คือเรื่องของเรื่องช่วงนี้ทีมจากเจลีกมาเตะกับทีมบ้านเราเยอะเหลือเกิน (เกือบจะครบทั้งลีกแล้วมั๊ง
) เลยรู้สึกว่าทำไมแต่ละทีมชื่อมันเท่จังว๊า แล้วก็จังหวะก่อนหน้านี้ที่เจไปเปิดตัวกับ คอนซาโดเล่ ซัปโปโร ได้อ่านบทความของ GOAL ถึงที่ไปที่มาของชื่อทีม ถึงกับรู้สึกเฮ้ย...!!! คิดได้ไงเนี่ย ก็เลยอยากจะรู้ที่มาที่ไปของชื่อทีมอื่นๆด้วย ก็เลยลองไปถามอากู๋ดูดีกว่า แล้วก็ไปเจอบทความของมติชนพอดี ก็เลยเอามาแชร์ต่อแล้วกันครับ เผื่อมีคนสนใจ
รู้ไหมทำไม? ‘เจลีก’ กับเบื้องหลังชื่อทีมสุดสร้างสรรค์ (1)
http://www.matichon.co.th/news/423692
เปิดตัวกันไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับ “เมสซี่เจ” ชนาธิป สรงกระสินธ์ แข้งทีมชาติไทยที่ย้ายจาก เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ไปเล่นให้สโมสรในเจลีก ประเทศญี่ปุ่น ด้วยสัญญายืมตัวเป็นเวลา 1 ฤดูกาล
สำหรับแฟนบอลที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับลีกลูกหนังแดนปลาดิบนัก อาจสงสัยว่าสังกัดใหม่ของชนาธิปนั้น เมื่ออ่านจากภาษาอังกฤษ Consadole Sapporo ควรจะเรียกว่า “คอนซาโดล ซัปโปโร” หรือ “คอนซาโดเล่ ซัปโปโร” กันแน่?
ก่อนอื่นต้องเฉลยก่อนว่า หากอ่านตามตัวอักษรคาตาคานะในภาษาญี่ปุ่นแล้ว จะอ่านได้ว่า “คอนซาโดเล่ ซัปโปโร” ซึ่งคำว่า “ซัปโปโร” นั้นเป็นชื่อเมืองหลวงของเกาะฮอกไกโดทางตอนเหนือของญี่ปุ่น สถานที่ที่สโมสรแห่งนี้ตั้งอยู่
ขณะที่คำว่า “คอนซาโดเล่” ที่ค่อนข้างแปลกหูนั้น ไม่ใช่ภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาต่างชาติใดๆ แต่เป็นการผสมคำ คำว่า “คอนซาโดะ” ซึ่งเป็นการอ่านคำว่า “โดซังโกะ” (Dosanko) หมายถึง “ชาวฮอกไกโด” กลับหลัง และผสมกับคำว่า “โอเล่!” หรือเสียงร้องแสดงความยินดีในภาษาสเปน
ที่มาของชื่อที่ไม่ธรรมดานี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งในหลายสโมสรฟุตบอลของประเทศญี่ปุ่น เพราะถ้าไล่เรียงชื่อทีมในเจลีกกันอย่างละเอียดแล้วจะพบว่า แต่ละสโมสรล้วนมีชื่อแปลกหู ไม่ได้มีคำพื้นๆ อย่าง “ยูไนเต็ด” “เอฟซี” หรือ “ซิตี้” เหมือนที่แฟนบอลส่วนใหญ่คุ้นเคย
ที่สำคัญคือความแปลกนี้ไม่ได้เกิดกับบางทีม แต่เป็นทุกทีมที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ซึ่ง โจนาธาน เบอร์ชาล เขียนถึงที่มาที่ไปของเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ “Ultra Nippon: How Japan Reinvented Football” ซึ่งบอกเล่าประวัติของเจลีกตั้งแต่ก่อนการถือกำเนิดเมื่อปี 1993 จนกลายเป็นหนึ่งในลีกลูกหนังสุดแกร่งของเอเชียในปัจจุบัน
