ทำไมดาวฤกษ์ที่ยังไม่หมดอายุขัยถึงไม่สามารถเป็นหลุมดำได้

คือพอดีนั่งอ่านเกี่ยวกับหลุมดำแล้วเกิดคำถามขึ้นมา
อย่างแรกเลยดาวฤกษ์เมื่อหมดอายุขัยจะระเบิดตัว ในจุดนี้มวลของดาวหายไปมั๊ยครับ
แล้วแรงโน้มถ่วงก่อนและหลังระเบิดจะเท่ากันมั๊ย ไม่ว่าดาวดวงนั้นจะกลายเป็นดาวแคระขาว หรือดาวนิวตรอน
สมมุตถ้าเท่ากันแล้วดาวดวงนั้นมวลมากกว่าดวงอาทิตย์หลายเท่าทำไมถึงไม่สามารถกลายเป็นหลุมดำได้ครับ
ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบนะครับ ^__^
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ทำไมดาวฤกษ์ที่ยังไม่หมดอายุขัยถึงไม่สามารถเป็นหลุมดำได้
เป็นเพราะว่า ดาวดวงนั้นยังใช้เชื้อเพลิง hydrogen ไม่หมดครับ
ทำให้ยังคงกระบวนการผลาญเชื้อเพลิง hydrogen เกิดเป็นปฏิกิริยา fusion ข้างในได้
ซึ่งแรงจากการเกิด fusion ข้างในดาวฤกษ์นี้  จะสามารถต้านการยุบตัวของมวลมหาศาลไปได้
ดังนั้น  ดาวดวงนั้นจึงยังมีเสถียรภาพของชีวิตอยู่  ไม่ระเบิดไปเป็น supernova
และกลายเป็นหลุมดำครับ  (ซึ่งหลุมดำเกิดจากการระเบิด supernova ของดาวฤกษ์
มวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 18 เท่า ++ ขึ้นไป)

อย่างแรกเลยดาวฤกษ์เมื่อหมดอายุขัยจะระเบิดตัว ในจุดนี้มวลของดาวหายไปมั๊ยครับ
หากดาวฤกษ์ดวงใหญ่มวลมากระเบิดกลายเป็น supernova  มวลสารของดาวก็จะกระจายออกไป
กว้างขวางมากครับ  ซึ่งแน่นอนว่ามวลที่เคยมีก็จะหายไปตามมวลสารที่กระจายออกไปครับ

แล้วแรงโน้มถ่วงก่อนและหลังระเบิดจะเท่ากันมั๊ย ไม่ว่าดาวดวงนั้นจะกลายเป็นดาวแคระขาว หรือดาวนิวตรอน
สมมุตถ้าเท่ากันแล้วดาวดวงนั้นมวลมากกว่าดวงอาทิตย์หลายเท่าทำไมถึงไม่สามารถกลายเป็นหลุมดำได้ครับ

คือจะต้องแยกกันระหว่าง ดาวแคระขาว กับ ดาวนิวตรอน ครับ
ดาวแคระขาวเกิดจากดาวฤกษ์มวลปกติกลายเป็นดาวยักษ์แดงแล้วหมดอายุขัยปล่อยมวลสารออกไป (บ้าง)
ในที่สุดก็เหลือเป็นดาวแคระขาวที่ยังคงมีมวลมาก (อาจมากถึง 80% จากของเดิม)  แต่ดาวนิวตรอน
เกิดจาก supernova เท่านั้นครับ  โดยการระเบิดจาก supernova ทำให้เหลือเพียงมวลสารที่เป็น "นิวตรอน"
อัดแน่นเท่านั้น  ส่วนเรื่องหลุมดำ  จะเกิดกับการระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 18 เท่า ++ เท่านั้น
ที่ จขกท.สงสัยว่าทำไมไม่กลายเป็นหลุมดำ  ก็เพราะว่า ดาวฤกษ์ที่หมดอายุแล้วกลายเป็นแคระขาว หรือ ดาวนิวตรอน นั้น
ดาวเหล่านั้นมีมวลไม่มากพอที่จะเกิด supernova แล้วกลายเป็นหลุมดำครับ

ผมสรุปเป็นภาพมาให้ครับ  เข้าใจง่าย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่