ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวว่า จากการศึกษาคำขวัญวันเด็กตั้งแต่ปี 2499 เป็นต้นมา พบว่ามีคำสำคัญที่ถูกใช้ซ้ำในคำขวัญวันเด็กอยู่ 6 คำ คือ
1.วินัยและการเรียน จำนวน 18 ครั้ง 2.ชาติ 17 ครั้ง 3.คุณธรรม 15 ครั้ง 4.ขยัน 11 ครั้ง 5.ประหยัด สามัคคี ซื่อสัตย์ 9 ครั้ง และ 6.ประชาธิปไตย 4 ครั้ง แตกต่างกันไปตามความคิดของผู้นำ และสะท้อนภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในยุคนั้นอย่าง
สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีคำขวัญว่า “จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม”
สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คือ “ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า” สะท้อนความเด็ดขาดของผู้นำ
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่เป็นคนนิยมความเป็นไทย แสดงออกผ่านคำขวัญที่ว่า “นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม”
สมัยท่านนายกทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ ที่พูดเรื่องสมัยใหม่ในคำขวัญ ” เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี”
นายกฯชวน หลีกภัย เป็นคนเดียวที่กล่าวถึงหลักความเป็นประชาธิปไตยถึง 4 ครั้งว่า “ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม”
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คำขวัญวันเด็กเน้นความมีวินัย ชาติ ศาสนา เช่น “คุณธรรม ชาติ มั่นคง”
“จะเห็นได้ว่าคำขวัญวันเด็กไม่มีความต่อเนื่อง และไม่สอดคล้องกับสิทธิเด็กจริงๆ ทั้งยังไม่มีเอกภาพ เป็นปีต่อปี และไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างคุณลักษณะเหล่านั้น เช่น คำว่าวินัย และคุณธรรมที่ล้มเหลว หรือไม่มีการสร้างประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของเด็ก เพราะฉะนั้นเราจึงควรกำหนดคุณลักษณะของคนในชาติที่ชัดเจน เช่น ญี่ปุ่น ที่กำหนดคุณลักษณะไว้ 10 ด้าน เช่น ตรงเวลา มีวินัย ทำงานเป็นทีม หรือสิงคโปร์ ที่ตั้งเป้าหมายเด็กชัดเจน นอกจากนี้ต้องส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมของเด็ก พาเด็กออกนอกห้องเรียน มีโครงการต่างๆ ให้เด็ก ซึ่งจะช่วยปลูกฝังเรื่องการทำงานเป็นทีม สร้างคุณธรรม รู้จักตรงเวลาจากการกระทำจริง ซึ่งเด็กจะซึมซับได้มากกว่าการบ่นและพูดที่เดี๋ยวก็ผ่านไป” ศ.ดร.สมพงษ์กล่าว
อ.จุฬาฯ ชี้ ‘คำขวัญวันเด็ก’ ไม่สอดคล้องสิทธิเด็ก แนะกำหนดคุณลักษณะให้ชัดเจน พัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง
ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวว่า จากการศึกษาคำขวัญวันเด็กตั้งแต่ปี 2499 เป็นต้นมา พบว่ามีคำสำคัญที่ถูกใช้ซ้ำในคำขวัญวันเด็กอยู่ 6 คำ คือ 1.วินัยและการเรียน จำนวน 18 ครั้ง 2.ชาติ 17 ครั้ง 3.คุณธรรม 15 ครั้ง 4.ขยัน 11 ครั้ง 5.ประหยัด สามัคคี ซื่อสัตย์ 9 ครั้ง และ 6.ประชาธิปไตย 4 ครั้ง แตกต่างกันไปตามความคิดของผู้นำ และสะท้อนภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในยุคนั้นอย่าง
สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีคำขวัญว่า “จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม”
สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คือ “ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า” สะท้อนความเด็ดขาดของผู้นำ
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่เป็นคนนิยมความเป็นไทย แสดงออกผ่านคำขวัญที่ว่า “นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม”
สมัยท่านนายกทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ ที่พูดเรื่องสมัยใหม่ในคำขวัญ ” เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี”
นายกฯชวน หลีกภัย เป็นคนเดียวที่กล่าวถึงหลักความเป็นประชาธิปไตยถึง 4 ครั้งว่า “ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม”
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คำขวัญวันเด็กเน้นความมีวินัย ชาติ ศาสนา เช่น “คุณธรรม ชาติ มั่นคง”
“จะเห็นได้ว่าคำขวัญวันเด็กไม่มีความต่อเนื่อง และไม่สอดคล้องกับสิทธิเด็กจริงๆ ทั้งยังไม่มีเอกภาพ เป็นปีต่อปี และไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างคุณลักษณะเหล่านั้น เช่น คำว่าวินัย และคุณธรรมที่ล้มเหลว หรือไม่มีการสร้างประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของเด็ก เพราะฉะนั้นเราจึงควรกำหนดคุณลักษณะของคนในชาติที่ชัดเจน เช่น ญี่ปุ่น ที่กำหนดคุณลักษณะไว้ 10 ด้าน เช่น ตรงเวลา มีวินัย ทำงานเป็นทีม หรือสิงคโปร์ ที่ตั้งเป้าหมายเด็กชัดเจน นอกจากนี้ต้องส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมของเด็ก พาเด็กออกนอกห้องเรียน มีโครงการต่างๆ ให้เด็ก ซึ่งจะช่วยปลูกฝังเรื่องการทำงานเป็นทีม สร้างคุณธรรม รู้จักตรงเวลาจากการกระทำจริง ซึ่งเด็กจะซึมซับได้มากกว่าการบ่นและพูดที่เดี๋ยวก็ผ่านไป” ศ.ดร.สมพงษ์กล่าว