** เชียร์รัฐบาลนี้ ให้อยู่นาน นาน ... เพื่อไม่ให้รัฐประหารครั้งนี้สูญเปล่า และขอให้เป็นครั้งสุดท้าย ** (ชุนเทียน)

สวัสดีค่ะ WM และเพื่อนสมาชิก

คิดหนักว่าจะเขียนกระทู้นี้ดีไหม เขียนไปก็อาจถูกลบ แต่มาคิดอีกที ไม่น่าจะถูกลบนะ เพราะไม่ได้ผิดกฎข้อไหน
เป็นประโยชน์กับรัฐบาลด้วยซ้ำ เชื่อใจวิจารณญาณของ WM ค่ะ ต่อให้ถูกลบก็ไม่เป็นไร ถือว่าได้แสดงความเห็นออกไปแล้ว

จุดยืนของ จขกท. คือ ต้องการประชาธิปไตย ไม่ชอบการล้มกติกา ไม่ชอบความอยุติธรรม ไม่ชอบถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ
แล้วทำไมถึงอยากให้รัฐบาลนี้อยู่ไปนานๆ นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ เพื่อไม่ให้รัฐประหารครั้งนี้สูญเปล่า และขอให้เป็นครั้งสุดท้าย

เพื่อนๆ ฝ่าย ประชาธิปไตยใจเย็นๆ ก่อน อย่าเพิ่งด่า ว่า จขกท. เปลี่ยนใจแล้วเหรอ


ก่อนอื่นมาดูเรื่องรัฐประหารกันก่อน

บ้านเราตั้งแต่ปี 2475 ผ่านมา 85 ปี มาดูว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง (หากข้อมูลผิดพลาดตรงไหน รบกวนผู้รู้ช่วยแก้ไขด้วยค่ะ)

ปฏิวัติ 1 ครั้ง คือการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
กบฏ 11 ครั้ง (การรัฐประหาร/ปฏิวัติ ไม่สำเร็จ)
รัฐประหาร 13 ครั้ง (การรัฐประหารสำเร็จ)
รัฐธรรมนูญ 19 ฉบับ


แปลว่า

มีการล้มรัฐบาลสำเร็จทุกๆ  6.5 ปี
ถ้ารวมแบบสำเร็จและไม่สำเร็จแปลว่าจะเกิดความวุ่นวายทุกๆ 3.5 ปี
มีการเขียน รธน. ใหม่ทุกๆ 4.5 ปี



ตอนนี้เราติดอันดับ Top 5 ประเทศที่มี รธน.มากที่สุดในโลก วนลูปมาหลายสิบปี
และที่เราไม่ไปไหนมาไหนสักทีก็เพราะเรายังจมอยู่กับวังวน "รัฐประหาร" เขียน รธน.ใหม่กันแทบจะบ่อยเท่ากับการจัดบอลโลก

ถ้ามันดีจริง ประเทศพัฒนาแล้วในโลกก็ต้องมีแบบนี้บ้างสิ และประเทศเราน่าจะไปไกลไม่ต้องเกิดซ้ำซากเหมือนดูหนังผีแบบนี้


ก็พอรัฐบาลปกติกำลังทำหน้าที่อยู่ดีๆ บ้านเมืองกำลังไปได้ดี ก็จะมีพรรคการเมืองและสาวกมาป่วนบ้านเมือง สร้างเงื่อนไขรัฐประหาร



ทำให้ประเทศติดหล่มครั้งแล้วครั้งเล่า




รัฐบาลที่มาจากประชาชน จะดีจะร้ายยังไง ประชาชนมีสิทธิเลือก ใครทำไม่ดี ต่อไปคนก็ไม่เลือก
นักการเมือง พรรคการเมืองก็ต้องปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง ประชาชนมีแต่ได้


ดังนั้นจึงคิดว่า ขอให้ครั้งนี้เป็น "รัฐประหารครั้งสุดท้าย" ได้ไหม
และขอให้ท่านนายก อดทน เสียสละ อยู่ไปนานๆ จนกว่าจะถึงเวลาอันควร เพื่อให้ประเทศไทยพ้นวังวนนี้


เวลาอันควร คือเวลาไหน ? มันคือ...

