ตำราว่า มรรคญาณ เข้าได้ครั้งเดียว ผลญาณรู้ได้หลายครั้ง หมายความว่าอย่างไร?

มรรคกับผลเป็นธรรมคู่กันที่ต้องรู้พร้อมกันหรือไม่?
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ท่านจขกท ถามว่า
" มรรคกับผลเป็นธรรมคู่กันที่ต้องรู้พร้อมกันหรือไม่? "

คำตอบอยู่ที่
อนัตตลักขณสูตร พระวินัยปิฎก ดังนี้ครับ
ข้อธรรม [ 23 ] ....เมื่อเบื่อหน่ายย่อมสิ้นกำหนัด ( วิราคะ )
เพราะสิ้นกำหนัดจิตก็พ้น ( มรรคสมังคคี หรือจะเรียก มัคคญาณ ก็ได้ ( ถ้าจะเรียกเพื่อให้เข้าพวก ญาณ )
เมื่อจิตพ้นแล้วก็รู้ว่าพ้นแล้ว ( ผลญาณ ปัจจเวกขยญาณ รู้เฉพาะตน )
สังเกตุให้ดีนะครับ ว่า จิตต่อจิต ( พระอภิธรรมอธิบายว่า ไม่มีระหว่างกลางกั้น )
สรุปว่า
มรรคญาณเกิดขึ้นก่อน ผลญาณเกิดขึ้นตามทันที ( มรรคเป็นเหตุ ผลคือผล นั่นเองครับ )

อีกคำถามที่ว่า
" ตำราว่า มรรคญาณ เข้าได้ครั้งเดียว ผลญาณรู้ได้หลายครั้ง หมายความว่าอย่างไร? "
ตำราที่ว่า ตำราอะไรล่ะครับ ( พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม อรรถกถา วิสุทธิมรรค วิมุตติมรรค หรือ ความเห็นอาจารย์ร่วมสมัย )
แต่
อธิบายตามพระวินัย อนัตตลักขณสูตร ในที่นี้จะได้ว่า มรรคญาณ เกิดขึ้นได้ครั้งเดียว
เพราะ ประหารอนุสัยกิเลสหมดสิ้นแล้ว ไม่มีเหลือให้ประหารอีก
( กรณีอรหัตตมรรคครับ )
และ
ทำความเข้าใจได้ทันทีว่า โสดาปัตติมรรค ย่อมประหารอนุสัยกิเลสเฉพาะ แตกต่างจาก สกทาคามิมรรค
ดังนั้น
แต่ละมรรค ย่อมประหารโดยกิจของตน ได้ครั้งเดียว ( เพราะ ไม่เหลืออะไรให้ทำซ้ำอีก ในกิจของตนแล้ว )

ส่วนผลญาณ นั้น
ถ้านับตาม อนัตตลักขณสูตร ย่อมเกิดตามมรรค
เมื่อ มรรคเกิดขึ้นครั้งเดียว ผลที่ตามมรรคนั้น ย่อมเกิดขึ้นครั้งเดียว ด้วย
แต่
ถ้าจะใช้สัญญา จำผลญาณ นั้น
แล้ว กระทำการให้คล้ายผลญาณ ด้วยอาการรู้ ก็ย่อมได้ ( คล้ายแต่ไม่เหมือน นะครับ )
ผู้ที่กระทำเช่นนั้นได้ คือ ผู้ที่สั่งจิตได้คล่อง ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่