สวัวสดีครับ สำหรับกระทู้ก่อนหน้านี้ที่ได้อธิบายเกี่ยวกับ การวางแผนในภาพรวม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://ppantip.com/topic/36009227 และประโยชน์การสอบอื่นๆที่สามารถเป็นผลพลอยได้หรือต่อยอดได้จากการสอบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://ppantip.com/topic/36020387 ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) วันนี้ผมจะมาพูดถึงการเตรียมตัวสอบในรายวิชา บัญชี ที่หลายๆท่านบอกว่ายากที่สุดในการสอบ CPA นะครับบ
พอดีเพิ่งเปิดเพจเฟซบุ้คครับ แวะไปได้นะครับผม ความรู้บัญชีภาษีต่างๆครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.facebook.com/WhollyHallBuncheeTax
การบัญชีนี้ หลายๆคนมักแนะนำให้สอบเป็นวิชาแรกสุด เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่า หลายๆท่านเพิ่งเรียนจบมหาวทิยาลัย ความรู้ด้านมาตรฐานต่างๆยังแน่น (มั้ย?) และอีกเหตุผลคือ มาตรฐานสมัยนี้ทางสภาวิชาชีพค่อนข้าง ขยัน ประยุกต์ใช้มาตรฐานใหม่ๆแทบทุกปีครับ ดังนั้นถ้ายิ่งสอบช้า มาตรฐานใหม่ๆ ซึ่งอาจรวมถึงการบันทึกบัญชี เปิดเผยข้อมูล ก็จะยิ่งแปลกหูแปลกตาเราไปด้วย นี่เป็น 2 สาเหตุหลักที่หลายท่านแนะนำให้สอบวิชานี้ก่อนครับ
แต่สำหรับผม ตอนที่เริ่มสอบนั้นผมสอบวิชา กฏหมาย1 ก่อนเนื่องด้วย อยากได้กำลังใจครับ 55เพราะเป็นวิชาที่เขาว่า ง่ายที่สุด และต่อมาจึงสอบวิชากฏหมาย2 ในครั้งถัดมา และจึงสอบวิชาบัญชี 1 และ 2 พร้อมกันครับ ดังนั้นใครใคร่สอบอย่างไร ก็ลองพิจรณาดูครับ
ส่วนเนื้อหาหลักๆที่ทางสภาวิชาชีพกำหนดของวิชาการบัญชี 1 เข้าไปดูได้ใน
http://www.fap.or.th/images/column_1359011230/1_Accounting%201%20271259.pdf
และการบัญชี 2 เข้าไปดูได้ใน
http://www.fap.or.th/images/column_1359011230/2_Accounting%202%20271259.pdf
วิชา การบัญชี ของการสอบ CPA นั้นจะแยกเป็น 2 รายวิชาการสอบย่อยนั่นคือ
การบัญชี 1 + การบัญชี 2 ซึ่งเนื้อหาของแต่ละฉบับนั้นต่างกัน ซึ่งถ้าจะพูดโดยภาพ รวมแบบหยาบๆ คือการบัญชี 1 นั้นจะเน้นไปที่ งบแสดงฐานะการเงิน (สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ) และการบัญชี 2 นั้นจะรวมเนื้อหาเกี่ยวกับ งบกำไรขาดทุนและงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสเร็จอื่น (รายได้ ค่าใช้จ่าย) อย่างไรก็ตามในแต่ละเนื้อหาย่อยที่แฝงอยู่ด้านในข้อสอบ อาจจะมีเนื้อหาของอีกฝั่งหนึ่งแทรกอยู่ได้ เช่น การบัญชี 1 ที่บอกว่าเป็นฝั่งของ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ก็อาจจะรวมถึงด้าน รายได้ ค่าใช้จ่ายบ้างครับ เช่นการตีราคาในหลักทรัพย์เพื่อค้า (ฝั่งสินทรัพย์) ก็ย่อมสะเทือนฝั่งรายได้ซึ่งคือ กำไร/ขาดทุนจากการตีราคา หรืออาจจะมาในรูปของพวกการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินหรือการบัญชี (TFRIC / TSIC) เช่นธุรกิจที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ที่มีลักษณะเฉพาะ (เช่นพวกโรงไฟฟ้า) ถ้ามีการทำรายการระหว่างกันซื้อขายหรืออะไรแบบนี้ ก็ต้องไปดู TFRIC4 ว่าข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาเช่าหรือไม่ หรืออะไรก็ว่าไป
ดังนั้นมันจะมีส่วนที่คาบเกี่ยว บ้าง ระหว่าง บัญชี 1 + บัญชี 2 ครับ สิ่งที่อยากจะบอก (หากเพื่อนๆทำได้) คือ
เราควรสมัครสอบทั้ง 2 รายวิชาพร้อมกันไปเลย รวดเดียวเก็บให้หมดครับ เพราะเราจะได้เห็นภาพรวมของทุก งบการเงิน อีกทั้งต่อยอดไปสอบ Dip-TFR ในกระทู้ก่อนหน้าได้ด้วย และที่สำคัญที่สุดคือ ความรู้ที่ (ควรจะ) ตกผลึกหลังจากเราอ่านเสร็จครับ ^^
ผมจะแบ่งเป็นหัวข้อหลักๆที่จะมาแชร์กันคือ
1. หนังสือ และเสบียงที่ใช้ในการสอบ
2. การวางแผนอ่านหนังสือ
1. หนังสือที่ผมใช้ในการสอบ
ในส่วนของหนังสือนั้นผมใช้จาก เจ้าสำนัก ที่เดียวครับคือซื้อจากเว็บไซต์ของอาจารย์ ดร. สศ (หาชื่อเอาเองนะครับ ผมว่าไม่ยาก) ซึ่งหนังสือของทั้งวิชา บัญชี1 และ 2 นั้นประกอบด้วย 2 อย่างหลักๆคือ ส่วนที่เป็น
เนื้อหา และข้อสอบช้อยท์
ในหนังสือที่เป็นเนื้อหานั้น จะแบ่งเป็นแต่ละบท ซึ่งในแต่ละบทจะโยงถึงมาตรฐานแต่ละฉบับ และอาจารย์ท่านจะมีส่วนเกริ่นนำ ก็คือสอนให้เรานึกได้ครับเพราะท่านคงรู้ว่านักบัญชีอย่างเราๆ ความรู้หลังจากเรียนจบ แม่น ขนาดไหน และส่วนที่สำคัญที่สุดที่ผมคิดว่ามีในส่วนของเล่มเนื้อหานี้คือ ส่วนที่เป็นโจทย์ข้อสอบเก่าข้อเขียน ที่อาจารย์รวบรวมไว้ ( อาจารย์ยังเมตตาทำเฉลยการสอบแต่ละครั้งไว้ในเว็บไซต์ให้ดูฟรีแก่ทุกๆคนด้วยนะครับไม่ต้องเฉพาะคนที่ซื้อหนังสือครับ ) ซึ่งสิ่งที่ผมทำคือ
1.
ตั้งเป้าว่าวันนี้จะอ่านบทไหนให้จบ หรือถ้าบทไหนมันมากๆ ก็จะกำหนดจำนวนหน้าครับ โดยดูเนื้อหาว่าวันนี้เราควรได้ End Result ที่ตรงไหน เพราะค่อนข้างเข้าใจว่าเราทำงานมาเหนื่อย (ก็ออดิทนิครับ) ก็ต้องมีการกำหนดขอบเขตเพื่อให้มีกฏกับตัวเอง ไม่งั้นเชื่อสิครับว่าถ้าเพื่อนๆไม่กำหนดเป้าหมายในแต่ละวัน หรือกำหนดจากจำนวนชั่วโมงว่าฉันจะอ่าน X ชั่วโมงในวันนั้นๆ เราจะไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหรอกครับ เพราะความเหนื่อย เมื่อย นอย จะมาพรากความตั้งใจของเพื่อนๆเราๆท่านๆไประหว่างทาง ผมเจอมาหมดเลยครับ
2. พอตั้งได้แล้วว่าจะอ่านอะไร ต่อมาคือทุกๆครั้งที่เริ่มบทใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นเนื้อหาในมาตรฐานที่แยกกันในแต่ละบท ผมจะอ่านในส่วน
เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ เพื่อจะทบทวน และรื้อฟื้น ใช้คำว่าขุดน่าจะดีกว่า ว่าเราจะบันทึกบัญชีอย่างไร และมี Logic อะไรที่สำคัญบ้าง และถ้าหนังสือของอาจารย์ สศ ยังไม่กระจ่างพอ ผมจะหาเพิ่มจากอินเตอร์เนต และหรือ ไปเปิดหนังสือตอนเรียนมหาลัยครับ
3. หลังจากเรามั่นใจว่าอ่านในส่วนของเนื้อหา ครอบคลุม ในบทนั้นๆ (มาตรฐานฉบับนั้นๆ) แล้วต่อมาคือเ
ริ่มทำโจทย์ เป็นของข้อสอบ CPA เก่าๆ หรือรวมมาจาก Text Book (ผมเดานะ) ซึ่งพอผมทำโจทย์ข้อเขียนในหนังสือเล่มเนื้อหาเสร็จในแต่ละบท ผมจะย้ายมาหนังสือเล่ม ข้อสอบชอยท์ในส่วนบทนั้นๆ และทำต่อ ทำๆ ทำวนไปครับ โดยผมทำในแต่ละบทไม่ต่ำกว่า 3 รอบโดยผมจะไล่ให้ครบทั้งเล่มก่อน แล้วจะเริ่มอ่านใหม่อีกรอบครับ ซึ่งส่วนที่ยากสุดๆคือรอบแรกที่ทำ เพราะเราทั้งลืม ทั้งไม่แม่น และมึน ก็มักทำไม่ได้เป็นธรรมดา อย่าเพิ่งท้อนะ เพราะหลายๆครั้งที่ผมก็ซึมๆเหมือนกันว่า ทำไมมันยาก หรือเราโง่อะไรอย่างนี้ แต่พอเพื่อนๆเริ่มรอบ สอง หรือ สาม มันจะดีขึ้นมากๆ เพราะเริ่มคุ้นโจทย์ คำพูดหรือลักษณะข้อสอบ
อ่านเนื้อหา > ฝึกโจทย์ข้อเขียน > ฝึกโจทย์ช้อยท์ > ทำวนไป
4. หลังจากที่เราทำวนไปได้ซัก 2 รอบ ผมเชื่อว่าเพื่อนๆจะเริ่มจับทางข้อสอบ และ ประเด็น ในแต่ละมาตรฐานได้แน่นอน สิ่งที่ผมทำคือ
ผมจะจดประเด็นในแต่ละมาตรฐาน (ซึ่งมันก็หมายถึง เรื่องที่สามารถนำมาออกข้อสอบได้) ไว้ตรงหน้าแรกของแต่ละบท เพื่อที่าตอนเราทบทวนเราก็จะอ่านเฉพาะส่วนที่จดตรงนี้แหละ มันจะทำให้เรานึกได้ว่าเออ แต่ละประเด็นเนี่ย สามารถออกมาเป็นโจทย์แนวไหนได้ มีวิธีตอบยังไง ซึ่งพบว่าประหยัดเวลาในตอนหลัง และมีประสิทธิผลทีเดียว
2. การวางแผนอ่านหนังสือ
อย่างที่บอกในหัวข้อข้างต้นไปบ้างแล้วว่าผมจะเริ่มจาก อ่านเนื้อหาในแต่ละบทให้ เรารู้สึกและมั่นใจ ว่าครอบคลุมแล้ว ก็จะทำโจทย์เนื้อหา และ ช้อยท์ต่อในบทนั้นๆ (ลืมบอกไปว่าในส่วนนี้ ถ้าเพื่อนๆสงสัยข้อสอบ หรือการเฉลยของอาจารย์ สศ เพื่อนสามารถอีเมลล์ไปถามอาจารย์โดยตรงได้ อาจารย์จะตอบเร็วมาก อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าท่านเฉลยผิด เพราะผมเห็นบางคนบอกว่ามีการเฉลยผิด แต่ไม่ทำตัวเป็น Active Learner คือสอบถามหาสาเหตุต่อไปครับ ซึ่งไม่เหมาะเท่าไหร่นะผมว่า)
สำหรับการวางแผนผมเพิ่งนึกออกว่าได้กล่าวไปในตอนที่แล้วแล้ว ก็คือใน
