นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า การปรับราคาน้ำมันเครื่องบินก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมของโครงสร้างภาษี จากเดิมที่จัดเก็บภาษีในอัตรา 20 สตางค์ต่อลิตร ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4 บาทต่อลิตร จะทำให้ค่าตั๋วเครื่องบินปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 50 บาทต่อที่นั่ง ไม่น่าถึง 150 บาทต่อคนต่อเที่ยวบิน เพราะเครื่องบินขนาดกลางมีที่นั่งประมาณ 200-300 ที่นั่ง จะใช้น้ำมันประมาณ 2,500 ลิตรต่อหนึ่งชั่วโมง หรือมีภาระภาษีเพิ่มขึ้น 9,500-10,000 บาท หากนำมาเฉลี่ยกับจำนวนที่นั่งบนเครื่องบินแล้ว ราคาจะเพิ่มขึ้น 45-50 บาทต่อคนต่อเที่ยวบิน ซึ่งไม่น่าจะทำให้ต้นทุนของสายการบินเพิ่มขึ้นมากมายนัก
นายสมชายกล่าวว่า สายการบินที่ให้บริการภายในประเทศไกลสุดจะใช้ระยะเวลาเดินทาง 1 -1.15 ชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่จะใช้ระยะการบินประมาณ 1 ชั่วโมง เช่น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ หรือกรุงเทพฯ-ภูเก็ต อาจจะนานกว่า 1 ชั่วโมงเล็กน้อย ไม่เห็นด้วยหากสายการบินโลว์คอสต์จะปรับราคาที่นั่งเพิ่ม 150 บาทต่อคนต่อเที่ยวบิน
นายสมชายกล่าวว่า ที่ผ่านมากรมสรรพสามิตได้มองข้ามเรื่องภาษีน้ำมันของเครื่องบินมาหลายปี โดยที่ผ่านมา เมื่อเกิดวิกฤติของราคาน้ำมันรัฐบาลก็ขึ้นแต่ภาษีน้ำมันที่ใช้กับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ทำให้การปรับขึ้นภาษีน้ำมันเครื่องบินในครั้งนี้ เพื่อให้โครงสร้างภาษีน้ำมันทั้งระบบมีความยุติธรรมต่อทุกฝ่าย เพราะปัจจุบันน้ำมันเบนซินเสียภาษีในอัตรา 5-6 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซล 5 บาทต่อลิตร แต่ภาษีน้ำมันของเครื่องบินยังอยู่ในระดับต่ำมาก
อนึ่ง สายการบินไทยเเอร์เอเชีย (เที่ยวบินรหัส FD) และ สายการบินนกแอร์ (DD) อ้างว่าจากกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง เสนอให้ปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินและน้ำมันหล่อลื่น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. 2560 แล้วนั้น
ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศดังกล่าว สายการบินไทยเเอร์เอเชีย (เที่ยวบินรหัส FD) จึงขอประกาศ บวกเพิ่มค่าภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ในอัตรา 150 บาท/ท่าน/เที่ยวบิน สำหรับเส้นทางบินภายในประเทศ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2560 เป็นต้นไป
ขณะที่ สายการบินนกแอร์ (DD) ซึ่งเปิดให้บริการเส้นทางบินภายในประเทศไทย จึงขอประกาศเก็บภาษีสรรพสามิต (น้ำมัน) ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในอัตรา 150 บาท/ท่าน/เที่ยวบิน สำหรับเส้นทางบินภายในประเทศ ซึ่งจะรวมอยู่ในค่าโดยสารที่แสดงทางหน้าเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ. 2560 เป็นต้นไป
http://money.sanook.com/459409/
**โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
“สรรพสามิต” เเฉ! ต้นทุนเพิ่ม 50 บาทเท่านั้น ค้านขึ้นค่าตั๋วโลว์คอสต์ 150 บาท/เที่ยว
นายสมชายกล่าวว่า สายการบินที่ให้บริการภายในประเทศไกลสุดจะใช้ระยะเวลาเดินทาง 1 -1.15 ชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่จะใช้ระยะการบินประมาณ 1 ชั่วโมง เช่น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ หรือกรุงเทพฯ-ภูเก็ต อาจจะนานกว่า 1 ชั่วโมงเล็กน้อย ไม่เห็นด้วยหากสายการบินโลว์คอสต์จะปรับราคาที่นั่งเพิ่ม 150 บาทต่อคนต่อเที่ยวบิน
นายสมชายกล่าวว่า ที่ผ่านมากรมสรรพสามิตได้มองข้ามเรื่องภาษีน้ำมันของเครื่องบินมาหลายปี โดยที่ผ่านมา เมื่อเกิดวิกฤติของราคาน้ำมันรัฐบาลก็ขึ้นแต่ภาษีน้ำมันที่ใช้กับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ทำให้การปรับขึ้นภาษีน้ำมันเครื่องบินในครั้งนี้ เพื่อให้โครงสร้างภาษีน้ำมันทั้งระบบมีความยุติธรรมต่อทุกฝ่าย เพราะปัจจุบันน้ำมันเบนซินเสียภาษีในอัตรา 5-6 บาทต่อลิตร น้ำมันดีเซล 5 บาทต่อลิตร แต่ภาษีน้ำมันของเครื่องบินยังอยู่ในระดับต่ำมาก
อนึ่ง สายการบินไทยเเอร์เอเชีย (เที่ยวบินรหัส FD) และ สายการบินนกแอร์ (DD) อ้างว่าจากกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง เสนอให้ปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินและน้ำมันหล่อลื่น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. 2560 แล้วนั้น
ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศดังกล่าว สายการบินไทยเเอร์เอเชีย (เที่ยวบินรหัส FD) จึงขอประกาศ บวกเพิ่มค่าภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ในอัตรา 150 บาท/ท่าน/เที่ยวบิน สำหรับเส้นทางบินภายในประเทศ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2560 เป็นต้นไป
ขณะที่ สายการบินนกแอร์ (DD) ซึ่งเปิดให้บริการเส้นทางบินภายในประเทศไทย จึงขอประกาศเก็บภาษีสรรพสามิต (น้ำมัน) ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในอัตรา 150 บาท/ท่าน/เที่ยวบิน สำหรับเส้นทางบินภายในประเทศ ซึ่งจะรวมอยู่ในค่าโดยสารที่แสดงทางหน้าเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ. 2560 เป็นต้นไป
http://money.sanook.com/459409/
**โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน