สวัสดีครับ ผมเป็นคนนึงที่ใช้รถไฟฟ้า Airport Rail Link (ARL) ทุกวันตอนเช้าเป็นเวลา 4 ปี และได้พบกับปัญหามากมาย ผมจึงมาตั้งกระทู้เพื่อเปิดประเด็นต่างๆนาๆที่อยากจะให้ช่วยกันดัน ช่วยกันแก้ครับ
ARL ดำเนินการก่อสร้างโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โดย บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม อีกทั้งยังเป็นบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยตรง ทั้งนี่ คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟท.) ชุดเก่านั้นไม่ยินยอมที่จะให้เอกชนเข้ามาดำเนินการแทน
เรื่องที่หนึ่ง รถไฟจะมาเร็วแล้วไม่รอผู้โดยสาร และ ประตูแตะบัตรเปิดช้า
ปกติผมจะขึ้นทุกเช้าจากสถานีลาดกระบังเพื่อไปลงสถานีพญาไท แต่ช่วงหลังๆมาผมกับผู้โดยสารหลายๆท่านไม่สามารถขึ้นรถไฟที่สถานีลาดกระบังรอบแรกได้ทันเวลา เนื่องจากรถไฟจะมาเร็วแล้วไม่รอผู้โดยสาร อีกปัจจัยหนึ่งคือประตูแตะบัตรนั้นเปิดช้าเหลือเกิน ปกติรถไฟมา 05:49 ประตูเปิด 05:50 พอผู้โดยสารของรถไฟเที่ยวเเรกไม่สามารถไปได้ ก็ทำให้ผู้โดยสารตกค้างและต้องรอรอบต่อไป
ในรอบต่อไปนั้น (ส่วนมาก ประมาณ 80% รถไฟที่ใช้จะเป็นขบวนสีแดงหรือ Express Line) ก็จะมีผู้โดยสารทั้งไทยและต่างชาติที่ขึ้นจากสถานีสุวรรณภูมิจำนวนหนึ่ง ทำให้ผู้โดยสารขึ้นไปเบียดกันโดยไม่จำเป็น ผมแค่อยากบอกว่าปัญหาเรื่องนี้มันแก้ได้ง่ายมาก แค่คนขับรถไฟรอบแรกนั้น รอให้ผู้โดยสารจากรอบแรกขึ้นพอประมาณ ผมคิดว่าก็หมดเรื่อง หรือจะเปิดที่กั้นให้แตะบัตรเพื่อขึ้นไปให้เร็วขึ้นก็ยังได้ จริงๆผู้ที่ดูแลสถานีก็น่าจะรู้ถึงปัญหาเหล่านี้แต่ผมคิดว่าน่าจะไม่ใส่ใจมากกว่า
ตัวอย่างเช่น ในช่วงอาทิตย์ที่สองของเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2017 นั้น ผู้โดยสารส่วนใหญ่ไม่สามารถขึ้นมาทันรถไฟรอบแรกในวันที่ 9, 10, 12.... อันนั้นคือแค่สามวันจากห้าวันนะครับ 60%!!! อีกสองวันคือรถไฟนั้นรอครับ ผมก็แอบคิดนะครับว่าการที่ผู้โดยสารรอบแรกต้องตกรถโดยมิใช่เหตุนั้นขึ้นอยู่กับอารมณ์ของคนขับใช่หรือเปล่าครับ
เรื่องที่สอง แอร์มักจะปิดระหว่างเดินทาง
รถไฟฟ้ามักจะปิดแอร์ระหว่างเดินทางครับ!!!!!!!!!!! อันนี้ผมไม่เข้าใจจริงๆครับ กระผมจ่ายตังค์ 40 บาทจากสถานีลาดกระบังไปสถานีพญาไทเพื่อขึ้นไปบนรถไฟฟ้าที่มีแอร์เย็นสบาย แต่นี่อะไร มีการปิดแอร์ช่วงการเดินทางระหว่างสถานีมักกะสันกับรามคำแหง และจากบ้านทับช้างกับลาดกระบัง แม้ว่าจะมีผู้โดยสารอยู่เต็มขบวนก็ยังปิดครับ ผมรู้สึกคลับคล้ายคลับคลาว่าปัญหานี้น่าจะเป็นเพราะกระแสไฟฟ้าอะไรสักอย่างไม่พอ ถ้าไม่ใครทราบก็ฝาก clarify ด้วยนะครับ
