อะแแห่ม หนังสือเวียนก็คือหนังสือเวียน ลองบอกว่าถ้ามีเรื่องร้องเรียนแล้ว ธปท จะลงโทษยังไรบ้างดูซิ รับรองไม่มีหรอกที่
- คุยยายไปฝากเงินแล้วได้ประกันชีวิตกลับมา
- กู้ซื้อบ้านต้องซื้อ MRTA กู้ 2 ล้าน จ่ายค่าประกัน MRTA แสนนึง
- ถือบัตรเครดิต ต้องจ่ายค่าประกันตามวงเงิน เผื่อกรณีตกงาน โอ้วแม่เจ้า รูดบัตรแต่ละครั้งต้องจ่ายเบี้ยประกันด้วย
-------------- เนื้อหา ----------
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์ และเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคตามสิทธิขั้นพื้นฐาน ธนาคารพาณิชย์ควรควบคุมดูแลระบบงานต่างๆ ให้ครอบคลุมถึงการกำหนดแผนธุรกิจ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย กระบวนการขายและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทั้งของธนาคารพาณิชย์เองและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ และควรคำนึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้
1. การเสนอขายประกันชีวิตที่อาจทำให้ลูกค้าเข้าใจผิดว่าเป็นเงินฝาก
2. การเสนอขายประกันภัย ควรสอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของลูกค้า ทั้งในเรื่องความสามารถในการชำระค่าเบี้ยประกันภัยในอนาคต และความเข้าใจในผลิตภัณฑ์
3. ในการเสนอขายประกันภัยหรือขายประกันภัยควบคู่เงินฝาก ควรชี้แจงถึงข้อมูลผลประโยชน์และเงื่อนไขที่อาจทำให้ลูกค้าเสียประโยชน์ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเข้าใจง่าย โดยเฉพาะลักษณะที่แตกต่างระหว่างการประกันภัยและเงินฝาก
4. ในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ในด้านเงินฝาก สินเชื่อ และผลิตภัณฑ์พื้นฐานอื่นๆ ต้องไม่บังคับขายประกันภัยควบคู่กับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
5. การเสนอขายประกันภัย ต้องกระทำโดยพนักงานที่ได้รับใบอนุญาต และต้องแสดงตนให้ลูกค้าเข้าใจว่าพนักงานมีคุณสมบัติดังกล่าวก่อนเริ่มเสนอขาย รวมทั้งกำกับดูแลมิให้พนักงานที่ไม่ได้รับใบอนุญาตเสนอขายประกันภัยต่อลูกค้า
พร้อมกันนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้ออกหนังสือเวียน เรื่อง การขายผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยผ่านผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) โดยระบุว่า
ในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต และการให้สินเชื่อของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งมีการเสนอขายประกันภัยผ่านผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ(Nano-finance)นั้น บริษัทที่ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินควรให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับภายในเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจดังกล่าวของบริษัท ตลอดจนกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค ผู้ประกอบธุรกิจควรคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภค 4 ประการ ได้แก่
(1) สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
(2) สิทธิที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินได้อย่างอิสระ
(3) สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม
(4) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาค่าชดเชยหากเกิดความเสียหาย
จึงควรมีการควบคุมดูแลระบบงานต่างๆ ให้ครอบคลุมถึงการกำหนดแผนธุรกิจ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย กระบวนการขาย และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้
1. การประกอบธุรกิจบัตรเครดิตและการให้สินเชื่อของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน ไม่ควรบังคับขายประกันภัยกับลูกค้า อันอาจมีผลต่อการพิจารณาออกบัตรเครดิต หรือการอนุมัติสินเชื่อ
2. การให้บริการธุรกิจบัตรเครดิตและการให้สินเชื่อของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินที่มีการเสนอขายประกันภัยในคราวเดียวกัน ควรปฏิบัติดังนี้
2.1 ชี้แจงถึงข้อมูลการประกันภัยเกี่ยวกับผลประโยชน์และเงื่อนไขที่อาจทำให้ลูกค้าเสียประโยชน์ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเข้าใจง่าย
2.2 เสนอขายประกันภัยให้สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของลูกค้า ทั้งความสามารถในการชำระค่าเบี้ยประกันภัย และความเข้าใจในผลิตภัณฑ์
2.3 เสนอขายประกันภัยโดยพนักงานที่ได้รับใบอนุญาต และมีการแสดงตนให้ลูกค้าเข้าใจว่ามีคุณสมบัติดังกล่าวก่อนเริ่มเสนอขาย รวมทั้งกำกับดูแลมิให้พนักงานที่ไม่ได้รับใบอนุญาตเสนอขายประกันภัยต่อลูกค้า
------- ที่มา -----
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://thaimoneyadvice.com/%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b9%8c%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%95%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%99-%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b9%82/
