ใส่บาตร ทุกวันทำให้ใจเราเกาะอยู่ใน จาคานุสติและทานบารมี นับเป็นบุญใหญ่ เพราะต่ออายุพระพุทธศาสนา พระเณรต้องการอาหารอยู่ทุกวัน
ถาม
แต่การที่เราเอา
อาหารที่เราขายไม่หมด แล้วเก็บไว้ใส่บาตรในวันถัดไป จะบาปไหม ??
ตอบ
ดร.พระมหาบวรวิทย์ รตนโชโต กล่าวว่า
“ให้สิ่งที่ประณีต ย่อมได้รับสิ่งประณีต ให้สิ่งที่ทราม ย่อมได้สิ่งที่ทราม” ถือเป็นสัจธรรม คือ เราต้องดูว่าอาหารที่ขายไม่หมดนั้น เป็นอาหารใหม่ที่ไม่ใช่เป็นเดน คือคุณค่ามันลดไป หรือเสื่อมไปหรือเปล่า มันยังทรงคุณค่าของมันเหมือนเดิมหรือไม่ หากทุกอย่างยังเหมือนเดิมไม่ถือว่าเป็นบาป แต่หากเรารู้อยู่แก่ใจว่า อาหารนั้นนำไปขายต่อไม่ได้แล้ว เพราะเป็นของเก่าหมดอายุ หรือบูดเสียไปตามสภาพ ก็ไม่ควรนำของนั้นไปใส่บาตร เพราะ ถือเป็นการนำอาหารที่เป็นเดนไปใส่บาตร การจะใส่บาตร ควรนำสิ่งที่ดี และประณีตที่สุด ตามอัตภาพของเราที่จะพึงหาได้
การให้ทาน ท่านแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ เป็นนายแห่งทาน เป็นสหายแห่งทาน และเป็นทาสแห่งทาน กล่าวคือหากเรานำสิ่งที่ดีกว่า เลิศกว่าที่กิน ที่เราใช้สอยถวายให้เป็นทาน เรียกว่าผู้ให้เป็นนายแห่งทาน หากเรานำสิ่งที่เสมอกับที่เรากิน ที่เราใช้สอย คือเราเป็นอยู่อย่างไรก็ถวายสิ่งเหล่าเป็นทาน ไม่ดีกว่า ไม่แย่กว่า เรียกผู้ให้นั้นว่าเป็นสหายแห่งทาน และหากใครนำสิ่งของที่แย่กว่าที่ตนกิน ตนใช้สอย แม้ตัวเองก็ไม่อยากกินไม่อยากใช้ แล้วนำไปถวาย เรียกผู้ให้นั้นว่าเป็นทาสแห่งทาน
ดังนั้น ผลหรืออานิสงส์แห่งทาน ก็ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ตนได้ทำไว้ ให้สิ่งใดไปก็ย่อมได้รับสิ่งนั้นตอบแทน
ถาม
"แล้วการที่พระสงฆ์รับบาตรจากผู้มีจิตศรัทธาทุก ๆ เช้า เมื่อกลับถึงวัดมีคนใกล้ชิดหรือญาติโยมมาสนทนาธรรมหรือทำบุญกับท่าน (ซึ่งคนเหล่านี้เป็นคนมีฐานะ ไม่ใช่คนยากไร้) ท่านก็นำของที่รับบาตรมาให้ผู้คนเหล่านี้ ติดตัวกลับไปรับประทานที่บ้าน เพราะอาหารที่ใส่บาตรมากจนล้นเหลือ ตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว พระสงฆ์ควรทำแบบนี้หรือไม่คะ"
"และในกรณีที่ท่านมอบของที่ได้จากการรับบาตรมาให้กับเรา เราควรทำอย่างไรควรปฏิเสธท่านหรือไม่ และจะเป็นบาปไหมหากรับของเหล่านี้กลับมารับประทานที่บ้าน"
ตอบ