เรื่องที่สาม ที่จอดของสถานีลาดกระบัง
ลานนี้ผมยอมรับว่ากว้าง จอดรถได้เยอะ จอดยังไงก็จอดไม่พอ แต่ประเด็นไม่ได้อยู่ตรงนั้นครับ ประเด็นอยู่ตรงการที่ต้องมาติดอยู่ใต้สถานีเพราะออกไม่ได้เพราะรถสองแถวจะถอยจอด แทนที่สองแถวพวกนี้จะไปวนรถจากข้างในเพื่อมาอยู่ฝั่งที่ถูกต้องแล้วจอด ไม่คร๊าบ เค้าเปิดไฟฉุกเฉิน “ขอความเห็นใจ” ให้รถทั้งสองฝั่งหยุดเพื่อพี่ก็จะได้ต้องไปวนรถด้านใน ทำให้รถที่จะเข้าก็เข้าไม่ได้ ออกก็ออกไม่ได้ อยากจะให้มีการแก้ปัญหาตรงนี้มากๆครับ แท็กซี่ตรงนั้นก็เป็นครับ แต่ไม่มากเท่าสองแถว สองแถวนี้จะชอบมา ”ขอความเห็นใจ” เพื่อจอดตอนที่คนเพิ่งลงมาจากสถานีเยอะๆครับ วุ่นวายไปหมด
เพิ่มเติมเรื่องที่จอดครับ ผมรู้ว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยหลายๆคนได้ทำเต็มที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ที่นำรถมาจอด แต่คนขับบางคนนั้นจอดในที่ๆไม่ควรจอด จอดอย่างเห็นแก่ตัว จอดเกะกะ ส่วนมากจะเป็นตรงที่เลยจุด u-turn ไปครับ จอดกันอย่างไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ ดีบ้างไม่ดีบ้าง ขอบอกตอนนี้ว่าชื่นชมคนดีครับ ที่จอดได้มีระเบียบวินัยและเห็นใจผู้ที่มาจอดก่อน บางคนที่เห็นแก้ตัวก็มักไม่สนใจ “เราจะจอดตรงนี้ ช่างหัวคนอื่นสิว่าเค้าจะลำบากยังไง”
ที่ผมมาตั้งกระทู้เรื่องนี้ะเพราะทนไม่ไหวจริงๆ ผมเพิ่งจะไปทราบเพิ่มเติมมาว่าน็อตยึดเหล็กรองรางตรงโค้งลาดกระบังนั้นหลุด 159 จุด รถไฟเลยต้องชะลอทำให้การเดินทางนั้นช้าลง (ไม่ได้ใส่ชื่อแหล่งข่าวเพราะผมไม่มั่นใจ แต่แค่ได้ยินก็แอบกลัวนิดๆถึงความปลอดภัยของผู้โดยสาร) ผมไม่ทราบแน่ชัดว่าซ่อมไปแล้วหรือยังแต่เรื่องนี้ดองไว้นานเพื่อรอให้บริษัทเอกชนมาซ่อมครับ
เพิ่มเติมนะครับ ผมเคยได้ยินพี่บนรถไฟคนนึงบ่นทางโทรศัพท์ว่าเคยมีคนตั้งกระทู้ด่าและตั้งข้อสงสัยต่อ ARL แต่ว่าถูกลบไป ผมหวังว่ากระทู้ของผมอันนี้จะผลักดันให้ผู้บริหารนั้นขยับตัวแล้วคิดได้ซะบ้างนะครับ จริงๆผมก็คิดนะถ้าให้ผู้บริหารมาลองนั่งกันแล้วปิดแอร์ไประหว่างเดินทาง เค้าจะรู้สึกถึงความเดือดร้อนของคนที่ต้องใช้อยู่ประจำหรือเปล่า
จริงๆถ้าพี่ๆน้องๆคนไหนอยากขุดเรื่องแย่ๆที่ ARL ได้ปิดไว้หรือยังไม่ได้แก้ ผมก็สนับสนุนให้โพสลงในคอมเม้นท์เลยนะครับ ช่วยกันดัน ปัญหาจะได้แก้ได้ไวๆครับ การคมนาคมในหลายๆประเทศนั้นพัฒนาไปถึงไหนกันแล้ว
