จรวด Falcon 9 และ Experimental landing #เคยใช้กับดาวเทียมไทยด้วยน้าา


   ทุกครั้งที่ FALCON 9 ขึ้น คนทั่วโลกจะลุ้นอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือการนำ first stage booster กลับมาลงจอดที่ทุ่นลอยน้ำ อัตโนมัติ
(Autonomous Spaceport Drone Ship) ชื่อ "Off course i still love you" ซึ่งในการปล่อยครั้งที่ 25 ของ FALCON 9 นั้น
คือการแบกดาวเทียม THAICOM 8 ซึ่งเป็นการบินครั้งที่ 5 ของจรวด รุ่น FALCON 9 FT (Full thrust) และเป็นอีกครั้งที่ลงจอดบนทุ่นลอยน้ำ ได้สำเร็จ ซึ่งทุกครั้ง ก็จะมีคนตั้งหน้าตั้งตารอ ช่วงนี้มากเป็นพิเศษ เรียกว่า "Experimental Landing"

  วันพรุ่งนี้เราอาจได้เห็นการปล่อยจรวด FALCON 9 อีกรอบ (เลื่อนจากวันนี้เพราะมีเหตุขัดข้องที่ จรวด บูสเตอร์ขั้นที่ 2)
สำหรับคนที่ยังไม่เคยเห็นการลงจอดอัตโนมัติ ของ FALCON 9 ที่เคยใช้กับดาวเทียมไทยคมและดวงอื่นๆมาแล้ว ก็รอรับชมได้ครับ
ขึ้นจาก สถานีเคเนดี้ แท่นปล่อย 39A ในเวลา 14:38 UTC หรือประมาณ 21:38น. ในไทยครับ
ซึ่งมีการถ่ายทอดสดในเฟสบุ้ก ของ SpaceX
  
  การปล่อยจรวดครั้งนี้เป็นการส่งเสบียงและอุปกรณ์ ด้วย ยาน Dragon ครับ ส่วนตัว First stage booster
จะกลับมาลงที่ Landing zone 1  แหลม คานาเวอรอล (ใกล้ๆกับสถานีเคเนดี้)

  การนำบูสเตอร์จรวดกลับมาลงจอด (RTL) สำคัญยังไงหน่ะหรอออ......
เพราะว่ามันทำให้เราลดต้นทุนในการส่งจรวดรอบต่อไป
นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ทำให้การเดินทางไปอวกาศ ไม่ยากและสิ้นเปลืองเหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป

วิดีโอย้อนหลังการถ่ายทอดสด ของ การส่ง Thaicom 8 By Falcon 9
https://www.youtube.com/watch?v=zBYC4f79iXc
วินาทีที่ 21.19 เริ่มนับถอยหลัง 10วินาทีในการปล่อยจรวด
วินาทีที่ 30.05 ขึ้นไป คือการกลับมาจอดของ first stage booster

วิดีโอย้อนหลังการทำงานทุกขั้นตอนระหว่างการส่งจรวด
https://www.youtube.com/watch?v=wPYOtCFSLKw
วินาทีที่ 21.09 เริ่มนับถอยหลัง 10วินาทีในการปล่อยจรวด
วินาทีที่ 30.05 ขึ้นไป คือการกลับมาจอดของ first stage booster

ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่