https://ppantip.com/topic/36009227/comment5 ซึ่งเพื่อนๆถ้ามีคำถามหรือ อยากให้แชร์อะไรเพิ่มเติมคอมเมนต์ไว้ได้ ยินดีมาตอบเรื่อยๆครับ
สรุปประเด็นของวิชานี้
1. ข้อสอบจะออกจากประเด็นหลักๆของแต่ละมาตรฐาน ดังนั้น การสรุปประเด็นของแต่ละมาตรฐานไว้สำคัญมาก
2. ต้องทำโจทย์ให้เคีลยร์ ด้วยความเข้าใจ เพราะตอนสอบจะมองภาพออก
3. อย่าล้มเลิกระหว่างทาง … John Lennon เคยบอกว่า It’ll be OK in the end,if it’s not OK …it’s not the end. (คมมั้ยล่ะ อิอิ)
แถมจากประสบการณ์
1. อันนี้เป็นเทคนิคละกันสำหรับบางท่านที่อ่าน บัญชี เท่าไหร่ก็รู้สึกยากหรือเหนื่อย คือ บางทีถ้าผมตันๆหรือไม่เข้าใจมาตรฐานเบอร์ไหน ผมมักจะมองกลับมุมโดยสมมุติว่าเราเป็น ผู้ใช้งบการเงิน (นักลงทุน นายแบงค์ หรือตัวเจ้าของบริษัทเอง) ว่าเราอยากเห็นอะไรมาตัดสินใจ และหรือเราตั้งใจให้บริษัททำรายการนั้นๆเพื่ออะไร เช่น ลงทุนในหุ้น เพื่อเก็งกำไร หรือเพื่อครอบครองอีกกิจการ ก็สะท้อนมายังการจัดประเภทเงินลงทุน อะไรก็ว่ากันไป
2. ให้สมัครสอบทุกครั้ง 2 วิชาขึ้นไป เพราะในแต่ละรอบ ความยากง่ายของแต่ละวิชาต่างกัน ถ้าเราลงเพียงวิชาเดียวในแต่ละครั้ง บางทีมันจะเสี่ยงต่อการเจอ รอบยาก หรือง่ายมากไป ดังนั้นการลง 2 วิชาอัพ จะช่วยเพิ่มเปอร์เซนต์การสอบผ่านได้นะครับผมว่า
ขอบคุณมากๆที่มาอ่านถึงตรงนี้ มีอะไรก็พูดคุยได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.facebook.com/WhollyHallBuncheeTax
ขอบคุณครับ
Happy year end ชาวออดิท :]
(edit แปะลิงค์เพจ Facbook ครับ)
(EP4) แชร์วิธีการเตรียมตัว วางแผนการสอบ License CPA : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
พอดีเพิ่งเปิดเพจเฟซบุ้คครับ แวะไปได้นะครับผม ความรู้บัญชีภาษีต่างๆครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การบัญชีนี้ หลายๆคนมักแนะนำให้สอบเป็นวิชาแรกสุด เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่า หลายๆท่านเพิ่งเรียนจบมหาวทิยาลัย ความรู้ด้านมาตรฐานต่างๆยังแน่น (มั้ย?) และอีกเหตุผลคือ มาตรฐานสมัยนี้ทางสภาวิชาชีพค่อนข้าง ขยัน ประยุกต์ใช้มาตรฐานใหม่ๆแทบทุกปีครับ ดังนั้นถ้ายิ่งสอบช้า มาตรฐานใหม่ๆ ซึ่งอาจรวมถึงการบันทึกบัญชี เปิดเผยข้อมูล ก็จะยิ่งแปลกหูแปลกตาเราไปด้วย นี่เป็น 2 สาเหตุหลักที่หลายท่านแนะนำให้สอบวิชานี้ก่อนครับ
แต่สำหรับผม ตอนที่เริ่มสอบนั้นผมสอบวิชา กฏหมาย1 ก่อนเนื่องด้วย อยากได้กำลังใจครับ 55เพราะเป็นวิชาที่เขาว่า ง่ายที่สุด และต่อมาจึงสอบวิชากฏหมาย2 ในครั้งถัดมา และจึงสอบวิชาบัญชี 1 และ 2 พร้อมกันครับ ดังนั้นใครใคร่สอบอย่างไร ก็ลองพิจรณาดูครับ
