นพ.อภิชาติ จริยาวิลาส
จิตแพทย์ชี้ "โรคชอบหยิบฉวย" หลายคนเป็นไม่รู้ตัว เสี่ยงซึมเศร้าจากความรู้สึกผิดได้ง่าย เผยสาเหตุการขโมยอาจเกิดจากภาวะสมองเสื่อม หรือสารในสมองทำงานผิดปกติ เกิดอาการอยากได้ หากไม่นำของไปจะรู้สึกทุกข์ทรมาน ย้ำต่างจากหัวขโมยที่มีการวางแผนล่วงหน้า
จากกรณีสื่อญี่ปุ่นรายงานข่าว นายสุภัฒ สงวนดีกุล รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ถูกจับในข้อหาขโมยภาพวาดจำนวน 3 ภาพ มูลค่า 15,000 เยน หรือประมาณ 4,500 บาท ที่ติดอยู่ในโรงแรมแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น
วันนี้ (25 ม.ค.) นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ โฆษกกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า เรื่องนี้คงไม่สามารถเจาะจงได้ว่าผู้กระทำมีสภาพจิตใจ หรือป่วยทางด้านโรคจิตเวชหรือไม่ เพราะไม่ได้มีการประเมินหรือวินิจฉัยโดยตรง แต่หากพูดในหลักการแล้ว ภาวะที่เกิดขึ้นต้องแยกจากการขโมยของทั่วไป เนื่องจากการขโมยของทั่วไปนั้น ผู้ขโมยจะไม่ค่อยรู้ผิดชอบ แต่หากในบางกลุ่มที่มีอาการป่วย ก็ต้องพิจารณาอีกว่าช่วงอายุอย่างไร หากเป็นเด็กก็อาจจะยังไม่ทราบว่า อะไรควรไม่ควร แต่หากเป็นในกลุ่มผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อาจมีภาวะทางสมองเสื่อม เนื่องจากอาจเข้าใจว่า สิ่งของที่นำมาเป็นของตัวเองจริง หรือเกิดจากภาวะการป่วยเป็นโรคที่มีปัญหาในการควบคุมการขโมย หรือโรคชอบหยิบฉวยของ หรือโรคเคลปโทมาเนีย (Kleptomania)
"โรคเคลปโทมาเนีย มีสาเหตุมาจากสารในสมองทำงานผิดปกติ เป็นกลุ่มที่มีปัญหาการยับยั้งพฤติกรรมการขโมย โดยชีวิตประจำวันแทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อมาถึงจุดหนึ่งที่ต้องการของบางอย่าง จะมีความรู้สึกขัดกันขึ้นมา อยากได้มากถึงมากที่สุด แม้ของเหล่านี้อาจไม่ได้มีมูลค่ามากพอ และจะรู้สึกทุกข์ทรมานใจ หากไม่ได้นำของผู้อื่นไป ซึ่งเมื่อหยิบไปแล้ว ความทุกข์ทรมานในใจจะหายไป และอาจนำสิ่งของที่หยิบไปมาคืน หรืออาจนำมาแอบซ่อนไว้เป็นของตัวเองก็ได้ โดยบางกลุ่มขโมยเสร็จแล้ว อาจจำไม่ได้ หรือบางกลุ่มจำได้ และจะรู้สึกผิดมากๆ บางรายรับสิ่งที่ตัวเองกระทำไม่ได้ ถึงขนาดเป็นภาวะซึมเศร้า เสี่ยงฆ่าตัวตาย ซึ่งที่ผ่านมาตัวเลขของผู้ป่วยกลุ่มนี้ทั่วโลกไม่มีตัวเลขแน่ชัด ในประเทศไทยส่วนใหญ่มาหาด้วยอาการซึมเศร้า แต่มาพบภายหลัง เรียกว่าหลายคนไม่รู้ตัวเลย ดังนั้น หากรู้สึกว่า อยากขโมย อยากได้ ไม่ต้องรอลงมือทำ แค่มีความคิด ก็ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ หรือโทรปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ทันที" นพ.อภิชาติ กล่าวและว่า พฤติกรรมนี้จะแตกต่างกับ ผู้มีนิสัยชอบขโมยที่จะมีการวางแผนล่วงหน้า ไม่รู้สึกทุกข์ทรมานใจหากไม่ได้ขโมย และต้องการสิ่งของบุคคลอื่นเพื่อตอบสนองการนำมาใช้ประโยชน์ของตัวเอง เช่น ขโมยสิ่งของเพื่อนำไปขาย และนำเงินมาใช้จ่าย