- เวลาที่พร้อมเลือกตั้งแบบจริงใจ คืนอำนาจให้ประชาชน มีความเป็นสากล ไม่ใช่มีเลือกตั้งโดยใช้ประชาชนเป็นตรายาง เพื่อใช้อ้างว่าเราก็เป็น ปชต.นะ

- เวลาที่สลิ่มทั้งหลาย (สลิ่มบางส่วนก็พอ ไม่ต้องถึงกับทั้งหมด เพราะคงไม่มีวันนั้น) ตาสว่างและยอมรับว่า "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" คือวาทกรรมหลอกลวงที่หัวหน้าม็อบนกหวีดใช้สะกดจิตทำเพื่อประโยชน์ตนทางการเมืองจนชาติเสียหาย

- เวลาที่เราไม่ต้องถกเถียงกันแล้วว่า "ถังแตก" หรือยัง เอาให้ถึงขั้นไม่เหลือแม้ซากถัง ค่อยมาว่ากัน

- เวลาที่ไม่ต้องมีข้อแก้ตัวว่า เราต้องเสียเวลา เสียงบประมาณ เพราะรัฐบาลเก่าสร้างปัญหาไว้ ดังนั้นใช้เวลาให้นานเท่านานไปเลยค่ะ แก้ปัญหาให้เต็มที่ ทุกอย่างอยู่ในกำมือแล้ว

- เวลาที่หลายๆ คนที่ตอนนี้หลับหูหลับตาเชียร์ได้รับผลกระทบจังๆ เข้ากับตัวเอง เผื่อจะได้เห็นใจคนอื่นบ้าง หรือฉุกคิดได้บ้าง เลิกคิดแต่จะเอาชนะจนไม่คำนึงถึงผลเสียหายส่วนรวม


ทุกวันนี้อะไรก็ดูดีไปหมดใช่ไหมคะ สารพัดโพลก็บอกว่าประชาชนอยากให้รัฐบาลอยู่นานๆ เศรษฐกิจดี๊ ดี บ้านเมืองสงบ
ไม่มีใครโกง หลายคนยังหน้าชื่นตาบานอวยได้ทุกเรื่อง แล้วจะรีบเลือกตั้งไปทำไมล่ะ


จขกท. ยังคงต้องการให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย
ยังคงต้องการคนจริงใจมีความสามารถมาทำงานให้บ้านเมืองแบบโปร่งใสวิจารณ์ได้ ประชาชนมีสิทธิเลือกได้
ยังต้องการให้มีการเลือกตั้ง แบบมี รธน.ที่เป็นประโยชน์กับประชาชน ไม่ใช่มีการสอดไส้ วางยา
  

แต่ไม่ต้องการให้มีเลือกตั้งแบบตรายางรองรับความชอบธรรมของสิ่งที่ไม่ชอบธรรม
ไม่ต้องการวัฏจักรเดิมๆ ที่ว่าพอรัฐบาล ปชต.ทำงานอยู่ดีๆ ก็มีการล้มกระดาน ศก.พัง
แล้วก็ให้เขามาสร้างใหม่ แล้วล้มใหม่ ไปเรื่อยๆ


จะคืนอำนาจให้ประชาชน ขอแบบจริงใจค่ะ  

ยังไงครั้งนี้ก็อยู่ไปจนเห็นผลงานของรัฐบาลนี้เลยแล้วกันค่ะ จะได้ชัดเจนทุกกรณี


สุดท้าย หากรัฐบาลนี้กัดฟันจนถึงที่สุด จะมีแต่เป็นผลดีต่อรัฐบาล เพราะว่า

- ถ้ารัฐบาลทำผลงานได้อย่างที่พูดจริง ประชาชนก็จะชื่นชม รปห.ครั้งนี้ก็ไม่เสียของ

- ถ้ารัฐบาลทำไม่ได้อย่างที่พูด และทุกอย่างมันถึงที่สุดๆๆๆๆๆ จะได้มีคนตาสว่างว่า ผลของ รปห.เป็นอย่างไร ขอให้ รปห.ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย

เหนืออี่นใด หากความอดทนอยู่ไปนานๆ ของรัฐบาลนี้ ทำให้สลิ่มหูตาสว่าง
และวันหน้าไม่ก่อความวุ่นวายให้บ้านเมือง นั่นคือ "คุโณปการ" ใหญ่หลวงแล้ว
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ในเมื่ออยากลองแล้วก็ลองให้หายอยาก ให้รู้กันไปเลยว่าดีหรือไม่ดี และไม่ค่อยจะสดชื่นกับ รธน ฉบับนี้สักเท่าไหร่ เหมือนจะเห็นลางๆว่าปัญหาหลายๆอย่างจะตามมาหลังจากนำ รธน มาใช้จริง เช่น

