มติชนรายงานบทวิเคราะห์ นายเดชรัต สุขกำเนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อ Decharut Sukkumnoed ถึงกรณีปัญหาเงินคงคลังวูบ
http://www.matichon.co.th/news/454516
ตามที่นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง เปิดเผยต่อสื่อมวลชนในบ่ายวันนี้ว่า ระดับเงินคงคลังในเดือนธันวาคม 2559 ที่ต่ำถึง 7.49 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเป็นการบริหารจัดการของกระทรวงการคลังที่ไม่ต้องการกู้เงินมากองไว้ จะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย โดยมีการประเมินว่าระดับเงินคงคลังควรอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท-1 แสนล้านบาท ดังนั้น การมีระดับเงินคงคลัง 3-5 แสนล้านบาท ถือว่ามากเกินไป
ผมขอตั้งข้อสังเกตในคำแถลงของท่าน 3 ประการ ดังนี้ครับ
ประการแรก ผมแปลกใจที่ท่านบอกว่า นโยบายของท่านคือไม่กู้เงินมากองไว้ เพราะเมื่อต้นปีงบประมาณ 2559 เดือนตุลาคม 2558 ท่านกู้เงินชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 99,094 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ตอนนั้นเงินคงคลังของรัฐบาลก็มีมากกว่า 426,182 ล้านบาท ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ท่านก็กู้อีก 109,076 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ตอนนั้นท่านก็มีเงินคงคลัง 295,880 ล้านบาท หรือตอนเดือนเมษายน 2559 ท่านก็กู้อีก 46,436 ล้านบาท ตอนนั้นเงินคงคลังของรัฐบาลมี 206,218 ล้านบาท
และล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2559 เงินคงคลังของรัฐบาลมีอยู่ 441,300 ล้านบาท ท่านก็ยังกู้เงินมาเติมเงินคงคลังอีก 52,714 ล้านบาท
เพราะฉะนั้น กล่าวโดยสรุปว่า ที่ผ่านมา ผมไม่เห็นว่า ท่านปฏิบัติตามแนวทางที่ท่านกล่าวไว้ หรือท่านเพิ่งเปลี่ยนแนวทางการบริหารเงินคงคลังเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 หรือ 3 เดือนที่ผ่านมา
และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ผมก็สงสัยว่า การที่ท่านกู้เงินมากองไว้ตลอดปีงบประมาณ 2559 เป็นการสร้างภาระของประเทศใช่หรือไม่? แล้วทำไมท่านจึงสร้างภาระให้กับประเทศแบบนั้น?
ประการที่สอง ตามที่ท่านบอกว่า เงินคงคลัง 74,907 ล้านบาทถือว่าเหมาะสม เพราะอยู่ในช่วงระหว่าง 50,000-100,000 ล้านบาทนั้น ผมว่าการกำหนดจำนวนเงินคงคลังที่เหมาะสมจำเป็นต้องพิจารณาถึงภาระการใช้จ่ายของรัฐบาลเป็นสำคัญ
ในช่วงรัฐบาล คสช. เงินคงคลังไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเงินเก็บออมของประเทศเลย แต่ทำหน้าที่เป็นกระเป๋าจ่ายเงินชดเชยการดุลงบประมาณมาโดยตลอด หากเทียบจากปีงบประมาณ 2559 ที่ผ่านไป รัฐบาลของท่านมีงบประมาณขาดดุลเฉลี่ยเดือนละ 32,987 ล้านบาท ซึ่งต้องเอาเงินคงคลังที่เหลืออยู่ 74,907 ล้านบาทมาจ่าย เราก็จะจ่ายชดเชยการขาดดุลงบประมาณได้ประมาณ 2 เดือนเท่านั้น
แต่หากเราเอาตัวเลขการขาดดุลงบประมาณในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2560 ซึ่งรัฐบาลของท่านทำสถิติการขาดดุลโดยเฉลี่ยเดือนละ 139,427 ล้านบาท เงินคงคลังที่เหลืออยู่ 74,907 ล้านบาทก็จะเพียงพอที่จะจ่ายเงินได้เพียง 16 วันเท่านั้น
ลองคิดดูสิครับว่าจะเป็นไปได้อย่างไร? ที่ประเทศเราจะมีเงินคงคลังหนึ่งแสนล้านบาทตามที่ท่านรัฐมนตรีกล่าว ในขณะที่เราภาระการขาดดุลงบประมาณเดือนละ 139,427 ล้านบาท
แต่อย่าเพิ่งตกใจนะครับ ผมค่อนข้างมั่นใจว่า รัฐบาลคงจะต้องขอกู้เงินมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวนมโหฬารในเร็วๆ วันนี้ และนั่นนำมาสู่ข้อห่วงใยประการที่สาม
โดยทั่วไป เงินคงคลังทำหน้าที่เป็นทั้งเก็บออม และจ่ายออก แต่ในช่วงรัฐบาล คสช. เงินคงคลังทำหน้าที่จ่ายออกแต่เพียงอย่างเดียว แล้วท่านก็กู้เงินมาโปะ ตลอด 3 ปีงบประมาณ 2557-2559 ท่านกู้เงินมาโปะการใช้จ่ายเกินดุลของท่านไปแล้วกว่า 744,187 ล้านบาท