เบอร์ชาลบอกว่า สมัยก่อนนั้น กีฬาฟุตบอลยังไม่ได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่นมากนัก เรียกว่าเทียบกันไม่ได้กับกีฬาเบสบอล อันเป็นกีฬาอาชีพยอดฮิตของแดนอาทิตย์อุทัย ทีมฟุตบอลต่างๆ จึงมีสถานะกึ่งสมัครเล่น แทนที่จะตั้งเป็นสโมสรของตัวเอง จะมีภาคเอกชนพวกบริษัทห้างร้านต่างๆ ตั้งทีมของตัวเองขึ้นมาแข่งขันกัน โดยจ้างนักฟุตบอลเป็นพนักงาน ให้ทำงานประจำของบริษัทเป็นหลัก แต่แบ่งเวลาไปฝึกซ้อม และเมื่อถึงคราวแข่งขันก็เป็นตัวแทนบริษัทเข้าร่วม
กระทั่งถึงช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ฟุตบอลจึงขยายความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในญี่ปุ่น จนอยากแสดงความเป็นเอกเทศจากกีฬาอาชีพอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาเบสบอล บนแนวคิดที่อยากสร้างความผูกพันกับท้องถิ่นเหมือนกับบรรดาสโมสรฟุตบอลในยุโรปและอเมริกาใต้
เนื่องด้วยทีมเบสบอลของญี่ปุ่นนั้น เอกชนเจ้าใดเป็นเจ้าของหรือสปอนเซอร์หลัก ก็จะใช้ชื่อแบรนด์นั้นๆ เป็นชื่อทีม เช่น เซบุ ไลออนส์ (บริษัทรถไฟเซบุเป็นเจ้าของ), โยมิอุริ ไจแอนต์ส (หนังสือพิมพ์โยมิอุริเป็นเจ้าของ), นิปปอน แฮม ไฟเตอร์ส (บริษัทผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป นิปปอนแฮม เป็นเจ้าของ) กระทั่งช่วงหลายปีให้หลังจึงเพิ่มชื่อเมืองท้องถิ่นเข้าไปในชื่อทีมด้วย เช่น ไซตามะ เซบุ ไลออนส์, ฮอกไกโด นิปปอน แฮม ไฟเตอร์ส เป็นต้น
เพื่อให้การก่อตั้งเจลีกตอบสนองนโยบายที่ว่านี้ ทีมงานจึงได้ขอความช่วยเหลือไปยังบริษัท โซนี่ ผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าชื่อดังซึ่งทำสื่อวิดีโอเกมของตัวเอง กับ เดนสึ แอดเวอร์ไทซิ่ง บริษัทด้านโฆษณาและการตลาดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศให้ช่วยออกไอเดียตั้งชื่อทีมต่างๆ ขึ้นมา
ว่ากันว่าช่วงนั้น เดนสึไม่เชื่อน้ำยาว่าเจลีกจะไปได้สวยในสังคมแดนปลาดิบ จึงปฏิเสธที่จะร่วมโปรโมตด้านการตลาดให้ กระทั่งเห็นกระแส “ฟีเวอร์” ในเวลาต่อมา จึงกระโดดเข้าไปร่วมวงเต็มตัว
ทั้งโซนี่และเดนสึไม่เพียงช่วยคิดชื่อทีม แต่ยังช่วยวางแผนเรื่องโลโก้และแมสคอตหรือตัวนำโชคให้กับแต่ละสโมสรอีกด้วย
