คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
น่าจะเกิดจาก "รถตู้รับส่ง" นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติก่อนเป็นอันดับแรก
จริงๆ แล้วผมเฝ้าสังเกตุการเจริญเติบโตของรถตู้มาบ้าง.....เ
สมัยผมอยู่กรุงเทพช่วงปี 2527 ผมไม่เคยเห็นรถตู้วิ่งโดยสารประจำทาง รถตู้ยังไม่เป็นที่นิยม คนที่ครอบครองรถตู้ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทท่องเที่ยวครับ คือบริษัทท่องเที่ยวจะใช้รถเก๋งถ้ามีนักท่องเที่ยวแค่สองสามคน จะใช้รถตู้เมื่อมีนักท่องเที่ยวห้าคนขึ้นไป ถ้าเยอะเกินสิบก็ใช้รถโค้ชใหญ่ ประมาณนี้
ในยุคแรกๆ รถตู้ที่นำท่องท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ จะติดป้ายข้างๆ ว่า "รถไม่รับจ้างประจำทาง" เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฏหมายบางข้อ จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติก่อนเป็นอันแรก จากนั้นก็ขยายไปยังนักท่องเที่ยวไทย(ซึ่งแต่ก่อนคนไทยนิยมเช่ารถสองแถวหรือไม่ก็รถบัสคันใหญ่นำเที่ยวขึ้นอยู่กับจำนวน ต่อมาก็เป็นเช่ารถตู้เพื่อความสะดวกสบาย) ไอเดียการนำรถตู้ที่เคยเป็น "รถไม่รับจ้างประจำทาง" มาเป็น "รถรับจ้างประจำทาง" น่าจะจุดประกายตรงนี้
ผมโดยส่วนตัวเป็นคนขี้กลัวเรื่องการเดินทางบนรถมากถึงมากที่สุด ผมทำงานอยู่เชียงใหม่ แต่เวลาจะกลับไปเยี่ยมบ้านที่อุดรฯ ผมจะตระเวณไปดูสภาพรถก่อนซื้อตั๋วกับแต่ละบริษัท ถ้าสภาพรถไม่ถูกใจสักบริษัทก็ไม่กลับไปเยี่ยมบ้านเลย บางทีซื้อตั๋วแล้วเห็นสภาพคนขับรถไม่น่าไว้ใจ ผมก็ไม่กลับ ขอคืนตั๋ว บางทีขึ้นรถแล้ว สภาพคนขับน่าไว้ใจแล้ว แต่พอรถออกไปได้สักยี่สิบกิโล เห็นพฤติกรรมการขับไม่น่าเชื่อมั่น ผมก็ขอลงสถานีข้างหน้า เคยสองครั้งขึ้นจากเชียงใหม่จะกลับอุดร แต่ต้องลงที่ลำปางเพราะเห็นพฤติกรรมการขับแล้ว กลัวจะเอาชีวิตไปทิ้งเปล่าๆ
สาเหตุที่ผม "เป็นเอามาก" ขนาดนี้ก็เพราะว่า เส้นทางเชียงใหม่-อุดรฯ ผมเคยรอดชีวิตจากประสบอุบัติเหตุมาแล้วสี่ครั้ง ครั้งสุดท้ายยางแตก...รถวิ่งลุนๆๆ ลงเนินเขา โชคดีมีต้นไม้ใหญ่กั้นเอาไว้ สุดท้าย...บอกเลิกกับการโดยสารบนรถ นั่งรถไฟเอา.....จะกลับบ้านที่อุดรที ต้องนั่งรถไฟจากเชียงใหม่ - กรุงเทพ แล้วตีรถกรุงเทพฯ - อุดรฯ อีกทีหนึ่ง ยอมรับครับว่า "เป็นเอามาก" บางคนหมั่นไส้...ก็บอกว่าบทจะตายมันก็ตายกันทุกคนแระ...กลัวไร? อันนั้นก็แล้วแต่คนจะมอง....เรื่องนี้ผมไม่เคยไว้ใจคนขับรถเลย
ยิ่งเป็นรถตู้แล้ว.....บอกตรงๆ นะครับให้โดยสารฟรีผมขอเดินเอาดีกว่า อันนี้พูดจริง!