นพ.อภิชาติ กล่าวว่า วิธีการสังเกตและป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมลักขโมย สิ่งของผู้อื่น สามารถสังเกตอาการของตัวเองได้ หากเพียงแค่มีความคิด อยากได้ ของผู้อื่น มาครอบครองโดยเจ้าของไม่รับรู้เพียงแค่ครั้งเดียว ต้องห้ามมองข้ามสัญญาณเตือนนี้ และ ต้องไม่ลงกระทำ เพราะหากปล่อยไปและเกิดการลงมือกระทำแล้ว อาจทำให้กลายเป็นบุคคลที่มีนิสัย และพฤติกรรมการลักขโมยได้ในที่สุด ส่วนการรักษาจะเป็นการให้ยา โดยการใช้ยาเพื่อสร้างสมดุลของสารในสมอง ลดความวิตกกังวล และ ใช้พฤติกรรมบำบัด รวมทั้งหลีกเลี่ยงไม่ไปสถานที่ชอบไปก่อพฤติกรรมหยิบของผู้อื่นโดยไม่บอกกล่าว เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า และไม่อยู่ใกล้สิ่งของเป้าหมายที่ทำให้ รู้สึก อยากนำมาเป็นของตัวเอง หรือ หากมีญาติที่ไว้ใจใกล้ชิด ก็สามารถติดตามสอดส่องพฤติกรรมทำหน้าที่คอยห้ามปรามได้ด้วย และต้องปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็กว่าการขโมยเป้นสิ่งที่ไม่ควรทำ อย่างไรก็ตาม การลักขโมยไม่ว่าจะป่วยหรือไม่ป่วยก็ถือว่ามีความผิด ต้องถูกดำเนินคดี ส่วนจะป่วยหรือไม่นั้น ต้องไปตรวจวินิจฉัย แต่หากป่วยก็ควรรักษา ซึ่งในสังคมมีลักษณะนี้อยู่จริง แต่หลายคนก็ไม่รู้ตัว
พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องแยกให้ออกระหว่างการเจ็บป่วย ด้วยโรคเคลปโทมาเนีย หรือพฤติกรรมลักขโมยสิ่งของทั่วไป โดยในทางการแพทย์ มักแยกลักษณะ ของผู้ป่วยจากโรคเคลปโทมาเนีย แตกต่างจาก การลักขโมยทั่วไป โดยดูได้จาก 1. มูลค่าของสิ่งของ 2.การเกิดซ้ำ 3. บริบทแวดล้อม 4. กระบวนการความคิดในการลักขโมย ซึ่ง ผู้ป่วยโรคเคลปโทมาเนียมักจะเป็นผู้ที่ มีชื่อเสียง มักจะหยิบฉวยสิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่อาจไม่มีมูลค่ามากนัก ไม่เหมือนกับนักโจรกรรม ที่จะเลือกสิ่งของมีราคาแพง ขณะเดียวพฤติกรรมเช่นนี้ก็มักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่ขาดคนสังเกต และคิดว่าไม่เป็นปัญหา โดยการหยิบฉวยสิ่งของ อาจเป็นของที่ไม่มีมูลค่า หรือ สามารถซื้อหา หรือจ่ายเงินได้ แต่ก็อยากหยิบ มีความท้าทาย และมักไม่ใช้วิธีการที่ซับซ้อน เหมือนกับหัวขโมยมืออาชีพ
พญ.อัมพร กล่าวว่า ทุกการกระทำของผู้ป่วย มักมีสติเสมอ การรักษาต้องใช้เวลานาน บางรายต้องใช้ยาทางจิตเวช ควบคู่กับการปรับพฤติกรรม มักพบโรคนี้ ตั้งแต่วัยเด็ก แต่อาจไม่มีใครสังเกต ว่าในช่วงวัยเด็กมีการหยิบสิ่งของติดมือกลับบ้าน แต่ไม่มีมูลค่า ราคาแพง ผู้ปกครองอาจไม่สังเกต อาการจะเริ่มปรากฎชัดเมื่อเข้าวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในส่วนลึกของจิตใจ มักเป็นกลุ่มคนที่ต้องการความรัก ความเอาใจใส่ การหยิบฉวยสิ่งของ ของโรคนี้ จะคล้ายกับพฤติกรรม การดึงผม การชอปปิ้ง ซึ่งต้องอาศัยการมีความยับยั้งชั่งใจ และคนรอบข้างช่วยเหลือ ประคับประคองด้วย
ข่าวจาก : MGR Online
http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9600000008339