มาตรา 5 ในกรณีที่ประเทศเกิดปัญหาทางการเมืองโดยให้องค์กรที่เกี่ยวข้องต้องพูดคุยและหาทางออกร่วมกัน หากเกิดกรณีที่ใช้มาตรา 5 เพื่อหาทางออกร่วมกัน เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญจัดให้มีการประชุมร่วมระหว่างประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานองค์กรอิสระเพื่อวินิจฉัย ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร+ประธานวุฒิสภา+ประธานศาลรัฐธรรมนูญ+ประธานองค์กรอิสระ ครึ่งหนึ่งของคณะประชุมมีโอกาสสูงมากที่จะออกความเห็นหรือลงมติมาในทิศทางเดียวกันครับ แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าจะได้ทางออกที่ถูกต้อง

     มาตรา 47 เรื่องสิทธิการรักษาพยาบาล บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ ทำไมต้องเป็นผู้ยากไร้หรือต้องไปลงทะเบียนผู้ยากไร้เท่านั้นเหรอครับถึงจะได้รับความคุ้มครองตรงนี้ ในขณะที่พยายามสื่อว่ากำลังลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม แต่นี่กลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการแยกคำว่าบุคคลกับผู้ยากไร้ออกจากกันเพื่อแลกมาให้ได้ในสิทธินี้ ผมว่ามันไม่ควรครับ

     มาตรา 54 เรื่องเรียนฟรี ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนเอาไว้ชัดเจนว่าเรียนฟรีแค่ 12 ปี เป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนผู้มีกำลังทรัพย์น้อยในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนครับ

     มาตรา 80 ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้ให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน นี่คือการก้าวข้ามหน้าที่จากฝ่ายนิติบัญญัติมาทำหน้าที่ควบคุมฝ่ายบริหารใช่หรือไม่ ทั้งๆที่ความเป็นจริงอำนาจสมควรที่จะถ่วงดุลกันและไม่ก้าวล่วงเข้ามาทำหน้าที่ทั้งๆที่รองประธานสภาฯก็ยังมี มิหนำซ้ำในระหว่างที่ประธานวุฒิสภาต้องทำหน้าที่ประธานรัฐสภาตามวรรคสอง แต่ไม่มีประธานวุฒิสภา และเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในระหว่างไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ให้รองประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภา ถ้าไม่มีรองประธานวุฒิสภา ให้สมาชิกวุฒิสภาซึ่งมีอายุมากที่สุดในขณะนั้นทำหน้าที่ประธานรัฐสภา นี่คือการวางหมากเพื่อล้วงลูกก้าวข้ามอำนาจหน้าที่กันหรือไม่ แล้วคุณเอารองประธานสภาไปซุกไว้ที่ไหน?

     ย่อหน้านี้อาจจะมีหลายมาตราที่เกี่ยวเนื่องกันนะครับ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนไม่มีเสถียรภาพพร้อมที่จะถูกล้มได้ทุกเมื่อหากเกิดกรณี 2 มาตรฐานขึ้นมาอีกครั้ง ในกรณีใช้อำนาจทางศาลรัฐธรรมนูญในการล้มรัฐบาลประชาชน หรือเกิดกรณี 2 มาตรฐานอีกครั้ง  (ไม่ไม่จำกัดนะครับว่าจะมาจากทางขั้วการเมืองไหน จะเป็นเพื่อไทยก็ได้ หรือประชาธิปัตย์ก็ได้) หรือแม้กระทั่งการรอการขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของคนนอกจึงจำเป็นที่จะต้องเอาผิดรัฐบาลประชาชนให้ได้เสียก่อน  ก็สามารถทำได้โดยใช้ มาตรา ๘๒ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๐๑ (๓)(๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๒) หรือมาตรา ๑๑๑ (๓) (๔) (๕) หรือ (๗) แล้วแต่กรณี และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้อง ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่