"การทำบุญให้ได้บุญนั้น ก่อนทำใจต้องสบาย ขณะทำใจต้องสบาย ทำเสร็จแล้วใจก็ต้องสบาย ส่วนพระท่านจะนำอาหารเหล่านั้นไปมอบให้ใคร หรือทำอะไรก็เป็นเรื่องของท่าน ไม่ใช่เรื่องของเรา หากท่านมอบให้เราก็รับได้ จะรับประทานเอง หรือ นำไปแจกจ่ายต่อให้ผู้อื่น ก็ถือว่าช่วยเป็นธุระให้ท่านเช่นกัน เพราะ ถ้าทิ้งไว้ที่วัดก็มีแต่จะบูดเน่าเสียหายไม่เป็นประโยชน์"
ขอบคุณบทความดีดีจาก นิตยสาร Secret คอลัมน์ Dhamma Daily
http://www.goodlifeupdate.com/46456/healthy-mind/offerovernightfood/
เจ้าของกระทู้คิดว่า อาหารที่เราขายไม่หมด หรือเป็นอาหารที่ค้างคืนมา ต้องดูหลายองค์ประกอบหน่อยค่ะ เพราะบางคนต้องการที่จะถวายภัตตาหารพระ แต่ไม่มีปัจจัยเกื้อหนุนและด้วยเวลาที่จำกัด แต่อยากถวายภัตตาหาร มากๆๆ การทำจิตให้เลื่อมใสและหาอาหารหวานคาวที่สะอาด ปราณีต อาจจะไม่ต้องถึงขั้นหรูหรา แต่ว่าให้สะอาด ถูกสุขอนามัย อยู่ในระดับที่เราทานเอง หรือถ้าจะให้ดีก็ดีกว่าไปเลย ไม่ใช่ของเหลือของเสียมา ก็ได้บุญแล้วเหมือนกันค่ะ อนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้ใส่บาตร ทำบุญทุกคนด้วยนะคะ
อาหารที่เราขายไม่หมด แล้วเก็บไว้ใส่บาตรในวันถัดไป จะบาปไหมคะ
ใส่บาตร ทุกวันทำให้ใจเราเกาะอยู่ใน จาคานุสติและทานบารมี นับเป็นบุญใหญ่ เพราะต่ออายุพระพุทธศาสนา พระเณรต้องการอาหารอยู่ทุกวัน
ถาม
แต่การที่เราเอา อาหารที่เราขายไม่หมด แล้วเก็บไว้ใส่บาตรในวันถัดไป จะบาปไหม ??
ตอบ
ดร.พระมหาบวรวิทย์ รตนโชโต กล่าวว่า
“ให้สิ่งที่ประณีต ย่อมได้รับสิ่งประณีต ให้สิ่งที่ทราม ย่อมได้สิ่งที่ทราม” ถือเป็นสัจธรรม คือ เราต้องดูว่าอาหารที่ขายไม่หมดนั้น เป็นอาหารใหม่ที่ไม่ใช่เป็นเดน คือคุณค่ามันลดไป หรือเสื่อมไปหรือเปล่า มันยังทรงคุณค่าของมันเหมือนเดิมหรือไม่ หากทุกอย่างยังเหมือนเดิมไม่ถือว่าเป็นบาป แต่หากเรารู้อยู่แก่ใจว่า อาหารนั้นนำไปขายต่อไม่ได้แล้ว เพราะเป็นของเก่าหมดอายุ หรือบูดเสียไปตามสภาพ ก็ไม่ควรนำของนั้นไปใส่บาตร เพราะ ถือเป็นการนำอาหารที่เป็นเดนไปใส่บาตร การจะใส่บาตร ควรนำสิ่งที่ดี และประณีตที่สุด ตามอัตภาพของเราที่จะพึงหาได้
