สมเด็จพระอุณาโลม ทรงจิตรลดา ปี 2519
สมเด็จพระอุณาโลม ทรงจิตรลดา พ.ศ.2519 สุดยอดแห่งมวลสารและพิธีกรรม
เว็บไซต์ :
https://aunakom.blogspot.com/
วีดีโอ :
https://www.youtube.com/watch?v=I51_v2WYKR0
ปีที่สร้าง : พ.ศ. 2519
จำนวน : 200,000 องค์
รุ่น : 2 รุ่น พิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก
พระสมเด็จนางพญา สก. ปี 2519 (สมเด็จในพระราชปรารภของ ร.๙)
https://goo.gl/PJ4Hhs
สมเด็จพระอุณาโลม ทรงจิตลดา ปี 2519
https://goo.gl/A6A8z9
.........โดยพระราชปารภของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า " กระเบื้องมุงหลังคาพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหารนั้น น่าจะทำประโยชน์ได้บ้าง เนืองจากเป็นของเก่า และสมเด็จพระสังฆราชเคยประทับอยู่วัดนี้ถึง 3 พระองค์ หากนำไปทำพระผงคงดีไม่น้อย "
.........สภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย จึงได้คิดสร้างพระผงสมเด็จนางพญาขึ้น โดยกำหนดแบบพิมพ์และขนาด " พระจิตรลดา " ทุกประการ เพื่อสนองพระราชปารภนั้น ด้วยการนำผงพระราชทานและผงศักดิ์สิทธิ์ 199 ชนิด มาผสมกับกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถดังกล่าว จะได้นำความกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีพุทธา ภิเษก ในวันที่ 5 - 12 กค. พ.ศ.2519 จัดหาทุนก่อตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อหาดอกผลมาบำรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก เมื่อปี 2516 ได้มีการก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์ ณ จังหวัดอยุธยามีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นทุ่งนา ปราศจากต้นไม้ น้ำท่วมทุกปีทั้งยังมีปัญหาน้ำดื่ม ที่ขาดแคลน ปัญหาการบิณฑบาต เนื่องจากวิทยาลัยอยู่ห่างจากหมู่บ้าน ในการนี้ ทางมูลนิธิจึงได้คิดสร้างพระสมเด็จนางพญาขึ้นจำนวนหนึ่ง เพื่อหารายได้มาช่วยในวัตถุประสงค์ดังกล่าว เพื่อสร้างเป็นพระผงรายได้จากศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ครั้งนี้ จะนำไปจัดตั้งเป็นทุนมูลนิธิเพื่อหาดอกผลมาบำรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ ตามโครงการ ดังนี้
การสร้างวัตถุมงคล หรือการประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลที่ปัจจุบันดูจะหายากสักหน่อยที่จัด พิธีอย่างใหญ่โต เต็มไปด้วยความเข้มขลังของพระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสก อย่างเช่นในพิธีพุทธาภิเษกพระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา พระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นพร้อมกับพระสมเด็จนางพญา สก. อันโด่งดังเมื่อปี พ.ศ.2519
ที่ว่าพิธีดีนั้นดีอย่างไร ครั้งนั้นได้จัดให้มีการประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร ถึง 7 วัน 7 คืน ระหว่างวันที่ 5-12 กรกฎาคม พ.ศ.2519 มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกหลายรูป โดยเฉพาะ "หลวงปู่โต๊ะ" ได้มาร่วมปลุกเสกถึง 5 วันด้วยกัน ประกอบด้วย
1. พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
2. พระเทพวราลังการ วัดป่าสุทธาวาส จ.เลย
3. พระญาณสิทธาจารย์ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา
4. พระอาจารย์อ่อน วัดโพธาราม จ.อุดรธานี
5. พระสุทธสารโสภณ วัดศรีโพนแท่น จ.เลย
6. พระอาจารย์เปลื่อง วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
7. พระสังวรวิมลเถร (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
8. พระโพธิสังวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิต กรุงเทพฯ
9. พระครูสารธรรมนิเทศ (มา) วัดวิเวกอาศรม จ.ร้อยเอ็ด
10. พระอาจารย์สี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม
11. พระราชธรรมานุวัตร (อ่อน) วัดประชานิคม จ.กาฬสินธุ์
12. พระครูศีลขันธสังวร (อ่อนสี) วัดพระงาม จ.หนองคาย
13. พระครูทัศนปรีชา (ขม) วัดป่าบ้านบัวค่อม
14. พระอาจารย์สาม อกิญจโน วัดไตรวิเวการาม จ.สุรินทร์
