สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
ของอินเดียผมไม่ทราบนะครับ ทราบแต่ของจีน
1) จีนมีการปฏิวัติเกษตรกรรมได้ค่อนข้างรวดเร็วครับ อย่างน้อยๆก็เมื่อราวๆ 400 ปี ก่อนคริสตกาล ที่จีนสามารถนำเครื่องมือเหล็กมาใช้ในการทำการเกษตรได้ รวมถึงมีการขุดคูคลองระบบชลประทานมากมาย นั่นทำให้ระบบการเกษตรของจีนก้าวหน้าไปมากกว่าที่อื่นๆ เช่น ยุโรป ในเวลาเดียวกัน การที่ระบบการเกษตรก้าวหน้าก็ทำให้จีนสามารถปลูกธัญพืชเลี้ยงดูประชากรจำนวนมากได้ โดยอาศัยพื้นที่ไม่มากมายนัก
จะเห็นว่าด้านการพัฒนาด้านการเกษตรนี้เอง ทำให้แคว้นต่างๆในยุคจั้นกั๋วมีกำลังพลและทรัพยากรมากกว่า แคว้นมหาอำนาจในยุคชุนชิวมาก เพราะประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
2) จีนมีธัญพืชที่หลากหลายกว่ายุโรป เมโสโปเตเมีย และอียิปต์ กล่าวคือ จีนมีทั้งลูกเดือย ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง และข้าวจ้าว ซึ่งทำให้ชาวจีนสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไปได้ตามสภาวะภูมิอากาศที่แตกต่างกันตั้งแต่เหนือจรดใต้
3) จีนมีที่ราบลุ่มริมแม่น้ำขนาดใหญ่ถึงสามสาย คือแม่น้ำหวงเหอ-สาขา, แม่น้ำไหวเหอ และ แม่น้ำฉางเจียง จึงทำให้มีพื้นที่เพาะปลูกมหาศาล
4) ประชากรจะเพิ่มขึ้นมากๆ ก็ในช่วง Warm Period ของประวัติศาสตร์ครับ เช่นยุค Roman Warm Period (ราวๆ 250 BC ถึง AD 400) อันตรงกับยุคราชวงศ์ฮั่น ที่ประชากรจีนเพิ่มไปถึง 50 ล้านคน หรือยุค Medieval Warm Period (ราวๆ ปี 950 ถึง 1250) อันตรงกับยุคราชวงศ์ซ่งที่ประชากรจีนไปถึง 100 ล้านคน ซึ่งการเพิ่มของประชากรแบบนี้ก็เกิดกับอาณาจักรในซีกโลกเหนือต่างๆเช่นกัน
แต่พอเข้ายุค LIA ที่เกิดสลับขึ้น ประชากรจีนหรืออาณาจักรในซีกโลกเหนือก็ลดลงสลับกันไป
5) สภาวะแวดล้อมของจีน ที่มีความเปราะบางน้อยกว่า อียิปต์ หรือเมโสโปเตเมีย
ต้องบอกว่าดินแดนเอเชียตะวันออก และจีน มีความโชคดีตรงที่อยู่ใกล้ทะเลเปิดขนาดใหญ่ ยังมีพายุหรือปริมาณน้ำฝนมากเพียงพอ แม้จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศโลกในช่วงตลอด 4500 ปีที่ผ่านมา
แต่อียิปต์ กับ เมโสโปเตเมีย ไม่โชคดีขนาดนั้น และเราไม่สามารถเอาภาพสภาวะภูมิประเทศของทั้งสองดินแดนในปัจจุบัน ไปบอกว่าเมื่อ 5000 ปีก่อน ทั้งสองแห่งมีหน้าตาเป็นทะเลทรายขนาดใหญ่แบบนี้ครับ
เมื่อ 5000 ปีก่อน อียิปต์ กับ เมโสโปเตเมีย อุดมสมบูรณ์กว่าตอนนี้มาก มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า มีป่าโปร่งหรือทุ่งหญ้ากระจายไปทั่วระหว่างแม่น้ำไทกรีซ-ยูโฟรตีส แต่การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศโลก และการเพิ่มของประชากรในแถบนั้นได้ทำลายสภาวะแวดล้อมที่เปราะบางจนสิ้น ทำให้เป็นข้อจำกัดสำคัญที่ไม่อาจจะรองรับประชากรจำนวนมากๆได้
