ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม...มีแต่เสียง 18/2/2017 (หิมะกลางทะเลทราย)

กระทู้คำถาม



ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ

1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกันแล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม

กระทู้ห้องเพลงเป็นกระทู้เปิด มิได้ปิดกั้นผู้หนึ่งผู้ใด "ขอให้มาดี เราคือเพื่อนกัน" ซึ่งก็เหมือนกับกระทู้ทั่วไป ที่เราไม่จำเป็นต้องทราบว่า User ท่านไหนเป็นใครมาจากไหน  ...ดังนั้น หากมีบุคคลใดที่มีการโพสสิ่งผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีของสังคมนั้น หรือสิ่งรบกวนใดๆ ในบอร์ด เป็นเรื่องส่วนบุคคล ทางห้องเพลงจึงขอแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น



ช่วงนี้อากาศร้อนๆ หนาวๆ ทำให้ไม่สบายง่าย เพื่อนๆ รักษาสุขภาพกันด้วยค่ะ

วันนี้จะพาไปเที่ยวทะเลทรายที่ดังที่สุดในโลก ก็คือทะเลทรายซาฮาร่า แต่แค่นั้นก็ธรรมดาไป
บ้านรากหญ้าทัวร์ทั้งทีต้องมีของแปลก ก็เลยจะไปชม หิมะกลางทะเลทราย
มันจะเป็นไปได้ยังไง ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่ต่างกันสุดขั้วจะมาอยู่ในที่เดียวกันได้


หิมะกลางทะเลทรายซาฮาร่า

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 1979 หรือวันนี้เมื่อ 38 ปีที่แล้ว
และเกิดอีกครั้งในวันที่ 19 ธันวาคม 2016 เมื่อปลายปีที่แล้วที่เพิ่งผ่านมานี่เอง

มารู้จัก ทะเลทรายซาฮาร่า กันก่อนค่ะ Sahara เป็นภาษาอาหรับ หมายถึงทะเลทราย
สถิติอุณหภูมิสูงสุดในเวลากลางวันของซาฮาร่าเท่ากับ 57 องศาเซลเซียส



ทะเลทรายซาฮาร่าเป็นทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นบริเวณแห้งแล้งใหญ่สุดเป็นอันดับสาม
(รองจากทวีปแอนตาร์กติกาและอาร์กติก) มีพื้นที่กว่า 9,000,000 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลีย
มีขนาดพื้นที่พอๆ กับสหรัฐอเมริกา และเป็นเนื้อที่ 1 ใน 3 ของทวีปแอฟริกาทั้งหมด

ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอลจีเรีย, ชาด, อียิปต์, ลิเบีย, มาลี, มอริเตเนีย, โมร็อกโก, ไนเจอร์,
เวสเทิร์นสะฮารา, ซูดานและตูนิเซีย



มีหลักฐานชี้ว่าสัก 6,000-7,000 ปีก่อนนี้ ทะเลทรายซาฮาร่าเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีป่า มีต้นไม้ แหล่งน้ำมากมาย
แต่เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 2,000 ปีได้เกิดเหตุการณ์ภัยแล้งอย่างรุนแรงที่กินเวลานาน 400 ปี
ทำให้กลายเป็นพื้นที่แห้งแล้งอย่างปัจจุบัน


ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 ที่เมืองอินเซฟรา (Ain Sefra) ในแอลจีเรีย เกิดมีหิมะตก
แต่ว่าละลายไปในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น

อีก 37 ปีต่อมา คือ 19 ธันวาคม 2016 ในเมืองอินเซฟราที่เดิม ซึ่งอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ได้เกิดหิมะตกอีกครั้ง
แต่ครั้งนี้หิมะตกเป็นระยะเวลาเกือบ 1 วัน นักวิทยาศาสตร์กำลังหาคำตอบว่าเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อนหรือไม่

Photographer captures first sightings of snow in Sahara in 37 years
https://www.youtube.com/watch?v=SktS7l0Z_IA
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



ช่างภาพสมัครเล่นนามว่า คาริม บูเชตาตา (Karim Bouchetata) ได้เก็บภาพบรรยากาศหิมะตกที่ทะเลทรายซาฮารามาได้  


ซึ่งภาพเหล่านี้ได้รับความสนใจและเป็นที่ฮือฮาของผู้คนจำนวนมาก  


เป็นภาพหิมะสีขาวโพลนที่ตกปกคลุมผืนทรายสีส้มในทะเลทรายซาฮาร่า สวยงามมากๆ


Karim บอกว่า “ทุกคนที่เห็นหิมะตกในครั้งนี้ ต่างอยู่ในอาการตะลึง เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่หายากมากสำหรับที่นี่
หิมะปกคลุมอยู่เหนือพื้นทราย ผมรีบถ่ายภาพให้ได้มากที่สุดก่อนมันจะหายไป”


ขอบคุณแหล่งข้อมูลและภาพประกอบ
http://www.desertusa.com/du_sahara.html
https://ppantip.com/topic/30717156
http://www.catdumb.com/snow-falls-in-the-sahara-777/
http://travel.mthai.com/world-travel/148548.html
http://news.sanook.com/2139406/


...........................................................


ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน

ครั้งหนึ่งพื้นที่อุดมสมบูรณ์ยังกลายเป็นทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้

และหิมะที่เป็นผลึกน้ำแข็ง กลับมาตกในทะเลทรายที่แห้งแล้งอันร้อนระอุได้


Snowfall on the Sahara  Natalie Cole  

https://www.youtube.com/watch?v=fz5dJ_vl5h8
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่