การให้ทาน ท่านแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ เป็นนายแห่งทาน เป็นสหายแห่งทาน และเป็นทาสแห่งทาน กล่าวคือหากเรานำสิ่งที่ดีกว่า เลิศกว่าที่กิน ที่เราใช้สอยถวายให้เป็นทาน เรียกว่าผู้ให้เป็นนายแห่งทาน หากเรานำสิ่งที่เสมอกับที่เรากิน ที่เราใช้สอย คือเราเป็นอยู่อย่างไรก็ถวายสิ่งเหล่าเป็นทาน ไม่ดีกว่า ไม่แย่กว่า เรียกผู้ให้นั้นว่าเป็นสหายแห่งทาน และหากใครนำสิ่งของที่แย่กว่าที่ตนกิน ตนใช้สอย แม้ตัวเองก็ไม่อยากกินไม่อยากใช้ แล้วนำไปถวาย เรียกผู้ให้นั้นว่าเป็นทาสแห่งทาน
ดังนั้น ผลหรืออานิสงส์แห่งทาน ก็ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ตนได้ทำไว้ ให้สิ่งใดไปก็ย่อมได้รับสิ่งนั้นตอบแทน
ถาม
"แล้วการที่พระสงฆ์รับบาตรจากผู้มีจิตศรัทธาทุก ๆ เช้า เมื่อกลับถึงวัดมีคนใกล้ชิดหรือญาติโยมมาสนทนาธรรมหรือทำบุญกับท่าน (ซึ่งคนเหล่านี้เป็นคนมีฐานะ ไม่ใช่คนยากไร้) ท่านก็นำของที่รับบาตรมาให้ผู้คนเหล่านี้ ติดตัวกลับไปรับประทานที่บ้าน เพราะอาหารที่ใส่บาตรมากจนล้นเหลือ ตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว พระสงฆ์ควรทำแบบนี้หรือไม่คะ"
"และในกรณีที่ท่านมอบของที่ได้จากการรับบาตรมาให้กับเรา เราควรทำอย่างไรควรปฏิเสธท่านหรือไม่ และจะเป็นบาปไหมหากรับของเหล่านี้กลับมารับประทานที่บ้าน"
ตอบ
"การทำบุญให้ได้บุญนั้น ก่อนทำใจต้องสบาย ขณะทำใจต้องสบาย ทำเสร็จแล้วใจก็ต้องสบาย ส่วนพระท่านจะนำอาหารเหล่านั้นไปมอบให้ใคร หรือทำอะไรก็เป็นเรื่องของท่าน ไม่ใช่เรื่องของเรา หากท่านมอบให้เราก็รับได้ จะรับประทานเอง หรือ นำไปแจกจ่ายต่อให้ผู้อื่น ก็ถือว่าช่วยเป็นธุระให้ท่านเช่นกัน เพราะ ถ้าทิ้งไว้ที่วัดก็มีแต่จะบูดเน่าเสียหายไม่เป็นประโยชน์"
ขอบคุณบทความดีดีจาก นิตยสาร Secret คอลัมน์ Dhamma Daily http://www.goodlifeupdate.com/46456/healthy-mind/offerovernightfood/
เจ้าของกระทู้คิดว่า อาหารที่เราขายไม่หมด หรือเป็นอาหารที่ค้างคืนมา ต้องดูหลายองค์ประกอบหน่อยค่ะ เพราะบางคนต้องการที่จะถวายภัตตาหารพระ แต่ไม่มีปัจจัยเกื้อหนุนและด้วยเวลาที่จำกัด แต่อยากถวายภัตตาหาร มากๆๆ การทำจิตให้เลื่อมใสและหาอาหารหวานคาวที่สะอาด ปราณีต อาจจะไม่ต้องถึงขั้นหรูหรา แต่ว่าให้สะอาด ถูกสุขอนามัย อยู่ในระดับที่เราทานเอง หรือถ้าจะให้ดีก็ดีกว่าไปเลย ไม่ใช่ของเหลือของเสียมา ก็ได้บุญแล้วเหมือนกันค่ะ อนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้ใส่บาตร ทำบุญทุกคนด้วยนะคะ