จริงๆ แล้วผมเฝ้าสังเกตุการเจริญเติบโตของรถตู้มาบ้าง.....เ
สมัยผมอยู่กรุงเทพช่วงปี 2527 ผมไม่เคยเห็นรถตู้วิ่งโดยสารประจำทาง รถตู้ยังไม่เป็นที่นิยม คนที่ครอบครองรถตู้ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทท่องเที่ยวครับ คือบริษัทท่องเที่ยวจะใช้รถเก๋งถ้ามีนักท่องเที่ยวแค่สองสามคน จะใช้รถตู้เมื่อมีนักท่องเที่ยวห้าคนขึ้นไป ถ้าเยอะเกินสิบก็ใช้รถโค้ชใหญ่ ประมาณนี้
ในยุคแรกๆ รถตู้ที่นำท่องท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ จะติดป้ายข้างๆ ว่า "รถไม่รับจ้างประจำทาง" เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฏหมายบางข้อ จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติก่อนเป็นอันแรก จากนั้นก็ขยายไปยังนักท่องเที่ยวไทย(ซึ่งแต่ก่อนคนไทยนิยมเช่ารถสองแถวหรือไม่ก็รถบัสคันใหญ่นำเที่ยวขึ้นอยู่กับจำนวน ต่อมาก็เป็นเช่ารถตู้เพื่อความสะดวกสบาย) ไอเดียการนำรถตู้ที่เคยเป็น "รถไม่รับจ้างประจำทาง" มาเป็น "รถรับจ้างประจำทาง" น่าจะจุดประกายตรงนี้
ผมโดยส่วนตัวเป็นคนขี้กลัวเรื่องการเดินทางบนรถมากถึงมากที่สุด ผมทำงานอยู่เชียงใหม่ แต่เวลาจะกลับไปเยี่ยมบ้านที่อุดรฯ ผมจะตระเวณไปดูสภาพรถก่อนซื้อตั๋วกับแต่ละบริษัท ถ้าสภาพรถไม่ถูกใจสักบริษัทก็ไม่กลับไปเยี่ยมบ้านเลย บางทีซื้อตั๋วแล้วเห็นสภาพคนขับรถไม่น่าไว้ใจ ผมก็ไม่กลับ ขอคืนตั๋ว บางทีขึ้นรถแล้ว สภาพคนขับน่าไว้ใจแล้ว แต่พอรถออกไปได้สักยี่สิบกิโล เห็นพฤติกรรมการขับไม่น่าเชื่อมั่น ผมก็ขอลงสถานีข้างหน้า เคยสองครั้งขึ้นจากเชียงใหม่จะกลับอุดร แต่ต้องลงที่ลำปางเพราะเห็นพฤติกรรมการขับแล้ว กลัวจะเอาชีวิตไปทิ้งเปล่าๆ
สาเหตุที่ผม "เป็นเอามาก" ขนาดนี้ก็เพราะว่า เส้นทางเชียงใหม่-อุดรฯ ผมเคยรอดชีวิตจากประสบอุบัติเหตุมาแล้วสี่ครั้ง ครั้งสุดท้ายยางแตก...รถวิ่งลุนๆๆ ลงเนินเขา โชคดีมีต้นไม้ใหญ่กั้นเอาไว้ สุดท้าย...บอกเลิกกับการโดยสารบนรถ นั่งรถไฟเอา.....จะกลับบ้านที่อุดรที ต้องนั่งรถไฟจากเชียงใหม่ - กรุงเทพ แล้วตีรถกรุงเทพฯ - อุดรฯ อีกทีหนึ่ง ยอมรับครับว่า "เป็นเอามาก" บางคนหมั่นไส้...ก็บอกว่าบทจะตายมันก็ตายกันทุกคนแระ...กลัวไร? อันนั้นก็แล้วแต่คนจะมอง....เรื่องนี้ผมไม่เคยไว้ใจคนขับรถเลย
ยิ่งเป็นรถตู้แล้ว.....บอกตรงๆ นะครับให้โดยสารฟรีผมขอเดินเอาดีกว่า อันนี้พูดจริง!
