มีที่คนนึงเป็นเกย์ คู่แฝดก็เป็นตาม ... เพื่อนผมที่คาลเทค เป็นต้น มีพี่ชายเป็นเกย์ และต่อมาฝาแฝดของเพื่อนผมก็ได้บอกเขาว่าเป็นไบฯ แต่เพื่อนผมไม่เป็น .... มีอีกอันที่พบว่า การที่เด็กชายบางคนชอบแต่งตัวเป็นหญิงตอนเด็กๆ ไม่จำเป็นที่ว่าโตไปจะเป็นเกย์ บางคนชอบผู้หญิง .... มีอีกหลายงานที่แสดงว่า ลักษณะภายนอกไม่จำเป็นจะต้องบ่งบอกรสนิยมทางเพศ .... เพื่อนของแฟนเก่าผม เป็นต้น เรียนจบสูงนะ จบ ดร. จาก Harvard เป็นหญิงแต่กำเนิดแต่แปลงเพศเพราะรู้สึกว่าตัวเองเกิดมาเป็นชาย เข้ากับร่างกายชายมากกว่า แต่ก็ชอบผู้ชาย (ชอบแฟนผม) กรณีแบบนี้มีให้เห็นบ่อยมาก .... นอกจากนี้ยังมี การศึกษาของคนอื่นๆเกี่ยวกับจิตวิทยา หรือ ลำดับของพี่น้องในครอบครัวที่มีผล ... ที่ผมว่าน่าสนใจมากก็คือ มีวิจัยพบว่า ผู้หญิงหลายคนที่รอดจากมะเร็งเต้านม ที่ต้องผ่าตัดนมออก ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศหญิงต่ำลง และเปอร์เซ็นต์ผู้หญิงที่ผ่านแบบนี้และเป็นเลสเปี้ยนนั้นสูงกว่า ผู้หญิงที่ไม่เป็นมะเร็ง มากๆ
นอกจากนี้แล้ว รสนิยมทางเพศนั้นมันไม่ใช่อะไรที่ clear cut (ตายตัว) ในบางครั้ง จะเห็นได้ว่ายังมีคนที่เป็นไบเซ็กซ่วล ซึ่งไบฯนั้นก็มีหลายระดับ .... แม้ว่ารายละเอียดหลายอย่างอาจไม่เคลียร์ แต่สิ่งนึงที่นักวิทย์หลายคนยอมรับก็คือ รสนิยมทางเพศของคนเรานั้น เกิดจากกระบวนการทางชีวะตั้งแต่ตอนก่อนเกิดของทารกแล้ว ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมคือ แทนที่คนเราจะมองไปที่ว่า มีอะไรผิด ทำไมลูกฉันเป็นเกย์ หรือหายารักษา หรือมองหาคำอธิบายในการเลี้ยงดู อบรมลูกเต้า ว่าเลี้ยงผิด.... นักวิทย์ในยุคนี้กลับเน้นย้ำไปที่ว่า ความหลากหลายทางเพศ นั้นเป็นเรื่องปกติและสังคมควรเข้าใจว่าธรรมชาติสร้างมาและยอมรับมัน
ใครชอบก็กดไลค์ด้วยจ้า เพื่อกำลังใจนะ พิมพ์เมื่อยจัง สรุปใจความมา 4 ชม. นะเนี่ย
ดร. ไพโรจน์
ที่มา เพจ วิทยาศาสตร์ทันโลก และภัยพิบัติในไทย
https://www.facebook.com/tsunamithailandCaltech/photos/pcb.804996102897948/804859066244985/?type=3
สรุปก็คือ เกย์ เลสเบียน กับพวก สเตรท ชายแท้หญิง ต่างกันที่ต่อมสมองส่วนหน้า ไฮโปธาลามัส โดยต่อมนี้ของเกย์ หรือ คนข้ามเพศ จะเล็กกว่าชายแท้ เกือบเล็กเท่าของผู้หญิง นอกจากนี้ ยังอยู่ที่ พันธุกรรม ยีน และระดับฮอร์โมนของแม่ตอนที่ท้องเราด้วย งั้น ที่เราเป็นแบบนี้เป็นเพราะธรรมชาติสร้างเรามา ไม่ใช่สิ่งที่เราเลือกเป็น แต่เราเป็นมาตั้งตั้งอยู่ในท้องแม่ ครับ แล้ว อีกอย่างเราไม่สามารถเปลี่ยนรสนิยมทางเพศใครได้ เพราะ เป็นสัณชาตญาณที่ติดตัวมาแต่แต่เกิด