จากมาตรา 82 มีสิ่งที่สามารถเชื่อมต่อเพื่อเอาผิดผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ตามมาตรา 101 ข้อที่ 7 กระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา ๑๘๔ หรือมาตรา ๑๘๕

ภาพแสดงมาตรา 101 ข้อที่ 7

ภาพแสดงมาตรา 185
มาตรา ๑๘๕ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภากระทำการใดๆ อันมีลักษณะที่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมืองไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
(๒) กระทำการในลักษณะที่ทำให้ตนมีส่วนร่วมในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ หรือให้ความเห็นชอบในการจัดทำโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่เป็นการดำเนินการในกิจการของรัฐสภา
(๓) การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือนหรือการให้พ้นจากตำแหน่งของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น

จากทั้ง 3 ข้อในมาตรา 185 นี้ หากเกิดกรณี 2 มาตรฐานขึ้นมาในการตัดสินความของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็สามารถกระทำการได้โดยง่ายเช่นในอดีตที่ผ่านมา เพราะสามารถตีความออกไปได้กว้างและออกได้ทุกทางว่าผิดจริงหรือไม่ผิด ฉะนั้นแล้วเราจะมีความเชื่อมั่นได้อย่างไรว่าจะไม่เกิดกรณีนี้ขึ้น การตีความเพื่อเอาผิดจากกรณีทางการเมืองต่างๆก็มีให้เห็นดังเช่นอดีต เช่นทำกับข้าวออกทีวียังผิด สั่งย้ายข้าราชการที่ทำหน้าที่ไม่ได้ก็ยังผิด เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าทำอะไรแล้วจะไม่ผิด ในเมื่อทำหน้าที่รัฐบาลก็คงหลีกเลี่ยงที่จะมีภารกิจต่างๆมากมายที่จะทำ หากจะตีความเอาผิดโดยคณะ ตลก ที่ถูกแต่งตั้งมาจาก สว. สรรหา ที่ถูกแต่งตั้งมาจากบุคคลคณะเดียว ก็สามารถดำเนินการได้ทุกเมื่อ

     กติกาการเลือกตั้งตามร่าง รธน. ฉบับนี้ปิดโอกาสของคำว่าเลือกคนที่รักเลือกพรรคที่ชอบออกไป โดยในส่วนของ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อมีหลักการคำนวนที่พึงได้มาตามมาตรา 91

ซึ่งกติการการเลือกตั้งใหม่นี้ไม่ทราบว่ามีการคำนวนและวิเคราะห์เชิงตัวเลขมาก่อนหรือไม่ว่ามีโอกาสสูงที่จะทำให้พรรคใดพรรคหนึ่งมีคะแนนลดลงมาไม่ถึงครึ่ง ส่วนพรรครองลงมาได้คะแนนเพิ่มขึ้นมาเพื่อบีบคะแนนให้ใกล้เคียงกันขึ้นมา และพรรคอันดับสองมีโอกาสเสียมารยาททางการเมืองในการจับมือร่วมกับพรรคอื่นที่เหลือเพื่อจัดตั้งรัฐบาล โดยปล่อยให้พรรคที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเลือกเข้ามาเป็นอันดับหนึ่งต้องกลายไปเป็นฝ่ายค้านเดี่ยว หรือในกรณีที่คะแนนรวมสูสีใกล้เคียงกัน จึงเป็นการยากที่จะหาข้อสรุปในการแต่งตั้งนายกฯที่มาจากการนำเสนอตามมาตรา 88

จึงเป็นการเปิดช่องให้เกิดมาตรา 272 กรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภาขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อ ที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘

และสิ่งนี้หรือไม่ที่เป็นที่มาของคำถามพ่วงท้ายการโหวตร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องการโหวตรับ-ไม่รับนายกรัฐมนตรีของ สว. สรรหาทั้ง 250 คน เพื่อปูทางให้เกิดนายกฯคนนอกที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งจากเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

     มาตรา 269 ที่มาของ สว. จะเห็นได้ว่า สว. ทั้งหมดในวาระเริ่มต้น 250 คน ถูกแต่งตั้งมาจาก คสช. ทั้งหมด เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะไม่มีการส่งกลุ่ม สว.เหล่านี้มาเพื่อต่อท่ออำนาจให้กับกลุ่มคณะใดคณะหนึ่ง หรือมาทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติเพื่อประชาชนไทยจริงๆ ทุกอย่างยังเป็นปริศนาเพราะอำนาจ สว. มีมากมายเพียงพอที่จะล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนไทยได้ทุกเมื่อ โดยใช้อำนาจของคณะทำงานศาลรัฐธรรมนูญที่ตัวเองเป็นฝ่ายแต่งตั้งขึ้นมาจัดการกับรัฐบาลได้ทุกเมื่อ

