สวัสดีครับ หลังจากที่ผมตั้งกระทู้ก่อนหน้าไปบ้างเกี่ยวกับเทคนิค ส่วนตัวรวมถึง ที่เคยได้ยินมาในกระทู้ก่อนหน้าไป 2 หัวข้อแล้ว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://ppantip.com/topic/36009227 https://ppantip.com/topic/36009227/comment5 พอดีเพิ่งมีเวลามาเขียนต่อครับเพราะคงรู้กันดีว่าชาว ออดิทอย่างเรา ช่วงนี้ชีวิตมีค่ามากขนาดไหน คือ.... ห้ามป่วยห้ามตายครับ เพราะช่วงนี้ที่เรารู้จักกันดีคือ Year End! หรือ Final Audit นั่นเอง
**พอดีเพิ่งเปิดเพจเฟซบุ้คครับ แวะไปได้นะครับผม ความรู้บัญชีภาษีต่างๆครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.facebook.com/WhollyHallBuncheeTax
เอาเป็นว่ากระทู้ที่ผมจะมาต่อวันนี้ก็ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเตรียมตัว วางแผนการสอบ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตครับ หรือ CPA แต่หัวข้อนี้อาจจะมีข้อมูลที่ผมไม่มั่นใจว่าจะเรียกเทคนิค หรือปล่าว แต่ความคิดผมคือ มันอาจจะช่วยให้เพื่อนๆหลายท่านมีกำลังใจเพิ่มขึ้นในการสอบครับ เพราะจะพูดเกี่ยวกับ
การสอบอื่นๆที่สามารถต่อยอด ได้จากการสอบ CPA จึงตั้งชื่อ EP นี้ว่า
EP3 ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว ครับผมม
อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า CPA มีหน้าที่ในการแสดงความเห็นต่องบการเงิน จากการตรวจสอบซึ่ง CPA ท่านนั้นๆจะใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ซึ่งรวมถึงดุลยพินิจ ในการเลือกใช้วิธีการตรวจสอบครับ แต่ก็ยังมี License หรือ ประกาศยณียบัตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเนื้อหาการสอบ และสามารถใช้ประสบการณ์การตรวจสอบนี้ ไปต่อยอด หรือไปสอบเพิ่มเติมได้นั่นเอง (ไหนๆก็อ่านแล้วนี่เนอะ) ดังนั้นผมจะยกตัวอย่างการสอบ
สองชนิดที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับความรู้ที่ใช้สอบ CPA ครับ แต่ถ้าเพื่อนๆคนไหนมีสิ่งแนะนำก็สามารถ คอมเมนท์เพิ่มเติมได้นะครับ ผมก็ยังอยากรู้เพิ่มเติมครับ
1. Tax Auditor - TA
Cr.
http://www.propertymolise.com/purchase-taxes/
อย่างแรกที่จะมานำเสนอก็คือ Tax Auditor ครับหรือ TA นั่นเอง โดยผมค่อนข้าง
เชื่อมั่นอย่างสมเกตุสมผล ว่าเพื่อนๆหลายท่านคงคุ้นเคย หรือรู้จัก TA นี้ไม่มากก็น้อย เพราะ License นี้พูดง่ายๆก็สามารถถือได้ว่าเป็น ซับเซ็ต หนึ่งของ CPA ครับถ้ามองในมุม เนื้อหาที่สอบ และหน้าที่ในการตรวจสอบงบการเงิน แต่สำหรับ TA นั้นจะขึ้นอยู่กับทาง กรมสรรพากร เป็นหลักครับ
ส่วนนี้เป็นสิ่งแตกต่างใน ภาพรวมสำหรับ TA / CPA ครับ
Cr.
http://www.rd.go.th/publish/25631.0.html
Tax Auditor จะทำหน้าที่
ตรวจสอบและรับรองบัญชี โดยต่าจาก CPA ที่ทำการ
แสดงความเห็นจากการตรวจสอบครับ อย่างไรก็ตามผมมองว่าการตรวจสอบนั้นยังอาศัยหลักการพื้นฐานเดียวกันทั้งความรู้ทางบัญชี กฏหมายภาษีอากร และวิธีการตรวจสอบ ซึ่งถ้ามองใน รายวิชาที่ใช้สอบแล้ว TA จะประกอบด้วย 3 วิชาเช่นเดียวกับ CPA ครับ แต่ไม่มีการแตกย่อยแต่ละวิชาเป็น 2 ฉบับ (TA 3 รายวิชา และ CPA 6 รายวิชา) อย่างไรก็ตามเนื้อหาการสอบโดยเฉพาะส่วนของ กฏหมายและภาษีอากร ของ TA นั้นจะมีขอบเขตที่จำกัดอยู่ที่ ห้างหุ้นส่วน ครับ
เพราะ Tax Auditor สามารถเซ็นรับรองงบการเงินได้เฉพาะ
ห้างหุ้นส่วน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) และ มีขนาดเล็กครับ ในขณะที่ CPA จะสามารถเซ็นรับรองแสดงความเห็นได้ทั้ง
ห้างหุ้นส่วน และบริษัท ครับดังนั้นก็ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม เนื้อหาการสอบ ของ TA จะค่อนข้างน้อยกว่า CPA ครับ
แต่ในมุมมองของผม การสอบ TA ไม่ได้ง่ายกว่า CPA เลยครับ อาจเป็นเพราะตอนที่เราๆเรียนวิชาต่างๆในมหาวิทยาลัย เรามักจะไม่ค่อยได้แตะส่วนของ ห้างหุ้นส่วน เท่าใดนัก นั่นจึงอาจทำให้เกิดความไม่คุ้นชินก็เป็นได้ครับ (ส่วนตัวผมสอบ กฏหมาย1 + 2 ของ CPA ผ่านในรอบเดียว แต่กฏหมายของ TA ผมสอบไป 2 รอบครับ)
แต่ในรายวิชาบัญชีที่ใช้ในการสอบ TA นั้นผมมองว่าค่อนข้างเบากว่า CPA อาจเป็นเพราะมีเพียงฉบับเดียวและ ไม่ได้อิงตามมาตรฐานฉบับใหญ่ (TFRS) เต็มรูปแบบดังนั้น เพื่อนๆที่กำลังอ่านวิชาบัญชี หรือมีความตั้งใจจะสอบวิชาบัญชีของ CPA สามารถลงสมัครสอบวิชานี้ของ TA ได้ครับโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนๆที่กำลังเตรียมตัวสอบ วิชาบัญชี2 CPA อยู่ เพราะเนื้อหาข้อเขียนของ TA มักจะหรือค่อนข้างแน่ที่จะออก การคำนวณต้นทุนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาบัญชี 2 ของ CPA ครับ ส่วนวิชาการสอบบัญชีผมมองว่าค่อนข้างเหมือนกัน ยกเว้นหน้ารายงานที่ต่างกันอย่างชัดเจน ลองเสิจหาเอาดูนะครับ ซึ่งถ้ามองแล้วเพื่อนที่สอบ วิชาการตรวจสอบหรือ Audit ของ CPA ก็สามารถที่จะสมัคร TA ในรายวิชานี้ได้เช่นกันเพียงแต่เตรียมตัวเพิ่มเติมในส่วนของหน้ารายงานที่ใข้กับ TA ครับผม
2. Diploma in Thai financial reporting : Dip-TFR
Cr.
http://www.charterededucation.com/acca-diploma-in-international-financial-reporting-standards-dipifr
อันดับต่อมาที่จะแนะนำก็คือ Diploma in Thai Financial Standard ครับหรือมีขื่อเล่นว่า Dip-TFR เพื่อนๆหลายคนอาจงงว่าทำไมในรูปข้างบนเป็น Dip-IFR นั่นก็เพราะการสอบนี้เกิดขึ้นในต่างประเทศก่อนหน้าที่จะถูกนำเข้ามาโดยสภาวิชาชีพบัญชีครับ ซึ่งเป็นการสอบที่จัดโดย ACCA นั่นเองโดยประกาศนียบัตรนี้จะไม่เกี่ยวกับ ออดิทครับ (อ้าาววว แล้วมาบอกทำไม) แต่จะใช้ความรู้ด้านการบัญชีที่ลึกซึ้ง (มาก) โดยการสอบ Dip-IFR และ Dip-TFR นั้นมีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันแต่ต่างกันที่ ภาษา ที่ใช้ในการสอบนั่นเอง
ประกาศนียบัตรนี้เกี่ยวกับฝั่งผู้
ทำบัญชี นั่นเองโดยการสอบประกาศนียบัตรนี้ใช้ความรู้ทางด้าน บัญชี โดยอ้างอิงจากมาตรฐานฉบับเต็ม หรือ TFRS ครับซึ่งเหมาะมากสำหรับ ผู้ทำบัญชีโดยใช้มาตรฐานฉบับใหญ่ ซึ่งส่วนมากคือ ผู้ที่อยู่ในบริษัทมหาชน หรือ บริษัทแม่หรือบริษัทในเครือครับ หลายๆคนอาจสงสัยว่าแล้วจะสอบไปทำไม ....คือประโยชน์ของประกาศนียบัตรนี้สามารถรับรองความรู้ทางด้านบัญชีตามมตรฐานสากล (IFRS) และเป็นที่ยอมรับและรู้จักกว้างขวางในต่างประเทศครับ โดยผมมองว่าเปรียบเหมือน CPA ที่จะสามารถเซ็นตรวจสอบงบการเงินของ บริษัทมหาชน ได้นั้นจะต้องได้การยอมรับจาก กลต บ้านเราก่อน ดังนั้นในส่วนของผู้ทำบัญชีของบริษัทมหาชน ก็ควรที่จะมีการทดสอบความรู้เช่นเดียวกัน ดังนั้นสภาวิชาชีพจึงนำการทดสอบนี้มาใช้ในไทยครับ อย่างไรก็ตามในประเทศเรายังไม่มีการบังคับใช้ว่าถ้าจะทำบัญชีในบริษัทมหาชนนั้น จะต้องมีใบประกาศใบนี้ครับ
Cr.
http://www.fap.or.th/
ถ้าสอบได้จะเกิดอะไรขึ้น ? แน่นอนว่าคุณจะได้รับการยอมรับโดยเฉพาะความก้าวหน้าในสายงานในบริษัทมหาชน หรือบริษัทที่ต้องมีการจัดทำงบการเงินรวม ครับเพราะความรู้ทางบัญชีที่ถูกใช้ในการสอบ Dip-TFR นี้เรียกได้ว่าหินมากกว่า ลึกมากกว่า และเครียดมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ วิชาบัญชี ของ CPA ครับ และประโยชน์อย่างอื่นคือ คุณสามารถใช้คำว่า Dip-TFR ต่อหลังนามบัตรได้ด้วย
ประโยชน์อีกมิติหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าข้างต้นคือ ถ้าคุณสอบในประกาศฉบับนี้ได้คุณจะได้รับการ เชิญ จาก
สภาวิชาชีพบัญชีให้ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และมอบประกาศนียบัตรจากคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องครับ *0* มากกว่านั้นคือคุณจะได้ถูกสัมภาษณ์และตีพิมพ์ลงใน วารสารของสภาวิชาชีพในเดือนถัดมาครับ ^^
ถ้าเพื่อนคนไหนที่กำลังเตรียมตัวสอบวิชาบัญชีของ CPA อยู่พอดีก็อยากจะเชื้อเชิญให้ไปสอบ Dip-TFR กันต่อนะครับ เพราะในอนาคตเราๆท่านๆก็คงต้องยุ่งเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางเงิน ไม่มากก็น้อย และยังเป็นเหมือนตรารับรองว่า ความรู้ทางมาตรฐานฯนั้น มากพอที่จะอยู่ในตำแหน่งที่ต้องใช้ความรู้ทางบัญชีหนักๆด้วยครับ ซึ่งสำหรับเนื้อหาการสอบก็จะล้อตามมาตรฐานที่ใช้ในการสอบวิชา บัญชีของ CPA ทั้งวิชาบัญชี 1 + 2 ครับแต่จะค่อนข้างลึกลับซับซ้อน และอาศัยความคิดที่หนักกว่า โดยข้อสอบจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนแรกจะเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินรวม 40 คะแนน และส่วนที่สองจะมาพร้อมกัน 4 ข้อโดยผู้สอบสามารถเลือกทำ 3 ข้อครับ ซึ่งทั้งหมดคือการสอบแบบ เขียนล้วนๆ โดยปัจจุบันการสอบนี้จัดสอบปีละ 2 ครั้งและมีผู้ผ่านการทดสอบ ไม่ถึง 20 คนทั้งประเทศครับ (ธันวาคม 2559)
สำหรับกระทู้นี้ผมเรียกว่า แวะมาแนะนำ สิ่งที่เปรียบเสมือนผลพลอยได้จากการอ่าน CPA อันหนักหน่วง เพื่ออาจจะกระตุ้นหรือเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆได้ครับ หัวข้อถัดไปเดี๋ยวจะมาต่อให้ครับ
ในสิ่งที่เกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบ CPA ในแต่ละรายวิชา
ปล สำหรับใครที่สนสมัครสอบ Tax Auditor สามารถแวะดูข้อมูลได้ที่ (กำลังเปิดรับสมัครรอบ 1/2560) >>>
http://www.rd.go.th/publish/16532.0.html
ส่วนการสมัคร Dip-TFR นั้นสามารถเยี่ยมชมได้ที่ เว็บไซต์สภาวิชาชีพบัญชีครับหรือ โทรไปสอบถามก็ได้ครับ >>>
http://www.fap.or.th/index.php
**พอดีเพิ่งเปิดเพจเฟซบุ้คครับ แวะไปได้นะครับผม ความรู้บัญชีภาษีต่างๆครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.facebook.com/WhollyHallBuncheeTax
[แวะมา edit แปะลิงคเพจเฟซบุ้คครับผมม]
(EP3) แชร์วิธีการเตรียมตัว วางแผนการสอบ License CPA : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
**พอดีเพิ่งเปิดเพจเฟซบุ้คครับ แวะไปได้นะครับผม ความรู้บัญชีภาษีต่างๆครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เอาเป็นว่ากระทู้ที่ผมจะมาต่อวันนี้ก็ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเตรียมตัว วางแผนการสอบ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตครับ หรือ CPA แต่หัวข้อนี้อาจจะมีข้อมูลที่ผมไม่มั่นใจว่าจะเรียกเทคนิค หรือปล่าว แต่ความคิดผมคือ มันอาจจะช่วยให้เพื่อนๆหลายท่านมีกำลังใจเพิ่มขึ้นในการสอบครับ เพราะจะพูดเกี่ยวกับ การสอบอื่นๆที่สามารถต่อยอด ได้จากการสอบ CPA จึงตั้งชื่อ EP นี้ว่า
EP3 ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว ครับผมม
อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า CPA มีหน้าที่ในการแสดงความเห็นต่องบการเงิน จากการตรวจสอบซึ่ง CPA ท่านนั้นๆจะใช้ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ซึ่งรวมถึงดุลยพินิจ ในการเลือกใช้วิธีการตรวจสอบครับ แต่ก็ยังมี License หรือ ประกาศยณียบัตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเนื้อหาการสอบ และสามารถใช้ประสบการณ์การตรวจสอบนี้ ไปต่อยอด หรือไปสอบเพิ่มเติมได้นั่นเอง (ไหนๆก็อ่านแล้วนี่เนอะ) ดังนั้นผมจะยกตัวอย่างการสอบสองชนิดที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับความรู้ที่ใช้สอบ CPA ครับ แต่ถ้าเพื่อนๆคนไหนมีสิ่งแนะนำก็สามารถ คอมเมนท์เพิ่มเติมได้นะครับ ผมก็ยังอยากรู้เพิ่มเติมครับ
1. Tax Auditor - TA
Cr. http://www.propertymolise.com/purchase-taxes/
อย่างแรกที่จะมานำเสนอก็คือ Tax Auditor ครับหรือ TA นั่นเอง โดยผมค่อนข้างเชื่อมั่นอย่างสมเกตุสมผล ว่าเพื่อนๆหลายท่านคงคุ้นเคย หรือรู้จัก TA นี้ไม่มากก็น้อย เพราะ License นี้พูดง่ายๆก็สามารถถือได้ว่าเป็น ซับเซ็ต หนึ่งของ CPA ครับถ้ามองในมุม เนื้อหาที่สอบ และหน้าที่ในการตรวจสอบงบการเงิน แต่สำหรับ TA นั้นจะขึ้นอยู่กับทาง กรมสรรพากร เป็นหลักครับ
ส่วนนี้เป็นสิ่งแตกต่างใน ภาพรวมสำหรับ TA / CPA ครับ
Cr.http://www.rd.go.th/publish/25631.0.html
Tax Auditor จะทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองบัญชี โดยต่าจาก CPA ที่ทำการแสดงความเห็นจากการตรวจสอบครับ อย่างไรก็ตามผมมองว่าการตรวจสอบนั้นยังอาศัยหลักการพื้นฐานเดียวกันทั้งความรู้ทางบัญชี กฏหมายภาษีอากร และวิธีการตรวจสอบ ซึ่งถ้ามองใน รายวิชาที่ใช้สอบแล้ว TA จะประกอบด้วย 3 วิชาเช่นเดียวกับ CPA ครับ แต่ไม่มีการแตกย่อยแต่ละวิชาเป็น 2 ฉบับ (TA 3 รายวิชา และ CPA 6 รายวิชา) อย่างไรก็ตามเนื้อหาการสอบโดยเฉพาะส่วนของ กฏหมายและภาษีอากร ของ TA นั้นจะมีขอบเขตที่จำกัดอยู่ที่ ห้างหุ้นส่วน ครับ
เพราะ Tax Auditor สามารถเซ็นรับรองงบการเงินได้เฉพาะ ห้างหุ้นส่วน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) และ มีขนาดเล็กครับ ในขณะที่ CPA จะสามารถเซ็นรับรองแสดงความเห็นได้ทั้ง ห้างหุ้นส่วน และบริษัท ครับดังนั้นก็ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม เนื้อหาการสอบ ของ TA จะค่อนข้างน้อยกว่า CPA ครับ แต่ในมุมมองของผม การสอบ TA ไม่ได้ง่ายกว่า CPA เลยครับ อาจเป็นเพราะตอนที่เราๆเรียนวิชาต่างๆในมหาวิทยาลัย เรามักจะไม่ค่อยได้แตะส่วนของ ห้างหุ้นส่วน เท่าใดนัก นั่นจึงอาจทำให้เกิดความไม่คุ้นชินก็เป็นได้ครับ (ส่วนตัวผมสอบ กฏหมาย1 + 2 ของ CPA ผ่านในรอบเดียว แต่กฏหมายของ TA ผมสอบไป 2 รอบครับ)
แต่ในรายวิชาบัญชีที่ใช้ในการสอบ TA นั้นผมมองว่าค่อนข้างเบากว่า CPA อาจเป็นเพราะมีเพียงฉบับเดียวและ ไม่ได้อิงตามมาตรฐานฉบับใหญ่ (TFRS) เต็มรูปแบบดังนั้น เพื่อนๆที่กำลังอ่านวิชาบัญชี หรือมีความตั้งใจจะสอบวิชาบัญชีของ CPA สามารถลงสมัครสอบวิชานี้ของ TA ได้ครับโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนๆที่กำลังเตรียมตัวสอบ วิชาบัญชี2 CPA อยู่ เพราะเนื้อหาข้อเขียนของ TA มักจะหรือค่อนข้างแน่ที่จะออก การคำนวณต้นทุนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาบัญชี 2 ของ CPA ครับ ส่วนวิชาการสอบบัญชีผมมองว่าค่อนข้างเหมือนกัน ยกเว้นหน้ารายงานที่ต่างกันอย่างชัดเจน ลองเสิจหาเอาดูนะครับ ซึ่งถ้ามองแล้วเพื่อนที่สอบ วิชาการตรวจสอบหรือ Audit ของ CPA ก็สามารถที่จะสมัคร TA ในรายวิชานี้ได้เช่นกันเพียงแต่เตรียมตัวเพิ่มเติมในส่วนของหน้ารายงานที่ใข้กับ TA ครับผม
2. Diploma in Thai financial reporting : Dip-TFR
Cr.http://www.charterededucation.com/acca-diploma-in-international-financial-reporting-standards-dipifr
อันดับต่อมาที่จะแนะนำก็คือ Diploma in Thai Financial Standard ครับหรือมีขื่อเล่นว่า Dip-TFR เพื่อนๆหลายคนอาจงงว่าทำไมในรูปข้างบนเป็น Dip-IFR นั่นก็เพราะการสอบนี้เกิดขึ้นในต่างประเทศก่อนหน้าที่จะถูกนำเข้ามาโดยสภาวิชาชีพบัญชีครับ ซึ่งเป็นการสอบที่จัดโดย ACCA นั่นเองโดยประกาศนียบัตรนี้จะไม่เกี่ยวกับ ออดิทครับ (อ้าาววว แล้วมาบอกทำไม) แต่จะใช้ความรู้ด้านการบัญชีที่ลึกซึ้ง (มาก) โดยการสอบ Dip-IFR และ Dip-TFR นั้นมีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกันแต่ต่างกันที่ ภาษา ที่ใช้ในการสอบนั่นเอง
ประกาศนียบัตรนี้เกี่ยวกับฝั่งผู้ ทำบัญชี นั่นเองโดยการสอบประกาศนียบัตรนี้ใช้ความรู้ทางด้าน บัญชี โดยอ้างอิงจากมาตรฐานฉบับเต็ม หรือ TFRS ครับซึ่งเหมาะมากสำหรับ ผู้ทำบัญชีโดยใช้มาตรฐานฉบับใหญ่ ซึ่งส่วนมากคือ ผู้ที่อยู่ในบริษัทมหาชน หรือ บริษัทแม่หรือบริษัทในเครือครับ หลายๆคนอาจสงสัยว่าแล้วจะสอบไปทำไม ....คือประโยชน์ของประกาศนียบัตรนี้สามารถรับรองความรู้ทางด้านบัญชีตามมตรฐานสากล (IFRS) และเป็นที่ยอมรับและรู้จักกว้างขวางในต่างประเทศครับ โดยผมมองว่าเปรียบเหมือน CPA ที่จะสามารถเซ็นตรวจสอบงบการเงินของ บริษัทมหาชน ได้นั้นจะต้องได้การยอมรับจาก กลต บ้านเราก่อน ดังนั้นในส่วนของผู้ทำบัญชีของบริษัทมหาชน ก็ควรที่จะมีการทดสอบความรู้เช่นเดียวกัน ดังนั้นสภาวิชาชีพจึงนำการทดสอบนี้มาใช้ในไทยครับ อย่างไรก็ตามในประเทศเรายังไม่มีการบังคับใช้ว่าถ้าจะทำบัญชีในบริษัทมหาชนนั้น จะต้องมีใบประกาศใบนี้ครับ
Cr. http://www.fap.or.th/
ถ้าสอบได้จะเกิดอะไรขึ้น ? แน่นอนว่าคุณจะได้รับการยอมรับโดยเฉพาะความก้าวหน้าในสายงานในบริษัทมหาชน หรือบริษัทที่ต้องมีการจัดทำงบการเงินรวม ครับเพราะความรู้ทางบัญชีที่ถูกใช้ในการสอบ Dip-TFR นี้เรียกได้ว่าหินมากกว่า ลึกมากกว่า และเครียดมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ วิชาบัญชี ของ CPA ครับ และประโยชน์อย่างอื่นคือ คุณสามารถใช้คำว่า Dip-TFR ต่อหลังนามบัตรได้ด้วย
ประโยชน์อีกมิติหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าข้างต้นคือ ถ้าคุณสอบในประกาศฉบับนี้ได้คุณจะได้รับการ เชิญ จากสภาวิชาชีพบัญชีให้ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และมอบประกาศนียบัตรจากคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องครับ *0* มากกว่านั้นคือคุณจะได้ถูกสัมภาษณ์และตีพิมพ์ลงใน วารสารของสภาวิชาชีพในเดือนถัดมาครับ ^^
ถ้าเพื่อนคนไหนที่กำลังเตรียมตัวสอบวิชาบัญชีของ CPA อยู่พอดีก็อยากจะเชื้อเชิญให้ไปสอบ Dip-TFR กันต่อนะครับ เพราะในอนาคตเราๆท่านๆก็คงต้องยุ่งเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางเงิน ไม่มากก็น้อย และยังเป็นเหมือนตรารับรองว่า ความรู้ทางมาตรฐานฯนั้น มากพอที่จะอยู่ในตำแหน่งที่ต้องใช้ความรู้ทางบัญชีหนักๆด้วยครับ ซึ่งสำหรับเนื้อหาการสอบก็จะล้อตามมาตรฐานที่ใช้ในการสอบวิชา บัญชีของ CPA ทั้งวิชาบัญชี 1 + 2 ครับแต่จะค่อนข้างลึกลับซับซ้อน และอาศัยความคิดที่หนักกว่า โดยข้อสอบจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนแรกจะเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินรวม 40 คะแนน และส่วนที่สองจะมาพร้อมกัน 4 ข้อโดยผู้สอบสามารถเลือกทำ 3 ข้อครับ ซึ่งทั้งหมดคือการสอบแบบ เขียนล้วนๆ โดยปัจจุบันการสอบนี้จัดสอบปีละ 2 ครั้งและมีผู้ผ่านการทดสอบ ไม่ถึง 20 คนทั้งประเทศครับ (ธันวาคม 2559)
สำหรับกระทู้นี้ผมเรียกว่า แวะมาแนะนำ สิ่งที่เปรียบเสมือนผลพลอยได้จากการอ่าน CPA อันหนักหน่วง เพื่ออาจจะกระตุ้นหรือเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆได้ครับ หัวข้อถัดไปเดี๋ยวจะมาต่อให้ครับ ในสิ่งที่เกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบ CPA ในแต่ละรายวิชา
ปล สำหรับใครที่สนสมัครสอบ Tax Auditor สามารถแวะดูข้อมูลได้ที่ (กำลังเปิดรับสมัครรอบ 1/2560) >>> http://www.rd.go.th/publish/16532.0.html
ส่วนการสมัคร Dip-TFR นั้นสามารถเยี่ยมชมได้ที่ เว็บไซต์สภาวิชาชีพบัญชีครับหรือ โทรไปสอบถามก็ได้ครับ >>> http://www.fap.or.th/index.php
**พอดีเพิ่งเปิดเพจเฟซบุ้คครับ แวะไปได้นะครับผม ความรู้บัญชีภาษีต่างๆครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[แวะมา edit แปะลิงคเพจเฟซบุ้คครับผมม]