อย. ถกปม สเปรย์พริกไทย สเปรย์ป้องกันตัว เผยคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าสเปรย์เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 หากโดนจับ เสี่ยงติดคุก 10 ปี ปรับ 1 ล้าน เร่งหารือปรับเปลี่ยนกฎหมาย ให้เหลือเพียงแค่เป็นวัตถุควบคุม
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มอบหมายให้ รศ.ดร.ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด, รศ.ดร.ธัญธร อินศร, ดร.เพชรรัตน์ ไสยสมบัติ และนายน้ำแท้ มีบุญสล้าง อาจารย์ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาวิเคราะห์แนวทางที่เหมาะสมในการควบคุมผลิตภัณฑ์สเปรย์ป้องกันตัว
โดยนายน้ำแท้ เผยผลการศึกษาการใช้สเปรย์ป้องกันตัวในต่างประเทศว่า มีทั้งกำหนดให้เป็นวัตถุผิดกฎหมาย และไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งบางประเทศ อย่าง ประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย และแคนาดา ห้ามมีไว้ในครอบครองทั่วไป ยกเว้นเพื่อการป้องกันตัว ส่วนในสหรัฐฯ ก็มีนโยบายแล้วแต่รัฐ ขณะที่ประเทศไทยนั้น ระบุว่า "สเปรย์ป้องกันตัวถูกจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4" มีคุณสมบัติขัดขวางระบบการทำงานของร่างกายเป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันตัวหรือทำร้ายผู้อื่น ซึ่งตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง ห้ามผลิต, นำเข้า หรือมีไว้ในครอบครอง หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นายน้ำแท้ กล่าวต่อไปว่า แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าผิดกฎหมาย ยิ่งสมัยนี้มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้หญิงป้องกันตัว สเปรย์พริกไทย หรือสเปรย์ป้องกันตัวจึงเป็นที่นิยมพกพากันมากสำหรับหญิงสาว เพราะพกพาสะดวก และมีการจำหน่ายอย่างแพร่หลาย หาซื้อได้ง่าย เป็นอุปกรณ์ที่ปลอดภัยต่อตัวเองมากที่สุด ไม่เว้นแต่เจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ตำรวจ และผู้คุมเรือนจำ ก็มีอยู่ในครอบครอง ทั้งที่มีกฎหมายห้าม และโทษก็สูงถึง 10 ปี ปรับ 1 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าโทษครอบครองยาบ้าเสียอีก
ส่วน พ.ต.ท.โชติวิเชียร วิเชียรโชติ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยผู้หญิง แสดงความเห็นว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าสเปรย์ดังกล่าวเป็นอุปกรณ์ป้องกันตัวที่เหมาะสมกับผู้หญิง แต่เมื่อกลับมาดูข้อกฎหมายที่ห้ามพกพา ตนก็เห็นว่ากฎหมายนี้ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงอยากให้มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม โดยอาจจะปรับลดสเปรย์ป้องกันตัวจากวัตถุอันตรายประเภท 4 ให้เหลือแค่วัตถุควบคุมเท่านั้น เพราะอุปกรณ์ชนิดนี้ไม่มีอันตรายร้ายแรง มีความรุนแรงแต่ทำให้แสบตาและระคายเคืองระบบทางเดินหายใจไปชั่วขณะเท่านั้น ไม่สามารถทำให้ใครเสียชีวิตหรือบาดเจ็บรุนแรงได้
สำหรับข้อกังวล ที่เกรงว่าคนร้ายจะเอาสเปรย์มาใช้เป็นอาวุธได้นั้น พ.ต.ท.โชติวิเชียร กล่าวว่า คนร้ายไม่สนใจเรื่องอาวุธหรือกฎหมาย และสเปรย์ป้องกันตัวมีประสิทธิภาพน้อย คนร้ายไม่นิยมใช้กัน เพราะเขาใช้มีด ใช้ปืน จะอำนวยต่อการก่อเหตุมากกว่า
แต่ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะดังกล่าว ยังเป็นช่วงเวลาแห่งการศึกษา และยังไม่มีการแก้กฎหมาย เพราะฉะนั้นบุคคลที่มีสเปรย์พริกไทย หรือสเปรย์ป้องกันตัวไว้ในครอบครอง ควรพึงระวังเอาไว้ เพราะหากถูกจับกุม จะมีโทษหนักเลยทีเดียว
สำหรับสเปรย์ป้องกันตัว หรือสเปรย์พริกไทย รู้จักกันในชื่อ "Oleoresin Capsicum Spray" (OC spray) เป็นสารที่ทำให้ระคายเคือง น้ำตาไหล เจ็บปวด หรือตาบอดชั่วคราว ใช้เพื่อควบคุมการจลาจลในฝูงชน และใช้ป้องกันตัวเอง ซึ่งการออกฤทธิ์ของสเปรย์พริกไทย จะทำให้เกิดการอักเสบทันที ตาจะปิดลง น้ำตาไหล หายใจลำบาก และไอ ส่วนระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสเปรย์ แต่จะกินเวลาเฉลี่ย 30-45 นาที ส่วนรายที่แพ้ก็จะกินเวลานานเป็นชั่วโมง และขั้นตอนการฉีดนั้น ผู้ฉีดจะต้องหนีไปอีกทาง เพราะหากวิ่งไล่ฉีดผู้อื่น ผู้ฉีดก็จะโดนสเปรย์พริกไทยไปด้วย
พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาติมีโทษอย่างไร
ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือ ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้อง มีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็น และเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
ไม่ว่ากรณีใด ห้ามมิให้พาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมนุมชน ที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด
ความใน มาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่
(1) เจ้าพนักงานผู้หน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทหารและตำรวจ ซึ่งอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
(2) ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการหรือ รัฐวิสาหกิจตาม มาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) (ข) หรือ (ค) ซึ่งอยู่ในระหว่าง การปฏิบัติหน้าที่เพื่อการป้องกันประเทศ หรือรักษาความสงบเรียบร้อยของ ประชาชน หรือรักษาทรัพย์สินอันสำคัญของรัฐ
(3) ประชาชนผู้ได้รับมอบให้มีและใช้ตาม มาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) (ง) ซึ่งอยู่ในระหว่างการช่วยเหลือราชการและมีเหตุจำเป็นต้องมีและ ใช้อาวุธปืนในการนั้น
***หมายเหตุ มาตรานี้ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 44) ข้อ 3 พ.ศ. 2519
มาตรา 72 ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 8 มาตรา 12 มาตรา 16 วรรค หนึ่งหรือวรรคสาม มาตรา 20 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 65 มาตรา 66 หรือ มาตรา 70 วรรคหนึ่งหรือวรรคสองต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้นั้นฝ่าฝืน มาตรา 8 ทวิ วรรค สองด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นบาท
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวผู้ใด ฝ่าฝืน มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
พ.ร.บ. อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490
คุณสาวๆระวังครับ พกสเปรย์พริกไทยป้องกันตัว เสี่ยงถูกปรับ 1 ล้าน จำคุกสูงสุด 10 ปี
อย. ถกปม สเปรย์พริกไทย สเปรย์ป้องกันตัว เผยคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าสเปรย์เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 หากโดนจับ เสี่ยงติดคุก 10 ปี ปรับ 1 ล้าน เร่งหารือปรับเปลี่ยนกฎหมาย ให้เหลือเพียงแค่เป็นวัตถุควบคุม
เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มอบหมายให้ รศ.ดร.ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด, รศ.ดร.ธัญธร อินศร, ดร.เพชรรัตน์ ไสยสมบัติ และนายน้ำแท้ มีบุญสล้าง อาจารย์ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาวิเคราะห์แนวทางที่เหมาะสมในการควบคุมผลิตภัณฑ์สเปรย์ป้องกันตัว
โดยนายน้ำแท้ เผยผลการศึกษาการใช้สเปรย์ป้องกันตัวในต่างประเทศว่า มีทั้งกำหนดให้เป็นวัตถุผิดกฎหมาย และไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งบางประเทศ อย่าง ประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย และแคนาดา ห้ามมีไว้ในครอบครองทั่วไป ยกเว้นเพื่อการป้องกันตัว ส่วนในสหรัฐฯ ก็มีนโยบายแล้วแต่รัฐ ขณะที่ประเทศไทยนั้น ระบุว่า "สเปรย์ป้องกันตัวถูกจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4" มีคุณสมบัติขัดขวางระบบการทำงานของร่างกายเป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันตัวหรือทำร้ายผู้อื่น ซึ่งตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง ห้ามผลิต, นำเข้า หรือมีไว้ในครอบครอง หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นายน้ำแท้ กล่าวต่อไปว่า แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าผิดกฎหมาย ยิ่งสมัยนี้มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้หญิงป้องกันตัว สเปรย์พริกไทย หรือสเปรย์ป้องกันตัวจึงเป็นที่นิยมพกพากันมากสำหรับหญิงสาว เพราะพกพาสะดวก และมีการจำหน่ายอย่างแพร่หลาย หาซื้อได้ง่าย เป็นอุปกรณ์ที่ปลอดภัยต่อตัวเองมากที่สุด ไม่เว้นแต่เจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ตำรวจ และผู้คุมเรือนจำ ก็มีอยู่ในครอบครอง ทั้งที่มีกฎหมายห้าม และโทษก็สูงถึง 10 ปี ปรับ 1 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าโทษครอบครองยาบ้าเสียอีก