1) จีนมีการปฏิวัติเกษตรกรรมได้ค่อนข้างรวดเร็วครับ อย่างน้อยๆก็เมื่อราวๆ 400 ปี ก่อนคริสตกาล ที่จีนสามารถนำเครื่องมือเหล็กมาใช้ในการทำการเกษตรได้ รวมถึงมีการขุดคูคลองระบบชลประทานมากมาย นั่นทำให้ระบบการเกษตรของจีนก้าวหน้าไปมากกว่าที่อื่นๆ เช่น ยุโรป ในเวลาเดียวกัน การที่ระบบการเกษตรก้าวหน้าก็ทำให้จีนสามารถปลูกธัญพืชเลี้ยงดูประชากรจำนวนมากได้ โดยอาศัยพื้นที่ไม่มากมายนัก
จะเห็นว่าด้านการพัฒนาด้านการเกษตรนี้เอง ทำให้แคว้นต่างๆในยุคจั้นกั๋วมีกำลังพลและทรัพยากรมากกว่า แคว้นมหาอำนาจในยุคชุนชิวมาก เพราะประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
2) จีนมีธัญพืชที่หลากหลายกว่ายุโรป เมโสโปเตเมีย และอียิปต์ กล่าวคือ จีนมีทั้งลูกเดือย ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง และข้าวจ้าว ซึ่งทำให้ชาวจีนสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไปได้ตามสภาวะภูมิอากาศที่แตกต่างกันตั้งแต่เหนือจรดใต้
3) จีนมีที่ราบลุ่มริมแม่น้ำขนาดใหญ่ถึงสามสาย คือแม่น้ำหวงเหอ-สาขา, แม่น้ำไหวเหอ และ แม่น้ำฉางเจียง จึงทำให้มีพื้นที่เพาะปลูกมหาศาล
4) ประชากรจะเพิ่มขึ้นมากๆ ก็ในช่วง Warm Period ของประวัติศาสตร์ครับ เช่นยุค Roman Warm Period (ราวๆ 250 BC ถึง AD 400) อันตรงกับยุคราชวงศ์ฮั่น ที่ประชากรจีนเพิ่มไปถึง 50 ล้านคน หรือยุค Medieval Warm Period (ราวๆ ปี 950 ถึง 1250) อันตรงกับยุคราชวงศ์ซ่งที่ประชากรจีนไปถึง 100 ล้านคน ซึ่งการเพิ่มของประชากรแบบนี้ก็เกิดกับอาณาจักรในซีกโลกเหนือต่างๆเช่นกัน
แต่พอเข้ายุค LIA ที่เกิดสลับขึ้น ประชากรจีนหรืออาณาจักรในซีกโลกเหนือก็ลดลงสลับกันไป
5) สภาวะแวดล้อมของจีน ที่มีความเปราะบางน้อยกว่า อียิปต์ หรือเมโสโปเตเมีย
ต้องบอกว่าดินแดนเอเชียตะวันออก และจีน มีความโชคดีตรงที่อยู่ใกล้ทะเลเปิดขนาดใหญ่ ยังมีพายุหรือปริมาณน้ำฝนมากเพียงพอ แม้จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศโลกในช่วงตลอด 4500 ปีที่ผ่านมา
แต่อียิปต์ กับ เมโสโปเตเมีย ไม่โชคดีขนาดนั้น และเราไม่สามารถเอาภาพสภาวะภูมิประเทศของทั้งสองดินแดนในปัจจุบัน ไปบอกว่าเมื่อ 5000 ปีก่อน ทั้งสองแห่งมีหน้าตาเป็นทะเลทรายขนาดใหญ่แบบนี้ครับ
เมื่อ 5000 ปีก่อน อียิปต์ กับ เมโสโปเตเมีย อุดมสมบูรณ์กว่าตอนนี้มาก มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า มีป่าโปร่งหรือทุ่งหญ้ากระจายไปทั่วระหว่างแม่น้ำไทกรีซ-ยูโฟรตีส แต่การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศโลก และการเพิ่มของประชากรในแถบนั้นได้ทำลายสภาวะแวดล้อมที่เปราะบางจนสิ้น ทำให้เป็นข้อจำกัดสำคัญที่ไม่อาจจะรองรับประชากรจำนวนมากๆได้
แสดงความคิดเห็น
ทำไมจีนกับอินเดียถึงมีประชากรเยอะตั้งแต่โบราณครับ