อันนี้ลองคิดเล่น ๆ นะครับ
พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ บัญญัติว่า
มาตรา ๘ ทวิ
ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ
โดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
อธิบายง่าย ๆ คือ ใครไม่มีใบอนุญาตให้พกพาอาวุธปืน หรือ ป.๑๒ จะพกพาปืนติดตัวไปในที่สาธารณะไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
ประเด็นคือ อะไรคือการพกพาอาวุธปืน และ อะไรคือเหตุจำเป็นและเร่งด่วน
ในประเด็นนี้ ศาลยุติธรรม และอัยการ ได้มีแนวทางเอาไว้มาเนิ่นนาน จนกรมตำรวจในอดีต ได้ออกเป็นบันทึกกำหนดแนวทางปฏิบัติเอาไว้ดังนี้
บันทึก ที่ ๐๕๐๓ (ส)๒๗๖๖๓ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๒๕ เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจค้นบุคคลพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณะ วางแนวปฏิบัติไว้ว่า กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าพกพาอาวุธติดตัว หรือถือได้ว่าเป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
๑. ถ้าได้นำอาวุธปืนใส่กระเป๋าเก็บไว้ในช่องเก็บของท้ายรถ ซึ่งไม่สามารถหยิบใช้ได้ทันทีทันใด
๒. เอาอาวุธปืนใส่กระเป๋าใส่กุญแจแล้ววางไว้ในรถซึ่งไม่สามารถหยิบใช้ได้ทันทีทันใด
๓. ไปเก็บเงินจากลูกค้าต่างจังหวัด จำนวนเป็นหมื่น ๆ นำติดตัวมาแล้วมีอาวุธปืนได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้วใส่ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ เพื่อป้องกันตัวและทรัพย์สิน
๔. ไปเก็บเงินจากลูกค้าต่างจังหวัด นำอาวุธปืนติดตัวมาด้วย โดยแยกอาวุธปืนและเครื่องกระสุนออกจากกันใส่กระเป๋าเอกสารไว้ที่พนักเบาะหลังรถยนต์
๕. ห่ออาวุธปืน และแหนบบรรจุลูกกระสุน (แม็กกาซีน) แยกออกคนละห่อเก็บไว้ในกระโปรงรถยนต์ซึ่งใส่กุญแจ
จะเห็นได้ว่า กรณีที่ได้ข้อเท็จจริงว่า ไม่สามารถหยิบปืนขึ้นมาใช้ได้ในทันที ก็ไม่ถือว่า "พกพา"
และถ้าเกิดว่า "พกพา" แต่มีเหตุอันควร ก็ไม่มีความผิด
กลับมาที่ข้อเท็จจริง
สมมตินะครับ ว่าก่อนเกิดเหตุที่บริเวณสามแยกอ่างศิลา ลุงแกไม่ได้ "พกพา" กล่าวคือ แกมีปืนติดรถ แต่เข้าเงื่อนไขตามบันทึกกรมตำรวจว่ากรณีไม่ถือเป็นการพกพา เช่น ลุงแกอาจแยกปืนกับกระสุนออกจากกัน หรือเก็บใส่กุญแจเอาไว้
แต่เมื่อเกิดเหตุโต้เถียง เหตุการณ์บานปลาย มีอันตรายใกล้ตัว ลุงแกจึงควักปืนขึ้นมายิง ณ จุดนี้ ก็น่าจะถือว่ามีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ แม้ลุงแกไม่มีใบอนุญาต ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะ "พกพา" ได้
ก็เท่ากับว่าลุงแกไม่ได้ทำผิดกฎหมายในข้อหาพกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้มีใบอนุญาตนะครับ
อันนี้ ผมไม่ชัวร์นะว่าลุงแกมีใบอนุญาตพกพาหรือเปล่า แต่เห็นมีทนายคนนึงออกมาพูดว่า ยังไงลุงก็ผิดฐานพกพา
ผมว่าคนเป็นทนาย ไม่ควรวิเคราะห์อะไรง่าย ๆ เพราะทนายเป็นวิชาชีพ และความน่าเชื่อถือเป็นเรื่องสำคัญ
อีกอย่าง คนเล่นปืน ก็น่าจะศึกษาข้อกฎหมายเรื่องการพกพามาในระดับหนึ่ง เรื่องบันทึกกรมตำรวจ กับแนวฎีกาหรือทางปฏิบัติไม่สั่งฟ้องของอัยการ ลุงแกก็น่าจะรู้ดี
ก็คิดเล่น ๆ ตามนี้ครับ ใครมีความรู้เรื่องนี้ ก็ช่วยกันออกความเห็นนะครับ
ลุงวิศวกร พกพาอาวุธปืนโดยผิดกฎหมายหรือไม่?
พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐ บัญญัติว่า
มาตรา ๘ ทวิ ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
อธิบายง่าย ๆ คือ ใครไม่มีใบอนุญาตให้พกพาอาวุธปืน หรือ ป.๑๒ จะพกพาปืนติดตัวไปในที่สาธารณะไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
ประเด็นคือ อะไรคือการพกพาอาวุธปืน และ อะไรคือเหตุจำเป็นและเร่งด่วน
ในประเด็นนี้ ศาลยุติธรรม และอัยการ ได้มีแนวทางเอาไว้มาเนิ่นนาน จนกรมตำรวจในอดีต ได้ออกเป็นบันทึกกำหนดแนวทางปฏิบัติเอาไว้ดังนี้
บันทึก ที่ ๐๕๐๓ (ส)๒๗๖๖๓ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๒๕ เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจค้นบุคคลพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณะ วางแนวปฏิบัติไว้ว่า กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าพกพาอาวุธติดตัว หรือถือได้ว่าเป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
๑. ถ้าได้นำอาวุธปืนใส่กระเป๋าเก็บไว้ในช่องเก็บของท้ายรถ ซึ่งไม่สามารถหยิบใช้ได้ทันทีทันใด
๒. เอาอาวุธปืนใส่กระเป๋าใส่กุญแจแล้ววางไว้ในรถซึ่งไม่สามารถหยิบใช้ได้ทันทีทันใด
๓. ไปเก็บเงินจากลูกค้าต่างจังหวัด จำนวนเป็นหมื่น ๆ นำติดตัวมาแล้วมีอาวุธปืนได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้วใส่ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ เพื่อป้องกันตัวและทรัพย์สิน
๔. ไปเก็บเงินจากลูกค้าต่างจังหวัด นำอาวุธปืนติดตัวมาด้วย โดยแยกอาวุธปืนและเครื่องกระสุนออกจากกันใส่กระเป๋าเอกสารไว้ที่พนักเบาะหลังรถยนต์
๕. ห่ออาวุธปืน และแหนบบรรจุลูกกระสุน (แม็กกาซีน) แยกออกคนละห่อเก็บไว้ในกระโปรงรถยนต์ซึ่งใส่กุญแจ
จะเห็นได้ว่า กรณีที่ได้ข้อเท็จจริงว่า ไม่สามารถหยิบปืนขึ้นมาใช้ได้ในทันที ก็ไม่ถือว่า "พกพา"
และถ้าเกิดว่า "พกพา" แต่มีเหตุอันควร ก็ไม่มีความผิด
กลับมาที่ข้อเท็จจริง
สมมตินะครับ ว่าก่อนเกิดเหตุที่บริเวณสามแยกอ่างศิลา ลุงแกไม่ได้ "พกพา" กล่าวคือ แกมีปืนติดรถ แต่เข้าเงื่อนไขตามบันทึกกรมตำรวจว่ากรณีไม่ถือเป็นการพกพา เช่น ลุงแกอาจแยกปืนกับกระสุนออกจากกัน หรือเก็บใส่กุญแจเอาไว้
แต่เมื่อเกิดเหตุโต้เถียง เหตุการณ์บานปลาย มีอันตรายใกล้ตัว ลุงแกจึงควักปืนขึ้นมายิง ณ จุดนี้ ก็น่าจะถือว่ามีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ แม้ลุงแกไม่มีใบอนุญาต ก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะ "พกพา" ได้
ก็เท่ากับว่าลุงแกไม่ได้ทำผิดกฎหมายในข้อหาพกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้มีใบอนุญาตนะครับ
อันนี้ ผมไม่ชัวร์นะว่าลุงแกมีใบอนุญาตพกพาหรือเปล่า แต่เห็นมีทนายคนนึงออกมาพูดว่า ยังไงลุงก็ผิดฐานพกพา
ผมว่าคนเป็นทนาย ไม่ควรวิเคราะห์อะไรง่าย ๆ เพราะทนายเป็นวิชาชีพ และความน่าเชื่อถือเป็นเรื่องสำคัญ
อีกอย่าง คนเล่นปืน ก็น่าจะศึกษาข้อกฎหมายเรื่องการพกพามาในระดับหนึ่ง เรื่องบันทึกกรมตำรวจ กับแนวฎีกาหรือทางปฏิบัติไม่สั่งฟ้องของอัยการ ลุงแกก็น่าจะรู้ดี
ก็คิดเล่น ๆ ตามนี้ครับ ใครมีความรู้เรื่องนี้ ก็ช่วยกันออกความเห็นนะครับ