ขอร้องเรียนรถไฟฟ้า Airport Rail Link ครับ
ARL ดำเนินการก่อสร้างโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โดย บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม อีกทั้งยังเป็นบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยตรง ทั้งนี่ คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟท.) ชุดเก่านั้นไม่ยินยอมที่จะให้เอกชนเข้ามาดำเนินการแทน
เรื่องที่หนึ่ง รถไฟจะมาเร็วแล้วไม่รอผู้โดยสาร และ ประตูแตะบัตรเปิดช้า
ปกติผมจะขึ้นทุกเช้าจากสถานีลาดกระบังเพื่อไปลงสถานีพญาไท แต่ช่วงหลังๆมาผมกับผู้โดยสารหลายๆท่านไม่สามารถขึ้นรถไฟที่สถานีลาดกระบังรอบแรกได้ทันเวลา เนื่องจากรถไฟจะมาเร็วแล้วไม่รอผู้โดยสาร อีกปัจจัยหนึ่งคือประตูแตะบัตรนั้นเปิดช้าเหลือเกิน ปกติรถไฟมา 05:49 ประตูเปิด 05:50 พอผู้โดยสารของรถไฟเที่ยวเเรกไม่สามารถไปได้ ก็ทำให้ผู้โดยสารตกค้างและต้องรอรอบต่อไป
ในรอบต่อไปนั้น (ส่วนมาก ประมาณ 80% รถไฟที่ใช้จะเป็นขบวนสีแดงหรือ Express Line) ก็จะมีผู้โดยสารทั้งไทยและต่างชาติที่ขึ้นจากสถานีสุวรรณภูมิจำนวนหนึ่ง ทำให้ผู้โดยสารขึ้นไปเบียดกันโดยไม่จำเป็น ผมแค่อยากบอกว่าปัญหาเรื่องนี้มันแก้ได้ง่ายมาก แค่คนขับรถไฟรอบแรกนั้น รอให้ผู้โดยสารจากรอบแรกขึ้นพอประมาณ ผมคิดว่าก็หมดเรื่อง หรือจะเปิดที่กั้นให้แตะบัตรเพื่อขึ้นไปให้เร็วขึ้นก็ยังได้ จริงๆผู้ที่ดูแลสถานีก็น่าจะรู้ถึงปัญหาเหล่านี้แต่ผมคิดว่าน่าจะไม่ใส่ใจมากกว่า
ตัวอย่างเช่น ในช่วงอาทิตย์ที่สองของเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2017 นั้น ผู้โดยสารส่วนใหญ่ไม่สามารถขึ้นมาทันรถไฟรอบแรกในวันที่ 9, 10, 12.... อันนั้นคือแค่สามวันจากห้าวันนะครับ 60%!!! อีกสองวันคือรถไฟนั้นรอครับ ผมก็แอบคิดนะครับว่าการที่ผู้โดยสารรอบแรกต้องตกรถโดยมิใช่เหตุนั้นขึ้นอยู่กับอารมณ์ของคนขับใช่หรือเปล่าครับ
เรื่องที่สอง แอร์มักจะปิดระหว่างเดินทาง
รถไฟฟ้ามักจะปิดแอร์ระหว่างเดินทางครับ!!!!!!!!!!! อันนี้ผมไม่เข้าใจจริงๆครับ กระผมจ่ายตังค์ 40 บาทจากสถานีลาดกระบังไปสถานีพญาไทเพื่อขึ้นไปบนรถไฟฟ้าที่มีแอร์เย็นสบาย แต่นี่อะไร มีการปิดแอร์ช่วงการเดินทางระหว่างสถานีมักกะสันกับรามคำแหง และจากบ้านทับช้างกับลาดกระบัง แม้ว่าจะมีผู้โดยสารอยู่เต็มขบวนก็ยังปิดครับ ผมรู้สึกคลับคล้ายคลับคลาว่าปัญหานี้น่าจะเป็นเพราะกระแสไฟฟ้าอะไรสักอย่างไม่พอ ถ้าไม่ใครทราบก็ฝาก clarify ด้วยนะครับ