15. พระครูญาณปรีชา (เหรียญ) วัดป่าอรัญญบรรพต จ.หนองคาย
16. หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี
17. พระอาจารย์หัวพา วัดป่าพระพนิต จ.หนองคาย
18. พระชินวงศาจารย์ (พุธ) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
19. พระครูวิบูลย์ธรรมภาณ (โชติ) วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี
20. พระครูวินิตวัฒนคุณ วัดบ้านนาเจริญ จ.อุบลราชธานี
21. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร
22. พระอาจารย์สมชาย วัดราษฎร์บุรณคุณาคาม (เขาสุกิม) จ.จันทบุรี
23. พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์ฯ จ.สุพรรณบุรี
24. พระศีลขันธโสภณ (สนิท) วัดศีลขันธาราม
25. พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
26. พระญาณจักษุ (ผ่อง) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
27. พระครูโสภณกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
28. พระราชธรรมวิจารณ์ (ธูป) วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแคนางเลิ้ง) กรุงเทพฯ
29. พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (สา) วัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯ
30. หลวงพ่อซ่วน วัดพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
31. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมมงคลคีรีเขต จ.ขอนแก่น
32. พระอาจารย์ไสว สุวโร วัดป่าสิริสาลวัน จ.อุดรธานี
33. หลวงปู่จันทร์ วัดป่ามะขาม
พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตลดา เป็นพระเครื่องเนื้อผงทรงสามเหลี่ยม ด้านหน้าเป็นพระพุทธปฏิมากรปางสมาธิ มีพุทธลักษณะที่คล้ายกับพระสมเด็จจิตรลดาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง สร้าง ส่วนด้านหลังมียันต์อักขระตัวอุณาโลม จึงเป็นที่มาของการเรียกขานชื่อพิมพ์สมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา
[CR] สมเด็จพระอุณาโลม ทรงจิตรลดา ปี 2519
สมเด็จพระอุณาโลม ทรงจิตรลดา พ.ศ.2519 สุดยอดแห่งมวลสารและพิธีกรรม
เว็บไซต์ : https://aunakom.blogspot.com/
วีดีโอ : https://www.youtube.com/watch?v=I51_v2WYKR0
ปีที่สร้าง : พ.ศ. 2519
จำนวน : 200,000 องค์
รุ่น : 2 รุ่น พิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก
พระสมเด็จนางพญา สก. ปี 2519 (สมเด็จในพระราชปรารภของ ร.๙)
https://goo.gl/PJ4Hhs
สมเด็จพระอุณาโลม ทรงจิตลดา ปี 2519
https://goo.gl/A6A8z9
.........โดยพระราชปารภของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า " กระเบื้องมุงหลังคาพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหารนั้น น่าจะทำประโยชน์ได้บ้าง เนืองจากเป็นของเก่า และสมเด็จพระสังฆราชเคยประทับอยู่วัดนี้ถึง 3 พระองค์ หากนำไปทำพระผงคงดีไม่น้อย "
.........สภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย จึงได้คิดสร้างพระผงสมเด็จนางพญาขึ้น โดยกำหนดแบบพิมพ์และขนาด " พระจิตรลดา " ทุกประการ เพื่อสนองพระราชปารภนั้น ด้วยการนำผงพระราชทานและผงศักดิ์สิทธิ์ 199 ชนิด มาผสมกับกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถดังกล่าว จะได้นำความกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีพุทธา ภิเษก ในวันที่ 5 - 12 กค. พ.ศ.2519 จัดหาทุนก่อตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อหาดอกผลมาบำรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก เมื่อปี 2516 ได้มีการก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์ ณ จังหวัดอยุธยามีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นทุ่งนา ปราศจากต้นไม้ น้ำท่วมทุกปีทั้งยังมีปัญหาน้ำดื่ม ที่ขาดแคลน ปัญหาการบิณฑบาต เนื่องจากวิทยาลัยอยู่ห่างจากหมู่บ้าน ในการนี้ ทางมูลนิธิจึงได้คิดสร้างพระสมเด็จนางพญาขึ้นจำนวนหนึ่ง เพื่อหารายได้มาช่วยในวัตถุประสงค์ดังกล่าว เพื่อสร้างเป็นพระผงรายได้จากศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ครั้งนี้ จะนำไปจัดตั้งเป็นทุนมูลนิธิเพื่อหาดอกผลมาบำรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ ตามโครงการ ดังนี้