ท่านอาจแย้งว่า รัฐบาลก่อนหน้านี้ก็ทำงบประมาณแบบขาดดุลเช่นกัน ซึ่งก็จริงครับ ผมเลยเปรียบเทียบภาระการดุลงบประมาณของรัฐบาล คสช. และรัฐบาลก่อนหน้านั้นมาให้ดูครับ
ในช่วงปีงบประมาณ 2550-2556 ซึ่งเรามีอยู่ด้วยกัน 5 นายกรัฐมนตรี ในช่วงนั้น เราขาดดุลงบประมาณเฉลี่ยปีละ 289,703 ล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 12.6 ของเงินรายได้ของรัฐบาลในแต่ละปี (พูดง่ายมีเงิน 100 แต่จ่าย 112 บาท)
แต่ในช่วงรัฐบาลของท่าน (ปีงบประมาณ 2558 และ 2559) ท่านขาดดุลงบประมาณเฉลี่ยปีละ 395,145 ล้านบาท (หรือขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดิมปีละเกือบหนึ่งแสนล้านบาท) ซึ่งเทียบเป็นร้อยละ 17.1 ของเงินรายได้ของรัฐบาลในแต่ละปี
เพียงแค่ช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 นี้ ท่านขาดดุลงบประมาณไป 418,282 ล้านบาท มากขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 111,346 ล้านบาทเลยทีเดียว
ซึ่งในประเด็นการขาดดุลงบประมาณนี้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลังไม่ได้ชี้แจงใดๆ ส่วนท่านนายกรัฐมนตรีก็ตอบนักข่าวด้วยฉุนเฉียวว่า มีคนขอให้รัฐบาลช่วยเยอะ รัฐบาลจึงตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องดังกล่าว
รัฐบาล คสช.จึงควรมีการกำหนดกรอบการขาดดุลงบประมาณให้ชัดเจน ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของรัฐบาล คสช.เอง เพราะการขาดดุลงบประมาณที่มากขึ้น และมากขึ้นเรื่อยๆ จะกลายเป็นการสร้างภาระให้กับรัฐบาลและประชาชนไทยในอนาคต
มิฉะนั้น บทแรกของยุทธศาสตร์ชาติในอนาคต อาจต้องเริ่มต้นจากการยุทธศาสตร์การใช้หนี้ที่ก่อกันในวันนี้
คลังหด "บทแรกของยุทธศาสตร์ชาติในอนาคตอาจต้องเริ่มต้นจากยุทธศาสตร์การใช้หนี้ที่ก่อกันในวันนี้"
ตามที่นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง เปิดเผยต่อสื่อมวลชนในบ่ายวันนี้ว่า ระดับเงินคงคลังในเดือนธันวาคม 2559 ที่ต่ำถึง 7.49 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเป็นการบริหารจัดการของกระทรวงการคลังที่ไม่ต้องการกู้เงินมากองไว้ จะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย โดยมีการประเมินว่าระดับเงินคงคลังควรอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท-1 แสนล้านบาท ดังนั้น การมีระดับเงินคงคลัง 3-5 แสนล้านบาท ถือว่ามากเกินไป
ผมขอตั้งข้อสังเกตในคำแถลงของท่าน 3 ประการ ดังนี้ครับ
ประการแรก ผมแปลกใจที่ท่านบอกว่า นโยบายของท่านคือไม่กู้เงินมากองไว้ เพราะเมื่อต้นปีงบประมาณ 2559 เดือนตุลาคม 2558 ท่านกู้เงินชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 99,094 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ตอนนั้นเงินคงคลังของรัฐบาลก็มีมากกว่า 426,182 ล้านบาท ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ท่านก็กู้อีก 109,076 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ตอนนั้นท่านก็มีเงินคงคลัง 295,880 ล้านบาท หรือตอนเดือนเมษายน 2559 ท่านก็กู้อีก 46,436 ล้านบาท ตอนนั้นเงินคงคลังของรัฐบาลมี 206,218 ล้านบาท
และล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2559 เงินคงคลังของรัฐบาลมีอยู่ 441,300 ล้านบาท ท่านก็ยังกู้เงินมาเติมเงินคงคลังอีก 52,714 ล้านบาท
เพราะฉะนั้น กล่าวโดยสรุปว่า ที่ผ่านมา ผมไม่เห็นว่า ท่านปฏิบัติตามแนวทางที่ท่านกล่าวไว้ หรือท่านเพิ่งเปลี่ยนแนวทางการบริหารเงินคงคลังเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 หรือ 3 เดือนที่ผ่านมา
และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ผมก็สงสัยว่า การที่ท่านกู้เงินมากองไว้ตลอดปีงบประมาณ 2559 เป็นการสร้างภาระของประเทศใช่หรือไม่? แล้วทำไมท่านจึงสร้างภาระให้กับประเทศแบบนั้น?