เรื่องที่สาม ที่จอดของสถานีลาดกระบัง
ลานนี้ผมยอมรับว่ากว้าง จอดรถได้เยอะ จอดยังไงก็จอดไม่พอ แต่ประเด็นไม่ได้อยู่ตรงนั้นครับ ประเด็นอยู่ตรงการที่ต้องมาติดอยู่ใต้สถานีเพราะออกไม่ได้เพราะรถสองแถวจะถอยจอด แทนที่สองแถวพวกนี้จะไปวนรถจากข้างในเพื่อมาอยู่ฝั่งที่ถูกต้องแล้วจอด ไม่คร๊าบ เค้าเปิดไฟฉุกเฉิน “ขอความเห็นใจ” ให้รถทั้งสองฝั่งหยุดเพื่อพี่ก็จะได้ต้องไปวนรถด้านใน ทำให้รถที่จะเข้าก็เข้าไม่ได้ ออกก็ออกไม่ได้ อยากจะให้มีการแก้ปัญหาตรงนี้มากๆครับ แท็กซี่ตรงนั้นก็เป็นครับ แต่ไม่มากเท่าสองแถว สองแถวนี้จะชอบมา ”ขอความเห็นใจ” เพื่อจอดตอนที่คนเพิ่งลงมาจากสถานีเยอะๆครับ วุ่นวายไปหมด
เพิ่มเติมเรื่องที่จอดครับ ผมรู้ว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยหลายๆคนได้ทำเต็มที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ที่นำรถมาจอด แต่คนขับบางคนนั้นจอดในที่ๆไม่ควรจอด จอดอย่างเห็นแก่ตัว จอดเกะกะ ส่วนมากจะเป็นตรงที่เลยจุด u-turn ไปครับ จอดกันอย่างไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ ดีบ้างไม่ดีบ้าง ขอบอกตอนนี้ว่าชื่นชมคนดีครับ ที่จอดได้มีระเบียบวินัยและเห็นใจผู้ที่มาจอดก่อน บางคนที่เห็นแก้ตัวก็มักไม่สนใจ “เราจะจอดตรงนี้ ช่างหัวคนอื่นสิว่าเค้าจะลำบากยังไง”
ที่ผมมาตั้งกระทู้เรื่องนี้ะเพราะทนไม่ไหวจริงๆ ผมเพิ่งจะไปทราบเพิ่มเติมมาว่าน็อตยึดเหล็กรองรางตรงโค้งลาดกระบังนั้นหลุด 159 จุด รถไฟเลยต้องชะลอทำให้การเดินทางนั้นช้าลง (ไม่ได้ใส่ชื่อแหล่งข่าวเพราะผมไม่มั่นใจ แต่แค่ได้ยินก็แอบกลัวนิดๆถึงความปลอดภัยของผู้โดยสาร) ผมไม่ทราบแน่ชัดว่าซ่อมไปแล้วหรือยังแต่เรื่องนี้ดองไว้นานเพื่อรอให้บริษัทเอกชนมาซ่อมครับ
เพิ่มเติมนะครับ ผมเคยได้ยินพี่บนรถไฟคนนึงบ่นทางโทรศัพท์ว่าเคยมีคนตั้งกระทู้ด่าและตั้งข้อสงสัยต่อ ARL แต่ว่าถูกลบไป ผมหวังว่ากระทู้ของผมอันนี้จะผลักดันให้ผู้บริหารนั้นขยับตัวแล้วคิดได้ซะบ้างนะครับ จริงๆผมก็คิดนะถ้าให้ผู้บริหารมาลองนั่งกันแล้วปิดแอร์ไประหว่างเดินทาง เค้าจะรู้สึกถึงความเดือดร้อนของคนที่ต้องใช้อยู่ประจำหรือเปล่า
จริงๆถ้าพี่ๆน้องๆคนไหนอยากขุดเรื่องแย่ๆที่ ARL ได้ปิดไว้หรือยังไม่ได้แก้ ผมก็สนับสนุนให้โพสลงในคอมเม้นท์เลยนะครับ ช่วยกันดัน ปัญหาจะได้แก้ได้ไวๆครับ การคมนาคมในหลายๆประเทศนั้นพัฒนาไปถึงไหนกันแล้ว