ธปท เพิ่งตื่น ออกหนังสือเวียน ให้ Bank และ Non-bank ห้ามบังคับขายประกันคู่สินเชื่อ หรือเงินฝากหรือบัตรเครดิต
- คุยยายไปฝากเงินแล้วได้ประกันชีวิตกลับมา
- กู้ซื้อบ้านต้องซื้อ MRTA กู้ 2 ล้าน จ่ายค่าประกัน MRTA แสนนึง
- ถือบัตรเครดิต ต้องจ่ายค่าประกันตามวงเงิน เผื่อกรณีตกงาน โอ้วแม่เจ้า รูดบัตรแต่ละครั้งต้องจ่ายเบี้ยประกันด้วย
-------------- เนื้อหา ----------
เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของหลักเกณฑ์ และเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคตามสิทธิขั้นพื้นฐาน ธนาคารพาณิชย์ควรควบคุมดูแลระบบงานต่างๆ ให้ครอบคลุมถึงการกำหนดแผนธุรกิจ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย กระบวนการขายและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทั้งของธนาคารพาณิชย์เองและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ และควรคำนึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้
1. การเสนอขายประกันชีวิตที่อาจทำให้ลูกค้าเข้าใจผิดว่าเป็นเงินฝาก
2. การเสนอขายประกันภัย ควรสอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของลูกค้า ทั้งในเรื่องความสามารถในการชำระค่าเบี้ยประกันภัยในอนาคต และความเข้าใจในผลิตภัณฑ์
3. ในการเสนอขายประกันภัยหรือขายประกันภัยควบคู่เงินฝาก ควรชี้แจงถึงข้อมูลผลประโยชน์และเงื่อนไขที่อาจทำให้ลูกค้าเสียประโยชน์ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเข้าใจง่าย โดยเฉพาะลักษณะที่แตกต่างระหว่างการประกันภัยและเงินฝาก
4. ในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ในด้านเงินฝาก สินเชื่อ และผลิตภัณฑ์พื้นฐานอื่นๆ ต้องไม่บังคับขายประกันภัยควบคู่กับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
5. การเสนอขายประกันภัย ต้องกระทำโดยพนักงานที่ได้รับใบอนุญาต และต้องแสดงตนให้ลูกค้าเข้าใจว่าพนักงานมีคุณสมบัติดังกล่าวก่อนเริ่มเสนอขาย รวมทั้งกำกับดูแลมิให้พนักงานที่ไม่ได้รับใบอนุญาตเสนอขายประกันภัยต่อลูกค้า
พร้อมกันนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้ออกหนังสือเวียน เรื่อง การขายผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัยผ่านผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) โดยระบุว่า
ในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต และการให้สินเชื่อของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งมีการเสนอขายประกันภัยผ่านผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ(Nano-finance)นั้น บริษัทที่ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินควรให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับภายในเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจดังกล่าวของบริษัท ตลอดจนกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค ผู้ประกอบธุรกิจควรคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภค 4 ประการ ได้แก่
(1) สิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
(2) สิทธิที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินได้อย่างอิสระ
(3) สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม
(4) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาค่าชดเชยหากเกิดความเสียหาย
จึงควรมีการควบคุมดูแลระบบงานต่างๆ ให้ครอบคลุมถึงการกำหนดแผนธุรกิจ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย กระบวนการขาย และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้
1. การประกอบธุรกิจบัตรเครดิตและการให้สินเชื่อของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน ไม่ควรบังคับขายประกันภัยกับลูกค้า อันอาจมีผลต่อการพิจารณาออกบัตรเครดิต หรือการอนุมัติสินเชื่อ
2. การให้บริการธุรกิจบัตรเครดิตและการให้สินเชื่อของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินที่มีการเสนอขายประกันภัยในคราวเดียวกัน ควรปฏิบัติดังนี้
2.1 ชี้แจงถึงข้อมูลการประกันภัยเกี่ยวกับผลประโยชน์และเงื่อนไขที่อาจทำให้ลูกค้าเสียประโยชน์ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเข้าใจง่าย
2.2 เสนอขายประกันภัยให้สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของลูกค้า ทั้งความสามารถในการชำระค่าเบี้ยประกันภัย และความเข้าใจในผลิตภัณฑ์
2.3 เสนอขายประกันภัยโดยพนักงานที่ได้รับใบอนุญาต และมีการแสดงตนให้ลูกค้าเข้าใจว่ามีคุณสมบัติดังกล่าวก่อนเริ่มเสนอขาย รวมทั้งกำกับดูแลมิให้พนักงานที่ไม่ได้รับใบอนุญาตเสนอขายประกันภัยต่อลูกค้า
------- ที่มา -----
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้