๑. สามัญนาม ชื่อทั่วไป
๒. คุณนาม ชื่อโดยคุณ
๓. กิตติมนาม ชื่อโดยการยกย่อง
๔. อุปปาติกนาม ชื่อตามที่เกิดขึ้น.
บรรดานาม ๔ อย่างนั้น นามของพระราชาว่า มหาสมมต ดังนี้
เพราะมหาชนในครั้งปฐมกัปประชุมกันตั้งไว้ ชื่อว่า สามัญนาม ซึ่งพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงตรัสไว้ว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ อักษรแรกว่ามหาสมมต
ดังนี้ เกิดขึ้น เพราะมหาชนสมมติขึ้นแล. นาม อันมาแล้วโดยคุณอย่างนี้
ว่า พระธรรมกถึก ผู้ทรงบังสุกุลจีวร พระวินัยธร ผู้ทรงพระไตรปิฎก ผู้มี
ศรัทธา ผู้เลื่อมใสแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า คุณนาม.
แม้พระนามของพระตถาคตมีหลายร้อยอาทิว่า ภควา อรหํ สมฺมา-
สมฺพุทฺโธ ดังนี้ ก็ชื่อว่า คุณนาม เหมือนกัน ด้วยเหตุนั้นท่านโบราณา-
จารย์ จึงกล่าวว่า
อสงฺเขยฺยานิ นามานิ สคุเณน มเหสิโน
คุเณน นามมุทฺเธยฺยํ อปิ นาม สหสฺสโต
พระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอัน
ใหญ่มีพระนาม โดยพระคุณของพระองค์
นับไม่ถ้วน บัณฑิต พึงยกพระนามโดย
พระคุณขึ้นแสดงแม้เป็นพัน ๆ พระนาม ดังนี้.
ส่วนนามใด ที่พวกญาติทั้งหลายผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้กระทำสักการะแก่
พระทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย พากันคิดกำหนดแล้วในวันที่ตั้งชื่อของเด็กผู้เกิด
มากระทำการตั้งชื่อว่า เด็กนี้ชื่อโน้น นามนี้ ชื่อว่า กิตติมนาม.
อนึ่ง บัญญัติแรกย่อมตกไปในบัญญัติหลัง โวหารแรกย่อมตกไปใน
โวหารหลัง เช่นพระจันทร์แม้ในกัปก่อนชื่อว่าพระจันทร์ แม้ในปัจจุบันก็
เรียกว่าพระจันทร์เหมือนกัน พระอาทิตย์ สมุทร ปฐวี บรรพตในกัปก่อน
ชื่อว่า บรรพต แม้ในปัจจุบันก็เรียกว่าบรรพตนั่นแหละ นี้ชื่อว่า อุปปา-
ติกนาม. นามแม้ทั้ง ๔ อย่างนี้ ก็คงเป็นนามอย่างเดียวกันนั่นเอง.
บทว่า นามกมฺมํ (นามกรรม) คือการให้ชื่อ.
บทว่า นามเธยฺยํ (นามเธยยะ) คือการตั้งชื่อ.
บทว่า นิรุตฺติ (การออกชื่อ) ได้แก่ การเรียกชื่อ.
บทว่า พฺยญฺชนํ (การระบุชื่อ) ได้แก่ การประกาศชื่อ ก็เพราะ
การระบุชื่อนี้ ย่อมปรากฏถึงความหมาย ฉะนั้น จึงตรัสไว้อย่างนั้น.
บทว่า อภิลาโป (การเรียกชื่อ) ได้แก่ ชื่อที่เรียกนั่นเอง.
บทว่า สพฺเพว ธมฺมา อธิวจนปถา (ธรรมทั้งหมดแล ชื่อว่า
อธิวจนปถธรรม) ได้แก่ ชื่อว่า ธรรมที่เป็นวิถีของธรรมที่เป็นชื่อไม่มีหามิได้
ธรรมหนึ่งย่อมรวมลงในธรรมทั้งหมด ธรรมทั้งหมดก็ประชุมลงในธรรมหนึ่ง
ข้อนี้เป็นอย่างไร ? คือว่า ธรรมหนึ่งคือนามบัญญัตินี้นั้น ย่อมประมวลลงใน
ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งหมด คือสัตว์ก็ดี สังขารก็ดี ชื่อว่า พ้นไปจาก
ชื่อหามีไม่. แม้ต้นไม้ในดง และภูเขาเป็นต้น ก็ยังเป็นภาระ (คำพูด) ของ
ชาวชนบท เพราะว่า ชาวชนบทเหล่านั้น ถูกเขาถามว่า ต้นไม้นี้ชื่ออะไร ?
ก็จะบอกชื่อที่ตนรู้จักว่า ต้นไม้นั้นเป็นต้นตะเคียน ดังนี้ พวกเขาไม่รู้จักชื่อ
ต้นไม้ใด ก็จะพูดว่า ต้นไม้นั้นไม่มีชื่อ ดังนี้ แม้คำว่าต้นไม้ไม่มีชื่อนั้น ก็
เป็นนามเธยยะ (การตั้งชื่อ) ของต้นไม้นั้นนั่นเอง. แม้ปลาและเต่าเป็นต้นใน
ทะเลก็นัยนี้แหละ.
สองทุกะนอกนี้ (คือนิรุตติทุกะและปัญญัติทุกะ) มีเนื้อความเหมือน
ทุกะนี้แล.