ส่วนเนื้อหาหลักๆที่ทางสภาวิชาชีพกำหนดของวิชาการบัญชี 1 เข้าไปดูได้ใน http://www.fap.or.th/images/column_1359011230/1_Accounting%201%20271259.pdf
และการบัญชี 2 เข้าไปดูได้ใน
http://www.fap.or.th/images/column_1359011230/2_Accounting%202%20271259.pdf
วิชา การบัญชี ของการสอบ CPA นั้นจะแยกเป็น 2 รายวิชาการสอบย่อยนั่นคือ การบัญชี 1 + การบัญชี 2 ซึ่งเนื้อหาของแต่ละฉบับนั้นต่างกัน ซึ่งถ้าจะพูดโดยภาพ รวมแบบหยาบๆ คือการบัญชี 1 นั้นจะเน้นไปที่ งบแสดงฐานะการเงิน (สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ) และการบัญชี 2 นั้นจะรวมเนื้อหาเกี่ยวกับ งบกำไรขาดทุนและงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสเร็จอื่น (รายได้ ค่าใช้จ่าย) อย่างไรก็ตามในแต่ละเนื้อหาย่อยที่แฝงอยู่ด้านในข้อสอบ อาจจะมีเนื้อหาของอีกฝั่งหนึ่งแทรกอยู่ได้ เช่น การบัญชี 1 ที่บอกว่าเป็นฝั่งของ สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ก็อาจจะรวมถึงด้าน รายได้ ค่าใช้จ่ายบ้างครับ เช่นการตีราคาในหลักทรัพย์เพื่อค้า (ฝั่งสินทรัพย์) ก็ย่อมสะเทือนฝั่งรายได้ซึ่งคือ กำไร/ขาดทุนจากการตีราคา หรืออาจจะมาในรูปของพวกการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินหรือการบัญชี (TFRIC / TSIC) เช่นธุรกิจที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ที่มีลักษณะเฉพาะ (เช่นพวกโรงไฟฟ้า) ถ้ามีการทำรายการระหว่างกันซื้อขายหรืออะไรแบบนี้ ก็ต้องไปดู TFRIC4 ว่าข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาเช่าหรือไม่ หรืออะไรก็ว่าไป
ดังนั้นมันจะมีส่วนที่คาบเกี่ยว บ้าง ระหว่าง บัญชี 1 + บัญชี 2 ครับ สิ่งที่อยากจะบอก (หากเพื่อนๆทำได้) คือ เราควรสมัครสอบทั้ง 2 รายวิชาพร้อมกันไปเลย รวดเดียวเก็บให้หมดครับ เพราะเราจะได้เห็นภาพรวมของทุก งบการเงิน อีกทั้งต่อยอดไปสอบ Dip-TFR ในกระทู้ก่อนหน้าได้ด้วย และที่สำคัญที่สุดคือ ความรู้ที่ (ควรจะ) ตกผลึกหลังจากเราอ่านเสร็จครับ ^^
ผมจะแบ่งเป็นหัวข้อหลักๆที่จะมาแชร์กันคือ
1. หนังสือ และเสบียงที่ใช้ในการสอบ
2. การวางแผนอ่านหนังสือ
1. หนังสือที่ผมใช้ในการสอบ
ในส่วนของหนังสือนั้นผมใช้จาก เจ้าสำนัก ที่เดียวครับคือซื้อจากเว็บไซต์ของอาจารย์ ดร. สศ (หาชื่อเอาเองนะครับ ผมว่าไม่ยาก) ซึ่งหนังสือของทั้งวิชา บัญชี1 และ 2 นั้นประกอบด้วย 2 อย่างหลักๆคือ ส่วนที่เป็นเนื้อหา และข้อสอบช้อยท์