การสร้างวัตถุมงคล หรือการประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลที่ปัจจุบันดูจะหายากสักหน่อยที่จัด พิธีอย่างใหญ่โต เต็มไปด้วยความเข้มขลังของพระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสก อย่างเช่นในพิธีพุทธาภิเษกพระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา พระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นพร้อมกับพระสมเด็จนางพญา สก. อันโด่งดังเมื่อปี พ.ศ.2519
ที่ว่าพิธีดีนั้นดีอย่างไร ครั้งนั้นได้จัดให้มีการประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร ถึง 7 วัน 7 คืน ระหว่างวันที่ 5-12 กรกฎาคม พ.ศ.2519 มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกหลายรูป โดยเฉพาะ "หลวงปู่โต๊ะ" ได้มาร่วมปลุกเสกถึง 5 วันด้วยกัน ประกอบด้วย
1. พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
2. พระเทพวราลังการ วัดป่าสุทธาวาส จ.เลย
3. พระญาณสิทธาจารย์ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา
4. พระอาจารย์อ่อน วัดโพธาราม จ.อุดรธานี
5. พระสุทธสารโสภณ วัดศรีโพนแท่น จ.เลย
6. พระอาจารย์เปลื่อง วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
7. พระสังวรวิมลเถร (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
8. พระโพธิสังวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิต กรุงเทพฯ
9. พระครูสารธรรมนิเทศ (มา) วัดวิเวกอาศรม จ.ร้อยเอ็ด
10. พระอาจารย์สี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม
11. พระราชธรรมานุวัตร (อ่อน) วัดประชานิคม จ.กาฬสินธุ์
12. พระครูศีลขันธสังวร (อ่อนสี) วัดพระงาม จ.หนองคาย
13. พระครูทัศนปรีชา (ขม) วัดป่าบ้านบัวค่อม
14. พระอาจารย์สาม อกิญจโน วัดไตรวิเวการาม จ.สุรินทร์
15. พระครูญาณปรีชา (เหรียญ) วัดป่าอรัญญบรรพต จ.หนองคาย
16. หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี
17. พระอาจารย์หัวพา วัดป่าพระพนิต จ.หนองคาย
18. พระชินวงศาจารย์ (พุธ) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
19. พระครูวิบูลย์ธรรมภาณ (โชติ) วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี
20. พระครูวินิตวัฒนคุณ วัดบ้านนาเจริญ จ.อุบลราชธานี
21. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร
22. พระอาจารย์สมชาย วัดราษฎร์บุรณคุณาคาม (เขาสุกิม) จ.จันทบุรี
23. พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์ฯ จ.สุพรรณบุรี
24. พระศีลขันธโสภณ (สนิท) วัดศีลขันธาราม
25. พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
26. พระญาณจักษุ (ผ่อง) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
27. พระครูโสภณกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
28. พระราชธรรมวิจารณ์ (ธูป) วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแคนางเลิ้ง) กรุงเทพฯ
29. พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (สา) วัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯ
30. หลวงพ่อซ่วน วัดพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
31. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมมงคลคีรีเขต จ.ขอนแก่น
32. พระอาจารย์ไสว สุวโร วัดป่าสิริสาลวัน จ.อุดรธานี
33. หลวงปู่จันทร์ วัดป่ามะขาม
พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตลดา เป็นพระเครื่องเนื้อผงทรงสามเหลี่ยม ด้านหน้าเป็นพระพุทธปฏิมากรปางสมาธิ มีพุทธลักษณะที่คล้ายกับพระสมเด็จจิตรลดาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง สร้าง ส่วนด้านหลังมียันต์อักขระตัวอุณาโลม จึงเป็นที่มาของการเรียกขานชื่อพิมพ์สมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา