วันนี้มีบทความดีๆ มาฝากค่ะ เราอาจจะแปลไม่เป๊ะนะคะ บทความข้างล่างนี้ แปลมาจาก ส่วนหนึ่งของคอร์สเรียน Learn how to learn จากเว็บ Coursera ดูต้นฉบับได้ที่นี่ค่ะ
https://www.coursera.org/learn/learning-how-to-learn/supplement/OooZF/10-rules-of-good-and-bad-studying
เป็นกฏที่สรุปย่อมาจากหนังสือ A Mind for Numbers: How to Excel in Math and Science (Even if You Flunked Algebra), by Barbara Oakley, Penguin, July, 2014. วิธีเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้ได้ผล (แม้คุณจะเกลียดการคิดเลขก็ตาม) เราแปลพร้อมอธิบายเพิ่มไปเลยทีเดียว ใครสนใจรายละเอียดก็ไปเรียนในคอร์สเพิ่มได้ค่ะ (แต่ก่อนมันเรียนฟรี ไม่รู้ตอนนี้ต้องเสียเงินรึยัง) เป็นคอร์สที่ดีเลยค่ะ สอนว่าเรียนยังไงให้เก่ง และใช้งานได้จริงค่ะ
เราว่ามันน่าสนใจ เพราะว่า ดร.บาบาร่าเนี่ย เดิมทีเธอเรียนสายภาษาค่ะ พอจบตรีแล้วก็ไปทำงานกับกองทัพได้ 4 ปี จากนั้นเธอก็คิดได้ว่า ชั้นอยากจะเป็นวิศวกร เธอจึงกลับมาเรียนตรีใหม่และเรียนจนจบป.เอกในสายวิศวกรรมไฟฟ้าค่ะ เธอบอกว่า ไม่มีใครที่เรียนไม่ได้ ถ้าคุณรู้จักวิธีที่จะเรียน
กฎ 10 ข้อ เรียนยังไงให้ได้ผล
1. ทบทวนบ่อยๆ หลังจากที่เราอ่านจบในแต่ละหน้าหรือแต่ละบทแล้ว ให้หันหน้าไปทางอื่นแล้วลองทบทวนว่า อะไรคือเนื้อหาหลักในสิ่งที่เราเพิ่งอ่านไป ไฮไลท์คีย์เวิร์ดคำคำนั้น (พยายามไฮไลท์ให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้) ลองทบทวนเนื้อหาหลักๆ ระหว่างที่เราเดินเปลี่ยนห้องเรียนหรือที่ไหนก็ได้ที่ไม่ใช่ที่ที่เรานั่งอ่านหนังสือ การที่เราสามารถทบทวนและอธิบายออกมาเป็นคำพูดของตัวเองได้ แปลว่าเราเรียนรู้เรื่อง
2. ทดสอบตัวเอง ใช้แฟลชการ์ดเป็นตัวช่วย การทำแฟลชการ์ดก็เหมือนการเขียนสรุป แต่แทนที่เราจะเขียนลงสมุดให้ทำเป็นการ์ดแทน ด้านหนึ่งเขียนเป็นคีย์เวิร์ดหรือคำถาม อีกด้านเขียนเฉลย ข้อดีคือ การทำเป็นการ์ด มันจะไม่เรียงเนื้อหา ทำให้เราทดสอบได้ว่า เราเข้าใจหัวข้อนั้นจริงๆ รึเปล่า เราสามารถหยิบมันมาใช้เมื่อไหร่ก็ได้จริงมั๊ย เหมือนกับว่า เราเอาความรู้ใส่ลิ้นชักไว้ เวลาเราจะใช้ความรู้นั้น เราก็ต้องเปิดลิ้นชัดใช่มั๊ยคะ แต่หลายๆ ครั้งเรากลับจำไม่ได้ว่า เราใส่ไว้ช่องไหน การใช้แฟลชการ์ดก็เหมือนกับการฝึกเปิดลิ้นชักบ่อยๆ ทำให้เราหาของได้เร็ว ไม่ต้องมานั่งคิดว่า เก็บความรู้ไว้ที่ไหน สมองมันจะจำได้เองว่า ถ้าเราอยากรู้เรื่องนี้ต้องไปเปิดลิ้นชักนี้ มันจะทำงานไปโดยอัตโนมัติ วิธีการใช้แฟลชการ์ดดูตามลิงค์นี้ค่ะ
http://www.wikihow.com/Review-Using-Flash-Cards (อันนี้เรายังไม่เคยเห็นใครใช้เลย การทำแฟลชการ์ดมันใช้เวลาเยอะมาก.....)
3. ขมวดปมปัญหา (Chunking your problem) หัวข้อนี้แปลยากนิดนึง ถ้าใครคิดว่าเราแปลผิดแย้งได้นะคะ เราต้องสรุปออกมาว่า จุดอ่อนของเราคือหัวข้อไหน ฝึกแก้ปัญหาในหัวข้อนั้นบ่อยๆ จนกระทั่งคุณสามารถแก้ปัญหานั้นได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวช่วย แอบดูเฉลย เห็นโจทย์ปุ๊บแก้ได้ปั๊บโดยอัตโนมัติ คิดซะว่ามันเป็นเพลง ที่คุณต้องร้องมันบ่อยๆ จนคุณสามารถร้องได้โดยไม่ต้องพยายามอะไรเลย การขมวดปมปัญหา คือการทำความเข้าใจและฝึกฝนด้วยการแก้ปัญหา เพื่อที่คุณจะแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
4. เว้นช่องว่าง อย่าอัดหลายๆ หัวข้อในวันเดียว พยายามเรียนรู้ทีละน้อยแต่เรียนทุกวัน การเรียนก็เหมือนการยกเวท คุณไม่สามารถมีกล้ามใหญ่ๆ ได้ในวันเดียว คุณต้องค่อยๆ สะสมมันไปทุกๆ วัน
5. สลับเทคนิคที่ใช้ในการแก้ปัญหา ปกติเวลาเราเรียน แบบฝึกหัดที่ได้จะหัดให้เราใช้เทคนิคหนึ่งอย่างเท่านั้น ซึ่งก็คือเทคนิคที่เราเพิ่งเรียนไป วิธีที่ดีคือ การเอาแบบฝึกหัดหลายๆ หัวข้อมาปนกัน (อาจจะใช้วิธีเปิดหน้ามั่วๆ เลือกมาซักข้อ) วิธีนี้จะยิ่งทำให้เราเข้าใจมากขึ้น ว่าเทคนิคไหนควรใช้เมื่อไหร่ และต่างกันอย่างไร จดข้อที่เราทำผิดมาใส่แฟลชการ์ดแล้วทบทวน ว่าทำไมถึงผิด แล้วทำแบบฝึกหัดนั้นซ้ำๆ จนเราไม่พลาดแล้ว ทุกอย่างให้ใช้มือเขียน อย่าพิมพ์ เพราะการเขียนจะทำให้สมองจดจำได้ดีกว่า สร้างเส้นประสาทในการจำมากกว่า
6. พักบ้าง เป็นเรื่องปกติมากในการเรียนสายวิทย์ ที่คุณจะแก้โจทย์ไม่ได้ในการทำครั้งแรก นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณควรจะเรียนทุกๆ วัน วันละนิด มากกว่าจะเรียนทีเดียว เวลาคุณรู้สึกโมโหหรืออึดอัดที่แก้โจทย์ไม่ได้ ให้พักสักครู่ ให้สมองได้ผ่อนคลาย ให้สมองอีกส่วนได้ทำงานแทน แล้วค่อยกลับมาทำต่อ (สมองมันจะมีสองโหมดคะ โหมดโฟกัสกับโหมดผ่อนคลาย การเรียนที่ดีเราควรจะสลับโหมดได้ เวลาผ่อนคลายเราควรมีความสุข คิดเรื่องที่มีความสุข หรือทำอะไรที่เราชอบ แต่อย่าเพลินจนไม่กลับมาเรียนนะคะ)
7. ใช้การเทียบเคียง เวลาเราไม่เข้าใจอะไร ให้อ่านและพยายามอธิบายออกมาเป็นภาษาที่เด็กสิบขวบก็ยังเข้าใจ ใช้การเปรียบเทียบให้เห็นภาพออกมา เช่น กระแสไฟฟ้าก็คล้ายๆ กระแสน้ำ ถ้าเราอธิบายออกมาได้ แปลว่าเราเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่แค่คิด แต่เราต้องพูดหรือเขียนออกมาด้วย การพูดและการเขียนจะทำให้สมองจำได้มากกว่าแค่คิดเฉยๆ
8. โฟกัส ปิดสิ่งรบกวนต่างๆ มือถือ เสียงเตือนจากแอปต่างๆ ทั้งในมือถือและในคอม ตั้งเวลา 25 นาทีที่เราจะโฟกัสกับการเรียนนั้นๆ เรียนให้เต็มที่ พอครบเวลาแล้วก็ให้รางวัลตัวเองเล็กๆ น้อยๆ พักผ่อน ถ้าจะอ่านหนังสือต่อ ก็ให้ทำซ้ำ การทำแบบนี้จะทำให้เราจดจ่อกับการเรียนได้โดยไม่เหนื่อยจนเกินไป ทำทุกๆ วันให้ชิน เซ็ตเวลาและสถานที่ให้เหมือนกันทุกวัน ร่างกายจะชินไปโดยอัตโนมัติ
9. กินกบตัวนั้นซะ แปลว่า ให้เริ่มทำสิ่งที่ยากที่สุดก่อน แล้วเรียงลำดับไปหาสิ่งที่ง่ายขึ้น เพราะตอนเริ่มคือตอนที่คุณมีพลังมากที่สุด อะไรที่สำคัญ ยาก และน่าเบื่อ ให้เริ่มลงมือทำมันเป็นสิ่งแรก พอผ่านอะไรที่ยากๆ ไปแล้ว ที่เหลือก็จะง่ายขึ้นค่ะ
10. ตั้งเป้าหมาย เขียนกระดาษแปะไว้ ว่าเราอยากประสบความสำเร็จไปสู่จุดไหน ทำไมเราถึงต้องขยัน เราทำไปเพื่ออะไร เอาไว้คอยเตือนใจตัวเองตลอดเวลา เวลาเบื่อๆ อ่านหนังสือแล้วท้อ เหนื่อย ให้หันกลับไปอ่านกระดาษแผ่นนั้น จะได้มีแรงบันดาลใจฮึกเหิมกลับมาสู้ต่อ
จบแล้วค่ะ 10 ข้อแบบย่อๆ จริงๆ หวังว่าจะช่วยน้องๆ วัยเรียน หรือผู้ใหญ่วัยทำงานได้นะคะ
Learn how to learn เรียนยังไงให้ได้ผล
https://www.coursera.org/learn/learning-how-to-learn/supplement/OooZF/10-rules-of-good-and-bad-studying
เป็นกฏที่สรุปย่อมาจากหนังสือ A Mind for Numbers: How to Excel in Math and Science (Even if You Flunked Algebra), by Barbara Oakley, Penguin, July, 2014. วิธีเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้ได้ผล (แม้คุณจะเกลียดการคิดเลขก็ตาม) เราแปลพร้อมอธิบายเพิ่มไปเลยทีเดียว ใครสนใจรายละเอียดก็ไปเรียนในคอร์สเพิ่มได้ค่ะ (แต่ก่อนมันเรียนฟรี ไม่รู้ตอนนี้ต้องเสียเงินรึยัง) เป็นคอร์สที่ดีเลยค่ะ สอนว่าเรียนยังไงให้เก่ง และใช้งานได้จริงค่ะ
เราว่ามันน่าสนใจ เพราะว่า ดร.บาบาร่าเนี่ย เดิมทีเธอเรียนสายภาษาค่ะ พอจบตรีแล้วก็ไปทำงานกับกองทัพได้ 4 ปี จากนั้นเธอก็คิดได้ว่า ชั้นอยากจะเป็นวิศวกร เธอจึงกลับมาเรียนตรีใหม่และเรียนจนจบป.เอกในสายวิศวกรรมไฟฟ้าค่ะ เธอบอกว่า ไม่มีใครที่เรียนไม่ได้ ถ้าคุณรู้จักวิธีที่จะเรียน
กฎ 10 ข้อ เรียนยังไงให้ได้ผล
1. ทบทวนบ่อยๆ หลังจากที่เราอ่านจบในแต่ละหน้าหรือแต่ละบทแล้ว ให้หันหน้าไปทางอื่นแล้วลองทบทวนว่า อะไรคือเนื้อหาหลักในสิ่งที่เราเพิ่งอ่านไป ไฮไลท์คีย์เวิร์ดคำคำนั้น (พยายามไฮไลท์ให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้) ลองทบทวนเนื้อหาหลักๆ ระหว่างที่เราเดินเปลี่ยนห้องเรียนหรือที่ไหนก็ได้ที่ไม่ใช่ที่ที่เรานั่งอ่านหนังสือ การที่เราสามารถทบทวนและอธิบายออกมาเป็นคำพูดของตัวเองได้ แปลว่าเราเรียนรู้เรื่อง
2. ทดสอบตัวเอง ใช้แฟลชการ์ดเป็นตัวช่วย การทำแฟลชการ์ดก็เหมือนการเขียนสรุป แต่แทนที่เราจะเขียนลงสมุดให้ทำเป็นการ์ดแทน ด้านหนึ่งเขียนเป็นคีย์เวิร์ดหรือคำถาม อีกด้านเขียนเฉลย ข้อดีคือ การทำเป็นการ์ด มันจะไม่เรียงเนื้อหา ทำให้เราทดสอบได้ว่า เราเข้าใจหัวข้อนั้นจริงๆ รึเปล่า เราสามารถหยิบมันมาใช้เมื่อไหร่ก็ได้จริงมั๊ย เหมือนกับว่า เราเอาความรู้ใส่ลิ้นชักไว้ เวลาเราจะใช้ความรู้นั้น เราก็ต้องเปิดลิ้นชัดใช่มั๊ยคะ แต่หลายๆ ครั้งเรากลับจำไม่ได้ว่า เราใส่ไว้ช่องไหน การใช้แฟลชการ์ดก็เหมือนกับการฝึกเปิดลิ้นชักบ่อยๆ ทำให้เราหาของได้เร็ว ไม่ต้องมานั่งคิดว่า เก็บความรู้ไว้ที่ไหน สมองมันจะจำได้เองว่า ถ้าเราอยากรู้เรื่องนี้ต้องไปเปิดลิ้นชักนี้ มันจะทำงานไปโดยอัตโนมัติ วิธีการใช้แฟลชการ์ดดูตามลิงค์นี้ค่ะ http://www.wikihow.com/Review-Using-Flash-Cards (อันนี้เรายังไม่เคยเห็นใครใช้เลย การทำแฟลชการ์ดมันใช้เวลาเยอะมาก.....)
3. ขมวดปมปัญหา (Chunking your problem) หัวข้อนี้แปลยากนิดนึง ถ้าใครคิดว่าเราแปลผิดแย้งได้นะคะ เราต้องสรุปออกมาว่า จุดอ่อนของเราคือหัวข้อไหน ฝึกแก้ปัญหาในหัวข้อนั้นบ่อยๆ จนกระทั่งคุณสามารถแก้ปัญหานั้นได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวช่วย แอบดูเฉลย เห็นโจทย์ปุ๊บแก้ได้ปั๊บโดยอัตโนมัติ คิดซะว่ามันเป็นเพลง ที่คุณต้องร้องมันบ่อยๆ จนคุณสามารถร้องได้โดยไม่ต้องพยายามอะไรเลย การขมวดปมปัญหา คือการทำความเข้าใจและฝึกฝนด้วยการแก้ปัญหา เพื่อที่คุณจะแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
4. เว้นช่องว่าง อย่าอัดหลายๆ หัวข้อในวันเดียว พยายามเรียนรู้ทีละน้อยแต่เรียนทุกวัน การเรียนก็เหมือนการยกเวท คุณไม่สามารถมีกล้ามใหญ่ๆ ได้ในวันเดียว คุณต้องค่อยๆ สะสมมันไปทุกๆ วัน
5. สลับเทคนิคที่ใช้ในการแก้ปัญหา ปกติเวลาเราเรียน แบบฝึกหัดที่ได้จะหัดให้เราใช้เทคนิคหนึ่งอย่างเท่านั้น ซึ่งก็คือเทคนิคที่เราเพิ่งเรียนไป วิธีที่ดีคือ การเอาแบบฝึกหัดหลายๆ หัวข้อมาปนกัน (อาจจะใช้วิธีเปิดหน้ามั่วๆ เลือกมาซักข้อ) วิธีนี้จะยิ่งทำให้เราเข้าใจมากขึ้น ว่าเทคนิคไหนควรใช้เมื่อไหร่ และต่างกันอย่างไร จดข้อที่เราทำผิดมาใส่แฟลชการ์ดแล้วทบทวน ว่าทำไมถึงผิด แล้วทำแบบฝึกหัดนั้นซ้ำๆ จนเราไม่พลาดแล้ว ทุกอย่างให้ใช้มือเขียน อย่าพิมพ์ เพราะการเขียนจะทำให้สมองจดจำได้ดีกว่า สร้างเส้นประสาทในการจำมากกว่า
6. พักบ้าง เป็นเรื่องปกติมากในการเรียนสายวิทย์ ที่คุณจะแก้โจทย์ไม่ได้ในการทำครั้งแรก นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณควรจะเรียนทุกๆ วัน วันละนิด มากกว่าจะเรียนทีเดียว เวลาคุณรู้สึกโมโหหรืออึดอัดที่แก้โจทย์ไม่ได้ ให้พักสักครู่ ให้สมองได้ผ่อนคลาย ให้สมองอีกส่วนได้ทำงานแทน แล้วค่อยกลับมาทำต่อ (สมองมันจะมีสองโหมดคะ โหมดโฟกัสกับโหมดผ่อนคลาย การเรียนที่ดีเราควรจะสลับโหมดได้ เวลาผ่อนคลายเราควรมีความสุข คิดเรื่องที่มีความสุข หรือทำอะไรที่เราชอบ แต่อย่าเพลินจนไม่กลับมาเรียนนะคะ)
7. ใช้การเทียบเคียง เวลาเราไม่เข้าใจอะไร ให้อ่านและพยายามอธิบายออกมาเป็นภาษาที่เด็กสิบขวบก็ยังเข้าใจ ใช้การเปรียบเทียบให้เห็นภาพออกมา เช่น กระแสไฟฟ้าก็คล้ายๆ กระแสน้ำ ถ้าเราอธิบายออกมาได้ แปลว่าเราเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่แค่คิด แต่เราต้องพูดหรือเขียนออกมาด้วย การพูดและการเขียนจะทำให้สมองจำได้มากกว่าแค่คิดเฉยๆ
8. โฟกัส ปิดสิ่งรบกวนต่างๆ มือถือ เสียงเตือนจากแอปต่างๆ ทั้งในมือถือและในคอม ตั้งเวลา 25 นาทีที่เราจะโฟกัสกับการเรียนนั้นๆ เรียนให้เต็มที่ พอครบเวลาแล้วก็ให้รางวัลตัวเองเล็กๆ น้อยๆ พักผ่อน ถ้าจะอ่านหนังสือต่อ ก็ให้ทำซ้ำ การทำแบบนี้จะทำให้เราจดจ่อกับการเรียนได้โดยไม่เหนื่อยจนเกินไป ทำทุกๆ วันให้ชิน เซ็ตเวลาและสถานที่ให้เหมือนกันทุกวัน ร่างกายจะชินไปโดยอัตโนมัติ
9. กินกบตัวนั้นซะ แปลว่า ให้เริ่มทำสิ่งที่ยากที่สุดก่อน แล้วเรียงลำดับไปหาสิ่งที่ง่ายขึ้น เพราะตอนเริ่มคือตอนที่คุณมีพลังมากที่สุด อะไรที่สำคัญ ยาก และน่าเบื่อ ให้เริ่มลงมือทำมันเป็นสิ่งแรก พอผ่านอะไรที่ยากๆ ไปแล้ว ที่เหลือก็จะง่ายขึ้นค่ะ
10. ตั้งเป้าหมาย เขียนกระดาษแปะไว้ ว่าเราอยากประสบความสำเร็จไปสู่จุดไหน ทำไมเราถึงต้องขยัน เราทำไปเพื่ออะไร เอาไว้คอยเตือนใจตัวเองตลอดเวลา เวลาเบื่อๆ อ่านหนังสือแล้วท้อ เหนื่อย ให้หันกลับไปอ่านกระดาษแผ่นนั้น จะได้มีแรงบันดาลใจฮึกเหิมกลับมาสู้ต่อ
จบแล้วค่ะ 10 ข้อแบบย่อๆ จริงๆ หวังว่าจะช่วยน้องๆ วัยเรียน หรือผู้ใหญ่วัยทำงานได้นะคะ