ในหนังสือที่เป็นเนื้อหานั้น จะแบ่งเป็นแต่ละบท ซึ่งในแต่ละบทจะโยงถึงมาตรฐานแต่ละฉบับ และอาจารย์ท่านจะมีส่วนเกริ่นนำ ก็คือสอนให้เรานึกได้ครับเพราะท่านคงรู้ว่านักบัญชีอย่างเราๆ ความรู้หลังจากเรียนจบ แม่น ขนาดไหน และส่วนที่สำคัญที่สุดที่ผมคิดว่ามีในส่วนของเล่มเนื้อหานี้คือ ส่วนที่เป็นโจทย์ข้อสอบเก่าข้อเขียน ที่อาจารย์รวบรวมไว้ ( อาจารย์ยังเมตตาทำเฉลยการสอบแต่ละครั้งไว้ในเว็บไซต์ให้ดูฟรีแก่ทุกๆคนด้วยนะครับไม่ต้องเฉพาะคนที่ซื้อหนังสือครับ ) ซึ่งสิ่งที่ผมทำคือ
1. ตั้งเป้าว่าวันนี้จะอ่านบทไหนให้จบ หรือถ้าบทไหนมันมากๆ ก็จะกำหนดจำนวนหน้าครับ โดยดูเนื้อหาว่าวันนี้เราควรได้ End Result ที่ตรงไหน เพราะค่อนข้างเข้าใจว่าเราทำงานมาเหนื่อย (ก็ออดิทนิครับ) ก็ต้องมีการกำหนดขอบเขตเพื่อให้มีกฏกับตัวเอง ไม่งั้นเชื่อสิครับว่าถ้าเพื่อนๆไม่กำหนดเป้าหมายในแต่ละวัน หรือกำหนดจากจำนวนชั่วโมงว่าฉันจะอ่าน X ชั่วโมงในวันนั้นๆ เราจะไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหรอกครับ เพราะความเหนื่อย เมื่อย นอย จะมาพรากความตั้งใจของเพื่อนๆเราๆท่านๆไประหว่างทาง ผมเจอมาหมดเลยครับ
2. พอตั้งได้แล้วว่าจะอ่านอะไร ต่อมาคือทุกๆครั้งที่เริ่มบทใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นเนื้อหาในมาตรฐานที่แยกกันในแต่ละบท ผมจะอ่านในส่วนเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ เพื่อจะทบทวน และรื้อฟื้น ใช้คำว่าขุดน่าจะดีกว่า ว่าเราจะบันทึกบัญชีอย่างไร และมี Logic อะไรที่สำคัญบ้าง และถ้าหนังสือของอาจารย์ สศ ยังไม่กระจ่างพอ ผมจะหาเพิ่มจากอินเตอร์เนต และหรือ ไปเปิดหนังสือตอนเรียนมหาลัยครับ
3. หลังจากเรามั่นใจว่าอ่านในส่วนของเนื้อหา ครอบคลุม ในบทนั้นๆ (มาตรฐานฉบับนั้นๆ) แล้วต่อมาคือเริ่มทำโจทย์ เป็นของข้อสอบ CPA เก่าๆ หรือรวมมาจาก Text Book (ผมเดานะ) ซึ่งพอผมทำโจทย์ข้อเขียนในหนังสือเล่มเนื้อหาเสร็จในแต่ละบท ผมจะย้ายมาหนังสือเล่ม ข้อสอบชอยท์ในส่วนบทนั้นๆ และทำต่อ ทำๆ ทำวนไปครับ โดยผมทำในแต่ละบทไม่ต่ำกว่า 3 รอบโดยผมจะไล่ให้ครบทั้งเล่มก่อน แล้วจะเริ่มอ่านใหม่อีกรอบครับ ซึ่งส่วนที่ยากสุดๆคือรอบแรกที่ทำ เพราะเราทั้งลืม ทั้งไม่แม่น และมึน ก็มักทำไม่ได้เป็นธรรมดา อย่าเพิ่งท้อนะ เพราะหลายๆครั้งที่ผมก็ซึมๆเหมือนกันว่า ทำไมมันยาก หรือเราโง่อะไรอย่างนี้ แต่พอเพื่อนๆเริ่มรอบ สอง หรือ สาม มันจะดีขึ้นมากๆ เพราะเริ่มคุ้นโจทย์ คำพูดหรือลักษณะข้อสอบ
อ่านเนื้อหา > ฝึกโจทย์ข้อเขียน > ฝึกโจทย์ช้อยท์ > ทำวนไป