แสดงความคิดเห็น
สงสัย ใครเป็นคนต้นคิดเอารถตู้มาวิ่งรับส่งผู้โดยสารข้ามจังหวัด เป็นครั้งแรก ?
ด้าน รศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า
ขณะนี้มีการนำรถตู้มาให้บริการสาธารณะจำนวนมาก จนสังคมตั้งคำถามว่าเหมาะสมหรือไม่
เหตุนี้กรมขนส่งทางบกและจุฬาฯ ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง โครงการการศึกษาความปลอดภัยรถตู้โดยสารสาธารณะ
พบว่า การนำรถตู้มาเป็นรถโดยสารสาธารณะไม่เหมาะสม
และจากสถิติอุบัติเหตุเห็นชัดว่ารถตู้โดยสารสาธารณะเกิดอุบัติเหตุมากรถบัส 1 ชั้นมากถึง 5 เท่า
อีกทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วไม่มีการนำรถตู้มาให้บริการสาธารณะ
ดังนั้น จุฬาฯได้นำเสนอแผนแก้ไขปัญหาโดยจะต้องเปลี่ยนรถในการให้บริการสาธารณะที่วิ่งระหว่างเมืองจากรถตู้
มาเป็น รถมินิบัส 20 ที่นั่ง แต่ถ้าเป็นการบริการในเมืองอาจจะใช้รถตู้ได้เพราะวิ่งไม่ไกลและทำความเร็วได้ไม่มาก
และจะต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบบริหารจัดการ เพิ่มสวัสดิการต่างๆ ให้คนขับรถตู้ เพราะที่ผ่านมาพบว่า
คนขับรถตู้เป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่ลงทุนเอง เงินรายได้จะมาจากค่าโดยสาร
จึงทำให้ต้องวิ่งทำรอบเพื่อให้ได้ค่าโดยสารที่เพียงพอกับค่าเช่ารถ เป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมการขับรถที่แย่ๆ
ด้าน ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทำให้จุฬาฯ
สูญเสียอย่างมหาศาล มีการพูดคุยกันว่าจะมีวิธีการแก้ไขปัญหานี้
ซึ่งมีข้อเสนอว่าต้องกลับมาดูเรื่องของกฎหมายว่ามีเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์
โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย เช่น การใช้รถแก๊สขนคนทำได้หรือไม่ ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
เช่น การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจำกัดความเร็ว ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
มีการรายงานพฤติกรรมคนขับผ่านแอปพลิเคชันไลน์ รวมทั้งรัฐบาลจะต้องมีการบริหารจัดการ
ให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางอย่างพอเพียง ที่สำคัญต้องมีการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง
ต้องเชือดไก่ให้ลิงดู ไม่ใช่ปรับแค่ 6,000 บาทแล้วก็จบ อีกทั้งจะต้องมีการจัดเก็บสถิติของอุบัติเหตุต่างๆ
เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหา ที่สำคัญต้องใช้กรณีที่เกิดขึ้นมาปลุกจิตสำนึก
ให้ความรู้แก่ประชาชนก่อนเทศกาลที่จะหยุดยาว เช่น จุฬาฯอาจจะต้องจัดทำแคมเปญไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนก่อน2 สัปดาห์เพื่อเป็นการเตือนให้สังคมให้ตระหนักถึงเรื่องอุบัติเหตุ
ที่มา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้