     มาตรา ๒๐๐ ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวนเก้าคน มาตรา ๒๐๔ ผู้ได้รับการคัดเลือกหรือสรรหาเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา สรุปแล้วคือ สว. ที่มาจาก คสช. แต่งตั้ง คณะ ตลก ผู้ที่มีอำนาจชี้เป็นชี้ตายให้กับรัฐบาลมาอีกที ผมจะแน่ใจได้อย่างไรว่าจะตัดสินโดยไม่เอนเอียงในการตัดสินความหรือเกิดกรณี 2 มาตรฐานค้านสายตาประชาชนมาหลายคดีอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต

อยากให้การปฏิรูปประเทศไทยในครั้งนี้เป็นการปฏิรูปประเทศไทยสู่ประชาธิปไตยที่ยั่งยืนจริงๆดังคำที่เราเคยได้ยินบ่อยๆ ส่วนร่าง รธน. ฉบับนี้จะนำพาไปสู่ประชาธิปไตยที่ยั่งยืนหรือประชาธิปไตยที่อ่อนแอก็แล้วแต่วิจารญาณส่วนบุคคล
ความคิดเห็นที่ 24
ส่วนตัวก็ไม่เข้าใจว่า จะเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งทำไม

เลือกไปแล้ว เคยคิดบ้างไหมว่า

ถ้า เพื่อไทย หรือ พรรคไหนก็ได้ ที่เป็นขั้วอำนาจเดิมของ ไทยรักไทย

บังเอิญชนะการเลือกตั้ง (ซึ่งเป็นไปไม่ได้)

วงจรอุบาทว์ในรอบ 10 ปีนี้ ก็จะย้อนมาอีก


แต่ถ้า ฝั่ง ปชต ไม่ได้เสียงข้างมาก (โอกาสเป็นไปได้ 100%)

พวกเราก็เท่ากับเป็นตราประทับความถูกต้องให้กับฝ่ายตรงข้าม ปชต


คนที่ศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทย จะรู้ดีว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความคล้ายคลึงกับ

รัฐธรรมนูญปี พ.ศ 2521 ซึ่งออกแบบให้วุฒิสมาชิกมีบทบาทในการเลือก นายก


การเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน 2522 ซึ่งเป็นการชิงที่นั่ง ส.ส 301 ที่นั่ง

พรรคการเมืองที่ต่อต้านทหารได้เสียงรวมกันเกือบ 2 ใน 3

กล่าวคือได้รวมกัน 197 เสียง แต่ก็ไม่ได้เป็นนายก

และผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนายกคือ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เลือกที่จะใช้วุฒิสมาชิกค้ำ

และเลือกเป็นเสียงส่วนน้อยในสภา


จากข้อมูลเบื้องต้น จึงเห็นด้วยกับ จขกท ที่ว่า "ไม่ควรเลือกตั้งในเวลาอันใกล้นี้"

และควรให้เวลาและโอกาสแก่รัฐบาลนี้ ให้บริหารไปให้สุดทาง

เพื่อพิสูจน์ฝีมือว่า "พวกท่านสามารถนำพาประเทศไทย ให้รุ่งเรืองสมดังที่ท่านพูดไว้หรือไม่"


ป.ล  ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา การเมืองไทย สอนให้รู้ว่า ปัญหาของประเทศไม่ได้อยู่ที่ระบบ

หรือคณะรัฐประหาร แต่ปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ ประชาชน กลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นพวกมักง่ายทางการเมือง

ไม่เคยมีจุดยืน หรือ อุดมการณ์ พูดง่ายๆคือ เป็น ตัวถ่วงความเจริญของประเทศไทย


ป.ล 2 ส่วนตัวก็อยากให้ประเทศเรารุ่งเรือง แต่ดูสภาพแล้วหนักใจ

cnck
ความคิดเห็นที่ 12
ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันนี้แท้จริงมันเป็นปัญหาที่ล้วนตกผลึกมาแล้วทั้งสิ้น  
ไม่ว่าจะเป็นที่มาของสว.   หรือความเข้มแข็งของพรรคการเมือง ความมีเสถียรภาพของรัฐบาล
ซึ่งในอดีตมีแต่การต่อรองผลประโยชน์ คอรัปชั่น ไม่สามารถนำเม็ดเงินภาษีมาย้อนคืนมาพัฒนาประเทศและคืนสู่ประชาชนได้