4. หลังจากที่เราทำวนไปได้ซัก 2 รอบ ผมเชื่อว่าเพื่อนๆจะเริ่มจับทางข้อสอบ และ ประเด็น ในแต่ละมาตรฐานได้แน่นอน สิ่งที่ผมทำคือ ผมจะจดประเด็นในแต่ละมาตรฐาน (ซึ่งมันก็หมายถึง เรื่องที่สามารถนำมาออกข้อสอบได้) ไว้ตรงหน้าแรกของแต่ละบท เพื่อที่าตอนเราทบทวนเราก็จะอ่านเฉพาะส่วนที่จดตรงนี้แหละ มันจะทำให้เรานึกได้ว่าเออ แต่ละประเด็นเนี่ย สามารถออกมาเป็นโจทย์แนวไหนได้ มีวิธีตอบยังไง ซึ่งพบว่าประหยัดเวลาในตอนหลัง และมีประสิทธิผลทีเดียว
2. การวางแผนอ่านหนังสือ
อย่างที่บอกในหัวข้อข้างต้นไปบ้างแล้วว่าผมจะเริ่มจาก อ่านเนื้อหาในแต่ละบทให้ เรารู้สึกและมั่นใจ ว่าครอบคลุมแล้ว ก็จะทำโจทย์เนื้อหา และ ช้อยท์ต่อในบทนั้นๆ (ลืมบอกไปว่าในส่วนนี้ ถ้าเพื่อนๆสงสัยข้อสอบ หรือการเฉลยของอาจารย์ สศ เพื่อนสามารถอีเมลล์ไปถามอาจารย์โดยตรงได้ อาจารย์จะตอบเร็วมาก อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าท่านเฉลยผิด เพราะผมเห็นบางคนบอกว่ามีการเฉลยผิด แต่ไม่ทำตัวเป็น Active Learner คือสอบถามหาสาเหตุต่อไปครับ ซึ่งไม่เหมาะเท่าไหร่นะผมว่า)
สำหรับการวางแผนผมเพิ่งนึกออกว่าได้กล่าวไปในตอนที่แล้วแล้ว ก็คือใน https://ppantip.com/topic/36009227/comment5 ซึ่งเพื่อนๆถ้ามีคำถามหรือ อยากให้แชร์อะไรเพิ่มเติมคอมเมนต์ไว้ได้ ยินดีมาตอบเรื่อยๆครับ
สรุปประเด็นของวิชานี้
1. ข้อสอบจะออกจากประเด็นหลักๆของแต่ละมาตรฐาน ดังนั้น การสรุปประเด็นของแต่ละมาตรฐานไว้สำคัญมาก
2. ต้องทำโจทย์ให้เคีลยร์ ด้วยความเข้าใจ เพราะตอนสอบจะมองภาพออก
3. อย่าล้มเลิกระหว่างทาง … John Lennon เคยบอกว่า It’ll be OK in the end,if it’s not OK …it’s not the end. (คมมั้ยล่ะ อิอิ)
แถมจากประสบการณ์
1. อันนี้เป็นเทคนิคละกันสำหรับบางท่านที่อ่าน บัญชี เท่าไหร่ก็รู้สึกยากหรือเหนื่อย คือ บางทีถ้าผมตันๆหรือไม่เข้าใจมาตรฐานเบอร์ไหน ผมมักจะมองกลับมุมโดยสมมุติว่าเราเป็น ผู้ใช้งบการเงิน (นักลงทุน นายแบงค์ หรือตัวเจ้าของบริษัทเอง) ว่าเราอยากเห็นอะไรมาตัดสินใจ และหรือเราตั้งใจให้บริษัททำรายการนั้นๆเพื่ออะไร เช่น ลงทุนในหุ้น เพื่อเก็งกำไร หรือเพื่อครอบครองอีกกิจการ ก็สะท้อนมายังการจัดประเภทเงินลงทุน อะไรก็ว่ากันไป
2. ให้สมัครสอบทุกครั้ง 2 วิชาขึ้นไป เพราะในแต่ละรอบ ความยากง่ายของแต่ละวิชาต่างกัน ถ้าเราลงเพียงวิชาเดียวในแต่ละครั้ง บางทีมันจะเสี่ยงต่อการเจอ รอบยาก หรือง่ายมากไป ดังนั้นการลง 2 วิชาอัพ จะช่วยเพิ่มเปอร์เซนต์การสอบผ่านได้นะครับผมว่า
ขอบคุณมากๆที่มาอ่านถึงตรงนี้ มีอะไรก็พูดคุยได้ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ขอบคุณครับ
Happy year end ชาวออดิท :]
(edit แปะลิงค์เพจ Facbook ครับ)