จิตแพทย์ชี้ "โรคชอบหยิบฉวย" มีจริง ไม่ได้หยิบฉวยจะทุกข์ทรมาน
นพ.อภิชาติ จริยาวิลาส
จิตแพทย์ชี้ "โรคชอบหยิบฉวย" หลายคนเป็นไม่รู้ตัว เสี่ยงซึมเศร้าจากความรู้สึกผิดได้ง่าย เผยสาเหตุการขโมยอาจเกิดจากภาวะสมองเสื่อม หรือสารในสมองทำงานผิดปกติ เกิดอาการอยากได้ หากไม่นำของไปจะรู้สึกทุกข์ทรมาน ย้ำต่างจากหัวขโมยที่มีการวางแผนล่วงหน้า
จากกรณีสื่อญี่ปุ่นรายงานข่าว นายสุภัฒ สงวนดีกุล รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ถูกจับในข้อหาขโมยภาพวาดจำนวน 3 ภาพ มูลค่า 15,000 เยน หรือประมาณ 4,500 บาท ที่ติดอยู่ในโรงแรมแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น
วันนี้ (25 ม.ค.) นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ โฆษกกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า เรื่องนี้คงไม่สามารถเจาะจงได้ว่าผู้กระทำมีสภาพจิตใจ หรือป่วยทางด้านโรคจิตเวชหรือไม่ เพราะไม่ได้มีการประเมินหรือวินิจฉัยโดยตรง แต่หากพูดในหลักการแล้ว ภาวะที่เกิดขึ้นต้องแยกจากการขโมยของทั่วไป เนื่องจากการขโมยของทั่วไปนั้น ผู้ขโมยจะไม่ค่อยรู้ผิดชอบ แต่หากในบางกลุ่มที่มีอาการป่วย ก็ต้องพิจารณาอีกว่าช่วงอายุอย่างไร หากเป็นเด็กก็อาจจะยังไม่ทราบว่า อะไรควรไม่ควร แต่หากเป็นในกลุ่มผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อาจมีภาวะทางสมองเสื่อม เนื่องจากอาจเข้าใจว่า สิ่งของที่นำมาเป็นของตัวเองจริง หรือเกิดจากภาวะการป่วยเป็นโรคที่มีปัญหาในการควบคุมการขโมย หรือโรคชอบหยิบฉวยของ หรือโรคเคลปโทมาเนีย (Kleptomania)
"โรคเคลปโทมาเนีย มีสาเหตุมาจากสารในสมองทำงานผิดปกติ เป็นกลุ่มที่มีปัญหาการยับยั้งพฤติกรรมการขโมย โดยชีวิตประจำวันแทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อมาถึงจุดหนึ่งที่ต้องการของบางอย่าง จะมีความรู้สึกขัดกันขึ้นมา อยากได้มากถึงมากที่สุด แม้ของเหล่านี้อาจไม่ได้มีมูลค่ามากพอ และจะรู้สึกทุกข์ทรมานใจ หากไม่ได้นำของผู้อื่นไป ซึ่งเมื่อหยิบไปแล้ว ความทุกข์ทรมานในใจจะหายไป และอาจนำสิ่งของที่หยิบไปมาคืน หรืออาจนำมาแอบซ่อนไว้เป็นของตัวเองก็ได้ โดยบางกลุ่มขโมยเสร็จแล้ว อาจจำไม่ได้ หรือบางกลุ่มจำได้ และจะรู้สึกผิดมากๆ บางรายรับสิ่งที่ตัวเองกระทำไม่ได้ ถึงขนาดเป็นภาวะซึมเศร้า เสี่ยงฆ่าตัวตาย ซึ่งที่ผ่านมาตัวเลขของผู้ป่วยกลุ่มนี้ทั่วโลกไม่มีตัวเลขแน่ชัด ในประเทศไทยส่วนใหญ่มาหาด้วยอาการซึมเศร้า แต่มาพบภายหลัง เรียกว่าหลายคนไม่รู้ตัวเลย ดังนั้น หากรู้สึกว่า อยากขโมย อยากได้ ไม่ต้องรอลงมือทำ แค่มีความคิด ก็ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ หรือโทรปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ทันที" นพ.อภิชาติ กล่าวและว่า พฤติกรรมนี้จะแตกต่างกับ ผู้มีนิสัยชอบขโมยที่จะมีการวางแผนล่วงหน้า ไม่รู้สึกทุกข์ทรมานใจหากไม่ได้ขโมย และต้องการสิ่งของบุคคลอื่นเพื่อตอบสนองการนำมาใช้ประโยชน์ของตัวเอง เช่น ขโมยสิ่งของเพื่อนำไปขาย และนำเงินมาใช้จ่าย