ประการที่สอง ตามที่ท่านบอกว่า เงินคงคลัง 74,907 ล้านบาทถือว่าเหมาะสม เพราะอยู่ในช่วงระหว่าง 50,000-100,000 ล้านบาทนั้น ผมว่าการกำหนดจำนวนเงินคงคลังที่เหมาะสมจำเป็นต้องพิจารณาถึงภาระการใช้จ่ายของรัฐบาลเป็นสำคัญ
ในช่วงรัฐบาล คสช. เงินคงคลังไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเงินเก็บออมของประเทศเลย แต่ทำหน้าที่เป็นกระเป๋าจ่ายเงินชดเชยการดุลงบประมาณมาโดยตลอด หากเทียบจากปีงบประมาณ 2559 ที่ผ่านไป รัฐบาลของท่านมีงบประมาณขาดดุลเฉลี่ยเดือนละ 32,987 ล้านบาท ซึ่งต้องเอาเงินคงคลังที่เหลืออยู่ 74,907 ล้านบาทมาจ่าย เราก็จะจ่ายชดเชยการขาดดุลงบประมาณได้ประมาณ 2 เดือนเท่านั้น
แต่หากเราเอาตัวเลขการขาดดุลงบประมาณในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2560 ซึ่งรัฐบาลของท่านทำสถิติการขาดดุลโดยเฉลี่ยเดือนละ 139,427 ล้านบาท เงินคงคลังที่เหลืออยู่ 74,907 ล้านบาทก็จะเพียงพอที่จะจ่ายเงินได้เพียง 16 วันเท่านั้น
ลองคิดดูสิครับว่าจะเป็นไปได้อย่างไร? ที่ประเทศเราจะมีเงินคงคลังหนึ่งแสนล้านบาทตามที่ท่านรัฐมนตรีกล่าว ในขณะที่เราภาระการขาดดุลงบประมาณเดือนละ 139,427 ล้านบาท
แต่อย่าเพิ่งตกใจนะครับ ผมค่อนข้างมั่นใจว่า รัฐบาลคงจะต้องขอกู้เงินมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวนมโหฬารในเร็วๆ วันนี้ และนั่นนำมาสู่ข้อห่วงใยประการที่สาม
โดยทั่วไป เงินคงคลังทำหน้าที่เป็นทั้งเก็บออม และจ่ายออก แต่ในช่วงรัฐบาล คสช. เงินคงคลังทำหน้าที่จ่ายออกแต่เพียงอย่างเดียว แล้วท่านก็กู้เงินมาโปะ ตลอด 3 ปีงบประมาณ 2557-2559 ท่านกู้เงินมาโปะการใช้จ่ายเกินดุลของท่านไปแล้วกว่า 744,187 ล้านบาท
ท่านอาจแย้งว่า รัฐบาลก่อนหน้านี้ก็ทำงบประมาณแบบขาดดุลเช่นกัน ซึ่งก็จริงครับ ผมเลยเปรียบเทียบภาระการดุลงบประมาณของรัฐบาล คสช. และรัฐบาลก่อนหน้านั้นมาให้ดูครับ
ในช่วงปีงบประมาณ 2550-2556 ซึ่งเรามีอยู่ด้วยกัน 5 นายกรัฐมนตรี ในช่วงนั้น เราขาดดุลงบประมาณเฉลี่ยปีละ 289,703 ล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 12.6 ของเงินรายได้ของรัฐบาลในแต่ละปี (พูดง่ายมีเงิน 100 แต่จ่าย 112 บาท)
แต่ในช่วงรัฐบาลของท่าน (ปีงบประมาณ 2558 และ 2559) ท่านขาดดุลงบประมาณเฉลี่ยปีละ 395,145 ล้านบาท (หรือขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดิมปีละเกือบหนึ่งแสนล้านบาท) ซึ่งเทียบเป็นร้อยละ 17.1 ของเงินรายได้ของรัฐบาลในแต่ละปี
เพียงแค่ช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 นี้ ท่านขาดดุลงบประมาณไป 418,282 ล้านบาท มากขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 111,346 ล้านบาทเลยทีเดียว
ซึ่งในประเด็นการขาดดุลงบประมาณนี้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลังไม่ได้ชี้แจงใดๆ ส่วนท่านนายกรัฐมนตรีก็ตอบนักข่าวด้วยฉุนเฉียวว่า มีคนขอให้รัฐบาลช่วยเยอะ รัฐบาลจึงตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องดังกล่าว
รัฐบาล คสช.จึงควรมีการกำหนดกรอบการขาดดุลงบประมาณให้ชัดเจน ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของรัฐบาล คสช.เอง เพราะการขาดดุลงบประมาณที่มากขึ้น และมากขึ้นเรื่อยๆ จะกลายเป็นการสร้างภาระให้กับรัฐบาลและประชาชนไทยในอนาคต
มิฉะนั้น บทแรกของยุทธศาสตร์ชาติในอนาคต อาจต้องเริ่มต้นจากการยุทธศาสตร์การใช้หนี้ที่ก่อกันในวันนี้