บทว่า นามํ (นาม) ได้แก่ นาม ๔ อย่าง คือ
๒. คุณนาม ชื่อโดยคุณ
๓. กิตติมนาม ชื่อโดยการยกย่อง
๔. อุปปาติกนาม ชื่อตามที่เกิดขึ้น.
บรรดานาม ๔ อย่างนั้น นามของพระราชาว่า มหาสมมต ดังนี้
เพราะมหาชนในครั้งปฐมกัปประชุมกันตั้งไว้ ชื่อว่า สามัญนาม ซึ่งพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงตรัสไว้ว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ อักษรแรกว่ามหาสมมต
ดังนี้ เกิดขึ้น เพราะมหาชนสมมติขึ้นแล. นาม อันมาแล้วโดยคุณอย่างนี้
ว่า พระธรรมกถึก ผู้ทรงบังสุกุลจีวร พระวินัยธร ผู้ทรงพระไตรปิฎก ผู้มี
ศรัทธา ผู้เลื่อมใสแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า คุณนาม.
แม้พระนามของพระตถาคตมีหลายร้อยอาทิว่า ภควา อรหํ สมฺมา-
สมฺพุทฺโธ ดังนี้ ก็ชื่อว่า คุณนาม เหมือนกัน ด้วยเหตุนั้นท่านโบราณา-
จารย์ จึงกล่าวว่า
อสงฺเขยฺยานิ นามานิ สคุเณน มเหสิโน
คุเณน นามมุทฺเธยฺยํ อปิ นาม สหสฺสโต
พระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอัน
ใหญ่มีพระนาม โดยพระคุณของพระองค์
นับไม่ถ้วน บัณฑิต พึงยกพระนามโดย
พระคุณขึ้นแสดงแม้เป็นพัน ๆ พระนาม ดังนี้.
ส่วนนามใด ที่พวกญาติทั้งหลายผู้ยืนอยู่ในที่ใกล้กระทำสักการะแก่
พระทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย พากันคิดกำหนดแล้วในวันที่ตั้งชื่อของเด็กผู้เกิด
มากระทำการตั้งชื่อว่า เด็กนี้ชื่อโน้น นามนี้ ชื่อว่า กิตติมนาม.
อนึ่ง บัญญัติแรกย่อมตกไปในบัญญัติหลัง โวหารแรกย่อมตกไปใน
โวหารหลัง เช่นพระจันทร์แม้ในกัปก่อนชื่อว่าพระจันทร์ แม้ในปัจจุบันก็
เรียกว่าพระจันทร์เหมือนกัน พระอาทิตย์ สมุทร ปฐวี บรรพตในกัปก่อน
ชื่อว่า บรรพต แม้ในปัจจุบันก็เรียกว่าบรรพตนั่นแหละ นี้ชื่อว่า อุปปา-
ติกนาม. นามแม้ทั้ง ๔ อย่างนี้ ก็คงเป็นนามอย่างเดียวกันนั่นเอง.
บทว่า นามกมฺมํ (นามกรรม) คือการให้ชื่อ.
บทว่า นามเธยฺยํ (นามเธยยะ) คือการตั้งชื่อ.
บทว่า นิรุตฺติ (การออกชื่อ) ได้แก่ การเรียกชื่อ.
บทว่า พฺยญฺชนํ (การระบุชื่อ) ได้แก่ การประกาศชื่อ ก็เพราะ
การระบุชื่อนี้ ย่อมปรากฏถึงความหมาย ฉะนั้น จึงตรัสไว้อย่างนั้น.
บทว่า อภิลาโป (การเรียกชื่อ) ได้แก่ ชื่อที่เรียกนั่นเอง.
บทว่า สพฺเพว ธมฺมา อธิวจนปถา (ธรรมทั้งหมดแล ชื่อว่า
อธิวจนปถธรรม) ได้แก่ ชื่อว่า ธรรมที่เป็นวิถีของธรรมที่เป็นชื่อไม่มีหามิได้
ธรรมหนึ่งย่อมรวมลงในธรรมทั้งหมด ธรรมทั้งหมดก็ประชุมลงในธรรมหนึ่ง
ข้อนี้เป็นอย่างไร ? คือว่า ธรรมหนึ่งคือนามบัญญัตินี้นั้น ย่อมประมวลลงใน
ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งหมด คือสัตว์ก็ดี สังขารก็ดี ชื่อว่า พ้นไปจาก
ชื่อหามีไม่. แม้ต้นไม้ในดง และภูเขาเป็นต้น ก็ยังเป็นภาระ (คำพูด) ของ
ชาวชนบท เพราะว่า ชาวชนบทเหล่านั้น ถูกเขาถามว่า ต้นไม้นี้ชื่ออะไร ?
ก็จะบอกชื่อที่ตนรู้จักว่า ต้นไม้นั้นเป็นต้นตะเคียน ดังนี้ พวกเขาไม่รู้จักชื่อ
ต้นไม้ใด ก็จะพูดว่า ต้นไม้นั้นไม่มีชื่อ ดังนี้ แม้คำว่าต้นไม้ไม่มีชื่อนั้น ก็
เป็นนามเธยยะ (การตั้งชื่อ) ของต้นไม้นั้นนั่นเอง. แม้ปลาและเต่าเป็นต้นใน
ทะเลก็นัยนี้แหละ.
สองทุกะนอกนี้ (คือนิรุตติทุกะและปัญญัติทุกะ) มีเนื้อความเหมือน
ทุกะนี้แล.