ส่วน พ.ต.ท.โชติวิเชียร วิเชียรโชติ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยผู้หญิง แสดงความเห็นว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าสเปรย์ดังกล่าวเป็นอุปกรณ์ป้องกันตัวที่เหมาะสมกับผู้หญิง แต่เมื่อกลับมาดูข้อกฎหมายที่ห้ามพกพา ตนก็เห็นว่ากฎหมายนี้ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงอยากให้มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม โดยอาจจะปรับลดสเปรย์ป้องกันตัวจากวัตถุอันตรายประเภท 4 ให้เหลือแค่วัตถุควบคุมเท่านั้น เพราะอุปกรณ์ชนิดนี้ไม่มีอันตรายร้ายแรง มีความรุนแรงแต่ทำให้แสบตาและระคายเคืองระบบทางเดินหายใจไปชั่วขณะเท่านั้น ไม่สามารถทำให้ใครเสียชีวิตหรือบาดเจ็บรุนแรงได้
สำหรับข้อกังวล ที่เกรงว่าคนร้ายจะเอาสเปรย์มาใช้เป็นอาวุธได้นั้น พ.ต.ท.โชติวิเชียร กล่าวว่า คนร้ายไม่สนใจเรื่องอาวุธหรือกฎหมาย และสเปรย์ป้องกันตัวมีประสิทธิภาพน้อย คนร้ายไม่นิยมใช้กัน เพราะเขาใช้มีด ใช้ปืน จะอำนวยต่อการก่อเหตุมากกว่า
แต่ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะดังกล่าว ยังเป็นช่วงเวลาแห่งการศึกษา และยังไม่มีการแก้กฎหมาย เพราะฉะนั้นบุคคลที่มีสเปรย์พริกไทย หรือสเปรย์ป้องกันตัวไว้ในครอบครอง ควรพึงระวังเอาไว้ เพราะหากถูกจับกุม จะมีโทษหนักเลยทีเดียว
สำหรับสเปรย์ป้องกันตัว หรือสเปรย์พริกไทย รู้จักกันในชื่อ "Oleoresin Capsicum Spray" (OC spray) เป็นสารที่ทำให้ระคายเคือง น้ำตาไหล เจ็บปวด หรือตาบอดชั่วคราว ใช้เพื่อควบคุมการจลาจลในฝูงชน และใช้ป้องกันตัวเอง ซึ่งการออกฤทธิ์ของสเปรย์พริกไทย จะทำให้เกิดการอักเสบทันที ตาจะปิดลง น้ำตาไหล หายใจลำบาก และไอ ส่วนระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสเปรย์ แต่จะกินเวลาเฉลี่ย 30-45 นาที ส่วนรายที่แพ้ก็จะกินเวลานานเป็นชั่วโมง และขั้นตอนการฉีดนั้น ผู้ฉีดจะต้องหนีไปอีกทาง เพราะหากวิ่งไล่ฉีดผู้อื่น ผู้ฉีดก็จะโดนสเปรย์พริกไทยไปด้วย
พกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาติมีโทษอย่างไร
ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือ ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้อง มีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็น และเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
ไม่ว่ากรณีใด ห้ามมิให้พาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมนุมชน ที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด
ความใน มาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่
(1) เจ้าพนักงานผู้หน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทหารและตำรวจ ซึ่งอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
(2) ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการหรือ รัฐวิสาหกิจตาม มาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) (ข) หรือ (ค) ซึ่งอยู่ในระหว่าง การปฏิบัติหน้าที่เพื่อการป้องกันประเทศ หรือรักษาความสงบเรียบร้อยของ ประชาชน หรือรักษาทรัพย์สินอันสำคัญของรัฐ
(3) ประชาชนผู้ได้รับมอบให้มีและใช้ตาม มาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) (ง) ซึ่งอยู่ในระหว่างการช่วยเหลือราชการและมีเหตุจำเป็นต้องมีและ ใช้อาวุธปืนในการนั้น
***หมายเหตุ มาตรานี้ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความขึ้นมาใหม่ โดยคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (ฉบับที่ 44) ข้อ 3 พ.ศ. 2519
มาตรา 72 ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 8 มาตรา 12 มาตรา 16 วรรค หนึ่งหรือวรรคสาม มาตรา 20 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 65 มาตรา 66 หรือ มาตรา 70 วรรคหนึ่งหรือวรรคสองต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้นั้นฝ่าฝืน มาตรา 8 ทวิ วรรค สองด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นบาท
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวผู้ใด ฝ่าฝืน มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
พ.ร.บ. อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490