ดังนั้น บรรดาทีมสังกัดบริษัทจึงได้ชื่อใหม่ที่เน้นความเป็นท้องถิ่นนิยมมากขึ้น จาก นิสสัน กลายเป็น โยโกฮาม่า มารินอส, จาก พานาโซนิค หรือที่ญี่ปุ่นคือแบรนด์ มัตสึชิตะ ก็กลายเป็น กัมบะ โอซากา, จาก ยามาฮ่า เป็น จูบิโล่ อิวาตะ, จาก โยมิอุริ เป็น แวร์ดี้ คาวาซากิ และอีกมากมาย
แม้จะเปลี่ยนชื่อ แต่สปอนเซอร์และกรรมสิทธิ์เจ้าของทีมไม่ได้เปลี่ยนไปด้วย ดังนั้น สโมสรเจลีกเหล่านี้จึงยังคงผูกพันกับบริษัทแม่ของตัวเองอย่างลึกซึ้ง เช่น นาโกยา แกรมปัส เอท (หรือที่เรียกย่อๆ เป็น นาโกยา แกรมปัส ในปัจจุบัน) ยังคงคาดสปอนเซอร์ โตโยตา ขนาดใหญ่บนหน้าอก หรือ อุราวะ เรด ไดมอนด์ส ก็จะร่วมโฆษณารถยนต์รุ่นใหม่ของ มิตสุบิชิ อย่างสม่ำเสมอ เรียกว่าเป็นการใช้แบรนด์กีฬาในมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทั้งหลายทั้งปวงข้างต้นคือกำเนิดชื่อที่แสนจะไม่ธรรมดาของบรรดาทีมในเจลีก หนึ่งในลีกลูกหนังที่ประสบความสำเร็จที่สุดของทวีปเอเชีย
ในคราวหน้า เราจะมาลงลึกในรายละเอียดว่าด้วยเหตุผลเบื้องหลังการตั้งชื่อของแต่ละทีมใน “เจวัน” และ “เจทู” ว่ามีไอเดียสุดบรรเจิดขนาดไหน เหมือนกับที่อธิบายไปตั้งแต่ต้นว่า “คอนซาโดเล่ ซัปโปโร” นั้น เป็นการผสมคำ “โดซังโกะ” ที่อ่านกลับหลังกับคำว่า “โอเล่” นั่นเอง
งานนี้รับประกันเรื่องความคิดสร้างสรรค์ระดับสิบ โปรดติดตาม…
ปล.ใครสนใจอ่านต่อตาม link ด้านล่างเลยครับ
ปล.2 ขอบคุณมติชนสำหรับข้อมูลครับ
ปล.3 ผมไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับมติชนน๊า
รู้ไหมทำไม? ‘เจลีก’กับเบื้องหลังชื่อทีมสุดสร้างสรรค์ (2)
http://www.matichon.co.th/news/424910
รู้ไหมทำไม? ‘เจลีก’กับเบื้องหลังชื่อทีมสุดสร้างสรรค์ (3)
http://www.matichon.co.th/news/427205
รู้ไหมทำไม? ‘เจลีก’ กับเบื้องหลังชื่อทีมสุดสร้างสรรค์
รู้ไหมทำไม? ‘เจลีก’ กับเบื้องหลังชื่อทีมสุดสร้างสรรค์ (1)
http://www.matichon.co.th/news/423692
เปิดตัวกันไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับ “เมสซี่เจ” ชนาธิป สรงกระสินธ์ แข้งทีมชาติไทยที่ย้ายจาก เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ไปเล่นให้สโมสรในเจลีก ประเทศญี่ปุ่น ด้วยสัญญายืมตัวเป็นเวลา 1 ฤดูกาล
สำหรับแฟนบอลที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับลีกลูกหนังแดนปลาดิบนัก อาจสงสัยว่าสังกัดใหม่ของชนาธิปนั้น เมื่ออ่านจากภาษาอังกฤษ Consadole Sapporo ควรจะเรียกว่า “คอนซาโดล ซัปโปโร” หรือ “คอนซาโดเล่ ซัปโปโร” กันแน่?
ก่อนอื่นต้องเฉลยก่อนว่า หากอ่านตามตัวอักษรคาตาคานะในภาษาญี่ปุ่นแล้ว จะอ่านได้ว่า “คอนซาโดเล่ ซัปโปโร” ซึ่งคำว่า “ซัปโปโร” นั้นเป็นชื่อเมืองหลวงของเกาะฮอกไกโดทางตอนเหนือของญี่ปุ่น สถานที่ที่สโมสรแห่งนี้ตั้งอยู่
ขณะที่คำว่า “คอนซาโดเล่” ที่ค่อนข้างแปลกหูนั้น ไม่ใช่ภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาต่างชาติใดๆ แต่เป็นการผสมคำ คำว่า “คอนซาโดะ” ซึ่งเป็นการอ่านคำว่า “โดซังโกะ” (Dosanko) หมายถึง “ชาวฮอกไกโด” กลับหลัง และผสมกับคำว่า “โอเล่!” หรือเสียงร้องแสดงความยินดีในภาษาสเปน
ที่มาของชื่อที่ไม่ธรรมดานี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งในหลายสโมสรฟุตบอลของประเทศญี่ปุ่น เพราะถ้าไล่เรียงชื่อทีมในเจลีกกันอย่างละเอียดแล้วจะพบว่า แต่ละสโมสรล้วนมีชื่อแปลกหู ไม่ได้มีคำพื้นๆ อย่าง “ยูไนเต็ด” “เอฟซี” หรือ “ซิตี้” เหมือนที่แฟนบอลส่วนใหญ่คุ้นเคย
ที่สำคัญคือความแปลกนี้ไม่ได้เกิดกับบางทีม แต่เป็นทุกทีมที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ซึ่ง โจนาธาน เบอร์ชาล เขียนถึงที่มาที่ไปของเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ “Ultra Nippon: How Japan Reinvented Football” ซึ่งบอกเล่าประวัติของเจลีกตั้งแต่ก่อนการถือกำเนิดเมื่อปี 1993 จนกลายเป็นหนึ่งในลีกลูกหนังสุดแกร่งของเอเชียในปัจจุบัน
เบอร์ชาลบอกว่า สมัยก่อนนั้น กีฬาฟุตบอลยังไม่ได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่นมากนัก เรียกว่าเทียบกันไม่ได้กับกีฬาเบสบอล อันเป็นกีฬาอาชีพยอดฮิตของแดนอาทิตย์อุทัย ทีมฟุตบอลต่างๆ จึงมีสถานะกึ่งสมัครเล่น แทนที่จะตั้งเป็นสโมสรของตัวเอง จะมีภาคเอกชนพวกบริษัทห้างร้านต่างๆ ตั้งทีมของตัวเองขึ้นมาแข่งขันกัน โดยจ้างนักฟุตบอลเป็นพนักงาน ให้ทำงานประจำของบริษัทเป็นหลัก แต่แบ่งเวลาไปฝึกซ้อม และเมื่อถึงคราวแข่งขันก็เป็นตัวแทนบริษัทเข้าร่วม
กระทั่งถึงช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ฟุตบอลจึงขยายความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในญี่ปุ่น จนอยากแสดงความเป็นเอกเทศจากกีฬาอาชีพอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาเบสบอล บนแนวคิดที่อยากสร้างความผูกพันกับท้องถิ่นเหมือนกับบรรดาสโมสรฟุตบอลในยุโรปและอเมริกาใต้
เนื่องด้วยทีมเบสบอลของญี่ปุ่นนั้น เอกชนเจ้าใดเป็นเจ้าของหรือสปอนเซอร์หลัก ก็จะใช้ชื่อแบรนด์นั้นๆ เป็นชื่อทีม เช่น เซบุ ไลออนส์ (บริษัทรถไฟเซบุเป็นเจ้าของ), โยมิอุริ ไจแอนต์ส (หนังสือพิมพ์โยมิอุริเป็นเจ้าของ), นิปปอน แฮม ไฟเตอร์ส (บริษัทผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป นิปปอนแฮม เป็นเจ้าของ) กระทั่งช่วงหลายปีให้หลังจึงเพิ่มชื่อเมืองท้องถิ่นเข้าไปในชื่อทีมด้วย เช่น ไซตามะ เซบุ ไลออนส์, ฮอกไกโด นิปปอน แฮม ไฟเตอร์ส เป็นต้น
