ถ้าให้สินสอดก่อนจดทะเบียนสมรส (คือให้ก่อนเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย) ก็ต้องเอาสินสอดในส่วนที่มีมูลค่าเกินสิบล้านบาทขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นเงินสด เพชรพลอย ทองคำ ที่ดิน รถ บ้าน หุ้น หลักทรัพย์อื่นๆ ที่ให้ ไปแสดงเป็นเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีในอัตรา 5% โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 (สำหรับสินสอดที่ได้มาในช่วงตั้งแต่ ม.ค. - มิ.ย. ของปี) ที่ต้องยื่นภายในเดือน ก.ย. และแบบ ภ.ง.ด. 90 สำหรับทั้งปี ที่ต้องยื่นภายใน มี.ค. ของปีถัดไป (หรือภายในวันที่ 8 เม.ย. ถ้ายื่นออนไลน์)
แต่ถ้าจดทะเบียนสมรสแล้ว ถึงให้สินสอด อย่างนี้ ก็เอาสินสอดเฉพาะในส่วนที่มีมูลค่าเกินยี่สิบล้านบาทไปเสียภาษีในอัตรา 5%
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเร็วๆ นี้ เชน ธนา แต่งงานกับ เจมส์ กณิการ์ เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 60 สินสอดมูลค่า 168 ล้านบาท ประกอบไปด้วย แหวนเพชร 2 กะรัต บ้าน(เรือนหอ) มูลค่า 147 ล้านบาท เงินสดมูลค่า 8,888,888 บาท ทองคำหนัก 168 บาท(มูลค่า 3,400,000 บาท) มงกุฎเพชร 25 กะรัต มูลค่า 5,000,000 บาท และเครื่องเพชรชุดใหญ่ มูลค่า 3,711,112 บาท
อย่างนี้ ฝ่ายเจ้าสาวก็เอาเฉพาะสินสอดในส่วนที่มีมูลค่าเกิน 10 ล้าน หรือ 20 ล้าน ไปเสียภาษี 5% สมมุติว่า คิดแบบง่ายๆ เลยว่า เอาส่วนที่เกิน 20 ล้าน ก็คือ 148 ล้าน ไปเสียภาษี 5% ก็จะได้เป็นเงินภาษีที่ต้องเสียให้แก่กรมสรรพากร เป็นเงิน 7.4 ล้านบาทเท่านั้นเอง ถือว่าไม่มากเท่าไหร่ แต่ถ้าลืมเอาไปเสียภาษีเมื่อไหร่ จะมีเบี้ยปรับตามมาอีก 1 เท่า พร้อมกับเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ซึ่งดอกเบี้ยจะวิ่งไปทุกเดือนๆ จนกว่าจะชนเพดานของเงินภาษีที่พึงต้องเสีย
ดังนั้น ไม่ควรลืมเด็ดขาดนะครับ ยิ่งออกข่าวทางสื่อมวลชนแล้ว คาดว่ากรมสรรพากรคงจะมีข้อมูลอยู่ในมือพร้อมจะตามเก็บย้อนหลังหากไม่ยื่นหรือลืมยื่นอยู่แล้วล่ะ
ดาราหรือไฮโซที่หมั้นสาวด้วยสินสอดเป็นหลักสิบล้านร้อยล้านขึ้นไป อย่าลืมให้ว่าที่เจ้าสาวเอาไปเสียภาษี 5% ด้วยนะครับ
แต่ถ้าจดทะเบียนสมรสแล้ว ถึงให้สินสอด อย่างนี้ ก็เอาสินสอดเฉพาะในส่วนที่มีมูลค่าเกินยี่สิบล้านบาทไปเสียภาษีในอัตรา 5%
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเร็วๆ นี้ เชน ธนา แต่งงานกับ เจมส์ กณิการ์ เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 60 สินสอดมูลค่า 168 ล้านบาท ประกอบไปด้วย แหวนเพชร 2 กะรัต บ้าน(เรือนหอ) มูลค่า 147 ล้านบาท เงินสดมูลค่า 8,888,888 บาท ทองคำหนัก 168 บาท(มูลค่า 3,400,000 บาท) มงกุฎเพชร 25 กะรัต มูลค่า 5,000,000 บาท และเครื่องเพชรชุดใหญ่ มูลค่า 3,711,112 บาท
อย่างนี้ ฝ่ายเจ้าสาวก็เอาเฉพาะสินสอดในส่วนที่มีมูลค่าเกิน 10 ล้าน หรือ 20 ล้าน ไปเสียภาษี 5% สมมุติว่า คิดแบบง่ายๆ เลยว่า เอาส่วนที่เกิน 20 ล้าน ก็คือ 148 ล้าน ไปเสียภาษี 5% ก็จะได้เป็นเงินภาษีที่ต้องเสียให้แก่กรมสรรพากร เป็นเงิน 7.4 ล้านบาทเท่านั้นเอง ถือว่าไม่มากเท่าไหร่ แต่ถ้าลืมเอาไปเสียภาษีเมื่อไหร่ จะมีเบี้ยปรับตามมาอีก 1 เท่า พร้อมกับเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน ซึ่งดอกเบี้ยจะวิ่งไปทุกเดือนๆ จนกว่าจะชนเพดานของเงินภาษีที่พึงต้องเสีย
ดังนั้น ไม่ควรลืมเด็ดขาดนะครับ ยิ่งออกข่าวทางสื่อมวลชนแล้ว คาดว่ากรมสรรพากรคงจะมีข้อมูลอยู่ในมือพร้อมจะตามเก็บย้อนหลังหากไม่ยื่นหรือลืมยื่นอยู่แล้วล่ะ