นพ.อภิชาติ กล่าวว่า วิธีการสังเกตและป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมลักขโมย สิ่งของผู้อื่น สามารถสังเกตอาการของตัวเองได้ หากเพียงแค่มีความคิด อยากได้ ของผู้อื่น มาครอบครองโดยเจ้าของไม่รับรู้เพียงแค่ครั้งเดียว ต้องห้ามมองข้ามสัญญาณเตือนนี้ และ ต้องไม่ลงกระทำ เพราะหากปล่อยไปและเกิดการลงมือกระทำแล้ว อาจทำให้กลายเป็นบุคคลที่มีนิสัย และพฤติกรรมการลักขโมยได้ในที่สุด ส่วนการรักษาจะเป็นการให้ยา โดยการใช้ยาเพื่อสร้างสมดุลของสารในสมอง ลดความวิตกกังวล และ ใช้พฤติกรรมบำบัด รวมทั้งหลีกเลี่ยงไม่ไปสถานที่ชอบไปก่อพฤติกรรมหยิบของผู้อื่นโดยไม่บอกกล่าว เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า และไม่อยู่ใกล้สิ่งของเป้าหมายที่ทำให้ รู้สึก อยากนำมาเป็นของตัวเอง หรือ หากมีญาติที่ไว้ใจใกล้ชิด ก็สามารถติดตามสอดส่องพฤติกรรมทำหน้าที่คอยห้ามปรามได้ด้วย และต้องปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็กว่าการขโมยเป้นสิ่งที่ไม่ควรทำ อย่างไรก็ตาม การลักขโมยไม่ว่าจะป่วยหรือไม่ป่วยก็ถือว่ามีความผิด ต้องถูกดำเนินคดี ส่วนจะป่วยหรือไม่นั้น ต้องไปตรวจวินิจฉัย แต่หากป่วยก็ควรรักษา ซึ่งในสังคมมีลักษณะนี้อยู่จริง แต่หลายคนก็ไม่รู้ตัว
พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องแยกให้ออกระหว่างการเจ็บป่วย ด้วยโรคเคลปโทมาเนีย หรือพฤติกรรมลักขโมยสิ่งของทั่วไป โดยในทางการแพทย์ มักแยกลักษณะ ของผู้ป่วยจากโรคเคลปโทมาเนีย แตกต่างจาก การลักขโมยทั่วไป โดยดูได้จาก 1. มูลค่าของสิ่งของ 2.การเกิดซ้ำ 3. บริบทแวดล้อม 4. กระบวนการความคิดในการลักขโมย ซึ่ง ผู้ป่วยโรคเคลปโทมาเนียมักจะเป็นผู้ที่ มีชื่อเสียง มักจะหยิบฉวยสิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่อาจไม่มีมูลค่ามากนัก ไม่เหมือนกับนักโจรกรรม ที่จะเลือกสิ่งของมีราคาแพง ขณะเดียวพฤติกรรมเช่นนี้ก็มักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่ขาดคนสังเกต และคิดว่าไม่เป็นปัญหา โดยการหยิบฉวยสิ่งของ อาจเป็นของที่ไม่มีมูลค่า หรือ สามารถซื้อหา หรือจ่ายเงินได้ แต่ก็อยากหยิบ มีความท้าทาย และมักไม่ใช้วิธีการที่ซับซ้อน เหมือนกับหัวขโมยมืออาชีพ
พญ.อัมพร กล่าวว่า ทุกการกระทำของผู้ป่วย มักมีสติเสมอ การรักษาต้องใช้เวลานาน บางรายต้องใช้ยาทางจิตเวช ควบคู่กับการปรับพฤติกรรม มักพบโรคนี้ ตั้งแต่วัยเด็ก แต่อาจไม่มีใครสังเกต ว่าในช่วงวัยเด็กมีการหยิบสิ่งของติดมือกลับบ้าน แต่ไม่มีมูลค่า ราคาแพง ผู้ปกครองอาจไม่สังเกต อาการจะเริ่มปรากฎชัดเมื่อเข้าวัยผู้ใหญ่ ซึ่งในส่วนลึกของจิตใจ มักเป็นกลุ่มคนที่ต้องการความรัก ความเอาใจใส่ การหยิบฉวยสิ่งของ ของโรคนี้ จะคล้ายกับพฤติกรรม การดึงผม การชอปปิ้ง ซึ่งต้องอาศัยการมีความยับยั้งชั่งใจ และคนรอบข้างช่วยเหลือ ประคับประคองด้วย
ข่าวจาก : MGR Online
http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9600000008339