เพื่อให้การก่อตั้งเจลีกตอบสนองนโยบายที่ว่านี้ ทีมงานจึงได้ขอความช่วยเหลือไปยังบริษัท โซนี่ ผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าชื่อดังซึ่งทำสื่อวิดีโอเกมของตัวเอง กับ เดนสึ แอดเวอร์ไทซิ่ง บริษัทด้านโฆษณาและการตลาดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศให้ช่วยออกไอเดียตั้งชื่อทีมต่างๆ ขึ้นมา
ว่ากันว่าช่วงนั้น เดนสึไม่เชื่อน้ำยาว่าเจลีกจะไปได้สวยในสังคมแดนปลาดิบ จึงปฏิเสธที่จะร่วมโปรโมตด้านการตลาดให้ กระทั่งเห็นกระแส “ฟีเวอร์” ในเวลาต่อมา จึงกระโดดเข้าไปร่วมวงเต็มตัว
ทั้งโซนี่และเดนสึไม่เพียงช่วยคิดชื่อทีม แต่ยังช่วยวางแผนเรื่องโลโก้และแมสคอตหรือตัวนำโชคให้กับแต่ละสโมสรอีกด้วย
ดังนั้น บรรดาทีมสังกัดบริษัทจึงได้ชื่อใหม่ที่เน้นความเป็นท้องถิ่นนิยมมากขึ้น จาก นิสสัน กลายเป็น โยโกฮาม่า มารินอส, จาก พานาโซนิค หรือที่ญี่ปุ่นคือแบรนด์ มัตสึชิตะ ก็กลายเป็น กัมบะ โอซากา, จาก ยามาฮ่า เป็น จูบิโล่ อิวาตะ, จาก โยมิอุริ เป็น แวร์ดี้ คาวาซากิ และอีกมากมาย
แม้จะเปลี่ยนชื่อ แต่สปอนเซอร์และกรรมสิทธิ์เจ้าของทีมไม่ได้เปลี่ยนไปด้วย ดังนั้น สโมสรเจลีกเหล่านี้จึงยังคงผูกพันกับบริษัทแม่ของตัวเองอย่างลึกซึ้ง เช่น นาโกยา แกรมปัส เอท (หรือที่เรียกย่อๆ เป็น นาโกยา แกรมปัส ในปัจจุบัน) ยังคงคาดสปอนเซอร์ โตโยตา ขนาดใหญ่บนหน้าอก หรือ อุราวะ เรด ไดมอนด์ส ก็จะร่วมโฆษณารถยนต์รุ่นใหม่ของ มิตสุบิชิ อย่างสม่ำเสมอ เรียกว่าเป็นการใช้แบรนด์กีฬาในมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทั้งหลายทั้งปวงข้างต้นคือกำเนิดชื่อที่แสนจะไม่ธรรมดาของบรรดาทีมในเจลีก หนึ่งในลีกลูกหนังที่ประสบความสำเร็จที่สุดของทวีปเอเชีย
ในคราวหน้า เราจะมาลงลึกในรายละเอียดว่าด้วยเหตุผลเบื้องหลังการตั้งชื่อของแต่ละทีมใน “เจวัน” และ “เจทู” ว่ามีไอเดียสุดบรรเจิดขนาดไหน เหมือนกับที่อธิบายไปตั้งแต่ต้นว่า “คอนซาโดเล่ ซัปโปโร” นั้น เป็นการผสมคำ “โดซังโกะ” ที่อ่านกลับหลังกับคำว่า “โอเล่” นั่นเอง
งานนี้รับประกันเรื่องความคิดสร้างสรรค์ระดับสิบ โปรดติดตาม…
ปล.ใครสนใจอ่านต่อตาม link ด้านล่างเลยครับ
ปล.2 ขอบคุณมติชนสำหรับข้อมูลครับ
ปล.3 ผมไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับมติชนน๊า
รู้ไหมทำไม? ‘เจลีก’กับเบื้องหลังชื่อทีมสุดสร้างสรรค์ (2)
http://www.matichon.co.th/news/424910
รู้ไหมทำไม? ‘เจลีก’กับเบื้องหลังชื่อทีมสุดสร้างสรรค์ (3)
http://www.matichon.co.th/news/427205