แต่ประเทศนี้แปลก ทั้งๆที่เรารู้ปัญหา เราคิดออก และก้าวเดินในทางที่ถูกต้องแล้ว กลับมีกลุ่มคนที่ยอมรับไม่ได้จากการแบ่งปันผลประโยชน์
สูญเสียอำนาจ มองประชาชนคนเสียภาษีเป็นมดปลวกเหมือนที่เคยได้รับจากการเมืองยุคเก่าที่คุ้นเคย  

กลุ่มคนที่กลัวการเปลี่ยนแปลงรวมกลุ่มกันในหลายองค์กร เพื่อจะดึงประเทศไทยกลับไปสู่วังวนเดิมๆ   พยายามที่จะย้อนเวลากลับไปสู่ยุคทองของตนและพวกพ้องเหมือนในครั้งอดีตให้ได้

ใช้ทุกอย่างที่มี ใช้แม้กระทั่งกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้กลุ่มตัวเองบรรลุวัตถุประสงค์   จนตอนนี้หลักกฎหมายบิดเบี้ยว อ.กฎหมายไม่รู้จะสอนนักศึกษาอย่างไรกันแล้ว  

ทุกอย่างเกิดเพราะความเห็นแก่ตัว กลัวเสียอำนาจและผลประโยชน์อันมิชอบแบบในอดีต .. มองประชาชนมีค่าเพียงคนที่ต้องเสียภาษีเพื่อมาเลี้ยงตนและพวกพ้องเท่านั้น
ความคิดเห็นที่ 22
หลับไปตอนหัวค่ำ...
ตื่นมา เพิ่งได้มาเจอ ได้มาอ่านกระทู้นี้ครับ

ไม่รู้จะอธิบายยังไงครับ เพราะที่พบประสบเจอความคิดเห็นมนุดหลิ่มหลายๆ รายในนี้
ก็บอกได้คำเดียวว่า อยู่เฉยๆ ดีกว่า

กางเกงตูดขาดยังไม่พอ ต้องรอให้ขาดทั้งตัว ถึงจะรู้สึก...
ในสายตาชาวโลกมองเรายังไง พวกนั้นยังไม่รู้สึกอีก..
คงต้องให้ดิ่งลึกลงไปกว่านี้ แต่ที่ ขำมากๆ ก็คือ
พวกนั้นโทษคนอื่นๆ ทั้งที่ พวกตัวเองเป่านกหวีดชักนำมาแท้ๆ



อันนี้ ไปเจอมา ลองอ่านดูครับ ยาวนิดนึง
แต่ส่วนตัวคิดว่า ความขัดแย้งในบ้านเมืองเราเพราะอย่างที่ทั้ง 2 ท่านว่าไว้

ความคิดเห็นที่ 7
การปกครองบ้านเมืองแบบอำนาจ เบ็ดเส็รจ ไปนานฯ ถ้าประเทศ
มั่นคง เศษรฐกิจเจริญก้าวค้าประชาชนอยู่ดีกินดี ไห้ความปรอดภัย ไห้ความยุติธรรม
ฝ่ายอำนาจไม่อคติ ไล่ล่าฝ่ายเดียวไห้ความเป็นธรรมทุกฝ้าย ฝืนประชาธิปไตยรอช้าไปบ้างเพื่อความปรองดอง
ก็คงจะไม่มีปัญหา แต่ถึงอย่างไรก็ต้องคืนอำนาจเพื่อไห้ประชาชน มีสิทธิ์มีเสียง ได้เลือกรัฐบาลเอง ไห้ทั่วโลกยอมรับ
หลายประเทศก็มีการเลือกตั้งบ่อยฯ นักการเลวก็จะค่อยฯหมดไป และได้นักการเมืองน้ำดี เก่ง สามารถนำประเทศเจริญมั่นคงยิ่งขึ้น ไม่ถดถอยเหมือนปัจจุบัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่